จงเรียนจาก ‘เค้าโครงแห่งความจริง’
“[คุณมี] เค้าโครงแห่งความรู้และความจริงในพระบัญญัติ.”—โรม 2:20
1. เหตุใดเราควรสนใจที่จะเข้าใจความหมายของพระบัญญัติของโมเซ?
หากไม่ใช่เพราะข้อเขียนที่มีขึ้นโดยการดลใจของอัครสาวกเปาโล คงเป็นเรื่องยากที่เราจะเข้าใจความหมายของพระบัญญัติของโมเซในหลายแง่. ตัวอย่างเช่น ในจดหมายที่เขียนถึงคริสเตียนชาวฮีบรู ท่านอธิบายอย่างชัดเจนว่าพระเยซูทรงเป็น ‘มหาปุโรหิตผู้ซื่อสัตย์’ ซึ่งถวาย “เครื่องบูชาระงับพระพิโรธ” ครั้งเดียวและทำให้คนที่แสดงความเชื่อในเครื่องบูชานั้นได้รับ “ความรอดนิรันดร์” อย่างไร. (ฮีบรู 2:17; 9:11, 12) เปาโลอธิบายว่าพลับพลาเป็นเพียง “เงาของสิ่งที่อยู่ในสวรรค์” และพระเยซูได้มาเป็นผู้กลางของ “สัญญาที่ดีกว่า” สัญญาที่โมเซเป็นผู้กลาง. (ฮีบรู 7:22; 8:1-5) คำอธิบายดังกล่าวเกี่ยวกับพระบัญญัติเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคริสเตียนในสมัยเปาโล และยังเป็นประโยชน์จนถึงทุกวันนี้. คำอธิบายเหล่านี้ช่วยเราให้เข้าใจคุณค่าของการจัดเตรียมที่พระเจ้าได้ทำเพื่อเรามากยิ่งขึ้น.
2. คริสเตียนชาวยิวได้เปรียบคนต่างชาติอย่างไร?
2 เมื่อเปาโลเขียนถึงคริสเตียนในกรุงโรม บางส่วนในจดหมายของท่านกล่าวโดยตรงกับสมาชิกประชาคมที่มีเชื้อสายยิวและได้รับการสอนในเรื่องพระบัญญัติของโมเซ. ท่านยอมรับว่าเนื่องจากคุ้นเคยกับพระบัญญัติของพระเจ้า คนเหล่านี้จึงมีข้อได้เปรียบที่มี “เค้าโครงแห่งความรู้และความจริง” เกี่ยวกับพระยะโฮวาและหลักการอันชอบธรรมของพระองค์. การเข้าใจ ‘เค้าโครงแห่งความจริง’ และนับถือเค้าโครงนั้นจริง ๆ ทำให้คริสเตียนชาวยิวสามารถทำอย่างเดียวกับชาวยิวที่ซื่อสัตย์ที่อยู่ก่อนหน้านั้น คือ ชี้นำ สอน และให้ความกระจ่างแก่คนที่ไม่รู้พระบัญญัติที่พระยะโฮวาประทานแก่ประชาชนของพระองค์.—อ่านโรม 2:17-20
เงาของเครื่องบูชาที่พระเยซูทรงถวาย
3. เราได้รับประโยชน์อย่างไรจากการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องบูชาของชาวยิวในสมัยโบราณ?
3 เค้าโครงแห่งความจริงที่เปาโลกล่าวถึงยังคงเป็นเรื่องสำคัญมลคี. 3:6
เพื่อเราจะเข้าใจพระประสงค์ของพระยะโฮวา. หลักการที่อยู่เบื้องหลังพระบัญญัติของโมเซยังคงมีความสำคัญหรือมีคุณค่าเช่นเดิม. โดยคำนึงถึงเรื่องนี้ไว้ ขอให้เราพิจารณาเพียงแง่หนึ่งของพระบัญญัตินั้น คือเครื่องบูชาและของถวายชนิดต่าง ๆ นำชาวยิวที่ถ่อมใจมาถึงพระคริสต์อย่างไรและช่วยพวกเขาอย่างไรให้เข้าใจสิ่งที่พระเจ้าทรงคาดหมายให้พวกเขาทำ. และเนื่องจากข้อเรียกร้องพื้นฐานของพระยะโฮวาสำหรับผู้รับใช้ของพระองค์นั้นไม่เคยเปลี่ยน เราจะเห็นด้วยว่ากฎหมายของพระเจ้าที่ประทานแก่ชาวอิสราเอลเกี่ยวกับเครื่องบูชา และของถวายช่วยเราให้วิเคราะห์คุณภาพการรับใช้อันศักดิ์สิทธิ์ของเราได้.—4, 5. (ก) พระบัญญัติของโมเซเตือนใจประชาชนของพระเจ้าให้นึกถึงอะไร? (ข) เครื่องบูชาเป็น “เงา” ของอะไร?
