ความพยายามที่จะยุติความยากจน
ความพยายามที่จะยุติความยากจน
คนร่ำรวยยุติความยากจนของตนได้สำเร็จ. แต่ความพยายามของพวกเขาที่จะช่วยมวลมนุษย์ให้หลุดพ้นจากความยากจนยังไม่เคยประสบความสำเร็จเลย. ทำไม? ก็เพราะคนรวยส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ใครหรือสิ่งใดมาทำให้สถานภาพของเขาเปลี่ยนไป. กษัตริย์โซโลมอนแห่งชาติอิสราเอลโบราณเขียนว่า “นี่แน่ะ, น้ำตาของผู้ถูกข่มเหงเป็นต้น, ไม่มีคนเช็ดให้; ในมือของผู้ข่มเหงนั้นได้กุมอำนาจไว้.”—ท่านผู้ประกาศ 4:1
ผู้มีอิทธิพลและมีอำนาจในสังคมสามารถเปลี่ยนโลกนี้โดยขจัดความยากจนให้หมดไปได้ไหม? โซโลมอนได้รับการดลใจให้เขียนว่า “ดูเถอะ, บรรดาการงานนั้นก็อนิจจังเหมือนวิ่งไล่ตามลม. อะไร ๆ ที่คดเคี้ยวโค้งโก่งจะกระทำให้ตรงมิได้.” (ท่านผู้ประกาศ 1:14, 15) ให้เรามาดูความพยายามเพื่อจะยุติความยากจนในปัจจุบัน แล้วเราก็จะเข้าใจถ้อยคำที่กล่าวในข้อคัมภีร์นี้.
ทฤษฎีความร่ำรวยถ้วนหน้า
ในศตวรรษที่ 19 ขณะที่การค้าและอุตสาหกรรมทำให้บางประเทศกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน บางคนที่มีอิทธิพลต่อสังคมได้หันมาสนใจปัญหาความยากจนอย่างจริงจัง. เป็นไปได้ไหมที่จะแจกจ่ายทรัพยากรของโลกให้ทั่วถึงกว่านี้?
บางคนคิดว่าการปกครองแบบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ จะทำให้สังคมโลกมีความเสมอภาคและสามารถกระจายความร่ำรวยให้แก่ประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึง. จริงอยู่ คนร่ำรวยไม่ชอบแนวคิดนี้. แต่คติพจน์ที่ว่า “จากทุกคนแล้วแต่ความสามารถ และสำหรับทุกคนแล้วแต่ความต้องการ” กลับเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง. หลายคนหวังว่าทุกชาติจะรับเอาแนวคิดแบบสังคมนิยมเพื่อโลกนี้จะกลายเป็นโลกแห่งอุดมคติ. ประเทศที่ร่ำรวยบางประเทศได้รับเอาแนวคิดแบบสังคมนิยมหลายอย่างไปใช้ และได้ตั้งรัฐสวัสดิการซึ่งให้คำมั่นว่าจะดูแลประชาชนทุกคน “ตั้งแต่เกิดจนตาย.” ประเทศเหล่านี้อ้างว่าพวกเขาได้ขจัดความยากจนซึ่งคุกคามชีวิตประชาชนออกไปแล้ว.
