พระเยซูทรงวางแบบอย่างในเรื่องความถ่อมใจ
“เราวางแบบอย่างไว้ให้พวกเจ้า เพื่อว่าเราได้ทำต่อพวกเจ้าอย่างไร พวกเจ้าจะทำต่อกันอย่างนั้นด้วย.”—โย. 13:15
1, 2. ระหว่างคืนสุดท้ายของชีวิตพระเยซูบนแผ่นดินโลก พระองค์ทรงสอนอัครสาวกโดยการวางตัวอย่างเช่นไร?
ตอนนั้นเป็นคืนสุดท้ายของชีวิตพระเยซูบนแผ่นดินโลก และพระองค์ทรงอยู่กับเหล่าอัครสาวกในห้องชั้นบนของบ้านหลังหนึ่งในกรุงเยรูซาเลม. ระหว่างที่รับประทานอาหารมื้อเย็นอยู่นั้น พระเยซูทรงลุกขึ้นและถอดเสื้อคลุมวางไว้. พระองค์ทรงหยิบผ้าเช็ดตัวมาคาดเอว. แล้วพระองค์ทรงเทน้ำใส่ในอ่างและเริ่มล้างเท้าให้เหล่าสาวก และใช้ผ้าเช็ดตัวเช็ดให้แห้ง. หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงสวมเสื้อคลุม. เหตุใดพระเยซูจึงทำอย่างถ่อมพระทัยเช่นนี้?—โย. 13:3-5
2 พระเยซูเองทรงอธิบายว่า “เจ้าทั้งหลายเข้าใจสิ่งที่เราได้ทำให้พวกเจ้าไหม? . . . ถ้าเราซึ่งเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและเป็นอาจารย์ได้ล้างเท้าให้พวกเจ้าแล้ว พวกเจ้าก็ควรล้างเท้าให้กันด้วย. เพราะเราวางแบบอย่างไว้ให้พวกเจ้า เพื่อว่าเราได้ทำต่อพวกเจ้าอย่างไร พวกเจ้าจะทำต่อกันอย่างนั้นด้วย.” (โย. 13:12-15) โดยแสดงความเต็มใจที่จะทำงานต่ำต้อยเช่นนั้น พระเยซูทรงวางแบบอย่างที่ให้บทเรียนแก่เหล่าอัครสาวกซึ่งจะฝังลึกในจิตใจของพวกเขาและจะกระตุ้นพวกเขาให้ถ่อมใจในวันข้างหน้า.
3. (ก) พระเยซูทรงเน้นความสำคัญของความถ่อมใจอย่างไรในสองโอกาส? (ข) เราจะพิจารณาอะไรในบทความนี้?
3 เมื่อพระเยซูทรงล้างเท้าเหล่าอัครสาวก นั่นไม่ใช่ครั้งแรกที่พระองค์ทรงเน้นคุณค่าของความถ่อมใจ. ก่อนหน้านั้นในโอกาสหนึ่ง เมื่ออัครสาวกบางคนแสดงน้ำใจแข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน พระเยซูทรงเรียกเด็กคนหนึ่งให้มายืนข้าง ๆ พระองค์และทรงบอกพวกเขาว่า “ผู้ใดรับเด็กเล็ก ๆ คนนี้ในนามของเราก็รับเราด้วย และผู้ใดที่รับเราก็รับพระองค์ผู้ทรงใช้เรามาด้วย. ด้วยว่าผู้ใดที่ประพฤติตัวเป็นผู้เล็กน้อยท่ามกลางพวกเจ้าทุกคน ผู้นั้นจะเป็นใหญ่.” (ลูกา 9:46-48) ในเวลาต่อมา เมื่อตรัสกับพวกฟาริซายที่ถือว่าตัวเองสำคัญกว่าคนอื่น ๆ พระเยซูทรงบอกว่า “ทุกคนที่ยกตัวเองจะถูกเหยียดลงและคนที่ถ่อมตัวลงจะถูกยกฐานะให้สูงขึ้น.” (ลูกา 14:) เห็นได้ชัดว่า พระเยซูทรงประสงค์ให้เหล่าสาวกเป็นคนถ่อมใจ กล่าวคือมีจิตใจอ่อนน้อมและไม่ยโสโอหัง. เพื่อจะเลียนแบบพระองค์ ขอให้เราพิจารณาตัวอย่างของพระองค์ในเรื่องความถ่อมใจอย่างละเอียด. เราจะเห็นด้วยว่าคุณลักษณะนี้เป็นประโยชน์ไม่เพียงต่อคนที่แสดงความถ่อมใจแต่ต่อคนอื่น ๆ ด้วย. 11
“ข้าพเจ้าไม่ได้หันหลังให้”
4. พระบุตรองค์เดียวของพระเจ้าทรงแสดงความถ่อมใจอย่างไรก่อนพระองค์มาเกิดเป็นมนุษย์?