4 หลายส่วนของพระบัญญัติของโมเซเตือนใจชาวยิวว่าพวกเขาเป็นคนบาป. ตัวอย่างเช่น ใครก็ตามที่แตะต้องศพจะต้องชำระตัวตามพิธีกรรม. เพื่อเขาจะชำระตัวตามพิธีกรรมได้ ปุโรหิตจะฆ่าและเผาวัวตัวเมียสีแดงที่สมบูรณ์แข็งแรง. เถ้าของมันจะถูกเก็บไว้เพื่อใช้ผสมกับ “น้ำสำหรับชำระ” ซึ่งนำมาพรมบนตัวคนนั้นที่ชำระตัวตามพิธีกรรมในวันที่สามและวันที่เจ็ดนับตั้งแต่ที่เขาเป็นมลทิน. (อาฤ. 19:1-13) และเพื่อเตือนใจว่าการให้กำเนิดมนุษย์เป็นการส่งต่อความไม่สมบูรณ์และบาป มีข้อกำหนดให้ผู้หญิงที่คลอดบุตรปฏิบัติในช่วงที่ถือว่านางมีมลทิน และหลังจากนั้นนางต้องถวายเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาป.—เลวี. 12:1-8
5 ชาวยิวต้องถวายสัตว์เป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาปในโอกาสอื่น ๆ อีกหลายโอกาส. ไม่ว่าผู้นมัสการจะรู้หรือไม่ก็ตาม เครื่องบูชาเหล่านี้ และเครื่องบูชาที่ถวายกันในเวลาต่อมา ณ พระวิหารของพระยะโฮวา เป็น “เงา” ของเครื่องบูชาสมบูรณ์ที่พระเยซูทรงถวาย.—ฮีบรู 10:1-10
น้ำใจที่อยู่เบื้องหลังการถวายเครื่องบูชา
6, 7. (ก) ชาวอิสราเอลต้องจำอะไรไว้เมื่อเลือกสิ่งที่จะถวายเป็นเครื่องบูชา และเรื่องนี้เล็งถึงอะไร? (ข) เราอาจถามตัวเองเช่นไร?
6 มาตรฐานสำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสัตว์ที่จะถวายเป็นเครื่องบูชาก็คือสัตว์นั้นต้อง “สมบูรณ์แข็งแรง” ในทุกแง่ คือต้องไม่ใช่สัตว์ตาบอด บาดเจ็บ พิกลพิการ หรือป่วย. (เลวี. 22:20-22, ล.ม.) เมื่อชาวอิสราเอลถวายผลไม้หรือธัญพืชแด่พระยะโฮวา สิ่งเหล่านั้นต้องเป็น “ผลแรก” และเป็น “ส่วนที่ดีที่สุด” จากผลผลิตที่พวกเขาเก็บเกี่ยว. (อาฤ. 18:12, 29, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย ) พระยะโฮวาไม่ทรงยอมรับเครื่องบูชาที่ด้อยคุณภาพ. ข้อเรียกร้องสำคัญเกี่ยวกับสัตว์ที่ถวายเป็นเครื่องบูชาเป็นภาพที่แสดงให้เห็นล่วงหน้าว่าเครื่องบูชาที่พระเยซูทรงถวายจะปราศจากด่างพร้อยและตำหนิ และพระยะโฮวาจะทรงเสียสละสิ่งที่ดีที่สุดและผู้ที่พระองค์ทรงรักที่สุดเพื่อไถ่ถอนมนุษยชาติ.—1 เป. 1:18, 19
7 ถ้าคนที่ถวายเครื่องบูชารู้สึกขอบคุณพระยะโฮวาอย่างแท้จริงสำหรับคุณความดีทั้งสิ้นของพระองค์ เขาย่อมจะยินดีเลือกสิ่งที่ดีที่สุดที่เขามีอยู่มาถวายแด่พระองค์มิใช่หรือ? สิ่งที่เขาจะถวายขึ้นอยู่กับฐานะของเขาด้วย. อย่างไรก็ตาม เขารู้ว่าพระเจ้าจะไม่พอพระทัยเครื่องบูชาที่มีตำหนิ เพราะนั่นแสดงให้เห็นว่าคนคนนั้นถวายเครื่องบูชาพอเป็นพิธีมาลาคี 1:6-8, 13) เรื่องนี้น่าจะทำให้เราใคร่ครวญว่าการรับใช้พระเจ้าของเราเป็นอย่างไร. เราอาจถามตัวเองว่า ‘ฉันกำลังรับใช้พระยะโฮวาด้วยน้ำใจเช่นไร? ฉันควรทบทวนคุณภาพการรับใช้ของฉันและแรงกระตุ้นที่ฉันรับใช้พระยะโฮวาไหม?’
