มิชชันนารีถูกส่งออกไปเพื่อ ‘สอนคนให้เป็นสาวก’
การสำเร็จหลักสูตรโรงเรียนกิเลียดรุ่นที่ 128
มิชชันนารีถูกส่งออกไปเพื่อ ‘สอนคนให้เป็นสาวก’
“เพื่อคนทุกชาติจะได้ยินข่าวดีต้องมีสาวกบางคนที่เต็มใจจากบ้านและครอบครัวเพื่อไปประกาศข่าวดีในต่างแดน.” นี่เป็นคำกล่าวเปิดระเบียบวาระที่น่าตื่นเต้นยินดีและเสริมสร้างความเชื่อโดยเดวิด สเปลน สมาชิกคณะกรรมการปกครองของพยานพระยะโฮวา.
วันที่ 13 มีนาคม 2010 ผู้คนเกือบ 8,000 คนได้เข้าร่วมในวันสำเร็จหลักสูตรของนักเรียนโรงเรียนว็อชเทาเวอร์แห่งกิเลียดรุ่นที่ 128. มิตรสหาย, สมาชิกครอบครัว, และแขกจาก 27 ประเทศได้มาในโอกาสนี้.
“สาวกไม่อาจจะอยู่แต่ในบ้าน”
บราเดอร์สเปลนซึ่งเป็นประธานของงานกล่าวเปิดระเบียบวาระโดยพูดถึงพระบัญชาของพระเยซูที่ว่า “จงไปสอนคนจากทุกชาติให้เป็นสาวก.” (มัดธาย 28:19, 20) เขาเน้นว่าพระเยซูได้ส่งสาวกออกไปหาผู้คน. จริงอยู่ ในวันเพนเทคอสต์ปีสากลศักราช 33 มีผู้คนจากเมโสโปเตเมีย, แอฟริกาเหนือ, และหลายภูมิภาคของจักรวรรดิโรมันเข้ามายังกรุงเยรูซาเลมและได้ยินข่าวดี. ถึงกระนั้น ผู้บรรยายกล่าวว่า “สาวกไม่อาจจะอยู่แต่ในบ้านและรอให้ผู้คนจากทุกชาติมาหาพวกเขา. พวกเขาต้องออกไปจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลกเพื่อเสาะหาผู้คน.”—กิจการ 1:8
บราเดอร์สเปลนกล่าวว่า “พระเยซูไม่เพียงบอกสาวกว่าพวกเขาต้องทำอะไร แต่พระองค์สอนพวกเขาให้รู้วิธีที่จะทำงานนั้น. พระองค์ไม่เพียงบอกพวกเขาให้อธิษฐาน แต่พระองค์สอนพวกเขาให้รู้วิธีอธิษฐาน. พระองค์ไม่เพียงบอกพวกเขาให้ประกาศ แต่พระองค์แสดงให้พวกเขาเห็นวิธีประกาศ. พระองค์ไม่เพียงบอกให้พวกเขาเป็นครูที่ดีแต่พระองค์แสดงให้พวกเขาเห็นวิธีสอนที่ดีและมีประสิทธิภาพ.”
ประธานได้พูดกับพ่อแม่ของนักเรียนโดยยกคำตรัสของพระเยซูที่รับรองกับสาวกว่า “เราจะอยู่กับพวกเจ้าเสมอจนถึงช่วงสุดท้ายของยุค.” (มัดธาย 28:20) บราเดอร์สเปลนรับรองกับผู้ฟังว่าพระเยซูจะทรงดูแลนักเรียนเหล่านี้ด้วย ขณะที่พวกเขาทำงานมอบหมายในต่างแดน.
“จงไปอวดเรื่องพระยะโฮวา”
แอนโทนี มอร์ริสสมาชิกคณะกรรมการปกครองกระตุ้นนักเรียนว่า “จงไปอวดเรื่องพระยะโฮวา.” เขากล่าวว่าการอวดมีทั้งที่ดีและไม่ดี. การอวดที่ไม่ดีเกี่ยวข้องกับการยกย่องตัวเอง. การอวดในทางที่ดีมีกล่าวถึงใน 1 โครินท์ 1:31 ที่ว่า “คนที่อวด ให้เขาอวดเรื่องพระยะโฮวา.” บราเดอร์มอร์ริสบอกว่า “มีสิ่งหนึ่งที่จะอวดได้นั่นคือ การมีความรู้และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องพระยะโฮวาพระเจ้า. ที่จริง เป็นสิทธิพิเศษอันยิ่งใหญ่สำหรับพวกคุณ และสำหรับผมด้วย ที่ได้ชื่อตามพระนามศักดิ์สิทธิ์ ที่ได้เป็นพยานพระยะโฮวาคนหนึ่ง.”—ยิระมะยา 9:24.