4 พระบุตรองค์เดียวของพระเจ้าแสดงความถ่อมใจแม้แต่ก่อนที่พระองค์จะเสด็จมายังแผ่นดินโลก. ก่อนมาเกิดเป็นมนุษย์ พระเยซูทรงอยู่กับพระบิดาของพระองค์เป็นเวลานานสุดคณานับ. หนังสือยะซายาบอกเกี่ยวกับสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่พระบุตรมีกับพระบิดาโดยกล่าวว่า “พระยะโฮวาเจ้าได้ทรงประทานลิ้นให้ข้าพเจ้าสำหรับสอน, เพื่อข้าพเจ้าจะได้รู้จักที่จะใช้คำสอนให้แก่คนที่อ่อนระอาใจ. ทุก ๆ เช้าพระองค์ทรงปลุกเรียกข้าพเจ้าที่หู, เพื่อให้ข้าพเจ้าเรียนบทเรียน. พระยะโฮวาเจ้าได้ทรงเปิดหูของข้าพเจ้า, และข้าพเจ้าไม่ได้ขัดขืน, ข้าพเจ้าไม่ได้หันหลังให้.” (ยซา. 50:4, 5) พระบุตรของพระเจ้าแสดงทัศนคติที่ถ่อมพระทัยและสนใจจริง ๆ ในสิ่งที่พระยะโฮวาสอน. พระองค์ทรงกระตือรือร้นและเต็มใจจะเรียนจากพระเจ้าองค์เที่ยงแท้. พระเยซูคงต้องสังเกตตัวอย่างของพระยะโฮวาในเรื่องความถ่อมอย่างใกล้ชิดขณะที่พระเจ้าทรงแสดงความเมตตาต่อมนุษย์ที่ผิดบาป!
5. ในฐานะอัครทูตสวรรค์มิคาเอล พระเยซูทรงวางตัวอย่างไว้อย่างไรในเรื่องความถ่อมใจและความเจียมตัวเมื่อมีข้อขัดแย้งกับพญามาร?
5 ไม่ใช่สิ่งทรงสร้างทั้งหมดในสวรรค์มีทัศนคติแบบเดียวกับพระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า. แทนที่จะต้องการเรียนรู้จากพระยะโฮวา ทูตสวรรค์องค์หนึ่งซึ่งต่อมาได้กลายเป็นซาตานพญามารปล่อยให้ตัวเองถูกครอบงำด้วยคุณลักษณะที่ตรงกันข้ามกับความถ่อมใจ ซึ่งก็คือความทะนงตัวและความหยิ่ง แล้วก็ขืนอำนาจพระยะโฮวา. ในทางตรงกันข้าม พระเยซูไม่เคยรู้สึกไม่พอใจฐานะของพระองค์เองในสวรรค์อีกทั้งไม่ต้องการใช้อำนาจของพระองค์อย่างผิด ๆ. ในฐานะอัครทูตสวรรค์มิคาเอล พระเยซูไม่ทำเกินขอบเขตอำนาจของพระองค์เมื่อทรงมี ‘ข้อขัดแย้งกับพญามารเรื่องกายของโมเซ.’ แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พระบุตรของพระเจ้าแสดงความถ่อมใจและความเจียมตัว. พระองค์ทรงยินดีให้พระยะโฮวา ผู้พิพากษาองค์สูงสุดแห่งเอกภพ จัดการเรื่องนี้ด้วยวิธีและตามเวลาของพระยะโฮวาเอง.—อ่านยูดา 9
6. พระเยซูทรงแสดงความถ่อมใจอย่างไรในการตอบรับงานมอบหมายให้มารับใช้เป็นพระมาซีฮา?
