พระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของข้าพเจ้า
พระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของข้าพเจ้า
“เราเป็นส่วนแบ่งของเจ้าและเป็นมรดกของเจ้าท่ามกลางคนอิสราเอล.” —อาฤ. 18:20, ฉบับ R73
1, 2. (ก) สภาพการณ์ของชาวเลวีเป็นเช่นไรในเรื่องมรดกที่ดิน? (ข) พระยะโฮวาให้คำรับรองอะไรกับชาวเลวี?
หลังจากที่ชาวอิสราเอลพิชิตดินแดนส่วนใหญ่ในแผ่นดินที่ทรงสัญญา ยะโฮซูอะหันมาสนใจเรื่องการแบ่งสันปันส่วนแผ่นดินด้วยวิธีจับฉลาก. ในการจัดการเรื่องนี้ ท่านทำงานร่วมกับมหาปุโรหิตเอละอาซารและหัวหน้าตระกูลต่าง ๆ. (อาฤ. 34:13-29) สำหรับชาวเลวี พวกเขาจะไม่ได้รับมรดกที่ดินเหมือนกับที่ตระกูลอื่น ๆ ได้รับ. (ยโฮ. 14:1-5) ทำไมชาวเลวีจึงไม่ได้รับส่วนแบ่งหรือไม่มีเขตแดนของตนในแผ่นดินที่ทรงสัญญา? พวกเขาถูกลืมไหม?
2 เราพบคำตอบจากคำตรัสของพระยะโฮวาที่ทรงบอกชาวเลวี. พระยะโฮวาทรงเน้นข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเขาไม่ได้ถูกละทิ้ง โดยตรัสกับพวกเขาว่า “เราเป็นส่วนแบ่งของเจ้าและเป็นมรดกของเจ้าท่ามกลางคนอิสราเอล.” (อาฤ. 18:20, ฉบับ R73) “เราเป็นส่วนแบ่งของเจ้า” ช่างเป็นคำรับรองที่หนักแน่นจริง ๆ! คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าพระยะโฮวาตรัสเช่นนี้กับคุณ? ปฏิกิริยาแรกของคุณอาจเป็นอย่างนี้ ‘ฉันคู่ควรกับคำรับรองเช่นนี้จากผู้ทรงฤทธิ์ใหญ่ยิ่งจริง ๆ ไหม?’ คุณอาจสงสัยด้วยว่า ‘พระยะโฮวาจะเป็นส่วนแบ่งของคริสเตียนที่ไม่สมบูรณ์ในทุกวันนี้ได้ไหม?’ คำถามเหล่านี้เกี่ยวข้องกับคุณและคนที่คุณรัก. ดังนั้น ขอให้เรามาดูว่าคำตรัสดังกล่าวของพระเจ้าหมายความอย่างไร. นั่นจะช่วยให้เราเข้าใจว่าพระยะโฮวาจะเป็นส่วนแบ่งของคริสเตียนในทุกวันนี้ได้โดยวิธีใด. หากจะกล่าวให้เจาะจงกว่านั้น ไม่ว่าคุณมีความหวังที่จะมีชีวิตในสวรรค์หรือคุณคอยท่าที่จะมีชีวิตในอุทยานบนแผ่นดินโลก พระองค์จะเป็นส่วนแบ่งของคุณ ได้โดยวิธีใด.
พระยะโฮวาทรงเลี้ยงดูชาวเลวี
3. มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นที่ทำให้พระเจ้าเลือกชาวเลวีสำหรับการรับใช้พระองค์?