หลังจากนั้นผู้บรรยายได้เน้นความสำคัญของการทำให้คนอื่นรู้จักพระนามของพระยะโฮวาโดยเล่าประสบการณ์ของมิชชันนารีคนหนึ่งในแอฟริกา. มิชชันนารีคนนี้กับภรรยากำลังเดินทางไปสอนคัมภีร์ไบเบิล. ที่ด่านตรวจ ทหารหนุ่มคนหนึ่งเล็งปืนมาที่พี่น้องชายคนนี้แล้วถามว่าเขาเป็นใคร. ภรรยาของเขาซึ่งนึกถึงสิ่งที่ได้เรียนจากโรงเรียนกิเลียดหันไปกระซิบสามีว่า “บอกเขาว่าคุณเป็นพยานพระยะโฮวาและกำลังจะไปสอนคัมภีร์ไบเบิล.” เขาทำตามที่เธอแนะนำและได้รับอนุญาตให้ผ่านไปได้. วันถัดมา สามีภรรยาคู่นี้ได้ยินข่าวจากวิทยุว่าประธานาธิบดีได้สั่งให้ทหารของเขาตามล่ากลุ่มมือปืนลอบสังหารที่เรียกตัวเองว่ามิชชันนารี! เนื่องจากพวกเขาบอกว่าเป็นพยานพระยะโฮวาแทนที่จะ
บอกว่าเป็นมิชชันนารี สามีภรรยาคู่นี้จึงไม่ต้องเจอเรื่องเดือดร้อน. บราเดอร์มอร์ริสปิดท้ายคำบรรยายของเขาโดยกล่าวว่า “เมื่อคุณไปถึงเขตงานที่ได้รับมอบหมาย จงไปอวดเรื่องพระยะโฮวา. อวดเกี่ยวกับทุกสิ่งที่พระยะโฮวากำลังจะทำให้สำเร็จ เพราะพระองค์ทรงใช้คุณเพื่อสง่าราศีนิรันดร์ของพระองค์.”“คุณจะทำงานมอบหมายของคุณให้สำเร็จไหม?”
เจฟฟรีย์ แจ็กสันสมาชิกคณะกรรมการปกครองและอดีตมิชชันนารีสนับสนุนให้นักเรียนที่กำลังจบหลักสูตรคิดถึงคำถามข้างต้นนี้. เขาถามว่า “เมื่อพูดถึงมิชชันนารีเราคิดถึงอะไร?” เขาอธิบายว่าคำว่า “มิชชันนารี” มาจากคำภาษาละตินหมายถึงคนหรือกลุ่มคนที่ได้รับงานมอบหมายพิเศษ. ในฐานะพยานพระยะโฮวา งานมอบหมายของเราคือการประกาศข่าวดีและช่วยคนอื่นให้รู้จักและมีสัมพันธภาพที่ดีกับพระยะโฮวา. เราทำงานนี้โดยเลียนแบบพระเยซูคริสต์ผู้ทรงให้ความสำคัญกับงานมอบหมายของพระองค์บนโลกเสมอ. พระเยซูตรัสกับปอนติอุสปีลาตผู้ว่าราชการชาวโรมันว่า “เพราะเหตุนี้เราจึงเข้ามาในโลก เพื่อเราจะเป็นพยานยืนยันความจริง.”—โยฮัน 18:37
ผู้บรรยายช่วยให้นักเรียนคิดถึงเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการรบที่เมืองเยริโค (ยะริโฮ). เป็นเวลาหกวันที่ทหารชาวอิสราเอลต้องตื่นแต่เช้าตรู่, สวมชุดออกรบ, เดินรอบเมืองเยริโคแล้วก็เพียงแค่กลับค่าย. ผู้บรรยายกล่าวว่า “ตามความคิดของมนุษย์งานที่ทหารเหล่านี้ได้รับมอบหมายดูจะไร้สาระและแปลกประหลาด.” เขากล่าวว่าทหารบางคนอาจคิดว่า ‘ช่างเสียเวลาจริง ๆ.’ แต่เมื่อถึงวันที่เจ็ดทหารอิสราเอลได้รับคำสั่งให้เดินรอบเมืองนั้นเจ็ดรอบ จากนั้นก็โห่ร้องเสียงดังเหมือนเข้าประจัญบานข้าศึก. ผลเป็นอย่างไร? กำแพงเมืองเยริโคก็พังราบ!—ยะโฮซูอะ 6:13-15, 20
