จงรักษาความสำนึกถึงความเร่งด่วน
จงรักษาความสำนึกถึงความเร่งด่วน
“จงประกาศพระคำ จงประกาศอย่างรีบด่วน.”—2 ติโม. 4:2
คุณอธิบายได้ไหม?
เหตุใดคริสเตียนในศตวรรษแรกจึงประกาศอย่างรีบด่วน?
เราจะรักษาความสำนึกถึงความเร่งด่วนได้อย่างไร?
เหตุใดการประกาศเรื่องราชอาณาจักรในเวลานี้จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนยิ่งกว่าแต่ก่อน?
1, 2. มีคำถามอะไรเกิดขึ้นเกี่ยวกับคำสั่งที่ให้ “ประกาศอย่างรีบด่วน”?
คนที่ทำงานช่วยชีวิตมักจะทำงานด้วยความสำนึกถึงความเร่งด่วน. ตัวอย่างเช่น นักดับเพลิงจะรีบรุดไปยังที่เกิดเหตุเมื่อมีการแจ้งเหตุไฟไหม้. พวกเขารู้ว่าชีวิตของหลายคนอาจได้รับอันตราย.
2 ในฐานะพยานพระยะโฮวา เราหวังว่าจะช่วยชีวิตผู้คนได้. เพื่อจะทำอย่างนั้นได้ เราทำงานมอบหมายของเราในการประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรอย่างจริงจัง. แน่นอน เราไม่ได้ทำงานอย่างรีบเร่งในลักษณะเดียวกับนักดับเพลิง. ถ้าอย่างนั้น อัครสาวกเปาโลหมายความเช่นไรเมื่อท่านกระตุ้นเตือนว่า “จงประกาศพระคำ จงประกาศอย่างรีบด่วน”? (2 ติโม. 4:2) เราจะประกาศอย่างรีบด่วนได้อย่างไร? และเหตุใดงานของเราจึงเป็นงานที่เร่งด่วนมาก?
เหตุใดเราต้องประกาศอย่างรีบด่วน?
3. การที่ผู้คนยอมรับหรือปฏิเสธข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรอาจก่อให้เกิดผลเช่นไร?
3 เมื่อเห็นว่างานประกาศของเราเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คน คุณอาจรู้สึกว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะบอกข่าวดีแก่คนอื่น ๆ. (โรม 10:13, 14) พระคำของพระเจ้ากล่าวว่า “เมื่อเราว่าแก่คนชั่วว่าเจ้าจะตายเป็นแท้, ถ้าเขาจะกลับจากการบาปของตน, และกระทำการสัตย์ชอบธรรม. . . . เขาจะมีชีวิตเป็นแท้, จะมิได้ตาย. การบาปทั้งปวงของเขาที่เขาได้ทำไว้นั้นจะมิได้เป็นที่ระลึกแก่เขา.” (ยเอศ. 33:14-16) จริงทีเดียว คัมภีร์ไบเบิลบอกคนที่สอนข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรว่า “ท่านจะช่วยทั้งตัวท่านเองและคนที่ฟังท่านให้รอด.”—1 ติโม. 4:16; ยเอศ. 3:17-21
4. เหตุใดติโมเธียวจึงจำเป็นต้องสำนึกถึงความเร่งด่วน?
4 เพื่อจะเข้าใจว่าทำไมเปาโลกระตุ้นติโมเธียวให้สำนึกถึงความเร่งด่วน ขอให้พิจารณาบริบทของข้อคัมภีร์หลักของบทความนี้. “จงประกาศพระคำ จงประกาศอย่างรีบด่วนทั้งในเวลาที่สะดวก2 ติโม. 4:2-4) พระเยซูทรงบอกล่วงหน้าว่าจะเกิดการออกหาก. (มัด. 13:24, 25, 38) เมื่อใกล้จะเกิดเหตุการณ์นี้จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ติโมเธียวจะ “ประกาศพระคำ” แม้แต่ในประชาคมเพื่อคริสเตียนจะไม่ถูกชักนำให้หลงด้วยคำสอนเท็จที่หลอกลวงแต่ดึงดูดใจ. ชีวิตของผู้คนตกอยู่ในอันตราย. ในทุกวันนี้เป็นอย่างไร?
