บทสิบแปด
เธอ “ใคร่ครวญอยู่ในใจ”
1, 2. จงพรรณนาการเดินทางของมาเรีย และทำไมการเดินทางครั้งนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเธอ?
มาเรียขยับตัวด้วยความเมื่อยล้าบนหลังสัตว์พาหนะขนาดเล็ก. เธอนั่งมาหลายชั่วโมงแล้วเพื่อมุ่งหน้าสู่เบทเลเฮมที่ห่างไกลโดยมีโยเซฟเดินนำหน้า. มาเรียรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นอีก.
2 มาเรียตั้งครรภ์ได้หลายเดือนแล้วและตอนนี้คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาถึงเธอว่า “มีครรภ์แก่.” (ลูกา 2:5) เมื่อสองสามีภรรยาเดินผ่านทุ่งนาแปลงแล้วแปลงเล่า ชาวนาบางคนที่กำลังไถหรือหว่านคงเงยหน้าขึ้นมองและอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมผู้หญิงที่ท้องแก่ขนาดนี้ยังต้องเดินทาง. ทำไมมาเรียต้องจากบ้านในนาซาเรทมาไกลถึงเพียงนี้?
3. มาเรียได้รับงานมอบหมายอะไร และเราจะเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับเธอ?
3 เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อน ตอนที่หญิงสาวชาวยิวผู้นี้ได้รับมอบหมายงานที่พิเศษสุดในประวัติศาสตร์มนุษย์. เธอต้องให้กำเนิดบุตรซึ่งต่อมาจะเป็นพระมาซีฮา พระบุตรของพระเจ้า. (ลูกา 1:35) พอใกล้ถึงเวลาคลอดก็มีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้เธอต้องเดินทางไกล. ตลอดการเดินทางครั้งนี้มาเรียเจอกับหลายสิ่งที่ทดสอบความเชื่อของเธอ. ให้เราดูว่าอะไรช่วยมาเรียให้รักษาความเชื่อที่เข้มแข็งไว้ได้.
การเดินทางสู่เบทเลเฮม
4, 5. (ก) ทำไมโยเซฟกับมาเรียต้องเดินทางไปเบทเลเฮม? (ข) คำพยากรณ์อะไรสำเร็จเป็นจริงเมื่อซีซาร์ออกกฤษฎีกา?
4 ไม่ได้มีเพียงโยเซฟกับมาเรียเท่านั้นที่เดินทาง. ก่อนหน้านี้ซีซาร์เอากุสตุสลูกา 2:1-4
เพิ่งออกกฤษฎีกาให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วแผ่นดิน ประชาชนทุกคนต้องเดินทางไปจดทะเบียนที่บ้านเกิดของตน. โยเซฟทำอย่างไรเมื่อทราบเช่นนั้น? บันทึกบอกว่า “เนื่องจากโยเซฟอยู่ในเชื้อวงศ์ของดาวิด เขาก็ออกจากเมืองนาซาเรทในแคว้นแกลิลีขึ้นไปยังเมืองของดาวิดชื่อเบทเลเฮมในแคว้นยูเดีย.”—5 ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ซีซาร์ออกกฤษฎีกาในเวลานี้. คำพยากรณ์ที่เขียนไว้ประมาณ 700 ปีก่อนหน้านั้นบอกว่าพระมาซีฮาจะประสูติที่เบทเลเฮม. แต่เป็นเบทเลเฮมไหนล่ะ เพราะห่างจากนาซาเรทแค่ 11 กิโลเมตรก็มีเมืองหนึ่งชื่อเบทเลเฮม? คำพยากรณ์บอกเจาะจงว่าสถานที่ที่พระมาซีฮาจะมาประสูติคือ “เบธเลเฮ็มเอฟราธา.” (อ่านมีคา 5:2 ) หมู่บ้านเล็ก ๆ นี้อยู่ห่างจากนาซาเรทประมาณ 130 กิโลเมตร คนที่จะไปหมู่บ้านนี้ต้องเดินทางผ่านซะมาเรียและขึ้นลงเนินเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ. โยเซฟจะต้องไปที่เบทเลเฮมนั้น เนื่องจากเป็นบ้านเกิดของบรรพบุรุษในเชื้อวงศ์ของกษัตริย์ดาวิด ซึ่งทั้งโยเซฟและมาเรียต่างก็เกิดในเชื้อวงศ์นี้.
