คุณพร้อมไหมสำหรับวันที่สำคัญที่สุดในรอบปี?
คุณพร้อมไหมสำหรับวันที่สำคัญที่สุดในรอบปี?
ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่พระเยซูจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ได้ตั้งการฉลองพิเศษขึ้นเพื่อระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์. การฉลองนี้เรียกกันว่า “อาหารมื้อเย็นขององค์พระผู้เป็นเจ้า” หรือ “งานเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้า.” (1 โครินท์ 11:20, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน) พระเยซูแสดงให้เห็นความสำคัญของโอกาสนี้โดยสั่งว่า “จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา.” (ลูกา 22:19, ฉบับ R73) คุณอยากเชื่อฟังคำสั่งของพระเยซูไหม? ถ้าอย่างนั้น คุณคงจะถือว่าวันครบรอบการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเป็นวันที่สำคัญที่สุดในรอบปี.
แต่คุณควรระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเมื่อไร? และคุณจะทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเตรียมตัวพร้อมแล้วสำหรับโอกาสนั้นและคุณเข้าใจความสำคัญของการฉลองนี้จริง ๆ? นี่เป็นคำถามที่คริสเตียนแต่ละคนควรคิดอย่างจริงจัง.
บ่อยแค่ไหน?
ตามปกติแล้ว เรามักจะจัดงานเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญกันปีละครั้ง. ตัวอย่างเช่น แม้ว่าเหตุการณ์น่าเศร้าที่เกิดขึ้นในวันที่ 11 กันยายน 2001 จะไม่เคยลบเลือนไปจากความคิดจิตใจของชาวนิวยอร์กที่สูญเสียผู้เป็นที่รักเมื่อตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่ม แต่เมื่อวันนั้นเวียนมาถึงในแต่ละปี พวกเขาก็ถือว่าวันนั้นเป็นวันพิเศษ.
ในสมัยคัมภีร์ไบเบิลก็มีการระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญปีละครั้งเช่นกัน. (เอศเธระ 9:21, 27) พระยะโฮวาบัญชาให้ชาวอิสราเอลจัดการฉลองเป็นประจำทุกปีเพื่อระลึกถึงการที่พระองค์ปลดปล่อยพวกเขาจากการเป็นทาสในอียิปต์ด้วยวิธีอัศจรรย์. คัมภีร์ไบเบิลเรียกการฉลองนั้นว่าปัศคา และชาวอิสราเอลจะจัดการฉลองนี้ปีละครั้งในวันที่ตรงกับวันที่เขาได้รับการช่วยให้รอด.—เอ็กโซโด 12:24-27; 13:10
หลังจากฉลองปัศคากับอัครสาวกแล้ว พระเยซูได้ตั้งอาหารมื้อพิเศษขึ้นเพื่อเป็นแบบอย่างสำหรับการระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์. (ลูกา 22:7-20) ชาวยิวจัดการฉลองปัศคาปีละครั้ง. ดังนั้น เราจึงสรุปได้ว่าการฉลองใหม่ที่พระเยซูตั้งขึ้นแทนการฉลองปัศคาก็น่าจะจัดปีละครั้งเช่นกัน. แต่จะจัดในวันไหน?
เมื่อไร?
เพื่อจะตอบคำถามนี้มีสองเรื่องที่เราต้องเข้าใจ. เรื่องแรก ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล วันใหม่เริ่มต้นในตอนเย็นหลังดวงอาทิตย์ตกและสิ้นสุดเมื่อดวงอาทิตย์ตกในวันถัดไป. ฉะนั้น เลวีติโก 23:32
เวลาหนึ่งวันจึงเริ่มจากเย็นวันหนึ่งไปจนถึงเย็นอีกวันหนึ่ง.—เรื่องที่สอง คนในสมัยคัมภีร์ไบเบิลไม่ได้ใช้ปฏิทินแบบเดียวกับที่ใช้ในปัจจุบัน. แทนที่จะเรียกเดือนตามชื่อที่เรียกในปัจจุบัน เช่น มีนาคมและเมษายน คัมภีร์ไบเบิลเรียกเดือนเหล่านี้ว่าอะดาร์และไนซาน. (เอศเธระ 3:7) หนึ่งเดือนของชาวยิวจะเริ่มนับตั้งแต่วันขึ้นหนึ่งค่ำไปจนถึงวันขึ้นหนึ่งค่ำ. พวกเขาฉลองปัศคาในวันที่ 14 เดือนไนซานซึ่งเป็นเดือนแรกในปฏิทินของพวกเขา. (เลวีติโก 23:5; อาฤธโม 28:16) วันที่ 14 ไนซานนี้เองเป็นวันที่ชาวโรมันได้ตรึงพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา. พระองค์สิ้นพระชนม์หลังจากการฉลองปัศคาครั้งแรก 1,545 ปี. ดังนั้น วันที่ 14 ไนซานจึงเป็นวันพิเศษจริง ๆ!