และในยามยากลำบาก จงว่ากล่าว ตักเตือนแรง ๆ กระตุ้นเตือนด้วยความอดกลั้นไว้นานและด้วยศิลปะในการสอน. เพราะจะมีช่วงเวลาหนึ่งที่พวกเขาจะไม่ยอมฟังคำสอนที่ก่อประโยชน์ แต่จะรวบรวมครูไว้มาก ๆ เพื่อให้สอนเรื่องที่พวกเขาชอบฟังตามที่พวกเขาต้องการ และพวกเขาจะเลิกฟังความจริงแล้วหันไปฟังเรื่องเท็จ.” (5, 6. เราอาจพบผู้คนที่มีแนวคิดอันเป็นที่นิยมเช่นไรในงานประกาศของเรา?
5 การออกหากจากการนมัสการแท้ในทุกวันนี้มีเพิ่มขึ้นและแพร่หลาย. (2 เทส. 2:3, 8) ผู้คนในทุกวันนี้ชอบฟังคำสอนอะไร? ในหลายแห่ง มีการส่งเสริมคำสอนเรื่องวิวัฒนาการด้วยศรัทธาอันแรงกล้าแบบที่มีให้แก่ศาสนา. แม้ว่าตามปกติแล้วมีการนำเสนอเรื่องวิวัฒนาการโดยใช้ภาษาทางวิทยาศาสตร์ แต่เรื่องนี้แทบจะกลายเป็นศาสนาหนึ่งไปแล้ว ซึ่งส่งผลต่อทัศนะของผู้คนที่มีต่อพระเจ้าและคนอื่น ๆ. คำสอนอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมก็คือคำสอนที่ว่าพระเจ้าไม่สนใจมนุษย์เรา; ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องสนใจพระองค์. ทำไมคำสอนดังกล่าวจึงดึงดูดใจมากจนกล่อมผู้คนหลายล้านคนให้หลับฝ่ายวิญญาณ? คำสอนทั้งสองมีแนวคิดอย่างหนึ่งแฝงอยู่ กล่าวคือ ‘คุณจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ เพราะไม่มีพระเจ้าที่จะพิพากษาการกระทำของคุณ.’ นี่เป็นแนวคิดที่ผู้คนมากมายชอบฟัง.—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 10:4
6 แต่ยังมีเรื่องอื่นอีกที่ผู้คนชอบฟัง. บางคนที่ยังไปโบสถ์ชอบให้ศาสนาจารย์บอกพวกเขาว่า ‘ไม่ว่าคุณจะทำอะไร พระเจ้าก็รักคุณ.’ นักเทศน์และบาทหลวงชอบสอนเรื่องที่คนชอบฟังโดยทำให้พวกเขาเชื่อว่าพระเจ้าทรงอวยพรพิธีมิสซา พิธีอื่น ๆ การเฉลิมฉลองทางศาสนา และรูปเคารพ. ผู้ไปโบสถ์เหล่านี้แทบจะไม่รู้ตัวเลยว่าพวกเขาอยู่ในสภาพที่เป็นอันตราย. (เพลง. 115:4-8) ถึงกระนั้น ถ้าเราสามารถปลุกให้พวกเขาตื่นฝ่ายวิญญาณเพื่อเข้าใจความจริงในคัมภีร์ไบเบิล พวกเขาก็จะได้รับประโยชน์จากราชอาณาจักรของพระเจ้า.
การประกาศอย่างรีบด่วนหมายถึงอะไรในทุกวันนี้?
7. เราอาจแสดงความสำนึกถึงความเร่งด่วนได้อย่างไร?
7 ศัลยแพทย์ที่สำนึกในหน้าที่ต้องตั้งใจทำงานอย่างไม่วอกแวก เพราะถ้าเขาวอกแวกเขาอาจทำให้คนไข้เสียชีวิตได้. ในงานประกาศของคริสเตียน เราสามารถแสดงความสำนึกถึงความเร่งด่วนโดยจดจ่ออยู่กับงานของเรา เช่น โดยคิดถึงเรื่องบางเรื่อง คำถาม หรือข้อมูลบางอย่างที่อาจกระตุ้นความสนใจของคนที่เราพบ. นอกจากนั้น ความสำนึกถึงความเร่งด่วนยังอาจทำให้เราปรับเปลี่ยนตารางเวลาของเราเพื่อจะเยี่ยมผู้คนในเวลาที่พวกเขาพร้อมจะตอบรับมากกว่าด้วย.—โรม 1:15, 16; 1 ติโม. 4:16
8. การลงมือทำอย่างรีบด่วนมักเกี่ยวข้องกับอะไร?