เท่านั้นหรือมองว่าเป็นภาระเสียด้วยซ้ำ. (อ่าน8, 9. เราเรียนอะไรได้จากทัศนคติที่ชาวอิสราเอลมีต่อการถวายเครื่องบูชา?
8 ถ้าชาวอิสราเอลถวายเครื่องบูชาด้วยความสมัครใจ เพื่อแสดงความขอบคุณพระยะโฮวาอย่างจริงใจหรือเพื่อวิงวอนขอให้พระองค์ยอมรับ เช่น ในการถวายเครื่องบูชาเผา คงไม่ใช่เรื่องยากที่เขาจะเลือกสัตว์ที่เหมาะสมมาถวาย. ผู้นมัสการคนนั้นคงยินดีถวายสิ่งดีที่สุดที่ตนมีแด่พระยะโฮวา. คริสเตียนในปัจจุบันไม่ได้ถวายเครื่องบูชาอย่างที่พระบัญญัติของโมเซกำหนดไว้. แต่พวกเขาถวายเครื่องบูชาในความหมายที่ว่าพวกเขาใช้เวลา กำลัง ทรัพย์สินเงินทองของตนเพื่อรับใช้พระยะโฮวา. อัครสาวกเปาโลกล่าวถึง ‘การประกาศ’ เรื่องความหวังของคริสเตียนและ ‘การทำการดีและแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้อื่น’ ว่าเป็นเครื่องบูชาที่พระเจ้าพอพระทัย. (ฮีบรู 13:15, 16) การที่ประชาชนของพระยะโฮวามีน้ำใจในการทำสิ่งเหล่านั้นเผยให้เห็นว่าพวกเขาขอบคุณและเห็นค่าทุกสิ่งที่พระเจ้าประทานแก่พวกเขามากขนาดไหน. ดังนั้น คริสเตียนที่ทำงานรับใช้ในทุกวันนี้มีทัศนคติและแรงจูงใจเหมือนกันกับคนที่ถวายเครื่องบูชาด้วยใจสมัครในสมัยโบราณ.
9 แต่อาจกล่าวได้อย่างไรสำหรับกรณีที่พระบัญญัติของโมเซกำหนดให้ ถวายเครื่องบูชาไถ่บาปหรือเครื่องบูชาไถ่ความผิดเพราะเขาได้ทำอะไรบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง? คุณคิดว่าเป็นเรื่องง่ายไหมที่เขาจะถวายเครื่องบูชาตามที่กำหนดไว้ด้วยความเต็มใจ? อาจเป็นได้ไหมที่เขาจะถวายเครื่องบูชานั้นอย่างฝืนใจ? (เลวี. 4:27, 28) คงไม่เป็นอย่างนั้นถ้าคนที่ถวายเครื่องบูชานั้นต้องการจริง ๆ ที่จะรักษาสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระยะโฮวา.
10. คริสเตียนอาจต้องทำอะไรเพื่อฟื้นฟูสายสัมพันธ์ให้กลับดีดังเดิม?
