คุณให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของคุณไหม?
คุณให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของคุณไหม?
“จงแสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของพระองค์ก่อนเสมอไป แล้วพระองค์จะทรงให้สิ่งทั้งปวงนี้แก่พวกเจ้า.”—มัด. 6:33
1, 2. (ก) “อิสราเอลของพระเจ้า” ที่กล่าวถึงในกาลาเทีย 6:16 หมายถึงใคร? (ข) “อิสราเอลสิบสองตระกูล” ที่มัดธาย 19:28 หมายถึงใคร?
เมื่อคุณอ่านพบชื่ออิสราเอลในคัมภีร์ไบเบิล คุณคิดถึงอะไร? คุณคิดถึงยาโคบบุตรชายยิศฮาค ที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอิสราเอลไหม? หรือคุณคิดถึงลูกหลานของเขาคือชนชาติอิสราเอลในสมัยโบราณ? หรือว่าคุณคิดถึงอิสราเอลฝ่ายวิญญาณ? เมื่อมีการอ้างถึงอิสราเอลในความหมายเป็นนัย มักใช้หมายถึง “อิสราเอลของพระเจ้า” ชน 144,000 คน ซึ่งได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อจะเป็นกษัตริย์และปุโรหิตในสวรรค์. (กลา. 6:16; วิ. 7:4; 21:12) แต่ขอให้พิจารณาการใช้ชื่ออิสราเอล 12 ตระกูลในความหมายพิเศษซึ่งพบที่มัดธาย 19:28.
2 พระเยซูตรัสว่า “ในคราวการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นใหม่นั้น เมื่อบุตรมนุษย์ขึ้นนั่งบนบัลลังก์อันรุ่งโรจน์ของท่าน พวกเจ้าที่ติดตามเราก็จะนั่งบนบัลลังก์สิบสองบัลลังก์ พิพากษาอิสราเอลสิบสองตระกูล.” ในข้อนี้ “อิสราเอลสิบสองตระกูล” ได้แก่คนที่จะถูกพิพากษาโดยเหล่าสาวกที่ถูก
เจิมของพระเยซูและเป็นคนที่จะได้รับชีวิตนิรันดร์ในอุทยานบนแผ่นดินโลก. พวกเขาจะได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ปุโรหิตของชน 144,000 คน.3, 4. ชนผู้ถูกเจิมที่ซื่อสัตย์วางตัวอย่างที่ดีอะไรไว้?
3 เช่นเดียวกับปุโรหิตและชาวเลวีในสมัยโบราณ เหล่าผู้ถูกเจิมในทุกวันนี้ถือว่าการรับใช้ของพวกเขาเป็นสิทธิพิเศษ. (อาฤ. 18:20) ชนผู้ถูกเจิมไม่ได้คาดหมายว่าจะได้รับอาณาเขตหรือสถานที่บางแห่งในโลกนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของตน. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกเขาคอยท่าที่จะได้เป็นกษัตริย์และปุโรหิตในสวรรค์ร่วมกับพระเยซูคริสต์. พวกเขาจะยังคงรับใช้พระยะโฮวาในหน้าที่มอบหมายนั้นต่อ ๆ ไป ดังที่ระบุไว้ในวิวรณ์ 4:10, 11 เกี่ยวกับเหล่าผู้ถูกเจิมซึ่งอยู่ในตำแหน่งของตนในสวรรค์.—ยเอศ. 44:28
4 ขณะที่อยู่บนแผ่นดินโลก ชนผู้ถูกเจิมดำเนินชีวิตอย่างที่ให้หลักฐานว่าพระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของพวกเขา. สิทธิพิเศษในการรับใช้พระเจ้ามีความสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับพวกเขา. พวกเขาแสดงความเชื่อในเครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์และติดตามพระองค์เรื่อยไป และด้วยเหตุนั้นจึง ‘ทำให้การทรงเรียกและการทรงเลือกพวกเขาเป็นสิ่งแน่นอน.’ (2 เป. 1:10) สภาพการณ์และความสามารถของแต่ละคนแตกต่างกัน. ถึงกระนั้น พวกเขาไม่ได้ใช้ข้อจำกัดของตนเป็นข้ออ้างเพื่อจะรับใช้พระเจ้าเพียงเล็กน้อย. ตรงกันข้าม พวกเขาให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่งานรับใช้พระเจ้า โดยที่ทำทุกสิ่งที่ตนทำได้. และพวกเขาได้วางตัวอย่างที่ดีไว้สำหรับคนที่มีความหวังจะมีชีวิตบนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยาน.