8 การสำนึกถึงความเร่งด่วนยังเกี่ยวข้องกับการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ด้วย. (อ่านเยเนซิศ 19:15) ตัวอย่างเช่น ขอให้นึกภาพว่าหลังจากแพทย์ได้ผลตรวจแล้ว เขาเรียกคุณเข้ามาในห้องและพูดกับคุณอย่างจริงจังว่า “อาการป่วยของคุณต้องรีบรักษาโดยด่วน. คุณมีเวลาแค่หนึ่งเดือนที่จะทำอะไรบางอย่างในการรักษา.” คุณคงไม่รีบวิ่งออกจากห้องเหมือนที่นักดับเพลิงทำเมื่อได้รับแจ้งเหตุไฟไหม้. แต่คุณคงจะขอคำแนะนำจากแพทย์ กลับบ้าน แล้วก็คิดอย่างจริงจังว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่จะต้องทำก่อน.
9. เหตุใดเราจึงกล่าวได้ว่าเปาโลประกาศด้วยความสำนึกถึงความเร่งด่วนขณะอยู่ที่เมืองเอเฟโซส์?
9 เราสามารถเข้าใจมากขึ้นในเรื่องความเร่งด่วนที่เปาโลกล่าวถึงโดยสังเกตจากคำพูดที่ท่านบอกกิจการ 20:18-21) ดูเหมือนว่าตั้งแต่วันแรกที่ท่านไปถึง ท่านยุ่งอยู่กับการประกาศข่าวดีแก่ผู้คนตามบ้าน. นอกจากนั้น เป็นเวลาสองปีที่ท่าน “บรรยายในห้องประชุมโรงเรียนของทีรันนุสทุกวัน” เป็นประจำ. (กิจ. 19:1, 8-10) เห็นได้ชัดว่าความสำนึกถึงความเร่งด่วนส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันของเปาโล. การที่เราถูกกระตุ้นให้ “ประกาศอย่างรีบด่วน” ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เรามีงานมากจนรับไม่ไหว. อย่างไรก็ตาม เราควรจัดให้งานประกาศเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกในชีวิต.
ผู้ปกครองจากเมืองเอเฟโซส์เกี่ยวกับการประกาศข่าวดีที่ท่านทำในแคว้นเอเชีย. (อ่าน10. เหตุใดเรายินดีที่คริสเตียนทำงานอย่างรีบด่วนเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว?
10 ตัวอย่างของนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเริ่มประกาศข่าวดีก่อนจะถึงปี 1914 แสดงให้เห็นว่าการสำนึกถึงความเร่งด่วนหมายถึงอะไร. แม้ว่าพวกเขามีกำลังคนเพียงไม่กี่พัน แต่พวกเขาเข้าใจความเร่งด่วนของยุคสมัยและทำงานประกาศเรื่องราชอาณาจักรอย่างกระตือรือร้น. พวกเขาส่งคำเทศน์ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มากกว่า 2,000 ชื่อฉบับและจัดฉายภาพสไลด์สีและภาพยนตร์เคลื่อนไหวที่ชื่อ “ภาพยนตร์เรื่องการทรงสร้าง.” ด้วยวิธีนี้ พวกเขานำข่าวดีไปถึงผู้คนหลายล้านคน. ถ้าพระยะโฮวาไม่ประทานความสำนึกถึงความเร่งด่วนให้พวกเขา จะมีพวกเราสักกี่คนที่ได้ยินข่าวสารเรื่องราชอาณาจักร?—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 119:60
ระวังจะสูญเสียความสำนึกถึงความเร่งด่วน
11. อะไรชักนำให้บางคนสูญเสียความสำนึกถึงความเร่งด่วน?