3 ก่อนที่พระยะโฮวาจะประทานพระบัญญัติแก่ชาวอิสราเอล หัวหน้าครอบครัวทำหน้าที่เป็นปุโรหิตของครอบครัว. เมื่อพระเจ้าประทานพระบัญญัติ พระองค์ทรงจัดเตรียมให้มีปุโรหิตที่รับใช้เต็มเวลาและให้พวกเขามีผู้ช่วยจากตระกูลเลวี. มีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้มีการจัดเตรียมเช่นนี้? เมื่อพระเจ้าทรงประหารบุตรหัวปีของชาวอียิปต์ พระองค์ทรงแยกบุตรหัวปีของชาวอิสราเอลไว้ต่างหากเพื่อจุดประสงค์อันศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นสมบัติของพระองค์. ต่อจากนั้น พระเจ้าทรงทำการปรับเปลี่ยนที่สำคัญโดยตรัสว่า “เราเองได้เลือกพวกเลวี . . . แทนบุตรหัวปีทั้งหลายในพวกยิศราเอล.” เนื่องจากทะเบียนสำมะโนครัวแสดงให้เห็นว่าบุตรหัวปีของชาวอิสราเอลมีมากกว่าจำนวนบุตรหัวปีของชาวเลวี พระเจ้าจึงทรงกำหนดให้ชาวอิสราเอลในตระกูลอื่น ๆ จ่ายค่าไถ่เพื่อชดเชยจำนวนที่แตกต่างนั้น. (อาฤ. 3:11-13, 41, 46, 47) โดยวิธีนี้ ชาวเลวีจึงสามารถทำหน้าที่ของตนในการรับใช้พระเจ้าของชาติอิสราเอลได้.
4, 5. (ก) การที่ชาวเลวีมีพระเจ้าเป็นส่วนแบ่งของพวกเขาหมายความอย่างไร? (ข) พระเจ้าทรงเลี้ยงดูชาวเลวีอย่างไร?
ยโฮ. 18:7) ท้องเรื่องของอาฤธโม 18:20 แสดงให้เห็นว่าการเป็นปุโรหิตของพระยะโฮวาไม่ได้ทำให้พวกเขายากจนด้านวัตถุ. (อ่านอาฤธโม 18:19, 21, 24) ชาวเลวีจะได้รับ “ส่วนสิบลดหนึ่ง, แต่บรรดาของพวกยิศราเอลเป็นมรดกของเขา, เพราะการปรนนิบัติ” ของพวกเขา. พวกเขาจะได้รับ 10 เปอร์เซ็นต์จากผลผลิตของชาติอิสราเอลและจากปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น. ส่วนชาวเลวีก็ต้องถวายส่วนหนึ่งในสิบจากที่พวกเขาได้รับ ซึ่งเป็น “ของดีที่สุด” เพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่ของปุโรหิต. * (อาฤ. 18:25-29, ฉบับ R73) เหล่าปุโรหิตยังได้รับ “บรรดาเครื่องบูชายกอันเป็นของบริสุทธิ์” ที่ชาวอิสราเอลทั้งหลายนำมาถวายแด่พระเจ้า ณ สถานนมัสการพระองค์ด้วย. เหล่าปุโรหิตจึงมีเหตุผลหนักแน่นที่จะเชื่อว่าพระยะโฮวาจะทรงเลี้ยงดูพวกเขา.
4 หน้าที่มอบหมายดังกล่าวหมายความอย่างไรสำหรับชาวเลวี? พระยะโฮวาตรัสว่าพระองค์ทรงเป็นส่วนแบ่งของพวกเขาในความหมายที่ว่าแทนที่จะรับที่ดินเป็นมรดก พวกเขาได้รับสิทธิพิเศษอันล้ำค่าในการรับใช้พระองค์. การเป็น “ปุโรหิตแห่งพระยะโฮวา” เป็นมรดกที่พวกเขาได้รับ. (5 ดูเหมือนว่าพระบัญญัติของโมเซกำหนดให้กันส่วนหนึ่งในสิบส่วนที่สองไว้เพื่อบำรุงเลี้ยงครอบครัวและเพื่อใช้ระหว่างการประชุมเพื่อการนมัสการพระเจ้าในแต่ละปี. (บัญ. 14:22-27) อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นสุดทุก ๆ ปีที่สามและปีที่หกของรอบซะบาโตเจ็ดปี ส่วนหนึ่งในสิบนี้จะถูกนำมาไว้ที่ประตูเมืองเพื่อช่วยเหลือคนยากจนและชาวเลวี. เหตุใดชาวเลวีจึงถูกนับรวมในกลุ่มผู้ได้รับความช่วยเหลือ? เพราะพวกเขา “ไม่มีส่วนแบ่งหรือมรดก” ในชาติอิสราเอล.—บัญ. 14:28, 29, ฉบับ R73
6. แม้ว่าชาวเลวีไม่มีส่วนแบ่งที่ดินประจำตระกูลในชาติอิสราเอล พวกเขาอาศัยอยู่ที่ไหน?