5. คริสเตียนทุกคนจะให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของพวกเขาได้อย่างไร และเหตุใดนั่นอาจเป็นเรื่องยาก?
5 ไม่ว่าเรามีความหวังจะอยู่ในสวรรค์หรือบนแผ่นดินโลก เราต้อง ‘ปฏิเสธตัวเองและแบกเสาทรมานของตนแล้วตามพระคริสต์เรื่อยไป.’ (มัด. 16:24) หลายล้านคนที่คอยท่าชีวิตบนแผ่นดินโลกที่เป็นอุทยานกำลังนมัสการพระเจ้าและติดตามพระคริสต์โดยการทำเช่นนั้น. พวกเขาไม่พอใจที่จะทำเพียงเล็กน้อยเมื่อพวกเขารู้ว่าตัวเองสามารถทำได้มากกว่า. หลายคนถูกกระตุ้นให้ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายและเป็นไพโอเนียร์. บางคนจัดธุระการงานของตนเพื่อจะเป็นไพโอเนียร์ได้ในบางเดือนทุก ๆ ปี. ยังมีอีกหลายคนที่แม้ว่าเป็นไพโอเนียร์ไม่ได้ แต่ก็ทุ่มเทตัวเองเต็มที่ในงานรับใช้. คนเหล่านี้ทำเหมือนกับมาเรียผู้เลื่อมใสที่ได้เทน้ำมันหอมชโลมพระเยซู. พระองค์ตรัสว่า “นางได้ทำดีต่อเรา. . . . นางทำสิ่งที่นางทำได้.” (มโก. 14:6-8) การที่เราทำสิ่งที่เราทำได้อาจไม่ง่ายนัก เพราะเรามีชีวิตอยู่ในโลกที่ถูกซาตานครอบงำ. ถึงกระนั้น เราทุ่มเทตัวเองอย่างเต็มที่และไว้วางใจพระยะโฮวา. ขอให้พิจารณาวิธีที่เราจะทำเช่นนั้นได้ในสี่ขอบเขต.
แสวงหาราชอาณาจักรของพระเจ้าก่อน
6. (ก) ประชาชนทั่วไปแสดงให้เห็นอย่างไรว่าส่วนแบ่งของพวกเขามีเพียงแค่ชีวิตนี้เท่านั้น? (ข) เหตุใดจึงดีกว่าที่จะมีทัศนะแบบเดียวกับดาวิด?
6 พระเยซูทรงสอนเหล่าสาวกให้แสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของพระเจ้าก่อน. ผู้คนในโลกมักมีแนวโน้มที่จะแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นอันดับแรกเหมือนกับ “มนุษย์ที่รับสิ่งของในโลกนี้เป็นส่วนของตน.” (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 17:1, 13-15) โดยไม่คำนึงถึงพระผู้สร้าง หลายคนทุ่มเทตัวเองเพื่อจะมีชีวิตที่สะดวกสบาย เลี้ยงดูครอบครัว และทิ้งมรดกไว้ให้ลูกหลาน. ส่วนแบ่งของพวกเขามีเพียงแค่ชีวิตนี้เท่านั้น. ตรงกันข้าม ดาวิดสนใจในการสร้าง “ชื่อเสียงหอม” กับพระยะโฮวา ซึ่งในภายหลังราชบุตรของท่านสนับสนุนให้ทุกคนทำอย่างนั้น. (ผู้ป. 7:1) เช่นเดียวกับอาซาฟ ดาวิดมองเห็นว่าการมีพระยะโฮวาเป็นมิตรนั้นดียิ่งกว่าการให้ผลประโยชน์ของตัวเองมาก่อนสิ่งอื่นในชีวิตมาก. ท่านชื่นชมยินดีในการดำเนินกับพระเจ้า. ในสมัยของเรา คริสเตียนหลายคนได้ให้กิจกรรมฝ่ายวิญญาณมาก่อนงานอาชีพของเขา.