10 คล้ายกันในทุกวันนี้ คุณอาจรู้ตัวว่าได้ทำให้พี่น้องขุ่นเคืองโดยไม่ทันคิด โดยไม่ตั้งใจ หรือเพราะความสะเพร่า. สติรู้สึกผิดชอบอาจบอกคุณว่าคุณทำผิดพลาดไปแล้ว. ใครก็ตามที่รับใช้พระยะโฮวาอย่างจริงจังย่อมพยายามทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดมิใช่หรือ? นั่นอาจหมายถึงการไปขอโทษคนที่เราทำให้เขาขุ่นเคืองด้วยความจริงใจ หรือในกรณีที่ทำผิดร้ายแรงก็หมายถึงการไปขอความช่วยเหลือจากคริสเตียนผู้ดูแลที่เปี่ยมด้วยความรัก. (มัด. 5:23, 24; ยโก. 5:14, 15) ดังนั้น เราต้องพร้อมจะลงมือทำอะไรก็ตามเพื่อแก้ไขความผิดที่เราทำต่อพี่น้องหรือต่อพระเจ้า. แม้ว่าเราอาจต้องยอมเสียสละอะไรบางอย่าง แต่เราจะสามารถฟื้นฟูสายสัมพันธ์ที่มีกับพระยะโฮวาและกับพี่น้องของเราให้ดีดังเดิมและมีสติรู้สึกผิดชอบที่สะอาดได้. ผลดีที่เราได้รับจึงทำให้เรามั่นใจยิ่งขึ้นว่าแนวทางของพระยะโฮวาเป็นแนวทางที่ดีที่สุด.
11, 12. (ก) เครื่องบูชาเชื่อมสัมพันธไมตรีคืออะไร? (ข) เราเรียนอะไรได้จากเครื่องบูชาเชื่อมสัมพันธไมตรี?
เลวี. 3:1; 7:31-33) ผู้นมัสการถวายเครื่องบูชาดังกล่าวเนื่องด้วยความปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า. การทำอย่างนี้เป็นเหมือนกับว่าผู้นมัสการได้ร่วมรับประทานอาหารกับครอบครัวของเขา ปุโรหิต และพระยะโฮวาด้วยความชื่นชมยินดีและสงบสุข.
11 มีเครื่องบูชาบางอย่างที่พระบัญญัติของโมเซกำหนดไว้ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องบูชาเชื่อมสัมพันธไมตรี. เครื่องบูชาเหล่านี้บ่งบอกถึงการมีสันติสุขกับพระยะโฮวา. คนที่ถวายเครื่องบูชาเหล่านั้นและครอบครัวของเขาจะรับประทานเนื้อสัตว์ที่นำมาถวาย โดยที่อาจรับประทานในห้องอาหารของพระวิหาร. ปุโรหิตที่ปฏิบัติหน้าที่ได้รับส่วนหนึ่งของเนื้อนั้น เช่นเดียวกับปุโรหิตคนอื่น ๆ ที่รับใช้ ณ พระวิหาร. (12 จะมีสิทธิพิเศษอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านี้อีกหรือที่จะกล่าวโดยนัยได้ว่าเขาได้เชิญพระยะโฮวารับประทานอาหารดังกล่าวและพระองค์ทรงตอบรับคำเชิญ? ตามปกติแล้ว เจ้าภาพย่อมต้องการเสนอสิ่งที่ดีที่สุดแก่แขกที่มีเกียรติเช่นนั้น. การจัดเตรียมในเรื่องเครื่องบูชาเชื่อมสัมพันธไมตรีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเค้าโครงแห่งความจริงของพระบัญญัติชี้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่า โดยทางเครื่องบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าที่พระเยซูทรงถวาย มนุษยชาติทั้งสิ้นที่ปรารถนาจะมีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดและมีสันติสุขกับพระผู้สร้างสามารถทำเช่นนั้นได้. ปัจจุบัน เราเป็นมิตรกับพระยะโฮวาได้เมื่อเราใช้ทรัพย์สินเงินทองและกำลังของเราด้วยความสมัครใจในการรับใช้พระองค์.
ข้อควรระวังเกี่ยวกับเครื่องบูชา
13, 14. เหตุใดพระยะโฮวาไม่ทรงยอมรับเครื่องบูชาที่กษัตริย์ซาอูลตั้งใจจะถวาย?