6, 7. (ก) ทำไมการเดินทางไปเบทเลเฮมจึงเป็นเรื่องลำบากสำหรับมาเรีย? (ข) การที่มาเรียเป็นภรรยาของโยเซฟมีผลต่อการตัดสินใจของเธออย่างไร? (ดูเชิงอรรถด้วย)
6 มาเรียจะสนับสนุนการตัดสินใจของโยเซฟไหม? การเดินทางไกลเช่นนั้นเป็นเรื่องลำบากสำหรับเธอ. ตอนนั้นคงเป็นช่วงต้นเดือนตุลาคม จึงอาจมีฝนตกเล็กน้อยขณะที่ฤดูแล้งกำลังผ่านไป. นอกจากนั้น วลีที่ว่า “ออกจาก . . . แคว้นแกลิลีขึ้นไป” ก็เป็นคำกล่าวที่เหมาะสม เพราะเบทเลเฮมตั้งอยู่ในที่สูงชันเหนือระดับน้ำทะเลมากกว่า 760 เมตร. ดังนั้น ในช่วงท้ายของการเดินทาง พวกเขาอาจต้องออกแรงมากเป็นพิเศษเพื่อจะเดินไปถึงเบทเลเฮม. การเดินทางครั้งนี้อาจใช้เวลานานกว่าปกติเพราะมาเรียกำลังท้องแก่จึงต้องหยุดพักหลายครั้ง. ในเวลาใกล้คลอดเช่นนี้ผู้หญิงทั่วไปคงอยากอยู่ใกล้บ้าน เพราะถ้าเริ่มเจ็บท้อง อย่างน้อยยังมีญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงคอยช่วย. มาเรียใจกล้ามากทีเดียวที่ออกเดินทางเช่นนี้.
ลูกา 2:4, 5) ตอนนี้มาเรียเป็นภรรยาของโยเซฟแล้ว เธอถือว่าสามีเป็นประมุขครอบครัว และเธอเต็มใจยอมรับบทบาทที่พระเจ้ามอบให้ในฐานะผู้ช่วยโดยสนับสนุนการตัดสินใจของเขา. * ดังนั้น เธอเลือกที่จะเชื่อฟังโยเซฟซึ่งถือเป็นการทดสอบความเชื่อของเธอ.
7 อย่างไรก็ตาม ลูกาเขียนว่า โยเซฟไป “จดทะเบียนสำมะโนครัวด้วยกันกับมาเรีย.” เขายังบอกด้วยว่ามาเรีย “ได้สมรส [กับโยเซฟ] แล้ว.” (8. (ก) มีเหตุผลอะไรอีกที่อาจทำให้มาเรียไปเบทเลเฮมกับโยเซฟ? (ข) มาเรียเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นสำหรับผู้มีความเชื่อในทางใดบ้าง?
8 มีเหตุผลอะไรอีกไหมที่อาจทำให้มาเรียเชื่อฟัง? เธอรู้เรื่องคำพยากรณ์เกี่ยวกับสถานที่ประสูติของพระมาซีฮาไหม? คัมภีร์ไบเบิลไม่ได้บอก. แต่มาเรียอาจรู้เรื่องนี้เพราะดูเหมือนว่าพวกปุโรหิตใหญ่กับพวกอาลักษณ์และแม้แต่มัด. 2:1-7; โย. 7:40-42) มาเรียไม่ใช่คนที่ไม่รู้เรื่องพระคัมภีร์. (ลูกา 1:46-55) แต่ไม่ว่ามาเรียจะตัดสินใจเดินทางเพราะเชื่อฟังสามี เพราะคำสั่งของทางการ เพราะรู้เรื่องคำพยากรณ์ของพระยะโฮวา หรือเพราะทั้งสามเหตุผล เธอก็ได้วางตัวอย่างที่ดีเยี่ยมแก่เรา. พระยะโฮวาถือว่าความถ่อมใจและการพร้อมจะเชื่อฟังเป็นลักษณะที่มีค่ามากของทั้งชายและหญิง. ตัวอย่างของมาเรียให้กำลังใจเรามากเนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ไม่คิดว่าการเชื่อฟังเป็นสิ่งสำคัญ.