7. พี่น้องคนหนึ่งได้รับพระพรอะไรจากการที่เขาให้ราชอาณาจักรมาเป็นอันดับแรก?
7 ขอให้พิจารณาตัวอย่างของชอง-คล็อด ซึ่งอยู่ที่สาธารณรัฐแอฟริกากลาง. เขาเป็นผู้ปกครองซึ่งสมรสแล้ว และมีบุตรสามคน. ในประเทศนี้งานหาได้ยาก และคนส่วนใหญ่พร้อมจะทำอะไรก็ตามเพื่อจะไม่ตกงาน. วันหนึ่ง ผู้จัดการฝ่ายผลิตสั่งชอง-คล็อดให้ทำงานกะกลางคืน เริ่ม
ตั้งแต่เวลา 18:30 น. เจ็ดวันต่อสัปดาห์. ชอง-คล็อดชี้แจงกับผู้จัดการว่านอกเหนือจากการหาเลี้ยงครอบครัวด้านวัตถุแล้ว เขาต้องดูแลสวัสดิภาพฝ่ายวิญญาณของครอบครัวด้วย. เขายังบอกผู้จัดการด้วยว่าเขามีหน้าที่รับผิดชอบที่จะช่วยประชาคม. ผู้จัดการมีปฏิกิริยาอย่างไร? “คุณโชคดีขนาดไหนแล้วที่มีงานทำ. เพราะฉะนั้น คุณต้องลืมเรื่องอื่นให้หมด ไม่ว่าจะเรื่องลูกเมีย และปัญหาของตัวคุณเอง. คุณต้องทุ่มเทชีวิตให้กับงาน งาน แล้วก็งานเท่านั้น. ตัดสินใจเองก็แล้วกัน: คุณจะเลือกศาสนาหรือว่างาน.” ถ้าเป็นคุณ คุณจะทำอย่างไร? ชอง-คล็อดรู้ดีว่าถ้าเขาตกงาน พระเจ้าจะทรงดูแลเขา. เขาจะยังคงมีงานมากมายให้ทำในการรับใช้พระยะโฮวา และพระองค์จะทรงช่วยดูแลให้ครอบครัวเขามีสิ่งจำเป็น. ดังนั้น เขาเข้าร่วมการประชุมกลางสัปดาห์ในครั้งถัดไป. หลังจากนั้น เขาก็เตรียมตัวจะไปทำงาน โดยที่ไม่แน่ใจเลยว่ายังจะได้ทำงานต่อไปหรือไม่. ในตอนนั้นเอง เขาได้รับโทรศัพท์บอกให้รู้ว่าผู้จัดการคนนั้นถูกไล่ออก แต่เขาได้ทำงานต่อไป.8, 9. เราจะเลียนแบบปุโรหิตและชาวเลวีในการให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของเราได้อย่างไร?
