บทสิบหก
เธอรอบคอบ กล้าหาญ และไม่เห็นแก่ตัว
1-3. (ก) เอศเธระคงรู้สึกอย่างไรเมื่อเดินเข้าไปใกล้บัลลังก์ของสามี? (ข) กษัตริย์มีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อเอศเธระมาเข้าเฝ้า?
หัวใจของเอศเธระเต้นรัวขณะเดินเข้าไปใกล้บัลลังก์ของกษัตริย์. ท้องพระโรงในพระราชวังที่กรุงชูชานเงียบมากจนเอศเธระได้ยินเสียงฝีเท้ากับเสียงพลิ้วไหวของเครื่องทรงที่เธอสวมใส่. เธอพยายามจะไม่วอกแวกกับความโอ่อ่าของท้องพระโรง ไม่ว่าจะเป็นเสาต้นใหญ่ที่สง่างาม หรือเพดานที่ทำจากไม้สนซีดาร์ที่นำเข้าจากเลบานอนและได้รับการแกะสลักอย่างวิจิตรบรรจง. สิ่งที่เธอสนใจมีเพียงสิ่งเดียวคือผู้ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ บุรุษผู้กำชีวิตเธอ.
2 ขณะที่เอศเธระเดินเข้าไปใกล้ กษัตริย์มองตรงมาที่เธอแล้วยื่นคทาทองคำให้. แม้จะเป็นสัญญาณง่าย ๆ แต่นั่นแสดงว่ากษัตริย์ให้อภัยเธอเพราะเธอได้ฝ่าฝืนกฎหมายที่มาเข้าเฝ้าโดยไม่มีรับสั่ง. เมื่อเอศเธระมายืนต่อหน้าบัลลังก์ เธอยื่นมือไปแตะยอดคทาด้วยความซาบซึ้งใจในความเมตตาของกษัตริย์.—เอศ. 5:1, 2
3 ทุกสิ่งที่เป็นของกษัตริย์อะหัศวะโรศล้วนแสดงถึงอำนาจอันยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งร่ำรวย. กล่าวกันว่าเครื่องทรงของกษัตริย์เปอร์เซียสมัยนั้นมีมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์. ถึงกระนั้น เอศเธระก็รู้ว่ากษัตริย์รักเธอ แม้จะไม่ได้แสดงออกมาชัดเจน เพราะเขาถามเธอว่า “เอศเธระมเหสีเอ๋ย, พระนางประสงค์อะไร? และจะขอสิ่งใด? เราจะให้สิ่งนั้นแก่พระนางถึงครึ่งแผ่นดิน.”—เอศ. 5:3
4. ภารกิจอันยิ่งใหญ่อะไรรอเอศเธระอยู่?
4 เราเห็นแล้วว่าเอศเธระมีความเชื่อและกล้าหาญมากเพียงไรที่มาเข้าเฝ้ากษัตริย์เพื่อปกป้องชนร่วมชาติจากแผนชั่วที่มุ่งกวาดล้างพวกเขา. ตอนนี้
เธอทำสำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว แต่ภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ยังไม่เสร็จสิ้น. เอศเธระยังต้องโน้มน้าวกษัตริย์ผู้เย่อหยิ่งคนนี้ให้เชื่อว่าที่ปรึกษาที่เขาไว้ใจที่สุดเป็นคนชั่วช้าและหลอกเขาให้ออกกฎหมายเพื่อทำลายชนร่วมชาติของเธอ. เธอจะโน้มน้าวใจกษัตริย์อย่างไร และเราเรียนอะไรได้จากตัวอย่างของเธอ?เธอเลือก “วาระพูด” อย่างสุขุม
5, 6. (ก) เอศเธระใช้หลักการในท่านผู้ประกาศ 3:1, 7 อย่างไร? (ข) วิธีที่เอศเธระพูดกับสามีแสดงอย่างไรว่าเธอฉลาดสุขุม?