แต่วันที่ 14 ไนซานตรงกับวันไหนในปฏิทินที่เราใช้ในปัจจุบัน? การคำนวณแบบง่าย ๆ จะช่วยให้เรารู้วันนั้นได้. วันที่ 1 ไนซานเริ่มต้นเมื่อสามารถเห็นจันทร์เสี้ยวแรกในกรุงเยรูซาเลมหลังจากดวงอาทิตย์ตกในวันที่ใกล้วสันตวิษุวัตที่สุด (วสันตวิษุวัตเป็นการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือ). ถ้าเรานับจากวันนั้นไป 14 วันก็จะมาถึงวันที่ 14 ไนซาน. ตามปกติแล้ววันนี้เป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง. เมื่อใช้วิธีคำนวณดังกล่าว วันที่ 14 ไนซานของปีนี้จะเริ่มต้นเมื่อดวงอาทิตย์ตกในวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2011. *
ดังนั้น ในปีนี้พยานพระยะโฮวาได้เตรียมจัดการประชุมโดยเชิญผู้ที่ปรารถนาจะระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูมาร่วมด้วย. พวกเขายินดีเชิญคุณด้วยความจริงใจ. คุณสามารถสอบถามเวลาและสถานที่จัดการประชุมนี้ได้จากพยานพระยะโฮวา. พวกเขาไม่ได้จัดการประชุมในตอนเช้าหรือตอนบ่าย แต่จะจัดในตอนเย็นหลังดวงอาทิตย์ตก. เพราะเหตุใด? ก็เพราะคัมภีร์ไบเบิลเรียกการฉลองนี้ว่า “อาหารมื้อเย็น.” (1 โครินท์ 11:25) การฉลองอาหารมื้อเย็นซึ่งพระเยซูได้ตั้งขึ้นจะครบรอบปีที่ 1,978 ในเย็นวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2011 นี้. นอกจากนั้น วันนี้ยังตรงกับวันที่ 14 ไนซานซึ่งเป็นวันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ด้วย. วันนี้จึงเป็นวันที่เหมาะที่สุดที่จะระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูมิใช่หรือ?
จะเตรียมตัวอย่างไร?
คุณจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเตรียมตัวสำหรับโอกาสพิเศษนี้ซึ่งจัดขึ้นเพียงปีละครั้ง? วิธีหนึ่งคือคิดใคร่ครวญเกี่ยวกับสิ่งที่พระเยซูทรงทำเพื่อเรา. หลายล้านคนได้มาเข้าใจมากขึ้นว่าการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูมีความหมายเช่นไรเมื่อพวกเขาได้อ่านหนังสือคัมภีร์ไบเบิลสอนอะไรจริงๆ? *—มัดธาย 20:28
อีกวิธีหนึ่งที่จะเตรียมหัวใจของเราให้พร้อมสำหรับโอกาสนี้คืออ่านเรื่องราวชีวิตช่วงท้าย ๆ ของพระเยซูบนแผ่นดินโลก. ในหน้าถัดไปคุณจะเห็นตารางที่มีสามคอลัมน์. คอลัมน์แรกคุณจะเห็นวันที่ตามปฏิทินของเราและตามปฏิทินที่ใช้ในสมัยคัมภีร์ไบเบิล. คอลัมน์ที่สองจะมีคำอธิบายสั้น ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ก่อนที่พระเยซูจะสิ้นพระชนม์. คอลัมน์ที่สามจะบอกให้รู้ว่าเรื่องราวเหล่านั้นอยู่ที่ไหนในหนังสือกิตติคุณสี่เล่มและในหนังสือบุรุษผู้ใหญ่ยิ่งเท่าที่โลกเคยเห็น. *
คุณน่าจะลองหาเวลาอ่านข้อคัมภีร์ที่บอกไว้อย่างน้อยก็ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ซึ่งดำเนินไปจนถึงการฉลองอาหารมื้อเย็นขององค์พระผู้เป็นเจ้า. การอ่านเรื่องราวเหล่านี้จะช่วยให้คุณพร้อมสำหรับวันที่สำคัญที่สุดในรอบปี.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 11 วันนี้อาจไม่ตรงกับวันที่ชาวยิวในปัจจุบันฉลองปัศคา. ทำไม? เพราะทุกวันนี้ชาวยิวส่วนใหญ่ฉลองปัศคาในวันที่ 15 ไนซานเนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าพระบัญชาในเอ็กโซโด 12:6 ชี้ถึงวันนี้. (ดูหอสังเกตการณ์ 15 กุมภาพันธ์ 1990 หน้า 14.) แต่พระเยซูฉลองปัศคาในวันที่ 14 ไนซานตามพระบัญญัติของโมเซ. สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีคำนวณวันดังกล่าว ดูหอสังเกตการณ์ 15 มิถุนายน 1977 หน้า 383-384 (ภาษาอังกฤษ).