8 บางคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการตกงานอาจสงสัยว่า ‘ฉันจะทำหน้าที่รับผิดชอบในการหาเลี้ยงครอบครัวได้อย่างไร?’ (1 ติโม. 5:8) ไม่ว่าคุณพบข้อท้าทายคล้าย ๆ กันนั้นหรือไม่ จากประสบการณ์ของตัวคุณเองคุณคงมั่นใจว่าคุณจะไม่มีทางผิดหวังถ้าพระเจ้าเป็นส่วนแบ่งของคุณและคุณถือว่าการรับใช้พระองค์เป็นสิทธิพิเศษที่มีค่าอย่างสูง. เมื่อพระเยซูตรัสแก่เหล่าสาวกของพระองค์ว่าให้แสวงหาราชอาณาจักรก่อนเสมอไป พระองค์ทรงรับรองกับพวกเขาว่า “[พระเจ้า] จะทรงให้สิ่งทั้งปวงนี้แก่พวกเจ้า” เช่น สิ่งที่พวกเขาจะกิน จะดื่ม หรือจะสวมใส่.—มัด. 6:33
9 ขอให้คิดถึงชาวเลวีที่ไม่ได้รับที่ดินเป็นมรดก. เนื่องจากการนมัสการแท้เป็นสิ่งที่พวกเขาสนใจเป็นอันดับแรก พวกเขาต้องไว้วางใจพระยะโฮวาในเรื่องสิ่งจำเป็นด้านร่างกาย ตามที่พระองค์ทรงบอกพวกเขาว่า “เราเป็นส่วนแบ่งของเจ้า.” (อาฤ. 18:20, ฉบับ R73) ถึงแม้ว่าเราไม่ได้รับใช้ในพระวิหารเหมือนกับปุโรหิตและชาวเลวี เราจะเลียนแบบน้ำใจของพวกเขาได้โดยเชื่อมั่นว่าพระยะโฮวาจะทรงเลี้ยงดูเรา. ขณะที่เราเข้าไปใกล้อวสานมากขึ้น เราคาดหมายได้ว่าชีวิตจะยุ่งยากยิ่งขึ้นสำหรับพวกเราที่ไม่ยอมรับ “เครื่องหมาย” ของสัตว์ร้าย. ดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เราจะไว้วางใจว่าพระเจ้าจะทรงดูแลเรา.—วิ. 13:17
แสวงหาความชอบธรรมของพระเจ้าก่อน
10, 11. บางคนไว้วางใจพระยะโฮวาอย่างไรในเรื่องงานอาชีพ? จงยกตัวอย่าง.
10 นอกจากนั้น พระเยซูยังกระตุ้นเหล่าสาวกให้ ‘แสวงหาความชอบธรรมของพระเจ้าก่อน.’ (มัด. 6:33) นี่หมายความว่าเราต้องให้มาตรฐานของพระยะโฮวาในเรื่องอะไรถูกอะไรผิดมาก่อนมาตรฐานของมนุษย์. (อ่านยะซายา 55:8, 9) คุณอาจนึกถึงบางคนที่เมื่อก่อนเคยปลูกยาสูบหรือขายบุหรี่ ฝึกสอนคนอื่นให้ทำสงคราม หรือผลิตและขายอาวุธสงคราม. หลังจากรับเอาความรู้เกี่ยวกับความจริง ส่วนใหญ่เลือกที่จะเปลี่ยนงานเพื่อจะมีคุณสมบัติที่จะรับบัพติสมา.—ยซา. 2:4; 2 โค. 7:1; กลา. 5:14
11 แอนดรูว์เป็นตัวอย่างหนึ่ง. เมื่อเขาและภรรยาได้เรียนรู้จักพระยะโฮวา พวกเขาตั้งใจแน่วแน่ที่จะรับใช้พระองค์. แอนดรูว์ภูมิใจในงานอาชีพของเขา แต่ก็ลาออกจากงานนั้น. เพราะเหตุใด? เพราะงานนั้นเกี่ยวข้องกับองค์การที่ไม่เป็นกลางทางการเมืองและเขาตั้งใจแน่วแน่ว่าจะให้ความชอบธรรมของพระเจ้ามาก่อน. ตอนที่แอนดรูว์ออกจากงาน เขามีลูกสองคน ไม่มีรายได้ และมีเงินพอที่จะใช้จ่ายได้เพียงไม่กี่เดือน. จากมุมมองของมนุษย์ อาจดูเหมือนว่าเขาไม่มี ‘มรดก’ เลย. เขาหางานใหม่ทำ ด้วยความไว้วางใจพระเจ้า. เมื่อมองย้อนกลับไป เขากับครอบครัวยืนยันได้ว่าพระหัตถ์ของพระยะโฮวาไม่สั้น. (ยซา. 59:1) ด้วยการจัดชีวิตให้เรียบง่าย แอนดรูว์และ ภรรยามีสิทธิพิเศษได้รับใช้เต็มเวลาเสียด้วยซ้ำ. เขากล่าวว่า “บางครั้งปัญหาเรื่องเงิน บ้าน สุขภาพ และการย่างเข้าสู่วัยชราทำให้เราวิตกกังวล. แต่พระยะโฮวาทรงอยู่เคียงข้างเราเสมอ. . . . เรากล้าพูดได้ว่าการรับใช้พระยะโฮวาเป็นแนวทางที่มีเกียรติและน่าพึงพอใจที่สุดสำหรับมนุษย์.” *—ผู้ป. 12:13
12. จำเป็นต้องมีคุณลักษณะอะไรเพื่อให้มาตรฐานของพระเจ้ามาก่อนสิ่งอื่นใด? จงยกตัวอย่างในท้องถิ่นของคุณ.