5 เอศเธระน่าจะรายงานปัญหาทั้งหมดให้กษัตริย์ทราบต่อหน้าทุกคนตอนที่อยู่ในท้องพระโรงไหม? การทำเช่นนั้นอาจทำให้กษัตริย์รู้สึกอับอายและทำให้ฮามานมีข้อแก้ตัว. ถ้าอย่างนั้นเอศเธระจะทำอย่างไร? หลายศตวรรษก่อนหน้านี้ กษัตริย์โซโลมอนผู้ฉลาดสุขุมได้รับการดลใจให้เขียนว่า “มีฤดูกาลสำหรับทุกสิ่ง . . . มีวาระนิ่งเงียบ และวาระพูด.” (ผู้ป. 3:1, 7, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน ) เราคงนึกภาพออกว่ามาระดะคายผู้ซื่อสัตย์ซึ่งเป็นพ่อบุญธรรมของเอศเธระคงสอนหลักการเหล่านี้แก่เธอตั้งแต่เด็ก. เอศเธระคงเข้าใจดีว่าการเลือก “วาระพูด” อย่างสุขุมเป็นเรื่องสำคัญเพียงใด.
6 เอศเธระทูลกษัตริย์ว่า “ถ้าพระองค์ทรงเห็นชอบแล้ว, ขอเชิญพระองค์เสด็จมากับฮามานในการเลี้ยงวันนี้ที่ข้าพเจ้าได้จัดเตรียมไว้สำหรับถวายพระองค์.” (เอศ. 5:4) กษัตริย์ตอบรับคำเชิญและส่งคนไปเรียกฮามาน. คุณสังเกตไหมว่าเอศเธระเลือกใช้คำพูดอย่างฉลาด? เธอคำนึงถึงศักดิ์ศรีของสามีและหาโอกาสเหมาะ ๆ ที่จะเปิดเผยความกังวลใจแก่เขา.—อ่านสุภาษิต 10:19
7, 8. เอศเธระจัดงานเลี้ยงอย่างไร แต่ทำไมเธอยังไม่บอกกษัตริย์?
7 เอศเธระคงเตรียมงานเลี้ยงอย่างพิถีพิถันและสรรหาแต่สิ่งที่สามีชอบ. ในงานเลี้ยงนี้ยังมีเหล้าองุ่นชั้นเลิศเพื่อทำให้ใจเบิกบาน. (เพลง. 104:15) อะหัศวะโรศสำราญพระทัยยิ่งนักจนถึงกับถามเอศเธระอีกครั้งว่าเธออยากได้สิ่งใด. นี่เป็นเวลาที่เธอควรจะพูดไหม?
8 เอศเธระคิดว่ายังไม่เหมาะ. เธอจึงเชิญกษัตริย์และฮามานมางานเลี้ยงที่บ้านเธออีกในวันรุ่งขึ้น. (เอศ. 5:7, 8) ทำไมเธอยังไม่พูด? อย่าลืมว่า ชนร่วมชาติของเอศเธระกำลังจะถูกฆ่าตามกฤษฎีกาของกษัตริย์. เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย เอศเธระจึงต้องแน่ใจว่าเวลาไหนเหมาะที่สุดที่จะ พูดเรื่องนี้. ดังนั้น เธอจึงอดทนรอและจัดงานเลี้ยงอีกเพื่อทำให้สามีเห็นว่าเธอนับถือเขาอย่างยิ่ง.
9. ความอดทนมีค่าอย่างไร และเราจะเลียนแบบเอศเธระได้อย่างไร?