13 เพื่อพระยะโฮวาจะทรงยอมรับ ต้องถวายเครื่องบูชาที่พระบัญญัติของโมเซกำหนดไว้ด้วยน้ำใจและสภาพหัวใจที่ถูกต้อง. แต่คัมภีร์ไบเบิลมีตัวอย่างเตือนใจหลายตัวอย่างเกี่ยวกับเครื่องบูชาที่พระเจ้าไม่ ยอมรับ. อะไรทำให้พระองค์ไม่ยอมรับเครื่องบูชาเหล่านั้น? ขอให้เรามาพิจารณาสองตัวอย่าง.
14 ผู้พยากรณ์ซามูเอลบอกกษัตริย์ซาอูลว่าถึงเวลาแล้วที่พระยะโฮวาจะพิพากษาชาวอะมาเล็ค. ดังนั้น ซาอูลต้องทำลายชาติศัตรูนี้ให้สิ้นซาก รวมทั้งฝูงปศุสัตว์ของพวกเขาด้วย. แต่หลังจากรบชนะ ซาอูลอนุญาตให้ทหารของเขาไว้ชีวิตอะฆาฆ กษัตริย์ของพวกอะมาเล็ค. นอกจากนั้น ซาอูลไม่ได้ฆ่าฝูงปศุสัตว์ที่ดีที่สุดของชาตินี้ด้วย โดยอ้างว่าจะถวายเป็นเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวา. (1 ซามู. 15:2, 3, 21) พระยะโฮวาทรงมีปฏิกิริยาอย่างไร? พระองค์ทรงปฏิเสธซาอูลด้วยเหตุที่เขาไม่เชื่อฟังพระองค์. (อ่าน 1 ซามูเอล 15:22, 23) เราเรียนอะไรได้จากเรื่องนี้? บทเรียนก็คือ เพื่อพระเจ้า จะทรงยอมรับ เราต้องถวายเครื่องบูชาควบคู่ไปกับการเชื่อฟังพระบัญชาของพระองค์.
15. การกระทำที่เลวร้ายของชาวอิสราเอลบางคนที่ถวายเครื่องบูชาในสมัยยะซายาห์แสดงถึงอะไร?
15 เราพบตัวอย่างคล้าย ๆ กันในหนังสือยะซายา. ในสมัยยะซายาห์ ชาวอิสราเอลกำลังถวายเครื่องบูชาแด่พระยะโฮวาแบบพอเป็นพิธี. แต่การกระทำที่เลวร้ายของพวกเขาทำให้การถวายเครื่องบูชาของพวกเขาเป็นโมฆะ. พระยะโฮวาทรงถามว่า “เครื่องบูชาเผามากมายก่ายกองของเจ้าจะเป็นประโยชน์อะไรแก่เรา? เราเบื่อเครื่องบูชาเผาแกะตัวผู้, และมันข้นแห่งสัตว์เลี้ยง; และมิได้ชื่นใจในโลหิตแห่งลูกโคผู้, หรือของลูกแกะ, หรือของแพะผู้. . . . อย่าได้นำเครื่องบูชาสัตว์อันขาดจิตต์เคารพมาอีกเลย; กลิ่นเครื่องบูชาจะเพิ่มความสะอิดสะเอียนแก่เรามากขึ้น.” เหตุใดพระเจ้าไม่ยอมรับเครื่องบูชาของพวกเขา? พระเจ้าทรงบอกพวกเขาว่า “เมื่อเจ้าอธิษฐานมากมายหลายหน, เราจะไม่ฟัง; ด้วยมือของพวกเจ้าเปรอะเปื้อนไปด้วยโลหิต. ล้างเสียเถอะ, จงชำระตัวเสียให้สะอาดหมดจด; เจ้าจงเลิกทำการชั่วและกำจัดมันเสียให้พ้นจากสายตาของเรา; จงงดกระทำชั่วเสียทีเดียว.”—ยซา. 1:11-16
16. พระเจ้าทรงยอมรับเครื่องบูชาแบบใด?