อย่างไรก็ตาม การปกครองแบบสังคมนิยมไม่เคยประสบความสำเร็จในการสร้างสังคมที่ไม่เห็นแก่ตัว. เป้าหมายที่ว่าประชาชนจะทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมแทนท่านผู้ประกาศ 7:20, 29
ที่จะทำเพื่อตัวเองกลายเป็นเพียงความฝันลม ๆ แล้ง ๆ. บางคนไม่พอใจที่ตนเองต้องทำงานเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลคนยากจน และให้ข้อสังเกตว่าการให้ความช่วยเหลือแบบไม่อั้นทำให้คนยากจนบางคนไม่อยากทำงาน. คำกล่าวของคัมภีร์ไบเบิลเป็นความจริงที่ว่า “ไม่มีคนชอบธรรมสักคนเดียวบนพื้นแผ่นดินโลก, ที่ได้ประพฤติล้วนแต่ดี, และไม่เพลี่ยงพล้ำเลย. . . . พระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นคนสัตย์ซื่อ, แต่มนุษย์ทั้งหลายได้ค้นคว้าเอาความฉลาดแกมโกงออกมา.”—แนวคิดอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าความฝันอเมริกันคือความคาดหวังที่ว่าจะมีดินแดนหนึ่งที่ทุกคนซึ่งเต็มใจทำงานหนักสามารถกลายเป็นคนร่ำรวยได้. ตลอดทั่วโลก หลายประเทศได้ขานรับนโยบายต่าง ๆ ที่ทำให้สหรัฐร่ำรวยมาแล้ว ทั้งการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบบวิสาหกิจเสรี และระบบการค้าเสรี. อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกประเทศสามารถเอานโยบายความฝันอเมริกันไปใช้ได้ เพราะความมั่งคั่งร่ำรวยของประเทศในอเมริกาเหนือไม่ได้เกิดจากระบบการเมืองเพียงอย่างเดียว. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อเมริกาประสบความสำเร็จคือทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมหาศาล และทำเลที่ตั้งที่สามารถติดต่อค้าขายกับนานาชาติได้ง่าย. นอกจากนั้น ระบบเศรษฐกิจโลกที่มีการแข่งขันสูงไม่ได้ทำให้มีผู้ชนะที่กลายเป็นชาติที่ร่ำรวยเท่านั้น แต่ยังทำให้มีผู้แพ้ซึ่งต้องยากจนลงด้วย. มีทางเป็นไปได้ไหมที่จะสนับสนุนประเทศร่ำรวยให้หันมาช่วยประเทศที่ยังยากจนอยู่?
แผนมาร์แชล—ยุทธการปราบความยากจนหรือ?
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ยุโรปประสบความเสียหายอย่างหนักและผู้คนมากมายกลัวว่าพวกเขาจะพากันอดตายเพราะขาดแคลนอาหาร. รัฐบาลสหรัฐเป็นห่วงว่าแนวคิดแบบสังคมนิยมจะเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนในยุโรปมากขึ้น. ดังนั้น สหรัฐจึงทุ่มเงินจำนวนมหาศาลตลอดสี่ปีเพื่อฟื้นฟูระบบอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในประเทศต่าง ๆ ที่ยอมรับนโยบายของสหรัฐ. แผนงานฟื้นฟูยุโรปนี้ซึ่งเรียกว่าแผนมาร์แชลถือว่าประสบความสำเร็จทีเดียว. อิทธิพลของสหรัฐในยุโรปตะวันตกได้เพิ่มขึ้น และความยากจนที่เป็นภัยคุกคามชีวิตก็แทบจะถูกปราบจนหมดสิ้น. แผนการนี้จะปราบความยากจนตลอดทั่วโลกได้จริง ๆ ไหม?
ความสำเร็จของแผนมาร์แชลทำให้รัฐบาลสหรัฐเสนอความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจนทั่วโลก โดยช่วยประเทศเหล่านั้นพัฒนาด้านการเกษตร สาธารณสุข การศึกษา และการคมนาคมขนส่ง. สหรัฐยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าการให้ความช่วยเหลือเช่นนี้ที่แท้แล้วก็เพื่อประโยชน์ของสหรัฐเอง. ประเทศอื่น ๆ ก็พยายามแผ่ขยายอิทธิพลออกไปโดยหยิบยื่นความช่วยเหลือให้แก่ประเทศยากจนเช่นกัน. ประเทศเหล่านี้ทุ่มเงินสนับสนุนไปมากกว่าเงินที่สหรัฐใช้ในแผนมาร์แชลหลายเท่า แต่หลังจากผ่านไปหกสิบปีความพยายามของพวกเขากลับไม่บรรลุผลอย่างที่หวังไว้. จริงอยู่ หลายประเทศที่เคยยากจนก็ร่ำรวยขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อโดยเฉพาะประเทศแถบเอเชียตะวันออก. แต่ในอีกหลายประเทศ แม้การช่วยเหลือที่ได้รับจะทำให้อัตราการเสียชีวิตของเด็กลดลงและเด็กจำนวนมากขึ้นได้รับการศึกษา แต่ประเทศเหล่านั้นก็ยังยากจนข้นแค้นอยู่ดี.