^ วรรค 14 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา. โปรดดู หน้า 47-56, 206-208 หรืออ่านที่เว็บไซต์ www.watchtower.org.
^ วรรค 15 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
[คำโปรยหน้า 22]
ระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู, วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2011
[ตาราง/ภาพหน้า 23, 24]
(ดูรายละเอียดในวารสาร)
สัปดาห์สุดท้าย
2011 วันอังคารที่ 12 เมษายน
▪ วันซะบาโต
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 101 ว. 2-4 *
9 ไนซาน (เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก)
ในสมัยคัมภีร์ไบเบิลวันใหม่เริ่มต้นในตอนเย็นหลังดวงอาทิตย์ตกและสิ้นสุดเมื่อดวงอาทิตย์ตกในวันถัดไป
▪ รับประทานอาหารร่วมกับซีโมนคนโรคเรื้อน
▪ มาเรียเทน้ำมันหอมลงบนพระเศียร
▪ ชาวยิวมาหาพระเยซูกับลาซะโร
□บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 101 ว. 5-9
2011 วันพุธที่ 13 เมษายน
▪ เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเลม
▪ สอนในพระวิหาร
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 102
10 ไนซาน (เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก)
▪ พักค้างคืนที่หมู่บ้านเบทาเนีย
2011 วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน
▪ เดินทางไปกรุงเยรูซาเลมแต่เช้าตรู่
▪ ชำระพระวิหาร
▪ พระยะโฮวาตรัสจากสวรรค์
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 103, 104
11 ไนซาน (เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก)
2011 วันศุกร์ที่ 15 เมษายน
▪ สอนในพระวิหารโดยใช้อุปมาโวหาร
▪ ตำหนิพวกฟาริซาย
▪ สังเกตดูหญิงม่ายที่บริจาคเงิน
▪ ทำนายว่ากรุงเยรูซาเลมจะพินาศ
▪ บอกเรื่องสัญญาณที่ชี้ถึงการประทับของพระองค์ในอนาคต
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 105 ถึง 112 ว. 1
12 ไนซาน (เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก)
2011 วันเสาร์ที่ 16 เมษายน
▪ อยู่กับสาวกเงียบ ๆ ที่หมู่บ้านเบทาเนีย
▪ ยูดาเตรียมแผนทรยศ
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 112 ว 2-4
13 ไนซาน (เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก)
2011 วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน
▪ เปโตรกับโยฮันเตรียมการฉลองปัศคา
▪ พระเยซูและอัครสาวกอีกสิบคนตามไปตอนบ่าย ๆ
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 112 ว. 5 ถึง 113 ว. 1
14 ไนซาน (เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก)
▪ ฉลองปัศคา
▪ ล้างเท้าให้อัครสาวก
▪ ให้ยูดาออกไป
▪ ตั้งการฉลองเพื่อระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 113 ว. 2 จนจบ 116
ตอนเที่ยงคืน
2011 วันจันทร์ที่ 18 เมษายน
▪ ถูกทรยศและถูกจับในสวนเกทเซมาเน
▪ พวกอัครสาวกหนีไป
▪ ถูกพิจารณาคดีในสภาซันเฮดริน
▪ เปโตรปฏิเสธพระเยซู
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 117 จนจบ 120
▪ ถูกพิจารณาคดีในสภาซันเฮดรินอีกครั้ง
▪ ถูกนำตัวไปหาปีลาต, แล้วก็เฮโรด, แล้วกลับไปหาปีลาตอีก
▪ ถูกตัดสินประหารชีวิตและถูกตรึง
▪ สิ้นพระชนม์ประมาณบ่ายสามโมง
▪ พระศพถูกนำลงจากหลักและถูกนำไปฝัง
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 121 ถึง 127 ว. 7
15 ไนซาน (เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก)
▪ วันซะบาโต
2011 วันอังคารที่ 19 เมษายน
▪ ปีลาตอนุญาตให้จัดยามเฝ้าอุโมงค์ฝังศพของพระเยซู
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 127 ว. 8-9
16 ไนซาน (เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก)
2011 วันพุธที่ 20 เมษายน
▪ ถูกปลุกให้คืนพระชนม์
▪ ปรากฏแก่เหล่าสาวก
□ บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง 127 ว. 10 ถึง 129 ว. 10
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 29 ตัวเลขนี้หมายถึงบทในหนังสือบุรุษผู้ใหญ่ยิ่งเท่าที่โลกเคยเห็น (บุรุษผู้ใหญ่ยิ่ง). สำหรับตารางที่มีข้อคัมภีร์อ้างอิงพร้อมคำอธิบายเกี่ยวกับงานรับใช้ของพระเยซูในช่วงสุดท้ายจะดูได้ในหนังสือ “พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและเป็นประโยชน์” หน้า 290 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.