12 พระเยซูทรงบอกเหล่าสาวกของพระองค์ว่า “ถ้าเจ้ามีความเชื่อขนาดเท่าเมล็ดมัสตาร์ดเมล็ดหนึ่ง เจ้าจะบอกภูเขานี้ว่า ‘จงย้ายจากที่นี่ไปที่นั่น’ แล้วมันจะย้ายไป และจะไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้สำหรับเจ้าทั้งหลาย.” (มัด. 17:20) คุณจะให้มาตรฐานของพระเจ้ามาก่อนสิ่งอื่นไหมถ้านั่นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยาก? ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ ลองพูดคุยกับสมาชิกคนอื่นในประชาคม. ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณจะพบความสดชื่นฝ่ายวิญญาณเมื่อได้ยินประสบการณ์ของพวกเขา.
เห็นคุณค่าการเลี้ยงดูฝ่ายวิญญาณจากพระยะโฮวา
13. เมื่อเราทุ่มเทตัวในการรับใช้พระยะโฮวา เราสามารถคาดหมายอะไรในเรื่องการจัดเตรียมฝ่ายวิญญาณ?
13 ถ้าคุณถือว่าสิทธิพิเศษในการรับใช้พระยะโฮวามีค่ามาก คุณก็มั่นใจได้ว่าพระองค์จะเลี้ยงดูคุณทั้งด้านร่างกายและฝ่ายวิญญาณ เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงเลี้ยงดูชาวเลวี. ขอให้คิดถึงดาวิด. แม้ว่าท่านอยู่ในถ้ำ ท่านก็มั่นใจว่าพระเจ้าจะทรงเลี้ยงดูท่าน. เราก็สามารถไว้วางใจพระยะโฮวาได้เช่นกันแม้แต่เมื่อดูเหมือนว่าไม่มีใครจะช่วยเราได้. อย่าลืมว่าเมื่ออาซาฟเข้าไป “ในพระวิหารของพระเจ้า” เขาจึงเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำให้เขาทุกข์ใจ. (เพลง. 73:17) คล้ายกัน เราจำเป็นต้องหมายพึ่งพระเจ้าซึ่งเป็นผู้บำรุงเลี้ยงฝ่ายวิญญาณ. การทำอย่างนั้นแสดงว่าเราเห็นคุณค่าสิทธิพิเศษที่ได้รับใช้พระเจ้าไม่ว่าสภาพการณ์ของเราเป็นเช่นไร. โดยทำอย่างนั้น เราให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของเรา.
14, 15. เราควรมีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อความเข้าใจพระคัมภีร์บางข้อชัดขึ้น และเพราะเหตุใด?