6 คุณอาจสงสัยว่า ‘ถ้าชาวเลวีไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง พวกเขาจะอยู่ที่ไหน?’ พระเจ้าทรงจัดเตรียมที่อยู่ให้พวกเขา. พระองค์ประทาน 48 เมืองให้พวกเขาพร้อมกับทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่อยู่รอบเมือง. เมืองเหล่านี้รวมเมืองลี้ภัยทั้งหกเมืองด้วย. (อาฤ. 35:6-8) ดังนั้น ชาวเลวีมีที่อยู่อาศัยเมื่อพวกเขาไม่ได้ทำหน้าที่ในสถานศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า. พระยะโฮวาทรงจัดหาสิ่งจำเป็นให้อย่างอุดมบริบูรณ์แก่คนเหล่านี้ที่ทุ่มเทตัวเองในการรับใช้พระองค์. เห็นได้ชัดว่าชาวเลวีจะแสดงให้เห็นว่าพระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของพวกเขาได้ด้วยการแสดงความไว้วางใจว่าพระองค์ทรงเต็มพระทัยและมีอำนาจที่จะจัดหาสิ่งจำเป็นให้พวกเขา.
7. อะไรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อชาวเลวีจะมีพระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของตน?
7 พระบัญญัติไม่ได้กำหนดโทษไว้สำหรับชาวอิสราเอลที่ไม่ได้ถวายส่วนหนึ่งในสิบ. เมื่อผู้คนเริ่มละเลยไม่ถวายส่วนหนึ่งในสิบ ปุโรหิตและชาวเลวีก็ได้รับผลกระทบ. เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นในสมัยของนะเฮมยา. ผลก็คือ ชาวเลวีต้องทำงานในทุ่งนาของพวกเขา และละเลยงานรับใช้. (อ่านนะเฮมยา 13:10) เห็นได้ชัด การจุนเจือตระกูลเลวีขึ้นอยู่กับสภาพฝ่ายวิญญาณของชาติ. นอกจากนั้น เหล่าปุโรหิตและชาวเลวีเองจำเป็นต้องมีความเชื่อในพระยะโฮวาและเชื่อมั่นในวิธีที่พระองค์ทรงจัดหาสิ่งจำเป็นให้พวกเขา.
ชาวเลวีบางคนที่มีพระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของตน
8. จงพรรณนาความว้าวุ่นใจที่อาซาฟชาวเลวีรู้สึก.
8 ชาวเลวีทั้งตระกูล มีพระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของเขา. แต่น่าสังเกตที่มีชาวเลวีบางคนใช้วลีที่ว่า “[พระยะโฮวา] ทรงเป็นส่วนของข้าพเจ้า” กับตัวเขาเองเพื่อแสดงว่าเขาเลื่อมใสพระเจ้าและไว้วางใจพระองค์. (ทุกข์. 3:24, ฉบับ R73) ชาวเลวีคนหนึ่งที่กล่าวอย่างนั้นเป็นนักร้องและนักประพันธ์. เราจะเรียกเขาว่าอาซาฟ แม้ว่าจริง ๆ แล้วเขาอาจเป็นสมาชิกคนหนึ่งในเชื้อวงศ์ของอาซาฟ ชาวเลวีที่เป็นผู้นำคณะนักร้องในสมัยของดาวิด. (1 โคร. 6:31-43) ในเพลงสรรเสริญบท 73 เราอ่านว่าอาซาฟ (หรือลูกหลานคนหนึ่งของเขา) รู้สึกงงงวย. เขาอิจฉาคนชั่วที่มีชีวิตเจริญรุ่งเรือง และถึงกับพูดว่า “การที่ข้าพเจ้าได้ชำระใจของข้าพเจ้า, และได้ล้างมือให้หมดจด, ก็เสียเวลาเปล่า ๆ.” ดูเหมือนว่าเขามองไม่เห็นว่างานรับใช้เป็นสิทธิพิเศษ เขาไม่เห็นค่าที่พระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของเขา. เขาว้าวุ่นใจจนกระทั่งเขา “ได้เข้าไปในพระวิหารของพระเจ้า.”—เพลง. 73:2, 3, 12, 13, 17
9, 10. เหตุใดอาซาฟจึงกล่าวได้ว่าพระเจ้าทรงเป็น “ส่วนมฤดกของ [เขา] ชั่วนิรันดร์”?