ประชาชนทั่วไปก็รู้เรื่องคำพยากรณ์นี้ดี. (การประสูติของพระคริสต์
9, 10. (ก) มาเรียกับโยเซฟคงนึกถึงอะไรเมื่อเห็นเบทเลเฮม? (ข) ทำไมโยเซฟกับมาเรียต้องค้างคืนในคอกสัตว์?
9 มาเรียคงรู้สึกโล่งอกเมื่อเห็นเบทเลเฮมอยู่ข้างหน้า. ขณะที่พวกเขาเดินขึ้นไหล่เขา ผ่านสวนมะกอกซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งที่จะเก็บเกี่ยวหลังสุด มาเรียกับโยเซฟคงนึกถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านเล็ก ๆ นี้. เบทเลเฮมเล็กมาก
จนไม่ถูกนับเป็นเมืองของแคว้นยูดาห์ตามที่ผู้พยากรณ์มีคากล่าวไว้. อย่างไรก็ตาม หมู่บ้านเล็ก ๆ นี้ก็เป็นบ้านเกิดของโบอัศ นาอะมี และดาวิด เมื่อหนึ่งพันกว่าปีก่อน.10 เมื่อมาถึง มาเรียกับโยเซฟก็เห็นว่าหมู่บ้านนี้มีผู้คนคับคั่ง. คนที่จะมาจดทะเบียนสำมะโนครัวมีมากมายและมาถึงก่อนเขา ห้องพักต่าง ๆ จึงเต็ม. * พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องค้างคืนในคอกสัตว์. เราคงนึกภาพออกว่าโยเซฟจะกังวลใจเพียงไรเมื่อเห็นภรรยาเจ็บท้องมากและเจ็บมากขึ้นเรื่อย ๆ. สถานที่แบบนี้ไม่เหมาะกับการคลอดลูกแม้แต่น้อย.
11. (ก) ทำไมผู้หญิงทุกคนคงเห็นใจมาเรีย? (ข) พระเยซูเป็น “บุตรหัวปี” ในความหมายใดบ้าง?
11 ผู้หญิงทุกคนคงเห็นใจมาเรีย. ก่อนหน้านั้นราว 4,000 ปี พระยะโฮวาได้บอกล่วงหน้าว่าผู้หญิงทุกคนจะคลอดบุตรด้วยความเจ็บปวดเนื่องจากบาปที่ได้รับสืบทอดมา. (เย. 3:16) ไม่มีหลักฐานแสดงว่ามาเรียได้รับการยกเว้น. บันทึกของลูกาไม่ได้พรรณนาเหตุการณ์ตอนนี้อย่างละเอียด บอกแต่เพียงว่า “นางจึงคลอดบุตรชายหัวปี.” (ลูกา 2:7) ใช่แล้ว นี่คือ “บุตรชายหัวปี” หรือบุตรคนแรกของมาเรียก่อนที่เธอจะมีบุตรคนอื่น ๆ อีกอย่างน้อยเจ็ดคน. (มโก. 6:3) แต่บุตรคนนี้ต่างจากคนอื่น. ไม่เพียงเพราะเป็นบุตรคนแรกของเธอ เท่านั้น แต่บุตรคนนี้ยังเป็น “บุตรหัวปีเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง” ของพระยะโฮวา เป็นพระบุตรผู้ได้รับกำเนิดองค์เดียวของพระเจ้า!—โกโล. 1:15, ฉบับ 1971
12. มาเรียวางทารกไว้ที่ไหน และการแสดงละคร ภาพวาด และฉากจำลองเหตุการณ์วันประสูติของพระเยซูต่างจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอย่างไร?