14 คุณแสดงปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อพระยะโฮวา แหล่งแห่งความสว่างฝ่ายวิญญาณ ทรงเปิดเผย “สิ่งลึกซึ้งของพระเจ้า” ที่พบในคัมภีร์ไบเบิล? (1 โค. 2:10-13) เราเห็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมจากปฏิกิริยาของอัครสาวกเปโตรเมื่อพระเยซูทรงบอกผู้ที่ฟังพระองค์ว่า “ถ้าเจ้าไม่กินเนื้อและดื่มโลหิตของบุตรมนุษย์ เจ้าจะไม่มีชีวิตในตัวเจ้า.” เนื่องจากเหล่าสาวกหลายคนตีความคำตรัสนั้นตรงตัว พวกเขาจึงกล่าวว่า “พระองค์ตรัสอะไรอย่างนี้ ใครจะรับได้?” พวกเขา “กลับไปหาสิ่งที่เคยละไว้เบื้องหลัง.” แต่เปโตรกล่าวว่า “พระองค์เจ้าข้า พวกข้าพเจ้าจะไปหาผู้ใดเล่า? พระองค์ทรงมีถ้อยคำที่ให้ชีวิตนิรันดร์.”—โย. 6:53, 60, 66, 68
15 เปโตรไม่เข้าใจอย่างแท้จริงว่าพระเยซูทรงหมายถึงอะไรเมื่อตรัสถึงการกินเนื้อและดื่มโลหิตของพระองค์. แต่ท่านอัครสาวกหมายพึ่งพระเจ้าเพื่อจะเข้าใจความสว่างฝ่ายวิญญาณ. เมื่อความสว่างฝ่ายวิญญาณในบางเรื่องเริ่มชัดเจนขึ้น คุณพยายามเข้าใจเหตุผลตามหลักพระคัมภีร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการปรับเปลี่ยนนั้นไหม? (สุภา. 4:18) ชาวเมืองเบโรยาในศตวรรษแรกรับฟังพระคำ “ด้วยใจกระตือรือร้นอย่างยิ่งและค้นดูพระคัมภีร์อย่างรอบคอบทุกวัน.” (กิจ. 17:11) การเลียนแบบพวกเขาจะช่วยคุณให้เห็นค่ามากขึ้นที่คุณมีสิทธิพิเศษได้รับใช้พระยะโฮวาและมีพระองค์เป็นส่วนแบ่งของคุณ.
สมรสกับผู้ที่เชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
16. พระเจ้าจะเป็นส่วนแบ่งของเราได้อย่างไรในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งที่พบใน 1 โครินท์ 7:39?
16 อีกขอบเขตหนึ่งที่คริสเตียนจำเป็นต้องระลึกถึงพระประสงค์ของพระเจ้าเสมอก็คือการทำตามคำสั่งในคัมภีร์ไบเบิลที่ให้สมรสกับ “ผู้ที่เชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า” เท่านั้น. (1 โค. 7:39) หลายคนเลือกที่จะอยู่เป็นโสดแทนที่จะละเมิดพระบัญชาข้อนี้ของพระเจ้า. พระเจ้าทรงเอาพระทัยใส่คนเช่นนั้น. ดาวิดทำอะไรเมื่อท่านรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายและดูเหมือนว่าไม่มีใครช่วยท่านได้? ท่านกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะร้องทุกข์ทูล [พระเจ้า]; และกราบทูลความ ยากลำบากของข้าพเจ้าต่อพระองค์. ครั้นเมื่อจิตต์ใจของข้าพเจ้าอ่อนเปลี้ยไปแล้ว.” (เพลง. 142:1-3) ผู้พยากรณ์ยิระมะยาห์ ซึ่งรับใช้พระเจ้าอย่างซื่อสัตย์มาหลายสิบปีในฐานะคนโสดอาจเกิดความรู้สึกคล้าย ๆ กันนั้น. คุณสามารถศึกษาตัวอย่างของท่านได้จากหนังสือพระเจ้าตรัสกับเราผ่านทางยิระมะยาห์ บท 8.
17. พี่น้องหญิงโสดคนหนึ่งรับมือความเหงาที่เกิดขึ้นในบางครั้งอย่างไร?
