จอร์เจีย | 1924-1990
การประชุมทำให้ทุกคนมีความเชื่อมากขึ้น
การประชุมคริสเตียนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คนใหม่ ๆ มีความเชื่อมากขึ้น ที่จริง คริสเตียนที่เพิ่งรับบัพติศมาก็อยากให้ใช้บ้านของพวกเขาเป็นที่ประชุมและต้อนรับคนที่มาประชุมอย่างอบอุ่นไม่ต่างจากคนที่รับใช้พระเจ้ามานานแล้ว นี่ทำให้พวกเขารักและผูกพันกันมากขึ้นด้วย
เมื่อมีคนที่เรียนคัมภีร์ไบเบิลหลายคนพร้อมจะรับบัพติศมา พี่น้องจะจัดการประชุมพิเศษขึ้นอย่างรอบคอบ เดือนสิงหาคม ปี 1973 พี่น้องจัดการประชุมพิเศษนอกเมืองโซคูมิใกล้ชายฝั่งทะเลดำ
แต่ผู้ขอรับบัพติศมา 35 คนไม่ทันได้จุ่มตัวเพราะมีตำรวจเข้ามาจับพี่น้องบางคนตอนที่การประชุมใกล้จะจบ วลาดิมีร์ กลาดยุกเป็นคนหนึ่งที่ถูกจับไปพอวลาดิมีร์กับพี่น้องคนอื่นได้รับการปล่อยตัว พวกเขาก็ติดต่อคนที่จะรับบัพติศมาทันที หลังจากการประชุมที่ถูกขัดจังหวะนั้น 2 วัน ทุกคนก็ได้รับบัพติศมา วลาดิมีร์บอกว่า “เรารู้สึกว่าพระยะโฮวาอยู่ฝ่ายเรา หลังจากจุ่มตัวรับบัพติศมาเรียบร้อยแล้ว เราก็อธิษฐานขอบคุณพระยะโฮวาด้วยกัน”
การต่อต้านช่วยให้ข่าวดีแพร่ออกไป
การรับบัพติศมาครั้งนั้นผ่านไป 2 วัน วลาดิมีร์ กลาดยุก ก็ถูกจับอีก ต่อมา ตัวเขา อิตตา ซูดาเรนโกและนาเตลา ชาร์ไกชวิลีถูกตัดสินจำคุกหลายปี ถึงจะเศร้าที่บางคนถูกจับ แต่พี่น้องคนอื่นก็คลายความเศร้าด้วยการประกาศต่อไป แต่ก็ต้องระวังมากกว่าเดิม
เพื่อไม่ให้เป็นจุดสนใจของเจ้าหน้าที่รัฐบาล พี่น้องไปประกาศตามเมืองหรือหมู่บ้านอื่นแทนที่จะประกาศในท้องถิ่นตัวเอง กลายเป็นว่าการต่อต้านช่วยให้ข่าวดีแพร่ออกไปในพื้นที่อื่นด้วย
ช่วงที่คอมมิวนิสต์ปกครอง พี่น้องในเมืองใหญ่ ๆ จะไปประกาศตามถนนหรือสวนสาธารณะที่ไม่ค่อยมีคน พวกเขามักพูดคุยกับคนจากเมืองอื่นหรือหมู่บ้านอื่นที่มาเยี่ยมญาติหรือมาซื้อของ ถ้าใครสนใจ พี่น้องก็จะขอที่อยู่ไว้และนัดเจอกันอีก
บาบุตซา เจเจลาวาเป็นคนหนึ่งที่เดินทางไปประกาศทั่วจอร์เจียตะวันตก เธอเล่าว่า “ฉันมีญาติอยู่หลายที่ก็เลยไม่มีใครสงสัยว่าทำไมฉันถึงไปโน่นไปนี่บ่อย ๆ ทำแบบนี้อยู่ประมาณ 2 ปี ฉันได้สอน
คัมภีร์ไบเบิลให้คนที่เมืองซุกดิดี 20 กว่าคน ที่เมืองชโคโรต์สคูอีก 5 คน และทุกคนรับบัพติศมา”ต้องการหนังสือภาษาจอร์เจีย
ไม่นานก็เห็นได้ชัดว่าต้องมีหนังสือต่าง ๆ เป็นภาษาจอร์เจีย เมื่อกลับเยี่ยมหรือสอนคัมภีร์ไบเบิล พี่น้องรู้สึกว่าคนจอร์เจียที่เรียนคัมภีร์ไบเบิลจะเข้าใจได้จริง ๆ ก็ต่อเมื่อใช้คัมภีร์ไบเบิลและหนังสือในภาษาของพวกเขาเอง *
เมื่อนึกถึงความยากตอนที่สอนคัมภีร์ไบเบิลโดยไม่มีสิ่งพิมพ์ภาษาจอร์เจีย บาบุตซาบอกว่า “ฉันมีคัมภีร์ไบเบิลภาษารัสเซียเล่มหนึ่งและมีหนังสือภาษารัสเซียอยู่บ้าง หลายครั้งฉันต้องแปลเรื่องที่สอนเอง” เธอแปลบทความในวารสารของเราเป็นภาษาจอร์เจียโดยใช้พจนานุกรมแค่เล่มเดียว นอกจากนั้นเธอยังแปลหนังสือมัทธิวทั้งเล่มด้วย!