12 ถึงตอนนี้บันทึกของลูกาให้รายละเอียดเพิ่มเติมที่หลายคนคุ้นเคยดี “นางเอาผ้าพันทารกแล้ววางไว้ในรางหญ้า.” (ลูกา 2:7) การแสดงละคร ภาพวาด และฉากจำลองเหตุการณ์วันประสูติของพระเยซูมักให้ภาพเกินจริงและแสดงความรู้สึกเกินควร. ทีนี้ให้เราคิดถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริง. ปกติ แล้วรางหญ้าเป็นที่ใส่อาหารสัตว์ สัตว์ในฟาร์มจะมากินอาหารในรางหญ้านั้น. ครอบครัวของโยเซฟอยู่ในคอกสัตว์ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ที่ไม่ได้มีอากาศสดชื่นหรือถูกสุขอนามัยไม่ว่าจะเป็นสมัยนี้หรือสมัยก่อน. ถ้าหากเลือกได้ คงไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกเกิดในสถานที่เช่นนี้. พ่อแม่ทุกคนคงต้องการให้สิ่งที่ดีที่สุดกับลูกของตน. ยิ่งกว่านั้นสักเท่าไร มาเรียกับโยเซฟคงต้องการจัดหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพระบุตรของพระเจ้า!
13. (ก) มาเรียกับโยเซฟทำดีที่สุดเท่าที่พวกเขาจะทำได้อย่างไร? (ข) พ่อแม่ในทุกวันนี้จะให้ความสำคัญกับการนมัสการพระเจ้าแบบเดียวกับโยเซฟและมาเรียได้อย่างไร?
13 อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดเหล่านี้ไม่ได้ทำให้พวกเขารู้สึกท้อใจ พวกเขาทำดีที่สุดแล้ว. ตัวอย่างเช่น ขอสังเกตว่ามาเรียได้เอาใจใส่ทารกน้อยโดยเอาผ้าพันตัวเขา แล้วให้เขานอนในรางหญ้าเพื่อให้อบอุ่นและปลอดภัย. มาเรียไม่ได้มัวกังวลกับสภาพการณ์ของตัวเองจนละเลยการจัดหาสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เธอจะทำได้. ทั้งเธอและโยเซฟต่างก็ทราบว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่พวกเขาจะทำให้ทารกนี้ได้คือช่วยเหลือและดูแลพระองค์ในด้านการนมัสการพระเจ้า. (อ่านพระบัญญัติ 6:6-8 ) คล้ายกัน พ่อแม่ที่ฉลาดสุขุมในทุกวันนี้จะให้ความสำคัญกับการนมัสการพระเจ้าแบบเดียวกับโยเซฟและมาเรีย แม้ว่าผู้คนในโลกจะไม่เห็นค่าสิ่งนี้.
การเยี่ยมที่ให้กำลังใจ
14, 15. (ก) เหตุใดคนเลี้ยงแกะเหล่านี้อยากเห็นทารกน้อย? (ข) คนเลี้ยงแกะทำอะไรหลังจากเห็นทารกน้อยนอนอยู่ในรางหญ้า?