6 ในบรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่พระเยซูทรงเรียนรู้ในช่วงก่อนที่พระองค์มาเกิดเป็นมนุษย์ คงต้องมีคำพยากรณ์ที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์บนแผ่นดินโลกในฐานะพระมาซีฮารวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน. ดังนั้น พระองค์คงรู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุการณ์อะไรที่ไม่น่ายินดีเกิดขึ้นกับพระองค์. ถึงกระนั้น พระเยซูทรงตอบรับงานมอบหมายให้มาอยู่บนแผ่นดินโลกและสิ้นพระชนม์ในฐานะพระมาซีฮาที่พระเจ้าทรงสัญญา. เพราะเหตุใด? อัครสาวกเปาโลเน้นถึงความถ่อมใจของพระบุตรองค์เดียวของพระเจ้าโดยเขียนว่า “แม้ว่าพระองค์ทรงมีสภาพอย่างพระเจ้า แต่พระองค์ก็ไม่เคยคิดจะชิงอำนาจเพื่อจะมีฐานะเท่าเทียมกับพระเจ้า แต่พระองค์ทรงสละพระองค์เองแล้วรับสภาพทาสและมาเกิดเป็นมนุษย์.”—ฟิลิป. 2:6, 7
ในฐานะมนุษย์ ‘พระองค์ทรงถ่อมพระทัย’
7, 8. พระเยซูทรงแสดงความถ่อมใจอย่างไรในช่วงที่ยังเป็นเด็กและในช่วงที่ทรงรับใช้บนแผ่นดินโลก?
7 เปาโลเขียนว่า “เมื่อ [พระเยซู] ทรงเห็นว่าพระองค์เองมีสภาพเป็นมนุษย์แล้ว พระองค์ก็ทรงถ่อมพระทัยเชื่อฟังจนสิ้นพระชนม์ คือสิ้นพระชนม์บนเสาทรมาน.” (ฟิลิป. 2:8) ตั้งแต่เด็ก พระเยซูทรงวางแบบอย่างในเรื่องความถ่อมใจไว้ให้เรา. ถึงแม้ว่าได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาที่เป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ คือโยเซฟและมาเรีย พระเยซูทรง “อยู่ในการปกครองของทั้งสองต่อไป” ด้วยความถ่อมใจ. (ลูกา 2:51) นั่นช่างเป็นแบบอย่างที่ดีจริง ๆ สำหรับ เยาวชน ซึ่งจะได้รับพระพรจากพระเจ้าเมื่อพวกเขาเต็มใจอยู่ในการปกครองของบิดามารดา!
8 เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว พระเยซูทรงแสดงความถ่อมใจโดยจัดให้การทำตามพระประสงค์ของพระยะโฮวามาก่อนความต้องการของพระองค์เอง. (โย. 4:34) ในระหว่างงานรับใช้ พระเยซูคริสต์ทรงใช้พระนามเฉพาะของพระเจ้าและทรงช่วยประชาชนที่จริงใจให้รับความรู้ถ่องแท้เกี่ยวกับคุณลักษณะของพระยะโฮวาและพระประสงค์ของพระองค์สำหรับมนุษยชาติ. พระเยซูยังดำเนินชีวิตประสานกับสิ่งที่พระองค์ทรงสอนเกี่ยวกับพระยะโฮวาด้วย. ตัวอย่างเช่น สิ่งแรกที่พระเยซูตรัสถึงในคำอธิษฐานแบบอย่างคือ “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายผู้สถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์.” (มัด. 6:9) ด้วยวิธีนี้ พระเยซูทรงสอนเหล่าสาวกว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการทำให้พระนามพระยะโฮวาเป็นที่นับถืออันบริสุทธิ์. พระองค์เองทรงดำเนินชีวิตแบบนั้น. เมื่อใกล้จะสิ้นสุดงานรับใช้บนแผ่นดินโลก พระเยซูทรงสามารถทูลอธิษฐานถึงพระยะโฮวาได้ว่า “ข้าพเจ้าได้ทำให้พวกเขา [เหล่าอัครสาวก] รู้จักพระนามของพระองค์แล้วและจะทำให้พวกเขารู้อีก.” (โย. 17:26) นอกจากนั้น ตลอดเวลาที่พระเยซูทรงทำงานรับใช้ พระองค์ทรงยกย่องสรรเสริญพระยะโฮวาสำหรับสิ่งที่พระองค์ได้ทำให้สำเร็จบนแผ่นดินโลก.—โย. 5:19
9. ซะคาระยาพยากรณ์อะไรเกี่ยวกับพระมาซีฮา และคำพยากรณ์นี้สำเร็จเป็นจริงกับพระเยซูอย่างไร?