11 อาจมีบางสิ่งที่ดึงความสนใจของเราไปจนทำให้เราไม่ได้ให้ความสำคัญแก่งานประกาศมากเท่าที่ควร. ระบบของซาตานมุ่งเป้าจะทำให้เราหมกมุ่นกับเรื่องส่วนตัวและเรื่องที่ไม่สำคัญ. (1 เป. 5:8; 1 โย. 2:15-17) บางคนที่เคยจัดให้การรับใช้พระยะโฮวามีความสำคัญเป็นอันดับแรกสูญเสียความสำนึกถึงความเร่งด่วน. ตัวอย่างเช่น คริสเตียนในศตวรรษแรกที่ชื่อเดมัสเคยเป็น “เพื่อนร่วมงาน” กับเปาโล แต่เขาถูกระบบที่ไม่เลื่อมใสพระเจ้าชักนำให้เขวไป. แทนที่จะเสริมกำลังเปาโลพี่น้องของเขาซึ่งกำลังลำบาก เดมัสกลับทิ้งท่านไป.—ฟิเล. 23, 24; 2 ติโม. 4:10
12. เรามีโอกาสที่จะทำอะไรในตอนนี้ และเรามีโอกาสที่จะทำอะไรได้ตลอดไป?
12 ถ้าเราต้องการรักษาความสำนึกถึงความเร่งด่วนไว้ เราต้องต่อสู้กับแรงกระตุ้นที่จะเพลิดเพลินกับสิ่งที่โลกนี้เสนอให้. เราควรพยายามเพื่อจะ “ยึดชีวิตแท้ไว้ให้มั่น.” (1 ติโม. 6:18, 19) คุณคงไม่สงสัยว่าชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลกภายใต้ราชอาณาจักรของพระเจ้าจะทำให้เรามีโอกาสเพลิดเพลินกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจโดยไม่มีที่สิ้นสุด. แต่สำหรับตอนนี้ นี่เป็นเวลาที่เราจะช่วยคนอื่น ๆ ให้รอดผ่านอาร์มาเก็ดดอนเพราะเรามีโอกาสที่จะทำอย่างนี้ได้เฉพาะในสมัยนี้เท่านั้น.
13. เมื่อเราเป็นคริสเตียนแล้ว เราจะรักษาความสำนึกถึงความเร่งด่วนได้อย่างไร?
13 เมื่อคำนึงถึงว่าคนส่วนใหญ่ในโลกที่อยู่รอบตัวเรากำลังดำเนินชีวิตอย่างไม่ฉลาดสุขุมโดยที่พวกเขากำลังหลับฝ่ายวิญญาณ อะไรอาจช่วยให้เราไม่สูญเสียความสำนึกถึงความเร่งด่วน? เราสามารถใคร่ครวญข้อเท็จจริงที่ว่าเราเคยหลับอยู่ในความมืด. แต่ดังที่เปาโลชี้ให้เห็น เราถูกปลุกให้ตื่นและพระคริสต์ทรงให้ความสว่างแก่เรา. ตอนนี้ เราได้รับสิทธิพิเศษเป็นผู้ถือความสว่าง. (อ่านเอเฟโซส์ 5:14) หลังจากกล่าวอย่างนั้นแล้ว เปาโลเขียนต่อว่า “ท่านทั้งหลาย จงเฝ้าระวังให้ดี จะได้ไม่ประพฤติอย่างคนไร้ปัญญา แต่ประพฤติอย่างคนมีปัญญา โดยใช้ทุกโอกาสให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะสมัยนี้ชั่วช้า.” (เอเฟ. 5:15, 16) เนื่องจากอยู่ท่ามกลางความชั่วช้า ให้เรา “ใช้ทุกโอกาสให้เกิดประโยชน์มากที่สุด” เพื่อจะทำกิจกรรมที่จะช่วยให้เราตื่นฝ่ายวิญญาณอยู่เสมอได้.
เราอยู่ในสมัยที่สำคัญ
14-16. อะไรทำให้การประกาศเรื่องราชอาณาจักรเป็นเรื่องเร่งด่วนยิ่งกว่าแต่ก่อน?