9 ความอดทนเป็นคุณสมบัติที่มีค่าและหาได้ยาก. แม้จะทุกข์ใจและอยากพูดเหลือเกิน แต่เอศเธระก็อดทนรอให้ถึงเวลาที่เหมาะสม. เอศเธระเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรา. บางครั้งเราอาจรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างไม่ถูกต้องและอยากให้มีการแก้ไข. ถ้าเราอยากโน้มน้าวผู้มีอำนาจหน้าที่ให้จัดการเรื่องเหล่านั้น เราน่าจะเลียนแบบเอศเธระและรู้จักอดทน. สุภาษิต 25:15 (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย ) กล่าวว่า “จงอดทนแล้วจะชนะใจเจ้านายได้ ลิ้นที่อ่อนโยนสามารถบดขยี้กระดูกได้.” ถ้าเราอดทนรอให้ถึงเวลาที่เหมาะสมและพูดอย่างสุภาพอ่อนโยนเหมือนเอศเธระ เราก็อาจเอาชนะการต่อต้านที่แข็งราวกับกระดูกได้. กระนั้น พระยะโฮวาพระเจ้าอวยพรเอศเธระไหมที่เธอมีความอดทนและเป็นคนสุขุมรอบคอบ?
ความอดทนช่วยให้ได้รับความยุติธรรม
10, 11. ทำไมฮามานอารมณ์เสียเมื่อกลับจากงานเลี้ยง และภรรยากับเพื่อน ๆ ยุให้เขาทำอะไร?
10 ความอดทนของเอศเธระทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญหลายอย่าง. ฮามานกลับจากงานเลี้ยงครั้งแรกด้วยความเบิกบานและ “มีใจชื่นชมยินดี” เพราะคิดว่ากษัตริย์และราชินีโปรดปรานตนมาก. แต่พอฮามานเดินผ่านประตูพระราชวัง เขาก็อารมณ์เสียเมื่อเห็นมาระดะคายชาวยิวที่เขาเกลียดขี้หน้ายังนั่งเฉยไม่ยอมลุกขึ้นโค้งคำนับเขา. ดังที่เราพิจารณาในบทก่อน เหตุผลที่มาระดะคายไม่ทำเช่นนั้นไม่ใช่เพราะต้องการดูหมิ่นเหยียดหยามฮามาน แต่เพราะการทำความเคารพฮามานขัดกับสติรู้สึกผิดชอบของเขาและกลัวว่าพระยะโฮวาจะไม่พอพระทัย. แต่ฮามาน “โกรธมาระดะคายเป็นอันมาก.”—เอศ. 5:9
11 เมื่อฮามานเล่าให้ภรรยาและเพื่อน ๆ ฟังว่ามาระดะคายไม่ยอมโค้งเอศ. 5:12-14
คำนับตน คนเหล่านั้นก็แนะให้ฮามานทำขาหยั่งอันใหญ่สูง 50 ศอก (ประมาณ 22 เมตร) และยุให้ขอกษัตริย์เอาตัวมาระดะคายไปแขวนคอบนขาหยั่งนั้น. ฮามานถูกใจคำแนะนำดังกล่าวมาก เขาจึงรีบเตรียมการทันที.—12. ทำไมกษัตริย์สั่งให้เจ้าพนักงานเอาบันทึกต่าง ๆ มาอ่าน และกษัตริย์ได้รู้เรื่องอะไร?
12 คัมภีร์ไบเบิลเล่าว่า คืนนั้น “กษัตริย์ทรงบรรทมไม่หลับ” โดยไม่ทราบสาเหตุ. พระองค์จึงสั่งให้เจ้าพนักงานเอาบันทึกต่าง ๆ มาอ่านให้พระองค์ฟัง. ในบรรดาเรื่องที่อ่าน มีเรื่องการลอบสังหารกษัตริย์อะหัศวะโรศรวมอยู่ด้วย. พระองค์จำเหตุการณ์นั้นได้ และจำได้ว่าพระองค์สั่งให้ประหารคนร้ายนั้นเอศเธระ 6:1-3
แล้ว. แต่จะว่าอย่างไรกับมาระดะคายที่เป็นคนเปิดโปงแผนชั่วนี้? ทันใดนั้น กษัตริย์ก็ถามถึงมาระดะคายว่าเขาได้บำเหน็จอะไรบ้าง. เจ้าพนักงานจึงทูลกษัตริย์ว่าเขายังไม่ได้รับบำเหน็จอะไรเลย.—อ่าน13, 14. (ก) สถานการณ์ของฮามานเริ่มย่ำแย่อย่างไร? (ข) ภรรยากับเพื่อน ๆ บอกอะไรฮามาน?