16 พระยะโฮวาไม่ทรงยินดีด้วยเครื่องบูชาของคนบาปที่ไม่กลับใจ. อย่างไรก็ตาม พระยะโฮวาทรงยอมรับคำอธิษฐานและของถวายของคนที่พยายามอย่างจริงใจจะดำเนินชีวิตสอดคล้องกับพระบัญชาของพระองค์. เค้าโครงแห่งพระบัญญัติสอนคนเหล่านั้นว่าพวกเขาเป็นคนบาปและจำเป็นต้องได้รับการอภัยบาป. (กลา. 3:19) การเข้าใจเช่นนั้นทำให้เขารู้สึกสำนึกผิดอย่างแท้จริง. คล้ายกัน ในทุกวันนี้เราจำเป็นต้องยอมรับว่าเราต้องมีเครื่องบูชาของพระคริสต์ซึ่งสามารถไถ่บาปให้เราได้จริง ๆ. ถ้าเราเข้าใจและเห็นคุณค่าเรื่องนี้ พระยะโฮวาก็จะ “ทรงพอพระทัย” ทุกสิ่งที่เราทำในการรับใช้พระองค์.—อ่านบทเพลงสรรเสริญ 51:17, 19
จงแสดงความเชื่อในเครื่องบูชาของพระเยซู!
17-19. (ก) เราจะแสดงความขอบคุณพระยะโฮวาสำหรับเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูได้อย่างไร? (ข) เราจะพิจารณาอะไรในบทความถัดไป?
17 เราได้เปรียบคนที่มีชีวิตอยู่ก่อนยุคคริสเตียนตรงที่เราไม่จำเป็นต้องพอใจกับการเห็นเพียงแค่ “เงา” ของพระประสงค์ของพระเจ้า. (ฮีบรู 10:1) พระบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบูชาต่าง ๆ สนับสนุนชาวยิวให้พัฒนาทัศนคติที่เหมาะสมเพื่อจะมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้าได้ มีความรู้สึกขอบคุณพระองค์อย่างแท้จริง มีความปรารถนาที่จะถวายสิ่งที่ดีที่สุดแด่พระองค์ และยอมรับว่าพวกเขาจำเป็นต้องได้รับการไถ่ถอน. โดยอาศัยคำอธิบายในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก เราจึงเข้าใจได้ว่าโดยทางค่าไถ่ พระยะโฮวาจะขจัดผลกระทบของบาปให้หมดสิ้นไปอย่างถาวร และแม้แต่ในขณะนี้พระองค์ก็ทรงโปรดให้เรามีสติรู้สึกผิดชอบที่ดีเฉพาะพระพักตร์พระองค์. เครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูเป็นการจัดเตรียมที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ!—กลา. 3:13; ฮีบรู 9:9, 14
18 แน่นอน เพื่อจะได้รับประโยชน์จากเครื่องบูชาไถ่ การมีเพียงความเข้าใจในเรื่องนี้ยังไม่พอ. อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “พระบัญญัติจึงเป็นพี่เลี้ยงที่พาเราไปถึงพระคริสต์เพื่อพระเจ้าจะทรงถือว่าเราเป็นคนชอบธรรมเนื่องจากมีความเชื่อ.” (กลา. 3:24) เราต้องแสดงความเชื่อด้วยการทำตามความเชื่อนั้น. (ยโก. 2:26) ด้วยเหตุนั้น เปาโลจึงสนับสนุนคริสเตียนในศตวรรษแรกที่มีเค้าโครงแห่งความรู้ในพระบัญญัติของโมเซให้ทำตามสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้. โดยทำอย่างนั้น การกระทำของพวกเขาก็จะสอดคล้องกับหลักการของพระเจ้าที่พวกเขาสอน.—อ่านโรม 2:21-23
19 แม้ว่าไม่มีข้อเรียกร้องให้คริสเตียนในทุกวันนี้ทำตามพระบัญญัติของโมเซ แต่พวกเขายังต้องถวายเครื่องบูชาที่พระยะโฮวาทรงยอมรับ. ในบทความถัดไปจะมีการพิจารณาว่าเราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร.
[คำถาม]
[คำโปรยหน้า 17]
ข้อเรียกร้องพื้นฐานของพระยะโฮวาสำหรับผู้รับใช้ของพระองค์ไม่เคยเปลี่ยน
[ภาพหน้า 18]
คุณจะถวายสัตว์ตัวไหนแด่พระยะโฮวา?
[ภาพหน้า 19]
คนที่ถวายเครื่องบูชาที่พระยะโฮวาทรงยอมรับได้รับความพอพระทัยจากพระองค์