14 การประกาศของคริสเตียนเป็นเรื่องเร่งด่วนมาโดยตลอด แต่เดี๋ยวนี้มีความเร่งด่วนยิ่งกว่าแต่ก่อน. นับตั้งแต่ปี 1914 เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นสัญญาณตามที่พระคำของพระเจ้าพรรณนาไว้ล้วนเห็นได้อย่างชัดเจน. (มัด. 24:3-51) ความอยู่รอดของมนุษยชาติไม่เคยถูกคุกคามถึงขนาดนี้มาก่อน. แม้ว่ามีการทำสนธิสัญญากันเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่มหาอำนาจทั้งหลายก็ยังคงมีหัวรบนิวเคลียร์พร้อมจะยิงประมาณ 2,000 ลูก. มีรายงานจากเจ้าหน้าที่ว่าวัสดุนิวเคลียร์หลายร้อยรายการ “สูญหายไป.” วัสดุนิวเคลียร์เหล่านั้นบางส่วนตกไปอยู่ในมือผู้ก่อการร้ายไหม? นักสังเกตการณ์กล่าวว่ามนุษยชาติอาจถูกทำลายล้างได้อย่างง่ายดายโดยสงครามที่ผู้ก่อการร้ายเป็นผู้จุดชนวน. แต่สงครามไม่ใช่ภัยเพียงอย่างเดียวที่คุกคามการดำรงอยู่ของมนุษย์.
15 วารสารเดอะ แลนเซต และยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจแห่งลอนดอนรายงานไว้ในปี 2009 ว่า “การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อสุขภาพของผู้คนทั่วทั้งโลกในศตวรรษที่ 21. ผลกระทบของภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพจะส่งผลต่อประชากรส่วนใหญ่ในทศวรรษต่อ ๆ ไปและทำให้ชีวิตและสวัสดิภาพของหลายพันล้านคนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น.” ผลกระทบอาจได้แก่การทำลายอย่างกว้างขวางที่เกิดจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น ภัยแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด พายุต่าง ๆ และสงครามแย่งชิงทรัพยากรที่ลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ. สงครามและภัยพิบัติต่าง ๆ กำลังคุกคามอารยธรรมของมนุษย์.
16 บางคนอาจคิดว่าภัยคุกคามของสงครามนิวเคลียร์อาจนำไปสู่เหตุการณ์ที่จะทำให้ “สัญญาณ” ที่บอกไว้ในพระคัมภีร์สำเร็จเป็นจริง. แต่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของสัญญาณนี้. เราเห็นสัญญาณนี้มาหลายสิบปีแล้ว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่บ่งบอกว่าการประทับของพระคริสต์เป็นเรื่องจริงและอวสานของระบบนี้กำลังใกล้จะถึงอยู่แล้ว. (มัด. 24:3) ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีเวลาไหนที่คนเราเห็นเหตุการณ์หลายอย่างซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณได้อย่างชัดเจนขนาดนี้. ถึงเวลาแล้วที่ผู้คนต้องตื่นจากหลับฝ่ายวิญญาณ. การประกาศของเราสามารถปลุกพวกเขาให้ตื่น.
17, 18. (ก) การมีชีวิตอยู่ในสมัยสุดท้ายควรมีผลต่อเราอย่างไร? (ข) อะไรอาจกระตุ้นผู้คนให้เปลี่ยนทัศนะที่มีต่อข่าวสารราชอาณาจักร?
17 ยังมีเวลาเหลืออีกเพียงเล็กน้อยที่จะพิสูจน์ว่าเรารักพระยะโฮวาและทำงานประกาศที่เราได้รับมอบหมายในสมัยสุดท้ายนี้ให้สำเร็จ. ในทุกวันนี้ ถ้อยคำที่เปาโลกล่าวกับคริสเตียนที่กรุงโรมในศตวรรษแรกมีความหมายยิ่งกว่านั้นอีก ที่ว่า “พวกท่านรู้ว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ควรจะตื่นจากหลับได้แล้ว เพราะเวลานี้ความรอดของเราก็อยู่ใกล้กว่าตอนที่เราเข้ามาเชื่อถือ.”—โรม 13:11
18 เหตุการณ์ที่บอกล่วงหน้าไว้ว่าสมัยสุดท้ายจะเป็นอย่างไรอาจทำให้แต่ละคนสำนึกถึงความจำเป็นต้องพึ่งพระเจ้า. บางคนเริ่มสำนึกถึงความจำเป็นที่มนุษย์ต้องได้รับความช่วยเหลือเมื่อใคร่ครวญถึงความล้มเหลวของรัฐบาลมนุษย์ในการจัดการวิบัติภัยทางเศรษฐกิจ ภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์ อาชญากรรมที่รุนแรง หรือการทำลายสิ่งแวดล้อม. ส่วนบางคนนั้นสำนึกถึงความจำเป็นต้องพึ่งพระเจ้าเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเขาเอง เช่น ปัญหาสุขภาพร้ายแรง การหย่าร้าง หรือความตายของผู้เป็นที่รัก. เมื่อเราร่วมทำงานประกาศ เราเองก็อยู่พร้อมที่จะช่วยคนเหล่านี้.