13 กษัตริย์รู้สึกไม่สบายใจจึงถามว่ามีเจ้าพนักงานคนใดจะจัดการเรื่องนี้ได้. ตอนนั้นในท้องพระโรงไม่มีใครเลยนอกจากฮามาน ซึ่งดูเหมือนจะมารอเข้าเฝ้ากษัตริย์ตั้งแต่เช้ามืดเพื่อขอให้ประหารมาระดะคาย. ก่อนที่ฮามานจะทูลเรื่องของตน กษัตริย์ได้ถามเขาว่าจะทำอย่างไรต่อคนที่กษัตริย์ชอบใจ. เนื่องจากคิดว่าหมายถึงตน ฮามานจึงเสนอให้กษัตริย์ยกย่องคนนั้นอย่างยิ่งใหญ่. เขาเสนอให้เอาชุดของกษัตริย์มาสวมให้คนนั้น และให้ขี่ม้าของกษัตริย์โดยมีข้าราชการชั้นสูงจูงม้าไปรอบเมืองพร้อมกับป่าวประกาศยกย่องคุณความดีของเขา. คิดดูสิว่า ฮามานจะทำหน้าอย่างไรเมื่อรู้ว่าชายที่ได้รับเกียรติอย่างสูงนั้นคือมาระดะคาย. แล้วคนที่กษัตริย์สั่งให้ทำหน้าที่ป่าวประกาศคุณความดีของมาระดะคายคือใคร? คือฮามานนั่นเอง!—เอศ. 6:4-10
14 ฮามานคับแค้นใจยิ่งนัก. หลังจากทำตามที่กษัตริย์รับสั่งแล้ว เขาก็รีบกลับบ้านด้วยความทุกข์ใจ. ภรรยากับเพื่อน ๆ ของเขาบอกว่าเหตุการณ์นี้กำลังส่อให้เห็นว่าฮามานจะไม่ชนะมาระดะคายอย่างแน่นอน.—เอศ. 6:12, 13
15. (ก) การที่เอศเธระอดทนรอมีผลดีอย่างไร? (ข) ทำไมเราควร “คอยท่า” พระเจ้า?
15 เนื่องจากเอศเธระอดทนรอให้ผ่านไปอีกวันหนึ่งก่อนจะทูลกษัตริย์ ทำให้มีโอกาสได้เห็นธาตุแท้ของฮามาน. เป็นไปได้ไหมว่าพระยะโฮวาพระเจ้าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนไม่หลับของกษัตริย์? (สุภา. 21:1) ไม่แปลกที่พระคำของพระเจ้าสนับสนุนเราให้ “คอยท่า” พระองค์. (อ่านมีคา 7:7 ) ถ้าเราคอยท่าพระเจ้า เราจะได้เห็นวิธีแก้ปัญหาของพระองค์ซึ่งล้ำลึกเกินกว่าที่เราจะคิดออก.
เธอพูดอย่างกล้าหาญ
16, 17. (ก) ตอนไหนเป็น “วาระพูด” ของเอศเธระ? (ข) เอศเธระแตกต่างจากพระนางวัศธีมเหสีคนก่อนอย่างไร?
16 เอศเธระรู้ว่าเธอต้องทูลทุกสิ่งต่อกษัตริย์ในงานเลี้ยงครั้งที่สองนี้. แต่จะพูดตอนไหนดี? แล้วโอกาสก็มาถึงเมื่อกษัตริย์ถามอีกครั้งว่าเธออยากได้สิ่งใด. (เอศ. 7:2) ตอนนี้แหละเป็น “วาระพูด” ของเอศเธระ.