17 พี่น้องหญิงคนหนึ่งในสหรัฐกล่าวว่า “ดิฉันไม่เคยตั้งใจที่จะอยู่เป็นโสด. ดิฉันพร้อมที่จะแต่งงานถ้าพบกับคนที่เหมาะสม. แม่ดิฉันซึ่งไม่ได้อยู่ในความจริงพยายามจะโน้มน้าวให้ดิฉันแต่งงานกับใครก็ตามที่ผ่านเข้ามาในชีวิตดิฉัน. ดิฉันถามแม่ว่าแม่จะรับผิดชอบไหมถ้าชีวิตสมรสของดิฉันมีปัญหา. ต่อมา แม่ก็เห็นว่าดิฉันมีงานที่มั่นคง ดูแลตัวเองได้ และมีความสุข. แม่จึงเลิกกดดันดิฉัน.” บางครั้งพี่น้องหญิงคนนี้รู้สึกเหงา. เธอบอกว่า “เมื่อดิฉันรู้สึกอย่างนั้น ดิฉันก็จะพยายามไว้วางใจพระยะโฮวา. พระองค์ไม่เคยละทิ้งดิฉัน.” อะไรช่วยเธอให้ไว้วางใจพระยะโฮวา? “การอธิษฐานช่วยดิฉันให้รู้สึกได้ว่าพระเจ้าทรงพระชนม์อยู่จริงและรู้สึกว่าดิฉันไม่เคยอยู่เพียงลำพัง. องค์ใหญ่ยิ่งสูงสุดแห่งเอกภพกำลังฟังอยู่ ฉันจะไม่รู้สึกเป็นเกียรติและชื่นชมยินดีได้อย่างไร?” ด้วยความเชื่อมั่นว่า “การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ” เธอกล่าวว่า “ดิฉันพยายามทุ่มเทตัวเองในการช่วยคนอื่นโดยไม่คาดหมายว่าจะได้รับสิ่งใดตอบแทน. เมื่อดิฉันคิดว่า ‘มีอะไรที่ดิฉันจะทำได้เพื่อช่วยคนคนนี้?’ ดิฉันก็จะรู้สึกยินดีอยู่ลึก ๆ.” (กิจ. 20:35) ใช่แล้ว เธอให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของเธอ และเธอชื่นชมยินดีที่มีสิทธิพิเศษได้รับใช้พระองค์.
18. คุณจะเป็นส่วนแบ่งของพระยะโฮวาได้อย่างไร?
18 ไม่ว่าสภาพการณ์ของคุณเป็นเช่นไร คุณสามารถให้พระเจ้าเป็นส่วนแบ่งของคุณ. เมื่อคุณทำอย่างนั้น คุณจะเป็นคนหนึ่งในบรรดาประชาชนของพระองค์ที่มีความสุข. (2 โค. 6:16, 17) นั่นจะทำให้คุณเป็นส่วนแบ่งของพระยะโฮวา ดังที่เป็นจริงอย่างนั้นกับคนอื่น ๆ ในสมัยอดีต. (อ่านพระบัญญัติ 32:9, 10) เช่นเดียวกับที่ชาติอิสราเอลเป็นส่วนแบ่งของพระเจ้าท่ามกลางชาติต่าง ๆ พระองค์จะทรงเลือกคุณให้เป็นส่วนแบ่งของพระองค์และดูแลคุณด้วยความรัก.—เพลง. 17:8
[เชิงอรรถ]
คุณจะตอบอย่างไร?
คุณจะให้พระยะโฮวาเป็นส่วนแบ่งของคุณได้อย่างไร
• โดยแสวงหาราชอาณาจักรและความชอบธรรมของพระเจ้าก่อน?
• โดยแสดงความขอบคุณสำหรับอาหารฝ่ายวิญญาณ?
• โดยทำตามพระบัญชาของพระเจ้าที่ให้สมรสกับผู้ที่เชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น?
[คำถาม]
[คำโปรยหน้า 13]
พระยะโฮวาทรงเป็นส่วนแบ่งของเราเมื่อเราให้การรับใช้พระองค์มาเป็นอันดับแรก
[ภาพหน้า 15]
ตัวอย่างของยิระมะยาห์ให้กำลังใจเรา