9 ซะคาระยาพยากรณ์เกี่ยวกับพระมาซีฮาโดยเขียนว่า “โอ้บุตรีแห่งซีโอนจงยินดีเป็นอันมาก, โอ้บุตรีแห่งยะรูซาเลมจงโห่ร้องด้วยชื่นชม, นี่แน่ะ, กษัตริย์ของท่านเสด็จมาหาท่าน, มีความชอบธรรมแลประกอบด้วยฤทธิ์ช่วยให้รอด, แลมีพระทัยอันสุภาพ, แลเสด็จนั่งบนลาแลลูกลา.” (ซคา. 9:9) คำพยากรณ์นี้สำเร็จเป็นจริงเมื่อพระเยซูเสด็จเข้าสู่กรุงเยรูซาเลมก่อนเทศกาลปัศคาสากลศักราช 33. ฝูงชนนำเอาเสื้อคลุมและกิ่งไม้มาปูตามทาง. ที่จริง คนทั้งเมืองพากันแตกตื่นเมื่อพระองค์เสด็จเข้าในเมือง. แม้แต่เมื่อผู้คนยกย่องพระองค์ในฐานะกษัตริย์ พระเยซูก็ทรงถ่อมพระทัย.—มัด. 21:4-11
10. การที่พระเยซูทรงเต็มใจเชื่อฟังจนสิ้นพระชนม์พิสูจน์ข้อเท็จจริงอะไร?
10 แนวทางชีวิตที่ถ่อมพระทัยและเชื่อฟังของพระเยซูคริสต์โยบ 1:9-11; 2:4) บันทึกเกี่ยวกับความซื่อสัตย์จงรักภักดีที่สมบูรณ์แบบของพระคริสต์ยังยกย่องเชิดชูพระยะโฮวาว่าพระองค์มีสิทธิ์อย่างถูกต้องและชอบธรรมในฐานะผู้ปกครององค์สูงสุดแห่งเอกภพ. แน่นอน พระยะโฮวาทรงมีพระทัยยินดีเมื่อเห็นว่าพระบุตรผู้ถ่อมพระทัยทรงภักดีต่อพระองค์อย่างไม่เสื่อมคลาย.—อ่านสุภาษิต 27:11
ขณะอยู่บนแผ่นดินโลกถึงจุดสุดยอดเมื่อพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์บนเสาทรมาน. ด้วยการทำอย่างนั้น พระองค์ทรงพิสูจน์ให้เห็นชัดว่ามนุษย์สามารถรักษาความภักดีต่อพระยะโฮวาได้แม้เมื่อถูกทดสอบจนถึงขีดสุด. นอกจากนั้น พระเยซูยังแสดงด้วยว่าข้อกล่าวหาของซาตานที่ว่ามนุษย์รับใช้พระยะโฮวาด้วยเหตุผลที่เห็นแก่ตัวนั้นไม่เป็นความจริง. (11. เครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูคริสต์ทำให้มนุษย์ที่เชื่อฟังมีความหวังอะไร?
11 พระเยซูทรงจ่ายค่าไถ่สำหรับมนุษย์ทั้งสิ้นด้วยเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์บนเสาทรมาน. (มัด. 20:28) ค่าไถ่นี้ทำให้พระยะโฮวาสามารถให้อภัยบาปของเราได้อย่างที่สอดคล้องกับข้อเรียกร้องอันชอบธรรมของพระองค์ และทำให้มนุษย์มีโอกาสจะได้รับชีวิตนิรันดร์. เปาโลเขียนว่า “คนทุกชนิดเป็นผู้ชอบธรรมเพื่อจะได้ชีวิตก็เนื่องจากการพิสูจน์ความชอบธรรมหนเดียว.” (โรม 5:18) การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูทำให้คริสเตียนผู้ถูกเจิมด้วยพระวิญญาณมีความหวังจะได้รับชีวิตอมตะในสวรรค์ และทำให้ “แกะอื่น” มีความหวังจะได้รับชีวิตตลอดไปบนแผ่นดินโลก.—โย. 10:16; โรม 8:16, 17
พระเยซูทรง “ถ่อมใจ”
12. พระเยซูทรงแสดงความอ่อนโยนและความถ่อมใจอย่างไรในการปฏิบัติต่อมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์?