เอศ. 7:3) น่าสังเกต เธอรับรองกับกษัตริย์ว่าเธอจะเคารพการตัดสินใจของเขา. เอศเธระช่างแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับพระนางวัศธีมเหสีคนก่อนที่จงใจทำให้สามีอับอาย. (เอศ. 1:10-12) นอกจากนั้น แทนที่จะตำหนิกษัตริย์ที่ไปหลงเชื่อคนอย่างฮามาน เอศเธระกลับขอร้องให้กษัตริย์ช่วยปกป้องเธอจากคนที่คิดร้ายเธอ.
17 เอศเธระคงอธิษฐานถึงพระเจ้าในใจก่อนจะตอบกษัตริย์ว่า “ข้าแต่กษัตริย์, ถ้าแม้นข้าพเจ้ามีความชอบในคลองพระเนตรของพระองค์, และถ้าแม้นพระองค์ทรงเห็นเป็นการสมควรแล้ว, ขอพระองค์ทรงประทานชีวิตให้ข้าพเจ้าตามที่ข้าพเจ้ากราบทูลขอนั้น, และญาติพี่น้องของข้าพเจ้าตามที่ข้าพเจ้าได้กราบทูลขอนี้เถิด.” (18. เอศเธระทูลกษัตริย์อย่างไร?
18 คำขอของเอศเธระคงทำให้กษัตริย์ทั้งประทับใจและประหลาดใจ. ใครกันที่กล้าคิดร้ายต่อมเหสีของพระองค์? เอศเธระทูลต่อว่า “พวกเราถูกขายทั้งหม่อมฉันและชนชาติของหม่อมฉัน ให้ถูกทำลาย ให้ถูกสังหารและให้ถูกล้างผลาญ ถ้าพวกเราถูกขายเพียงให้เป็นทาสชายและหญิง หม่อมฉันก็จะไม่ปริปาก เพราะความทุกข์ยากเพียงแค่นี้ไม่อาจเปรียบกับความเสียหายของกษัตริย์ได้.” (เอศ. 7:4, ฉบับมาตรฐาน ) ขอสังเกตว่าเอศเธระพูดถึงปัญหาอย่างตรงไปตรงมา. เธอยังบอกด้วยว่าหากนี่เป็นเพียงแผนการที่จะขายชนชาติของเธอให้เป็นทาส เธอคงไม่นำเรื่องนี้มาทูลกษัตริย์. แต่ที่เธอไม่อาจนิ่งเฉยได้เพราะแผนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวครั้งนี้จะส่งผลเสียต่อกษัตริย์ด้วย.
19. ตัวอย่างของเอศเธระสอนอะไรเราเรื่องการใช้ศิลปะในการโน้มน้าวใจ?
19 ตัวอย่างของเอศเธระสอนบทเรียนสำคัญเรื่องการใช้ศิลปะในการโน้มสุภา. 16:21, 23
น้าวใจ. ถ้าคุณต้องพูดกับคนที่คุณรักหรือคนที่มีตำแหน่งสูงเกี่ยวกับปัญหาสำคัญ ตัวอย่างของเอศเธระสอนเราว่าควรจะมีความอดทน แสดงความนับถือผู้อื่น และพูดอย่างตรงไปตรงมา.—20, 21. (ก) เอศเธระเปิดโปงฮามานอย่างไร และกษัตริย์มีปฏิกิริยาเช่นไร? (ข) ฮามานทำอะไรเมื่อถูกเปิดโปง?