ผู้สนใจหลายคนชอบบทความที่แปลเป็นภาษาของเขาเอง พวกเขาถึงกับเต็มใจจะคัดลอกสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ด้วยมือเพื่อเก็บไว้อ่านส่วนตัว และเพราะคัมภีร์ไบเบิลภาษาจอร์เจียหายาก บางคนที่กำลังเรียนคัมภีร์ไบเบิลจึงกลายเป็น “ผู้คัดลอก” คำของพระเจ้าในสมัยปัจจุบัน
“ผมนั่งลอกอยู่ทั้งวัน”
เพื่อให้พี่น้องและผู้สนใจทุกคนได้อ่านหนังสือภาษาจอร์เจียได้อย่างทั่วถึง จึงมีการจัดคิวกันอ่าน แต่ละคนจะมีเวลาแค่ 2-3 วัน
หรือ 2-3 อาทิตย์ ดังนั้น พอได้คัมภีร์ไบเบิลภาคภาษากรีกฉบับภาษาจอร์เจียสมัยใหม่มา 1 เล่ม พี่น้องครอบครัวหนึ่งก็เลยใช้ช่วงเวลาที่เป็นคิวของพวกเขาคัดลอกคัมภีร์ไบเบิลเล่มนั้นราอูล คาร์ชาวาอายุแค่ 13 ตอนที่พ่อขอให้เขาคัดลอกคัมภีร์ไบเบิลภาคภาษากรีก เขาเล่าว่า “พ่อซื้อสมุดยกลังกับดินสอปากกาทุกแบบมาให้ผมเพราะคิดว่านี่จะทำให้ผมมีกำลังใจ ถึงผมจะรู้สึกว่าเป็นงานหนักมากและท้าทายแต่ผมก็ทำ ผมนั่งลอกอยู่ทั้งวัน จะหยุดก็ตอนพักยืดมือนิดหน่อยเท่านั้น”
ญาติ ๆ ของราอูลดีใจที่รู้ว่าพี่น้องตกลงกันว่าจะยอมให้หนังสือที่ทุกคนต้องการอ่านเล่มนี้อยู่กับครอบครัวของพวกเขาอีก 2-3
สัปดาห์เพื่อให้หนุ่มน้อยราอูลทำงานที่ยากลำบากนี้จนเสร็จ แค่ 2 เดือน ราอูลก็คัดลอกคัมภีร์ไบเบิลภาคภาษากรีกครบทั้ง 27 เล่มถึงจะมีผู้คัดลอกที่ขยันมากหลายคน แต่ก็ยังมีหนังสือไม่พอสำหรับคนที่เรียนคัมภีร์ไบเบิลอย่างจริงจังซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อจะให้ทันกับความต้องการ พี่น้องชายหญิงที่กล้าหาญจึงเสี่ยงใช้บ้านของพวกเขาเองเป็นสถานที่ผลิตและกระจายสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ออกไป
งานประกาศในจอร์เจียตะวันตกกำลังกว้างขวางมากขึ้น แล้วทางตะวันออกล่ะ? มีใครที่อยู่ในกรุงทบิลิซิซึ่งเป็นเมืองหลวงที่พอจะ
ช่วยวาโซ เควนิอาชวิลีที่กำลังเสาะหาความจริงอย่างจริงใจที่เราพูดถึงตอนต้นบ้างไหม?ความจริงเรื่องพระเจ้ามาถึงเมืองหลวง
ช่วงทศวรรษ 1970 เจ้าหน้าที่รัฐบาลโซเวียตพยายามทำให้พยานพระยะโฮวาเสียกำลังใจด้วยการไล่พวกเขาออกจากบ้านของตัวเองให้ไปอยู่ที่นั่นบ้างที่นี่บ้าง โอเลกซีและลิดียา คูร์ดาสสามีภรรยาชาวยูเครนที่ย้ายมาทบิลิซิก็เจอเรื่องนี้ด้วย พวกเขาเคยอยู่ในค่ายนักโทษในโซเวียตหลายปีเพราะความเชื่อ