9 เมื่ออยู่ที่สถานศักดิ์สิทธิ์ อาซาฟเริ่มมองเรื่องต่าง ๆ จากมุมมองของพระเจ้า. คุณอาจมีประสบการณ์คล้าย ๆ กัน. อาจเป็นได้ว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งคุณมองไม่เห็นว่าการรับใช้พระเจ้าเป็นสิทธิพิเศษถึงขนาดที่เริ่มเพ่งมองแต่สิ่งที่คุณขาดไปด้านวัตถุ. แต่ด้วยการศึกษาพระคำของพระเจ้าและการร่วมประชุมคริสเตียน คุณมองเรื่องต่าง ๆ แบบเดียวกับที่พระยะโฮวาทรงมอง. อาซาฟเข้าใจว่าในที่สุดจะเกิดอะไรขึ้นกับคนชั่ว. เขาคิดถึงความเป็นอยู่ในชีวิตของเขาและตระหนักว่าพระยะโฮวาจะทรงยึดมือขวาและนำเขาไป. อาซาฟจึงทูลพระยะโฮวาได้ว่า “นอกจากพระองค์แล้ว ข้าพเจ้าไม่มีความยินดีอื่นใดเลยบนแผ่นดินโลก.” (เพลง. 73:23, 25) แล้วเขาก็กล่าวถึงพระเจ้าว่าทรงเป็นส่วนแบ่งของเขา. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 73:26) แม้ว่า “เนื้อหนังและจิตใจ” ของผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญอาจ “เลื่อยล้าไป” พระเจ้าจะเป็น “ส่วนมฤดกของ [เขา] ชั่วนิรันดร์.” ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาจะระลึกถึงเขาในฐานะมิตร. พระองค์จะไม่ลืมการรับใช้ที่ซื่อสัตย์ของเขา. (ผู้ป. 7:1) นั่นคงต้องให้ความมั่นใจแก่อาซาฟจริง ๆ! เขาร้องเพลงว่า “เป็นการดีที่ข้าพเจ้าเข้ามาใกล้พระองค์; ข้าพเจ้ารับเอาพระยะโฮวาเจ้ามาเป็นผู้อารักขาของข้าพเจ้าแล้ว.”—เพลง. 73:28
10 การมีพระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งมีความหมายมากกว่าการค้ำจุนด้านวัตถุที่อาซาฟได้รับในฐานะชาวเลวี. สิ่งที่เขากล่าวถึงส่วนใหญ่แล้วคือสิทธิพิเศษของงานรับใช้และสัมพันธภาพที่มีกับพระยะโฮวา และมิตรภาพที่เขามีกับองค์ใหญ่ยิ่งสูงสุด. (ยโก. 2:21-23) เพื่อรักษาสายสัมพันธ์นั้นไว้ ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญต้องมีความเชื่อในพระยะโฮวาและไว้วางใจพระองค์ต่อ ๆ ไป. อาซาฟเชื่อมั่นว่าจะได้รับบำเหน็จในชีวิตบั้นปลายถ้าเขาดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของพระเจ้า. คุณสามารถเชื่อมั่นอย่างเดียวกันนั้นในผู้ทรงฤทธิ์ใหญ่ยิ่ง.