14 ทันใดนั้น บรรยากาศที่สงบเงียบก็ถูกขัดจังหวะด้วยเสียงอึกทึกวุ่นวาย. พวกคนเลี้ยงแกะพรวดพราดเข้ามาในคอกสัตว์ พวกเขาอยากเห็นครอบครัวนี้โดยเฉพาะทารกน้อย. ชายเหล่านี้พูดไม่หยุดด้วยความตื่นเต้น ใบหน้าพวกเขามีแต่ความยินดี. ก่อนหน้านี้พวกเขาอยู่ที่ไหล่เขากับฝูงสัตว์. * พวกเขารีบ เดินทางมาและเล่าให้โยเซฟกับมาเรียที่กำลังงุนงงฟังว่าพวกเขาเจอเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นอะไรบ้าง. ขณะกำลังเฝ้าฝูงสัตว์อยู่ในตอนกลางคืน จู่ ๆ ก็มีทูตสวรรค์องค์หนึ่งปรากฏแก่พวกเขา. รัศมีของพระยะโฮวาแผ่ทั่วบริเวณนั้น และทูตองค์นั้นบอกว่า พระคริสต์หรือพระมาซีฮาเพิ่งจะประสูติในเบทเลเฮม. พวกเขาจะพบทารกนอนอยู่ในรางหญ้าและมีผ้าพันไว้. จากนั้นก็มีสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่า คือมีทูตสวรรค์หมู่ใหญ่ปรากฏขึ้นแล้วร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าอย่างกึกก้อง!—ลูกา 2:8-14
15 ไม่แปลกเลยที่คนเลี้ยงแกะผู้ถ่อมใจเหล่านี้รีบเดินทางมาเบทเลเฮม. พวกเขาคงตื่นเต้นมากที่เห็นทารกแรกเกิดนอนอยู่ในรางหญ้าอย่างที่ทูตสวรรค์บอก. พวกเขาไม่ได้เก็บข่าวดีนี้เป็นความลับ. “พวกเขาก็เล่าเรื่อง . . . และทุกคนที่ได้ยินเรื่องที่คนเลี้ยงแกะเล่าก็ประหลาดใจ.” (ลูกา 2:17, 18) ในสมัยนั้นพวกผู้นำศาสนามักดูถูกคนเลี้ยงแกะ. แต่พระยะโฮวาทรงเห็นค่าคนเลี้ยงแกะที่ซื่อสัตย์และถ่อมใจเหล่านี้. อย่างไรก็ตาม การที่พวกเขามาเยี่ยมมาเรียทำให้เธอรู้สึกอย่างไร?
เห็นชัดว่าพระยะโฮวาทรงเห็นค่าคนเลี้ยงแกะที่ซื่อสัตย์และถ่อมใจ
16. นอกจากจะตั้งใจฟังคนเลี้ยงแกะแล้ว มาเรียยังทำอะไรอีกซึ่งช่วยเธอให้รักษาความเชื่อไว้ได้?
16 แน่นอน มาเรียคงรู้สึกเหนื่อยล้าจากการคลอดบุตร แต่เธอก็ตั้งใจฟังคนเลี้ยงแกะพูดทุกคำ. ไม่เพียงเท่านั้น “มาเรียจดจำถ้อยคำทั้งหมดนั้นไว้และใคร่ครวญอยู่ในใจ.” (ลูกา 2:19) มาเรียเป็นคนที่คิดใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง. เธอรู้ว่าข่าวที่ทูตสวรรค์นำมาเป็นเรื่องสำคัญมาก. พระยะโฮวาพระเจ้าต้องการให้เธอรู้และเข้าใจว่าบุตรของเธอเป็นใครและมีความสำคัญเพียงไร. มาเรียจึงไม่เพียงแต่ฟังเท่านั้น เธอจดจำคำพูดทุกคำไว้ในใจและใคร่ครวญอยู่ตลอดไม่ว่าเวลาจะล่วงเลยไปนานแค่ไหน. นี่แหละคือสิ่งสำคัญที่ทำให้มาเรีย รักษาความเชื่อไว้ได้และแสดงความเชื่อนั้นตลอดชีวิตของเธอ.—อ่านฮีบรู 11:1
17. เราจะทำตามตัวอย่างของมาเรียได้อย่างไรในเรื่องความจริงที่สำคัญยิ่งในพระคำของพระเจ้า?