บราเดอร์แจ็กสันยกบทเรียนสี่อย่างที่ได้จากเรื่องเมืองเยริโค. (1) การเชื่อฟังเป็นสิ่งสำคัญ. เราควรทำตามวิธีของพระยะโฮวาและไม่คิดว่าวิธีของเราดีกว่า. (2) ความเชื่อและการไว้ใจพระยะโฮวาเป็นเรื่องสำคัญ. “โดยความเชื่อ . . . กำแพงเมืองก็พังทลาย” โดยไม่ต้องใช้ท่อนซุงกระทุ้งให้พัง. (ฮีบรู 11:30) (3) เราต้องอดทน. ไม่ช้าก็เร็ว พระพรของพระยะโฮวาจะ “ตกอยู่แก่เจ้า.” (พระบัญญัติ 28:2) (4) อย่ายอมแพ้. คิดถึงงานมอบหมายของคุณเสมอ. บราเดอร์แจ็กสันกล่าวสรุปว่า “ถ้าคุณจำบทเรียนสี่อย่างนี้ไว้เสมอ คุณก็จะทำงานมอบหมายของคุณให้สำเร็จเพื่อสง่าราศีและการสรรเสริญแด่พระยะโฮวา.”
จุดเด่นอื่น ๆ ของระเบียบวาระ
“จงรักคัมภีร์ไบเบิลและผู้ประพันธ์.” นี่เป็นหัวเรื่องคำบรรยายของแมกซ์เวลล์ ลอยด์ สมาชิกคณะกรรมการสาขาสหรัฐ. เขาบอกนักเรียนว่า “จงให้คัมภีร์ไบเบิลเป็นพลังผลักดันชีวิตคุณ.” จากนั้นเขาได้หนุนใจพวกนักเรียนโดยให้คำแนะนำต่อไปนี้: อย่าปล่อยให้ความรักของคุณต่อพระยะโฮวาเป็นแบบเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ. อย่าคาดหมายว่าทุกคนจะเข้าใจสิ่งที่คุณสอน. พยายามทำให้ความจริงในคัมภีร์ไบเบิลเข้าใจง่ายเพื่อให้เรื่องที่คุณสอนเข้าถึงหัวใจของนักศึกษา. จงถ่อมใจ. อย่าแสดงว่าคุณมีความรู้มากกว่าคนอื่น. จงสอนด้วยการวางตัวอย่าง. จงให้นักศึกษาเห็นว่าคุณมีความรักอย่างลึกซึ้งต่อคัมภีร์ไบเบิล.
“จงสังเกตดูอีกา.” ไมเคิล เบอร์เนตต์ผู้สอนคนหนึ่งของชั้นเรียนและอดีตมิชชันนารีให้คำบรรยายในหัวเรื่องนี้. เขากล่าวว่าบางครั้งอาจมีเรื่องที่ทำให้เราวิตกกังวล. แต่ขอให้นึกถึงคำแนะนำของพระเยซูที่ว่า “จงสังเกตดูอีกา พวกมันไม่ได้หว่านหรือเกี่ยว . . . แต่พระเจ้าทรงเลี้ยงดูพวกมัน.” (ลูกา 12:24) ตามพระบัญญัติของโมเซ อีกาเป็นสัตว์ที่ไม่สะอาดและไม่ควรกิน. ชาวอิสราเอลจะต้องถือว่านกเหล่านี้เป็นสัตว์ที่พึงรังเกียจ. (เลวีติโก 11:13, 15) แม้พวกมันจะเป็นสัตว์ไม่สะอาดแต่พระเจ้าก็ทรงเลี้ยงดูพวกมัน. บราเดอร์เบอร์เนตต์กล่าวว่า “ดังนั้น ถ้าในอนาคตคุณต้องเจอกับปัญหาที่ทำให้วิตกกังวลมากก็ขอให้คิดถึงอีกา. ถ้าพระเจ้ายังทรงดูแลนกที่ไม่สะอาดและน่ารังเกียจนี้ พระองค์ก็ย่อมจะดูแลคุณซึ่งเป็นคนสะอาดในสายพระเนตรของพระองค์ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด.”