ความช่วยเหลือจากต่างชาติ—ทำไมไม่ได้ผลอย่างที่คาดหวังไว้?
เห็นได้ชัดว่า การช่วยประเทศยากจนให้หลุดพ้นจากความจนนั้นยากกว่าการช่วยประเทศร่ำรวยให้ฟื้นตัวจากสงคราม. ประเทศในยุโรปมีระบบอุตสาหกรรม การค้า และการขนส่งดีอยู่แล้ว. มีเพียงระบบเศรษฐกิจเท่านั้นที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู. ส่วนประเทศที่ยากจน แม้ต่างชาติจะเข้ามาช่วยสร้างถนน โรงเรียน และสถานพยาบาลแล้วก็ตาม ผู้คนก็ยังยากจนข้นแค้นเพราะประเทศเหล่านั้นไม่มีระบบธุรกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ และช่องทางติดต่อค้าขายกับประเทศอื่น ๆ.
วัฏจักรของความยากจนเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและไม่
สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ. ตัวอย่างเช่น โรคภัยทำให้เกิดความยากจนและความยากจนก็ทำให้เกิดโรคภัย. การขาดอาหารอาจทำให้เด็กมีสภาพร่างกายและจิตใจที่อ่อนแอมาก. และเมื่อเด็กเหล่านี้โตเป็นผู้ใหญ่เขาก็ไม่สามารถดูแลลูกของตนได้. นอกจากนั้น เมื่อประเทศร่ำรวยขนอาหารที่เหลือจากการบริโภคในประเทศของตนไป “ช่วย” ประเทศยากจน ชาวนาชาวไร่รวมทั้งพ่อค้าปลีกในประเทศเหล่านั้นก็ไม่สามารถทำมาค้าขายได้ พวกเขาจึงยากจนลงไปอีก. การส่งเงินไปช่วยเหลือรัฐบาลในประเทศยากจนอาจเป็นการเริ่มวัฏจักรอีกอย่างหนึ่ง. เนื่องจากเงินช่วยเหลือเป็นสิ่งที่ยักยอกได้ง่ายจึงอาจทำให้เกิดการคอร์รัปชัน และการคอร์รัปชันก็อาจทำให้คนยากจนลง. กล่าวโดยรวมแล้ว ความช่วยเหลือจากต่างชาติไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ เพราะต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข.ต้นเหตุของความยากจน
ความยากจนข้นแค้นเป็นผลมาจากการที่ชาติต่าง ๆ รัฐบาล และประชาชนต่างก็ทำสิ่งที่ส่งเสริมและปกป้องผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น. ตัวอย่างเช่น รัฐบาลของประเทศที่ร่ำรวยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการยุติความยากจนในโลก เพราะรัฐบาลเหล่านี้เข้ามาบริหารประเทศได้ด้วยการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และพวกเขาต้องคอยเอาอกเอาใจกลุ่มคนที่เลือกเขาเข้ามา. ดังนั้น รัฐบาลประเทศร่ำรวยเหล่านี้จึงไม่ยอมให้เกษตรกรในประเทศยากจนขายผลผลิตให้กับประเทศของตนเพื่อไม่ให้เกษตรกรในประเทศสูญเสียรายได้. นอกจากนั้น ผู้นำในประเทศร่ำรวยมักให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศของตน เพื่อพวกเขาจะขายผลผลิตได้มากกว่าเกษตรกรในประเทศยากจน.