11. ยิระมะยาห์ตั้งคำถามอะไร และคำถามนั้นได้รับคำตอบอย่างไร?
11 ผู้พยากรณ์ยิระมะยาห์เป็นชาวเลวีอีกคนหนึ่งที่ยอมรับว่าพระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของท่าน. ขอให้เรามาพิจารณาว่าท่านหมายถึงอะไรเมื่อกล่าวเช่นนั้น. ยิระมะยาห์อยู่ที่เมืองอะนาโธธ ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของชาวเลวีที่อยู่ใกล้ ๆ กรุงเยรูซาเลม. (ยิระ. 1:1) เมื่อถึงจุดหนึ่ง ยิระมะยาห์รู้สึกสับสนว่าทำไมคนชั่วเจริญรุ่งเรืองขณะที่คนชอบธรรมประสบความทุกข์? (ยิระ. 12:1) หลังจากที่สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในกรุงเยรูซาเลมและอาณาจักรยูดาห์ ท่านรู้สึกว่าจำเป็นต้อง ‘บ่น’ เกี่ยวกับสิ่งที่ท่านเห็น. ยิระมะยาห์รู้ว่าพระยะโฮวาทรงชอบธรรม. สิ่งที่พระยะโฮวาทรงดล ใจให้ยิระมะยาห์พยากรณ์หลังจากนั้นและวิธีที่พระองค์ทรงทำให้คำพยากรณ์เหล่านั้นสำเร็จให้คำตอบที่หนักแน่นสำหรับคำถามของผู้พยากรณ์. สอดคล้องกับคำพยากรณ์ของพระเจ้า คนที่เชื่อฟังการชี้นำของพระยะโฮวาจะ ‘รอดชีวิตและชีวิตของเขาจะเป็นต่างของปล้นแก่ตัว.’ ส่วนคนชั่วที่เจริญรุ่งเรืองนั้นไม่สนใจคำเตือนและประสบความพินาศ.—ยิระ. 21:9
12, 13. (ก) อะไรกระตุ้นให้ยิระมะยาห์กล่าวอย่างหนักแน่นว่า ‘พระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของข้าพเจ้า’ และท่านมีทัศนคติเช่นไร? (ข) เหตุใดทุกตระกูลของชาติอิสราเอลต้องหวังพึ่งพระเจ้า?
12 ต่อมาเมื่อยิระมะยาห์สำรวจมาตุภูมิที่พินาศยับเยิน ท่านรู้สึกว่าท่านกำลังเดินอยู่ในความมืด ราวกับว่าพระยะโฮวาทรงทำให้ท่านนั่งอยู่ “ดุจคนที่ตายมานานแล้ว.” (ทุกข์. 1:1, 16; 3:6) ยิระมะยาห์ได้บอกชาติที่ดื้อรั้นนี้ให้กลับมาหาพระบิดาของพวกเขาที่อยู่ในสวรรค์ แต่พวกเขาชั่วจนถึงขั้นที่พระเจ้าต้องปล่อยให้กรุงเยรูซาเลมและอาณาจักรยูดาห์ถูกทำลาย. นั่นทำให้ยิระมะยาห์รู้สึกเจ็บปวด ทั้ง ๆ ที่ท่านไม่ได้ทำอะไรผิด. ขณะที่ท่านจมอยู่กับความทุกข์เจ็บปวด ท่านผู้พยากรณ์ได้ระลึกถึงความเมตตาของพระเจ้า. ท่านกล่าวว่า “พวกข้าพเจ้าจึงยังไม่ได้ถูกเผาผลาญเสียให้สูญไปทีเดียว.” จริงทีเดียว ความเมตตาของพระยะโฮวามีมาใหม่ทุก ๆ เช้า! ถึงตอนนี้เองที่ยิระมะยาห์กล่าวอย่างหนักแน่นว่า “พระยะโฮวาทรงถือหุ้นร่วมกับข้าพเจ้า” หรือเป็นส่วนแบ่งของท่าน. ท่านยังคงมีสิทธิพิเศษรับใช้พระยะโฮวาในฐานะผู้พยากรณ์ต่อไป.—อ่านบทเพลงร้องทุกข์ของยิระมะยา 3:22-24