20 อะหัศวะโรศจึงรับสั่งว่า “ผู้ใดมีใจอาจคิดกระทำอย่างนั้นเล่า, มันคือผู้ใด, และอยู่ที่ไหน?” ขอให้นึกภาพเอศเธระชี้หน้าฮามานพร้อมกับพูดว่า “ผู้ร้ายและศัตรูนั้นคือฮามานคนชั่วนี้.” และแล้วทุกสิ่งก็เงียบสงัด. ฮามานตกใจกลัวยิ่งนัก. ลองนึกภาพใบหน้าของกษัตริย์ที่แดงก่ำด้วยความโกรธเมื่อรู้ว่าถูกเสนาบดีที่ตนไว้ใจหลอกให้ออกกฎหมายทำร้ายมเหสีที่ตนรัก. แล้วกษัตริย์ก็รีบลุกออกไปสงบสติอารมณ์ในสวน.—เอศ. 7:5-7
21 ส่วนฮามานเมื่อถูกเปิดโปงแผนชั่วก็แสดงความขี้ขลาดออกมาโดยเข้าไปหมอบแทบเท้าราชินี. พอกษัตริย์กลับเข้ามาในห้อง เห็นฮามานกำลังวิงวอนขอความเมตตาจากเอศเธระบนแท่นประทับของพระนางก็ยิ่งเดือดดาลและตรัสว่าฮามานกำลังจะข่มขืนราชินีในพระราชวังของพระองค์. พอกษัตริย์พูดจบ ฮามานรู้ตัวว่าความตายรออยู่ตรงหน้าแล้ว. เขาถูกคลุมหน้าและพาตัวออกไป. แล้วเจ้าพนักงานคนหนึ่งก็ทูลกษัตริย์ว่า ฮามานได้ทำขาหยั่งอันใหญ่ไว้เพื่อเตรียมแขวนคอมาระดะคาย. อะหัศวะโรศจึงสั่งให้เอาตัวฮามานไปแขวนคอบนขาหยั่งนั้นทันที.—เอศ. 7:8-10
22. ตัวอย่างของเอศเธระช่วยเราอย่างไรไม่ให้สิ้นหวัง มองในแง่ร้าย หรือขาดความเชื่อ?
22 ในโลกที่ไร้ความยุติธรรมนี้ เราอาจคิดว่าเราจะไม่มีวันได้เห็นความบทเพลงสรรเสริญ 7:11-16
ยุติธรรม. คุณเคยคิดอย่างนั้นไหม? เอศเธระไม่เคยสิ้นหวัง มองในแง่ร้าย หรือขาดความเชื่อ. เมื่อถึงเวลาเหมาะ เธอกล้าพูดเพื่อเห็นแก่ความถูกต้องและไว้ใจว่าพระยะโฮวาจะทำส่วนของพระองค์. ให้เราเลียนแบบเอศเธระ. ตั้งแต่สมัยของเอศเธระจนถึงทุกวันนี้ พระยะโฮวาไม่เคยเปลี่ยนแปลง. พระองค์สามารถทำให้คนชั่วและคนเจ้าเล่ห์ติดกับของตนเองเช่นเดียวกับที่พระองค์เคยจัดการฮามาน.—อ่านเธอทำเพื่อพระยะโฮวาและประชาชนของพระองค์อย่างไม่เห็นแก่ตัว
23. (ก) กษัตริย์ประทานบำเหน็จอะไรให้มาระดะคายกับเอศเธระ? (ข) คำพยากรณ์ที่ยาโคบกล่าวล่วงหน้าก่อนสิ้นใจเกี่ยวกับเบนยามินสำเร็จเป็นจริงอย่างไร? (ดูกรอบ “คำพยากรณ์ข้อหนึ่งสำเร็จเป็นจริง”)
23 ในที่สุด กษัตริย์ก็รู้ว่ามาระดะคายไม่เพียงเป็นผู้ภักดีที่เคยช่วยพระองค์ไว้จากการถูกลอบสังหาร แต่ยังเป็นพ่อบุญธรรมของเอศเธระด้วย. อะหัศวะโรศแต่งตั้งมาระดะคายเป็นนายกรัฐมนตรีแทนฮามาน. พระองค์ยกบ้านและทรัพย์สมบัติของฮามานให้เอศเธระ จากนั้น เอศเธระก็ตั้งมาระดะคายให้ดูแลทรัพย์สินเหล่านั้น.—เอศ. 8:1, 2
24, 25. (ก) แม้ว่าแผนการของฮามานถูกเปิดโปงแล้ว แต่ทำไมเอศเธระยังวางมือไม่ได้? (ข) เอศเธระเสี่ยงชีวิตอีกครั้งอย่างไร?