มัดธาย 20:13, 14) เราได้บทเรียนอะไร? อย่าเปรียบเทียบตัวคุณกับคนอื่น. บราเดอร์นูแมร์กล่าวว่า “การเปรียบเทียบในแง่ลบมีแต่จะทำให้คุณสูญเสียความยินดี. แต่ที่แย่ยิ่งกว่าคือการทำอย่างนั้นอาจทำให้คุณทิ้งงานมอบหมายซึ่งเป็นงานรับใช้ที่พิเศษและล้ำค่ายิ่ง.” ผู้บรรยายเตือนนักเรียนให้ระลึกว่าพระเยซูทรงชี้นำงานเกี่ยวของพระเจ้าในสมัยของเราและพระองค์มีสิทธิ์ที่จะปฏิบัติกับสาวกของพระองค์อย่างไรก็ได้. ถ้าพระยะโฮวาและพระเยซูจะให้บางคนได้อะไรที่พิเศษกว่าคุณ พระองค์ทั้งสองก็ไม่ได้ทำผิด. จงคิดถึงสิ่งที่คุณได้รับและอย่าให้ “ค่าจ้าง” ที่คนอื่นได้รับทำให้คุณไม่สามารถทำงานที่พระยะโฮวามอบหมายได้อย่างเต็มที่.
“ที่เราจ่ายให้เจ้านั้นถูกแล้ว.” มาร์ก นูแมร์ผู้สอนอีกคนหนึ่งของโรงเรียนกิเลียดพิจารณากับผู้ฟังทุกคนเกี่ยวกับตัวอย่างเปรียบเทียบของพระเยซูเรื่องคนงานในสวนองุ่น. คนงานบางคนทำงานตลอดทั้งวัน. บางคนทำงานแค่ชั่วโมงเดียว. แต่พวกเขาทุกคนกลับได้รับค่าจ้างเท่ากัน! พวกที่ทำงานนานกว่าจึงบ่นต่อว่าเจ้าของสวน. เจ้าของสวนบอกกับพวกเขาว่า “ที่เราจ่ายให้เจ้านั้นถูกแล้ว. เจ้าตกลงกับเราหนึ่งเดนาริอนมิใช่หรือ? จงรับค่าจ้างของเจ้าแล้วไปเถิด.” (ประสบการณ์และการสัมภาษณ์
นอกจากจะใช้เวลาในการเรียนและทำการบ้านแล้ว นักเรียนกิเลียดยังทำงานประกาศร่วมกับประชาคมของพยานพระยะโฮวาในท้องถิ่นด้วย. แซม รอเบอร์สันผู้สอนคนหนึ่งของโรงเรียนกิเลียดได้สัมภาษณ์นักเรียนบางคนเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขา. ตัวอย่างเช่น ซิสเตอร์อะเลสซานดรา คีร์คเลอร์ได้พบผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งไม่สบายใจมากที่ลูกชายติดบุหรี่. อะเลสซานดรากลับไปเยี่ยมผู้หญิงคนนี้อีกครั้งหนึ่งพร้อมกับวารสารตื่นเถิด!ที่มีบทความเกี่ยวกับเรื่องนั้น. แม้จะไม่พบใครที่บ้านแต่เธอก็วางวารสารนั้นไว้. ในที่สุด อะเลสซานดราก็พบผู้หญิงคนนั้นที่บ้านและได้รับเชิญให้เข้าไปในบ้าน. ผู้หญิงคนนั้นชอบบทความนั้นมากและบอกว่า “ฉันมักจะสงสัยอยู่บ่อย ๆ ว่าพระเจ้าต้องการจะสอนอะไรฉัน ถึงได้ทำให้ฉันมีปัญหามากมายอย่างนี้.” อะเลสซานดราเปิดพระคัมภีร์ให้เธอดูว่าพระเจ้าไม่ได้เป็นต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา. (ยาโกโบ 1:13) ตอนนี้ทั้งผู้หญิงคนนั้นและลูกชายของเธอกำลังศึกษาคัมภีร์ไบเบิล.