12 พระเยซูทรงเชิญทุกคนที่ “ตรากตรำและมีภาระมาก” ให้มาหาพระองค์. พระองค์ตรัสว่า “จงรับแอกของเราแบกไว้และเรียนจากเรา เพราะเราเป็นคนอ่อนโยนและถ่อมใจ แล้วเจ้าทั้งหลายจะสดชื่น.” (มัด. 11:28, 29) ความถ่อมใจและความอ่อนโยนกระตุ้นพระเยซูให้กรุณาและไม่ลำเอียงในการปฏิบัติต่อมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์. พระองค์ไม่ทรงคาดหมายในสิ่งที่เกินกำลังความสามารถของเหล่าสาวก. พระองค์ทรงชมเชยและให้กำลังใจพวกเขา. พระองค์ไม่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถหรือไร้ค่า. แน่นอน พระเยซูไม่ทรงเข้มงวดเกินไปหรือกดขี่. ในทางตรงกันข้าม พระองค์ทรงรับรองกับเหล่าสาวกว่าถ้าพวกเขาเข้ามาใกล้ชิดพระองค์และทำตามคำสอนของพระองค์ พวกเขาจะสดชื่น เพราะแอกของพระองค์นั้นพอเหมาะและภาระของพระองค์ก็เบา. ผู้คนทุกเพศทุกวัยต่างรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่กับพระองค์.—มัด. 11:30
13. พระเยซูทรงแสดงความเมตตาสงสารต่อผู้ด้อยโอกาสอย่างไร?
13 เมื่อติดต่อเกี่ยวข้องกับสามัญชนชาวอิสราเอล พระเยซูทรงสงสารพวกเขาเพราะพวกเขาอยู่ในฐานะที่ด้อยโอกาสในสังคม และพระองค์ทรงสนใจในสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องได้รับ. เมื่อใกล้ถึงเมืองเยริโค พระองค์ทรงพบขอทานตาบอดคนหนึ่งชื่อบาร์ทิเมอุสกับเพื่อนของเขาที่ไม่ได้บันทึกชื่อไว้. ทั้งสองขอให้พระเยซูช่วยโดยร้องไม่หยุด แต่ฝูงชนดุว่าเขาทั้งสองให้เงียบ ๆ ไว้. คงเป็นเรื่องง่ายมากที่จะเพิกเฉยคำขอของชายตาบอดสองคนนี้! แต่แทนที่มัด. 20:29-34; มโก. 10:46-52
จะทำอย่างนั้น พระเยซูทรงบอกให้ผู้คนพาเขามาหาพระองค์ และด้วยความสงสารพระเยซูทรงรักษาเขาให้มองเห็นได้. ใช่แล้ว พระเยซูทรงเลียนแบบพระยะโฮวาพระบิดาของพระองค์ด้วยการแสดงความถ่อมใจและความเมตตาต่อคนบาปที่ต่ำต้อย.—“ผู้ใดถ่อมตัวลงจะถูกยกฐานะให้สูงขึ้น”
14. แนวทางชีวิตที่ถ่อมพระทัยของพระเยซูทำให้เกิดประโยชน์อะไร?
14 แนวทางชีวิตที่ถ่อมพระทัยของพระเยซูคริสต์ทำให้มีความยินดีและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง. พระยะโฮวาทรงยินดีที่เห็นพระบุตรที่รักของพระองค์ถ่อมพระทัยและยินดีทำตามพระประสงค์ของพระองค์. เหล่าอัครสาวกและสาวกทั้งหลายได้รับความสดชื่นจากความอ่อนโยนและความถ่อมใจของพระเยซู. ตัวอย่าง คำสอน และคำชมเชยอย่างอบอุ่นของพระองค์กระตุ้นพวกเขาให้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ. คนทั่วไปได้รับประโยชน์จากความถ่อมใจของพระเยซู เพราะพวกเขาได้รับความช่วยเหลือ คำสอน และการหนุนใจจากพระองค์. ที่จริง มนุษย์ทั้งสิ้นที่สามารถได้รับการไถ่ถอนจะได้รับผลประโยชน์ถาวรจากเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซู.
15. พระเยซูทรงได้รับประโยชน์อย่างไรจากการเป็นคนถ่อมใจ?