13 ชาวอิสราเอลจะไม่ได้อยู่ในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเป็นเวลา 70 ปี. แผ่นดินของพวกเขาจะถูกทิ้งให้ร้างเปล่า. (ยิระ. 25:11) แต่ถ้อยคำของยิระมะยาห์ที่ว่า ‘พระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของข้าพเจ้า’ เผยให้เห็นว่าท่านมั่นใจในความเมตตาของพระเจ้า และนั่นทำให้ท่านมีเหตุผลที่จะ “หวังพึ่งพระองค์.” ทุกตระกูลของชาติอิสราเอลสูญเสียมรดกของตนไป พวกเขาจึงต้องพัฒนาทัศนคติอย่างเดียวกับท่านผู้พยากรณ์. พระยะโฮวาทรงเป็นผู้เดียวเท่านั้นที่พวกเขาจะหวังพึ่งได้. หลังจาก 70 ปี ประชาชนของพระเจ้าได้รับการช่วยเหลือให้กลับสู่มาตุภูมิและมีสิทธิพิเศษได้รับใช้พระองค์ที่นั่น.—2 โคร. 36:20-23
คนอื่น ๆ สามารถให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของพวกเขา
14, 15. นอกเหนือจากชาวเลวีแล้ว ใครอีกที่ได้ให้พระยะโฮวาเป็นส่วนของเขา และเพราะเหตุใด?
14 ทั้งอาซาฟและยิระมะยาห์มาจากตระกูลเลวี แต่เฉพาะชาวเลวีเท่านั้นไหมที่สามารถมีสิทธิพิเศษได้รับใช้พระยะโฮวา? ไม่ใช่เช่นนั้นแน่! เมื่อยังเยาว์ ดาวิดซึ่งจะเป็นกษัตริย์ของชาติอิสราเอลในอนาคต กล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์ทรง “มีส่วนในชีวิตปัจจุบันของข้าพเจ้า.” (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 142:1, 5) ตอนที่ดาวิดแต่งเพลงสรรเสริญบทนี้ ท่านไม่ได้อยู่ในราชวังหรือแม้แต่ในบ้าน. ท่านซ่อนตัวอยู่ในถ้ำไม่ให้ศัตรูหาพบ. อย่างน้อยในสองโอกาส ดาวิดลี้ภัยไปอยู่ในถ้ำ ครั้งหนึ่งที่ถ้ำใกล้ ๆ กับอะดุลลัม และอีกครั้งหนึ่งที่ถ้ำในถิ่นทุรกันดารเอน-เกดี. ท่านอาจแต่งเพลงสรรเสริญบท 142 ในถ้ำใดถ้ำหนึ่ง.
15 หากเป็นอย่างนั้น ผู้ที่กำลังไล่ล่าจะเอาชีวิตดาวิดก็คือกษัตริย์ซาอูล. ดาวิดหนีไปยังถ้ำแห่งหนึ่งซึ่งเข้าถึงได้ยาก. (1 ซามู. 22:1, 4) ในภูมิภาคที่ห่างไกลนี้ ดาวิดอาจรู้สึกว่าท่านไม่มีเพื่อนอยู่เคียงข้างที่จะช่วยปกป้องท่านเลย. (เพลง. 142:4) ในตอนนี้เองที่ดาวิดทูลวิงวอนถึงพระเจ้า.
16, 17. (ก) อะไรเป็นเหตุที่ทำให้ดาวิดรู้สึกไร้ที่พึ่ง? (ข) ดาวิดสามารถหมายพึ่งใครได้?