17 คุณจะทำตามตัวอย่างของมาเรียไหม? พระยะโฮวาให้มีการบันทึกความจริงที่สำคัญยิ่งไว้ในพระคำของพระองค์. แต่ความจริงเหล่านั้นคงไม่มีประโยชน์ถ้าเราไม่ได้สนใจมัน. สิ่งที่แสดงว่าเราสนใจความจริงคือ เราต้องอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำและถือว่าหนังสือนี้คือพระคำที่มีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ไม่ใช่เป็นเพียงวรรณกรรมชิ้นหนึ่ง. (2 ติโม. 3:16) ดังนั้น เช่นเดียวกับมาเรีย เราต้องเรียนรู้ จดจำความจริงที่มีบอกไว้ในพระคำของพระเจ้า ใคร่ครวญสิ่งที่อ่านและคิดว่าจะเอาคำแนะนำของพระยะโฮวาไปใช้ในชีวิตอย่างไร. ถ้าทำอย่างนั้น ความเชื่อของเราก็จะเข้มแข็งขึ้น.
มีคำกล่าวอื่นอีกที่ต้องจดจำ
18. (ก) ตอนที่พระเยซูยังเป็นทารก โยเซฟกับมาเรียเชื่อฟังพระบัญญัติของโมเซอย่างไร? (ข) เครื่องบูชาที่โยเซฟกับมาเรียถวายที่พระวิหารบอกให้รู้อะไรเกี่ยวกับฐานะของพวกเขา?
18 เมื่อทารกเยซูอายุได้ 8 วัน มาเรียกับโยเซฟก็ให้พระองค์รับสุหนัตตามที่พระบัญญัติของโมเซกำหนดและตั้งชื่อพระองค์ว่าเยซูตามที่พระเจ้าสั่ง. (ลูกา 1:31) และเมื่อทารกอายุ 40 วัน พวกเขาก็เดินทางออกจากเบทเลเฮมไปยังพระวิหารที่กรุงเยรูซาเลมซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 10 กิโลเมตร และถวายเครื่องบูชาเพื่อชำระตัวตามที่พระบัญญัติกำหนดไว้สำหรับคนจน คือนกเขาหรือนกพิราบสองตัว. พวกเขาอาจรู้สึกอายที่ไม่สามารถถวายแกะตัวผู้กับนกเขาอย่างละตัวเหมือนพ่อแม่คู่อื่น ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังพยายามทำตามที่พระบัญญัติกำหนด. ไม่ว่าจะอย่างไร แค่ได้อยู่ที่นั่นพวกเขาก็มีกำลังใจมากแล้ว.—เลวี. 12:6-8; ลูกา 2:21-24
19. (ก) ซิมโอนพูดอะไรกับมาเรียซึ่งเธอจะจดจำไปอีกนาน? (ข) อันนาทำอะไรเมื่อเห็นทารกเยซู?
ลูกา 2:25-35) แม้จะเป็นคำพูดที่บอกถึงอนาคตอันเลวร้าย แต่นี่อาจช่วยมาเรียให้อดทนได้เมื่อต้องเจอกับความทุกข์นั้นในอีก 30 กว่าปีต่อมา. นอกจากซิมโอนแล้ว ยังมีผู้พยากรณ์หญิงชื่ออันนาที่ได้เห็นทารกเยซูและเริ่มพูดถึงทารกนี้กับทุกคนที่เฝ้ารอการปลดปล่อยกรุงเยรูซาเลม.—อ่านลูกา 2:36-38
19 ชายชราชื่อซิมโอนเข้ามาหาพวกเขาแล้วพูดสิ่งหนึ่งกับมาเรียที่เธอคงจะจดจำไปอีกนาน. พระเจ้าเคยสัญญากับชายผู้นี้ว่า ก่อนตายเขาจะได้เห็นพระมาซีฮา และพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาก็เปิดเผยให้เขารู้ว่าทารกเยซูคือผู้ช่วยให้รอดตามที่พยากรณ์ไว้. นอกจากนี้ ซิมโอนยังเตือนมาเรียว่าในวันข้างหน้าเธอจะต้องทนรับความเจ็บปวด. เขาบอกว่าเธอจะรู้สึกเหมือนถูกดาบยาวแทงทะลุ. (20. เหตุใดการพาพระเยซูไปยังพระวิหารที่กรุงเยรูซาเลมเป็นการตัดสินใจที่ดีจริง ๆ?
20 ช่างเป็นการตัดสินใจที่ดีจริง ๆ ที่โยเซฟกับมาเรียพาบุตรน้อยไปยังพระวิหารของพระยะโฮวาที่กรุงเยรูซาเลม. โดยทำเช่นนั้น พวกเขาได้ช่วยลูกของตนให้เริ่มเข้าร่วมการนมัสการพระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์จะทำไปตลอดชีวิต. เมื่ออยู่ที่นั่น พวกเขาทำทุกอย่างที่ทำได้ในการรับใช้พระเจ้าและรับเอาคำแนะนำสั่งสอนรวมทั้งการหนุนใจ. ไม่ต้องสงสัย เมื่อมาเรียออกจากพระวิหารในวันนั้น ความเชื่อของเธอคงเข้มแข็งขึ้นและหัวใจเธอคงเต็มไปด้วยถ้อยคำสำคัญที่ต้องใคร่ครวญและบอกเล่าแก่คนอื่น ๆ.
21. เช่นเดียวกับมาเรีย เราควรทำอะไรเพื่อจะมีความเชื่อเข้มแข็งขึ้น?
21 เป็นภาพที่งดงามจริง ๆ เมื่อเห็นพ่อแม่ที่เป็นพยานพระยะโฮวาในทุกวันนี้กำลังทำตามตัวอย่างของโยเซฟกับมาเรีย โดยพาลูกไปยังการประชุมคริสเตียนเป็นประจำ. พ่อแม่เหล่านี้ทำสุดความสามารถในการรับใช้พระเจ้าและพูดหนุนใจเพื่อนร่วมความเชื่อ. แล้วพวกเขาก็กลับไปโดยมีความเชื่อเข้มแข็งขึ้น มีความสุขมากขึ้น และมีสิ่งดีมากมายที่จะแบ่งปันแก่คนอื่น ๆ. การร่วมประชุมกับพวกเขาทำให้เรารู้สึกสดชื่นจริง ๆ! ถ้าเราทำอย่างนั้น ความเชื่อของเราจะเข้มแข็งขึ้นเช่นเดียวกับมาเรีย.
^ วรรค 7 ขอสังเกตความแตกต่างระหว่างข้อความนี้กับคำพรรณนาการเดินทางครั้งก่อนของมาเรียที่ว่า “มาเรียจึง . . . ไป” เยี่ยมเอลิซาเบท. (ลูกา 1:39) ตอนนั้นมาเรียหมั้นแล้วแต่ยังไม่ได้แต่งงาน เธอจึงอาจตัดสินใจไปเองโดยไม่ได้ปรึกษาโยเซฟ. แต่เมื่อแต่งงานแล้ว ผู้ที่ตัดสินใจว่าทั้งสองจะเดินทางไปด้วยกันคือโยเซฟ ไม่ใช่มาเรีย.
^ วรรค 10 เป็นธรรมดาที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในสมัยนั้นจะมีที่พักแรมสำหรับคนเดินทางหรือกองคาราวาน.
^ วรรค 14 การที่คนเลี้ยงแกะเหล่านี้อยู่นอกบ้านในเวลานั้นยืนยันความถูกต้องของการลำดับเวลาในคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า พระคริสต์ไม่ได้ประสูติในเดือนธันวาคมเพราะเดือนนั้นฝูงสัตว์จะถูกเก็บไว้ในคอกใกล้บ้าน แต่พระองค์ประสูติในช่วงใดช่วงหนึ่งต้นเดือนตุลาคม.