15 จะว่าอย่างไรสำหรับพระเยซู? ความถ่อมใจของพระองค์เป็นประโยชน์ต่อพระองค์ไหม? ใช่แล้ว เพราะพระเยซูทรงบอกเหล่าสาวกว่า “ผู้ใดถ่อมตัวลงจะถูกยกฐานะให้สูงขึ้น.” (มัด. 23:12) ถ้อยคำดังกล่าวเป็นความจริงในกรณีของพระองค์เอง. เปาโลอธิบายว่า “พระเจ้าจึงทรงโปรดให้ [พระเยซู] ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นและทรงประทานพระนามอันสูงส่งเหนือนามอื่นทั้งหมดแก่พระองค์ เพื่อว่าใครก็ตามที่อยู่ในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก รวมทั้งคนที่อยู่ใต้พื้นดินจะคุกเข่าลงในพระนามพระเยซู และลิ้นทุกลิ้นจะยอมรับอย่างเปิดเผยว่าพระเยซูคริสต์เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าเพื่อยกย่องพระเจ้าผู้เป็นพระบิดา.” เนื่องด้วยแนวทางชีวิตที่ถ่อมพระทัยและซื่อสัตย์ของพระเยซูบนแผ่นดินโลก พระยะโฮวาพระเจ้าจึงทรงยกพระบุตรขึ้นให้มีอำนาจเหนือสิ่งทรงสร้างทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก.—ฟิลิป. 2:9-11
พระเยซูจะ ‘ทรงม้าไปเพื่อเห็นแก่ความจริงและคนอ่อนน้อมถ่อมตน’
16. พระบุตรของพระเจ้าจะแสดงความถ่อมใจต่อไปอย่างไรในอนาคต?
16 พระบุตรของพระเจ้าจะทรงแสดงความถ่อมใจต่อไปในอนาคต. พระคัมภีร์ข้อหนึ่งในบทเพลงสรรเสริญบอกล่วงหน้าถึงวิธีที่พระเยซู กษัตริย์ผู้อยู่ในสวรรค์ จะทรงจัดการศัตรูของพระเจ้าว่า “ด้วยความสง่างาม ขอให้พระองค์เสด็จออกไปมีชัย ขอพระองค์ทรงม้าไปเพื่อเห็นแก่ความจริง ความยุติธรรม และคนอ่อนน้อมถ่อมตน.” (เพลง. 45:4, ล.ม.) ณ อาร์มาเก็ดดอน พระเยซูคริสต์จะทรงต่อสู้เพื่อปกป้องคนที่ถ่อมใจ ยุติธรรม และรักความจริง. และอะไรจะเกิดขึ้นในตอนสิ้นสุดรัชสมัยพันปีเมื่อกษัตริย์มาซีฮา “ทรงทำลายการปกครองทุกแบบ อีกทั้งผู้มีอำนาจและผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงแล้ว”? พระองค์จะทรงแสดงความถ่อมใจไหม? ใช่แล้ว เพราะเมื่อถึงตอนนั้นพระองค์จะ “มอบราชอาณาจักรแด่พระเจ้า ผู้เป็นพระเจ้าและพระบิดาของพระองค์.”—อ่าน 1 โครินท์ 15:24-28
17, 18. (ก) เหตุใดจึงสำคัญที่ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาจะทำตามแบบอย่างความถ่อมใจของพระเยซู? (ข) จะมีการพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
17 จะว่าอย่างไรสำหรับเรา? เราจะทำตามแบบอย่างอันยอดเยี่ยมของพระเยซูและแสดงความถ่อมใจไหม? ณ อาร์มาเก็ดดอน พระเยซูคริสต์พระมหากษัตริย์จะทรงช่วยเฉพาะคนที่ถ่อมใจและชอบธรรมให้รอด. ดังนั้น เพื่อเราจะได้รับความรอดจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องพัฒนาความถ่อมใจ. นอกจากนั้น เช่นเดียวกับที่แนวทางชีวิตที่ถ่อมพระทัยของพระเยซูคริสต์ทำให้เกิดประโยชน์ต่อพระองค์เองและคนอื่น ๆ การที่เราแสดงความถ่อมใจก็จะทำให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ทาง.
18 อะไรจะช่วยเราได้ให้ทำตามแบบอย่างความถ่อมใจของพระเยซู? เราจะเป็นคนถ่อมใจได้อย่างไรแม้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ยากจะถ่อมใจ? จะมีการพิจารณาคำถามเหล่านี้ในบทความถัดไป.