เห็นได้ชัดว่า ปัญหาความยากจนแท้จริงแล้วเกิดจากมนุษย์เอง เพราะประชาชนและรัฐบาลต่างก็พยายามจะปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง. โซโลมอนผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ดังนี้: “มนุษย์ใช้อำนาจเหนือมนุษย์อย่างที่ก่อผลเสียหายแก่เขา.”—ท่านผู้ประกาศ 8:9, ล.ม.
ถ้าเช่นนั้น มีทางเป็นไปได้ไหมที่จะยุติความยากจน? มีรัฐบาลใดไหมที่สามารถเปลี่ยนนิสัยมนุษย์ได้?
[กรอบหน้า 6]
กฎหมายที่ป้องกันความยากจน
พระยะโฮวาพระเจ้าได้ประทานประมวลกฎหมายหรือพระบัญญัติแก่ชาติอิสราเอลโบราณ. การเชื่อฟังพระบัญญัตินี้จะช่วยป้องกันความยากจนได้. พระบัญญัติกำหนดไว้ว่านอกจากตระกูลเลวีซึ่งทำหน้าที่ปุโรหิตแล้ว ชาวอิสราเอลทุกตระกูลจะได้รับที่ดินเป็นมรดก. ที่ดินมรดกของครอบครัวจะเป็นกรรมสิทธิ์ถาวรเพราะไม่สามารถขายขาดได้. ทุก ๆ 50 ปีที่ดินทั้งหมดจะต้องถูกคืนให้แก่เจ้าของเดิมหรือครอบครัวของเขา. (เลวีติโก 25:10, 23) ถ้าใครก็ตามขายที่ดินมรดกของตนเนื่องจากความเจ็บป่วย ภัยพิบัติ หรือเพราะความเกียจคร้าน เขาจะได้รับที่ดินแปลงนั้นกลับมาโดยไม่ต้องซื้อคืนในปีจูบิลี. ไม่มีครอบครัวใดจะยากจนไปตลอดชั่วลูกชั่วหลาน.
มีการจัดเตรียมอีกอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความเมตตากรุณาของพระเจ้า. พระบัญญัติอนุญาตให้คนที่ประสบความทุกข์ยากสามารถขายตัวเองเป็นทาส. เขาจะได้รับค่าตัวล่วงหน้าเพื่อจะใช้หนี้ได้. ถ้าครบเจ็ดปีแล้ว เขายังไถ่ตัวเองไม่ได้ นายทาสจะต้องปล่อยเขาเป็นอิสระและให้เมล็ดพืชพร้อมกับฝูงสัตว์แก่เขาเพื่อจะไปตั้งตัวใหม่. นอกจากนั้น ถ้าคนยากจนจำเป็นต้องกู้ยืมเงิน พระบัญญัติก็ห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยจากเขา. พระบัญญัติยังกำหนดด้วยว่าเมื่อทำการเก็บเกี่ยว ชาวอิสราเอลจะต้องเหลือพืชผลริมไร่นาไว้เพื่อคนยากจนจะเก็บกินได้. ถ้าทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวก็จะไม่มีประชาชนคนใดเป็นขอทาน.—พระบัญญัติ 15:1-14; เลวีติโก 23:22
อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่ามีชาวอิสราเอลบางคนเป็นคนยากจน. ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ก็เพราะชาตินี้ไม่ได้เชื่อฟังพระบัญญัติของพระยะโฮวา. ฉะนั้น ชาติอิสราเอลจึงกลายเป็นเหมือนชาติส่วนใหญ่ในโลกที่บางคนร่ำรวยเป็นเศรษฐีที่ดิน ขณะที่บางคนก็ยากจนข้นแค้นถึงขนาดไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง. ความยากจนเกิดขึ้นในหมู่ชาวอิสราเอลเพราะบางคนไม่ใส่ใจทำตามพระบัญญัติของพระเจ้าและคิดถึงผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าผลประโยชน์ของผู้อื่น.—มัดธาย 22:37-40