โอเลกซีกับลิดียาบอกความจริงเรื่องพระเจ้ากับซาอูร์และเอเทริ เคซาเยฟที่เป็นคนเคร่งศาสนา ลาริซาลูกสาวของพวกเขาที่ตอนนั้นอายุ 15 เล่าถึงตอนที่เจอโอเลกซีกับลิดียาครั้งแรกว่า “พวกเราพยายามพิสูจน์ว่าคริสตจักรออร์โทด็อกซ์เท่านั้นที่เป็นศาสนาแท้ หลังจากคุยกันหลายครั้งจนพวกเราไม่มีอะไรจะเถียง พวกเขาก็ยังเปิดคัมภีร์ไบเบิลหาเหตุผลต่อไปได้เรื่อย ๆ”
ลาริซาเล่าต่อ “ตอนเราไปโบสถ์ ฉันมักจะอ่านบัญญัติ 10 ประการที่เขียนไว้บนผนังที่อยู่ระหว่างภาพรูปเคารพ แต่เย็นวันนั้นตอนที่พวกเราคุยกัน โอเลกซีอ่านอพยพ 20:4, 5 ให้เราฟัง ฉันสับสนไปหมด คืนนั้นฉันนอนไม่หลับเอาแต่คิดว่า ‘การกราบไหว้รูปเคารพผิดกฎหมายของพระเจ้าจริง ๆ เหรอ?’”
วันต่อมา ลาริซาอยากได้คำตอบก็เลยรีบไปโบสถ์ในเมืองแต่เช้าและอ่านบัญญัติข้อนั้นอีกครั้งว่า “อย่าทำรูปเคารพ . . . อย่ากราบไหว้” รูปเคารพเหล่านั้น นี่เป็นครั้งแรกที่เธอเข้าใจกฎหมายของพระเจ้าข้อนี้ ตอนหลังลาริซาและพ่อแม่ของเธอรับบัพติศมาเป็นพยานฯคนแรก ๆ ในทบิลิซิ
เขาเจอความยุติธรรมที่หามานาน
ผ่านไป 20 ปีหลังจากที่ได้ยินเรื่องพระเจ้าครั้งแรก วาโซ เควนิอาชวิลีก็ได้เจอบางคนที่ไปประชุมกับพยานพระยะโฮวาในทบิลิซิ เขามีความสุขที่ได้เจอพยานพระยะโฮวาอีกเพราะคอยมานานเหลือเกิน
แต่ตอนแรก พยานฯที่นั่นลังเลที่จะให้วาโซมาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่าเขาเคยเป็นอาชญากรมาก่อน บางคนถึงกับกลัวว่าเขาอาจจะเป็นสายลับของรัฐบาลโซเวียตที่มาคอยจับตามองพยานฯวาโซก็เลยไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการประชุมเป็นเวลา 4 ปี
เมื่อพี่น้องเห็นชัดเจนแล้วว่าวาโซจริงใจ เขาก็ได้รับบัพติศมาเป็นพี่น้องในประชาคม ตอนนี้วาโซสามารถใกล้ชิด “พระเจ้าที่ยุติธรรม” อสย. 30:18) เขามุ่งมั่นรับใช้พระยะโฮวาอย่างเต็มความสามารถจนเสียชีวิตในปี 2014
ซึ่งเขาตามหามาตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นได้มากขึ้น (จะเห็นได้ว่าพอถึงปี 1990 มีการวางฐานรากที่มั่นคงสำหรับงานประกาศในจอร์เจียทั้งตะวันออกและตะวันตก มีผู้ประกาศประมาณ 900 คนที่สอนคัมภีร์ไบเบิลให้ผู้คน 942 คน เราจะติดตามดูการขยายใหญ่ของจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ นี้กันต่อไป
^ วรรค 12 ในยุคคอมมิวนิสต์คัมภีร์ไบเบิลเป็นของหายาก แม้จะมีการแปลบางส่วนของคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาจอร์เจียตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 5 แล้วก็ตาม—ดูกรอบ “คัมภีร์ไบเบิลภาษาจอร์เจีย”