เมลวิน โจนส์จากแผนกการรับใช้ได้สัมภาษณ์ผู้ที่เคยจบจากโรงเรียนกิเลียดสามคนคือ ยอน ซอมเมอรุดซึ่งปัจจุบันรับใช้ในแอลเบเนีย, มาร์ก แอนเดอร์สันซึ่งรับใช้ในเคนยา, และเจมส์ ฮินเดอเรอร์ซึ่งรับใช้ในแผนกโรงเรียนตามระบอบของพระเจ้า. ทั้งสามคนเห็นตรงกันว่าโรงเรียนกิเลียดไม่เพียงสอนให้นักเรียนรู้ความจริงพื้นฐานในคัมภีร์ไบเบิลแต่ยังสอนพวกเขาให้รู้วิธีนำความจริงเหล่านั้นไปใช้ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครหรือรับใช้ที่ไหน.
หลังจากนั้นตัวแทนนักเรียนได้อ่านจดหมายแสดงความขอบคุณและความรู้สึกจากหัวใจของพวกเขา. จอห์น บารร์ซึ่งอายุ 96 ปีและเป็นสมาชิกคณะกรรมการปกครองที่อายุมากที่สุดได้ปิดท้ายระเบียบวาระโดยอธิษฐานขอพระยะโฮวาอวยพรงานของนักเรียนกิเลียดรุ่นที่ 128.
[แผนภูมิ/แผนที่หน้า 31]
สถิติชั้นเรียน
นักเรียนมาจาก: 8 ประเทศ
จำนวนนักเรียน: 54 คน
จำนวนคู่สมรส: 27 คู่
เฉลี่ยอายุ: 35.2 ปี
เฉลี่ยจำนวนปีที่รับบัพติสมา: 19.1 ปี
เฉลี่ยจำนวนปีที่รับใช้เต็มเวลา 13.8 ปี
[แผนที่]
(ดูรายละเอียดจากวารสาร)
นักเรียนได้รับมอบหมายไปยัง 25 ประเทศดังแสดงไว้ข้างล่าง
เขตมอบหมายของมิชชันนารี
ฮอนดูรัส
กัวเตมาลา
นิการากัว
สาธารณรัฐโดมินิกัน
อารูบา
กายอานา
เอกวาดอร์
โบลิเวีย
ปารากวัย
ลัตเวีย
โรมาเนีย
โคโซโว
เซอร์เบีย
แอลเบเนีย
กินี
ไลบีเรีย
โกตดิวัวร์
กานา
นามิเบีย
รวันดา
มาดากัสการ์
มองโกเลีย
ไต้หวัน
กัมพูชา
อินโดนีเซีย
(เขตมอบหมายที่อยู่ในการดูแลของสาขาออสเตรเลีย)
[ภาพหน้า 30]
นักเรียนกิเลียดสาธิตประสบการณ์จากการประกาศ
[ภาพหน้า 31]
ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นที่ 128 ของโรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียด
รายชื่อข้างล่างนี้นับจากแถวหน้าไปแถวหลัง และเรียงลำดับจากซ้ายไปขวา.
(1) Keller, E.; Ostopowich, I.; Jacobsen, S.; Arias, M.; Dieckmann, Y.; Tanaka, J.; Harada, K.
(2) Camacho, L.; Kirchler, A.; Rodríguez, S.; Ward, B.; Trenalone, K.; Victoria, V.; Oxley, F.; Nguyen, K.
(3) Oxley, O.; De Dios, A.; Lindström, C.; Allen, J.; Meads, T.; Waddington, J.; Victoria, E.
(4) Harada, H.; Lindström, A.; Orsini, E.; Logue, D.; Missud, T.; Bergeron, S.; Camacho, G.; Ward, T.
(5) Kirchler, W.; Nguyen, H.; Kremer, E.; Burgaud, C.; Titmas, N.; De Dios, C.; Rodríguez, A.; Waddington, M.
(6) Dieckmann, J.; Allen, C.; Titmas, R.; Arias, J.; Bergeron, E.; Keller, J.; Ostopowich, F.; Burgaud, F.
(7) Tanaka, K.; Kremer, J.; Jacobsen, R.; Trenalone, J.; Logue, J.; Meads, D.; Missud, D.; Orsini, A.