ถูกกระตุ้นโดยสำนึกถึงความเร่งด่วน
19, 20. การสำนึกถึงความเร่งด่วนได้กระตุ้นคริสเตียนหลายคนให้ปรับเปลี่ยนชีวิตของพวกเขาอย่างไร?
19 ความสำนึกถึงความเร่งด่วนได้กระตุ้นคริสเตียนหลายคนให้ทำงานประกาศมากขึ้น. ตัวอย่างเช่น คู่สมรสหนุ่มสาวชาวเอกวาดอร์คู่หนึ่งตัดสินใจจัดชีวิตให้เรียบง่ายหลังจากได้ยินคำบรรยายในการประชุมพิเศษปี 2006 ซึ่งมีอรรถบทว่า “จงรักษาตาของคุณให้ปกติ.” พวกเขาเขียนรายการสิ่งของ
ที่ไม่จำเป็น และภายในเวลาสามเดือนพวกเขาก็ย้ายออกจากอพาร์ตเมนต์ที่มีสามห้องนอนไปอยู่อีกที่หนึ่งซึ่งมีห้องนอนเดียว ขายของบางอย่าง และเมื่อทำอย่างนี้พวกเขาจึงปลอดหนี้. ไม่นานหลังจากนั้น พวกเขาก็เริ่มเป็นไพโอเนียร์สมทบและตอบรับข้อเสนอของผู้ดูแลหมวดที่ให้ไปรับใช้ในประชาคมที่มีความจำเป็นมากกว่า.20 พี่น้องคนหนึ่งในอเมริกาเหนือเขียนว่า “ตอนที่ผมกับภรรยาเข้าร่วมการประชุมหมวดในปี 2006 เรารับบัพติสมาได้ 30 ปีแล้ว. ขณะขับรถกลับบ้าน เราคุยกันถึงวิธีที่จะใช้คำแนะนำที่ให้จัดชีวิตของเราให้เรียบง่าย. (มัด. 6:19-22) เรามีบ้านสามหลัง ที่ดิน รถหรูหลายคัน เรือหนึ่งลำ และรถบ้านอีกหนึ่งคัน. เรารู้สึกว่าเราคงต้องเป็นเหมือนคริสเตียนที่โง่เขลา เราจึงตัดสินใจตั้งเป้าจะรับใช้เต็มเวลา. ในปี 2008 เราเป็นไพโอเนียร์ประจำร่วมกับลูกสาวที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว. เป็นเรื่องที่ทำให้ยินดีจริง ๆ ที่ได้ทำงานใกล้ชิดกับพี่น้อง! เราสามารถไปรับใช้ในที่ที่มีความจำเป็นมากกว่า. นอกจากนั้น ประสบการณ์ในการรับใช้พระยะโฮวามากขึ้นทำให้เราใกล้ชิดพระองค์ยิ่งขึ้น. สิ่งที่ถือว่าเป็นบำเหน็จเป็นพิเศษคือการที่ได้เห็นดวงตาของผู้คนเป็นประกายเมื่อได้ยินและเข้าใจความจริงในพระคำของพระเจ้า.”
21. ความรู้ในเรื่องอะไรกระตุ้นเราให้ลงมือทำ?
21 เรารู้ว่าในไม่ช้า “วันพิพากษาและวันพินาศของคนที่ดูหมิ่นพระเจ้า” จะเกิดขึ้นกับระบบชั่วนี้. (2 เป. 3:7) ความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับพระคำของพระเจ้ากระตุ้นเราให้ประกาศอย่างกระตือรือร้นในเรื่องความทุกข์ลำบากใหญ่ที่ใกล้จะถึงและโลกใหม่ที่จะตามมา. เราสำนึกเสมอถึงความเร่งด่วนที่จะนำความหวังแท้ไปสู่ผู้คน. ด้วยการเข้าร่วมงานที่เร่งด่วนนี้อย่างเต็มที่ เราแสดงให้เห็นว่าเรามีความรักแท้ต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์.
[คำถาม]