24 ตอนนี้เอศเธระกับมาระดะคายปลอดภัยแล้ว เธอจะวางมือและใช้ชีวิตอย่างสุขสบายไหม? ถ้าเธอเป็นคนเห็นแก่ตัวเธอก็คงทำเช่นนั้น. อย่างไรก็ตาม ตอนนี้กฤษฎีกาที่ฮามานทำขึ้นเพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวถูกส่งออกไปทั่วจักรวรรดิแล้ว. ก่อนหน้านี้ ฮามานได้จับฉลาก (ฟูระ) ซึ่งดูเหมือนเป็นการเสี่ยงทายรูปแบบหนึ่งเพื่อเลือกวันที่จะลงมือกวาดล้างชาวยิวให้สิ้นซาก. (เอศ. 9:24-26) แม้จะเหลืออีกหลายเดือน แต่เวลาก็ผ่านไปอย่างรวดเร็ว. ยังมีเวลาที่จะแก้ไขสถานการณ์นี้ไหม?
ดานิ. 6:12, 15) ดังนั้น กษัตริย์จึงมอบอำนาจให้เอศเธระและมาระดะคายตรากฎหมายขึ้นใหม่. หมายประกาศฉบับที่สองถูกส่งออกไป หมายประกาศนี้ให้สิทธิ์ชาวยิวต่อสู้ปกป้องตัวเองได้. ม้าเร็วได้นำข่าวดีนี้ไปแจ้งแก่ชาวยิวทั่วจักรวรรดิ. ข่าวนี้จุดประกายความหวังให้ประชาชนชาวยิว. (เอศ. 8:3-16) เราคงนึกภาพออกว่าชาวยิวทั่วจักรวรรดิอันกว้างใหญ่ได้จัดหาอาวุธและกำลังคนเพื่อเตรียมต่อสู้ ซึ่งพวกเขาคงทำเช่นนี้ไม่ได้หากไม่มีกฎหมายฉบับใหม่นี้. แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ “พระยะโฮวาของพลโยธา” จะช่วยประชาชนของพระองค์ไหม?—1 ซามู. 17:45
25 เอศเธระยอมเสี่ยงชีวิตอีกครั้งโดยไม่เห็นแก่ตัว. เธอไปเข้าเฝ้าอีกแม้ว่าไม่มีรับสั่งจากกษัตริย์. ครั้งนี้เธอร้องไห้และอ้อนวอนให้สามียกเลิกกฎหมายที่มุ่งทำลายชนร่วมชาติของเธอ. แต่กฎหมายที่ตราขึ้นในนามกษัตริย์แห่งเปอร์เซียไม่อาจยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้. (26, 27. (ก) พระยะโฮวาประทานชัยชนะอันยิ่งใหญ่แก่ประชาชนของพระองค์อย่างไร? (ข) คำพยากรณ์อะไรสำเร็จเป็นจริงเมื่อลูกชายของฮามานถูกฆ่า?