16 เมื่อถึงตอนที่ดาวิดแต่งเพลงสรรเสริญบท 142 ท่านอาจรู้แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นกับมหาปุโรหิตอะฮีเมเล็ค ซึ่งได้1 ซามู. 22:11, 18, 19) ดาวิดรู้สึกว่าตัวเองเป็นต้นเหตุที่ทำให้คนเหล่านี้ต้องตาย. ท่านรู้สึกเหมือนกับว่าท่านได้ฆ่าปุโรหิตที่ช่วยเหลือท่าน. ถ้าคุณเป็นดาวิด คุณจะรู้สึกผิดไหม? สิ่งที่ทำให้ดาวิดตึงเครียดหนักเข้าไปอีกก็คือข้อเท็จจริงที่ว่าท่านไม่มีโอกาสได้พักเลยเพราะซาอูลไล่ล่าท่านอย่างไม่หยุดหย่อน.
ให้ความช่วยเหลือแก่ท่านโดยไม่รู้ตัวตอนที่ท่านกำลังหนีซาอูลที่ตามไล่ล่า. กษัตริย์ซาอูลจอมอิจฉาได้ฆ่าอะฮีเมเล็คและครอบครัวของเขา. (17 ไม่นานหลังจากนั้นผู้พยากรณ์ซามูเอล ซึ่งเป็นผู้เจิมดาวิดให้เป็นกษัตริย์ในวันข้างหน้า ก็มาสิ้นชีวิตลงอีก. (1 ซามู. 25:1) นั่นอาจทำให้ดาวิดรู้สึกเคว้งคว้างมากขึ้นไปอีก. ถึงกระนั้น ดาวิดรู้ว่าผู้ที่ท่านจะขอความช่วยเหลือได้ก็คือพระยะโฮวา. ดาวิดไม่มีสิทธิพิเศษในการรับใช้เหมือนกับชาวเลวี แต่ท่านได้รับการเจิมให้ทำหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง คือในที่สุดท่านจะได้เป็นกษัตริย์ของประชาชนของพระเจ้า. (1 ซามู. 16:1, 13) ด้วยเหตุนั้น ดาวิดระบายความในใจต่อพระยะโฮวาและพึ่งการชี้นำจากพระเจ้าต่อ ๆ ไป. คุณเองก็สามารถให้พระองค์เป็นส่วนแบ่งและเป็นที่ลี้ภัยของคุณได้ขณะที่คุณทุ่มเทตัวในการรับใช้พระองค์.
18. หลายคนที่เราได้พิจารณาเรื่องของพวกเขาในบทความนี้แสดงให้เห็นอย่างไรว่าพวกเขาให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของตน?
18 หลายคนที่เราได้พิจารณากันไปแล้วได้ให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของพวกเขาในแง่ที่ว่าพวกเขารับเอางานมอบหมายในการทำงานรับใช้พระองค์. พวกเขาไว้วางใจว่าพระเจ้าจะทรงเลี้ยงดูพวกเขาขณะรับใช้พระองค์. ทั้งชาวเลวีและคนที่อยู่ในตระกูลอื่น ๆ ในชาติอิสราเอล เช่น ดาวิด สามารถให้พระเจ้าเป็นส่วนแบ่งของตนได้. คุณจะให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของคุณเช่นเดียวกันได้อย่างไร? เราจะพิจารณาเรื่องนี้ในบทความถัดไป.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีที่ปุโรหิตได้รับการค้ำจุน โปรดดูหอสังเกตการณ์ 1 ธันวาคม 1991 หน้า 29; การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 684.
คุณจะตอบอย่างไร?
• พระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของชาวเลวีในความหมายเช่นไร?
• อาซาฟ ยิระมะยาห์ และดาวิดทำอะไรที่แสดงว่าพระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของพวกเขา?
• คุณลักษณะอะไรที่คุณจำเป็นต้องมีเพื่อพระเจ้าจะทรงเป็นส่วนแบ่งของคุณได้?
[คำถาม]
[คำโปรยหน้า 8]
ชาวเลวีไม่ได้รับที่ดินเป็นมรดก แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของพวกเขา เพราะพวกเขามีสิทธิพิเศษที่ยิ่งใหญ่ในการรับใช้พระองค์
[ภาพหน้า 7]
พระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของปุโรหิตและชาวเลวีอย่างไร?
[ภาพหน้า 9]
อะไรช่วยให้อาซาฟมีพระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของเขาต่อ ๆ ไป?