26 เมื่อถึงวันที่ฮามานกำหนดไว้ ประชาชนของพระเจ้าก็พร้อมแล้ว. ตอนนี้แม้แต่ข้าราชการชาวเปอร์เซียหลายคนก็เปลี่ยนมาอยู่ฝ่ายชาวยิวเพราะข่าวที่มาระดะคายได้เป็นนายกรัฐมนตรีได้แพร่ไปทั่วสารทิศ. พระยะโฮวาประทานชัยชนะอันยิ่งใหญ่แก่ประชาชนของพระองค์. ไม่มีข้อสงสัย พระองค์คงต้อง *—เอศ. 9:1-6
ช่วยประชาชนของพระองค์ปราบศัตรูให้ราบคาบเพื่อพวกเขาจะไม่กลับมาทำร้ายประชาชนของพระองค์อีก.27 ถ้าลูกชาย 10 คนของฮามานยังมีชีวิตอยู่ มาระดะคายคงรู้สึกไม่ปลอดภัยที่ต้องดูแลทรัพย์สินของฮามาน จึงต้องฆ่าพวกเขาด้วย. (เอศ. 9:7-10) ด้วยเหตุนี้ คำพยากรณ์ในพระคัมภีร์ที่ว่า ชาวอะมาเล็คซึ่งเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของประชาชนของพระเจ้าจะต้องถูกทำลายจนสิ้นชาติจึงสำเร็จเป็นจริง. (บัญ. 25:17-19) ลูกชาย 10 คนของฮามานคงเป็นกลุ่มสุดท้ายของชาติอะมาเล็คที่ถูกพระเจ้าพิพากษาลงโทษ.
28, 29. (ก) ทำไมพระยะโฮวาประสงค์ให้เอศเธระและประชาชนของเธอมีส่วนร่วมในการสู้รบ? (ข) เหตุใดแบบอย่างของเอศเธระจึงเป็นประโยชน์แก่เราในทุกวันนี้?
28 แม้เอศเธระจะอายุยังน้อย แต่เธอต้องแบกรับภาระที่หนักอึ้งหลายอย่าง เช่น การออกกฤษฎีกาที่เกี่ยวกับสงครามและการประหารชีวิตเหล่าศัตรู. ภารกิจเหล่านี้คงไม่ง่ายสำหรับเธอ. แต่พระยะโฮวาประสงค์ให้ชาติอิสราเอลอยู่ต่อไปจนกว่าพระมาซีฮาจะมาประสูติเพราะผู้นี้คือความหวังเดียวของมนุษยชาติ พระองค์จึงปกป้องชาวยิวไม่ให้ถูกทำลายล้าง. (เย. 22:18) อย่างไรก็ตาม ผู้รับใช้ของพระเจ้าในทุกวันนี้ดีใจที่รู้ว่าเมื่อพระเยซูเสด็จมายังแผ่นดินโลกในฐานะมาซีฮา พระองค์สั่งสาวกว่าต้องไม่มีส่วนร่วมในสงครามหรือการสู้รบใด ๆ.—มัด. 26:52
29 กระนั้น คริสเตียนยังมีการสู้รบอีกแบบหนึ่งคือการต่อสู้เพื่อความเชื่อ และซาตานก็ทุ่มเทความพยายามมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อทำลายความเชื่อของเราในพระยะโฮวาพระเจ้า. (อ่าน 2 โครินท์ 10:3, 4 ) นับว่าเป็นประโยชน์จริง ๆ ที่เรามีเอศเธระเป็นแบบอย่าง! ขอให้เราเลียนแบบความเชื่อของเอศเธระโดยใช้ศิลปะในการโน้มน้าวใจอย่างรอบคอบและอดทน แสดงความกล้าหาญ และเต็มใจปกป้องประชาชนของพระเจ้าอย่างไม่เห็นแก่ตัว.
^ วรรค 26 กษัตริย์อนุญาตให้ชาวยิวกวาดล้างศัตรูเพิ่มอีกหนึ่งวัน. (เอศ. 9:12-14) จนถึงทุกวันนี้ ชาวยิวยังคงฉลองชัยชนะครั้งนั้นในเดือนอะดาร์ของทุกปีซึ่งตรงกับช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม. เทศกาลนี้เรียกว่าพูริม (ฟูริม) ซึ่งตั้งชื่อตามฉลากที่ฮามานใช้กำหนดวันฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอิสราเอล.