จงพิสูจน์ตัวว่าเป็นสาวกแท้ของพระคริสต์
จงพิสูจน์ตัวว่าเป็นสาวกแท้ของพระคริสต์
“ต้นไม้ดีทุกต้นย่อมเกิดผลที่ดี แต่ต้นไม้ไม่ดีทุกต้นก็เกิดผลที่ไร้ค่า.” —มัด. 7:17
1, 2. เหล่าสาวกแท้ของพระคริสต์แตกต่างจากสาวกปลอมอย่างไร โดยเฉพาะในช่วงอวสานนี้?
พระเยซูตรัสว่าเราจะแยกความแตกต่างระหว่างคนที่เป็นสาวกปลอมกับคนที่เป็นสาวกแท้ได้โดยดูที่ผล อันได้แก่คำสอนและการกระทำของพวกเขา. (มัด. 7:15-17, 20) ที่จริง ผู้คนได้รับอิทธิพลอย่างแน่นอนจากสิ่งที่พวกเขารับเข้าสู่จิตใจและหัวใจ. (มัด. 15:18, 19) คนที่ถูกป้อนความเท็จก็จะเกิด “ผลที่ไร้ค่า” ส่วนคนที่ได้รับการสอนความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าก็จะเกิด “ผลที่ดี.”
2 ผลทั้งสองชนิดนั้นเริ่มปรากฏชัดในช่วงอวสานนี้. (อ่านดานิเอล 12:3, 10) คริสเตียนปลอมมีทัศนะที่ผิดเพี้ยนเกี่ยวกับพระเจ้าและมักมีความเลื่อมใสพระเจ้าแต่เปลือกนอก ส่วนคนที่มีความเข้าใจลึกซึ้งฝ่ายวิญญาณนมัสการพระเจ้า “ด้วยพระวิญญาณและความจริง.” (โย. 4:24; 2 ติโม. 3:1-5) พวกเขาพยายามแสดงคุณลักษณะแบบพระคริสต์. แต่เราเองเป็นอย่างไร? ขณะที่คุณพิจารณาเครื่องหมายระบุตัวคริสเตียนแท้ห้าประการที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ จงถามตัวคุณเองว่า ‘ความประพฤติและสิ่งที่ฉันสอนคนอื่น ๆ สอดคล้องอย่างชัดเจนกับพระคำของพระเจ้าไหม? ฉันทำให้ความจริงงดงามในสายตาของคนที่กำลังเสาะแสวงหาความจริงไหม?’
ดำเนินชีวิตด้วยพระคำของพระเจ้า
3. สิ่งที่ทำให้พระยะโฮวาพอพระทัยคืออะไร และนี่หมายถึงอะไรสำหรับคริสเตียนแท้?
3 พระเยซูตรัสว่า “มิใช่ทุกคนที่พูดกับเราว่า ‘พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า’ จะได้เข้าราชอาณาจักรสวรรค์ แต่ผู้ที่ทำตามพระประสงค์ของพระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์จึงจะได้เข้า.” (มัด. 7:21) ดังนั้น สิ่งที่พระยะโฮวาทรงพอพระทัยไม่ใช่การอ้าง ว่าเป็นคริสเตียน แต่เป็นการปฏิบัติ ตามหลักการคริสเตียน. สำหรับสาวกแท้ของพระคริสต์ นั่นเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทั้งสิ้นของพวกเขา รวมถึงทัศนคติที่พวกเขามีต่อเงินทอง, งานอาชีพ, ความบันเทิง, ธรรมเนียมและการฉลองต่าง ๆ, ตลอดจนการสมรสและความสัมพันธ์อื่น ๆ กับเพื่อนมนุษย์. แต่คริสเตียนปลอมจะรับเอาทัศนะและแนวทางของโลกซึ่งนับวันยิ่งเสื่อมทรามมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสมัยสุดท้ายนี้.—เพลง. 92:7
4, 5. เราจะใช้คำตรัสของพระยะโฮวาในมาลาคี 3:18 ในชีวิตของเราได้อย่างไร?
4 ดังนั้น ผู้พยากรณ์มาลาคีจึงเขียนว่า “เจ้าทั้งหลายก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างคนชอบธรรมและคนชั่ว, ระหว่างคนปรนนิบัติพระยะโฮวาและคนไม่ปรนนิบัติพระยะโฮวา.” (มลคี. 3:18) เมื่อคุณใคร่ครวญถ้อยคำดังกล่าว จงถามตัวเองว่า ‘ฉันทำตัวกลมกลืนไปกับโลก หรือว่าฉันแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากคนอื่น ๆ? ฉันพยายามทำตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนนักเรียน หรือว่าฉันยึดมั่นกับหลักการในคัมภีร์ไบเบิลเสมอและพยายามกล่าวปกป้องหลักการนั้นเมื่อมีโอกาสเหมาะ?’ (อ่าน 1 เปโตร 3:16) แน่นอน เราไม่ต้องการถือว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น แต่เราควรแตกต่างจากคนที่ไม่รักและไม่รับใช้พระยะโฮวา.
5 ถ้าคุณเห็นว่าจำเป็นต้องปรับปรุงอะไรบางอย่าง ทำไมไม่อธิษฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้นและพยายามเพื่อจะได้รับกำลังที่จำเป็นด้วยการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล, การอธิษฐาน, และการเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำล่ะ? ยิ่งคุณใช้พระคำของพระเจ้ามากเท่าไร คุณก็จะยิ่งเกิด “ผลที่ดี” ซึ่งรวมถึง “ผลของริมฝีปากที่ประกาศพระนามของ [พระเจ้า]” มากเท่านั้น.—ฮีบรู 13:15
สนับสนุนราชอาณาจักรของพระเจ้า
6, 7. มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดอย่างไรระหว่างคริสเตียนแท้กับคริสเตียนปลอมในเรื่องข่าวสารราชอาณาจักร?
6 พระเยซูตรัสว่า “เราต้องประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าแก่เมืองอื่น ๆ ด้วย เพราะเราถูกส่งมาเพื่อการนี้.” (ลูกา 4:43) เหตุใดพระเยซูทรงให้ราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นส่วนสำคัญในงานรับใช้ของพระองค์? พระองค์ทรงทราบว่าพระองค์เองซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรนั้น พร้อมกับเหล่าพี่น้องซึ่งกำเนิดด้วยพระวิญญาณที่ถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตาย จะกำจัดต้นเหตุที่ทำให้มนุษยชาติเป็นทุกข์เดือดร้อน คือบาปและพญามาร. (โรม 5:12; วิ. 20:10) ดังนั้น พระองค์ทรงบัญชาเหล่าสาวกให้ประกาศเรื่องราชอาณาจักรนั้นจนกว่าจะถึงอวสานของระบบปัจจุบัน. (มัด. 24:14) ผู้คนที่เพียงแค่อ้างว่าเป็นสาวกของพระคริสต์ไม่ได้ทำงานนี้—ที่จริง พวกเขาทำงานนี้ไม่ได้. เพราะเหตุใด? เพราะเหตุผลอย่างน้อยสามประการ: ประการแรก พวกเขาไม่สามารถประกาศเรื่องที่พวกเขาไม่เข้าใจ. ประการที่สอง พวกเขาส่วนใหญ่ขาดความถ่อมใจและความกล้าซึ่งจำเป็นในการเผชิญหน้ากับการเยาะเย้ยและการต่อต้านที่อาจเป็นผลมาจากการประกาศข่าวสารเรื่องราชอาณาจักรกับเพื่อนบ้าน. (มัด. 24:9; 1 เป. 2:23) และประการที่สาม คริสเตียนปลอมไม่มีพระวิญญาณของพระเจ้า.—โย. 14:16, 17
7 ในทางตรงกันข้าม สาวกแท้ของพระคริสต์เข้าใจว่าราชอาณาจักรของพระเจ้าคืออะไรและจะทำอะไรให้สำเร็จ. นอกจากนั้น พวกเขาให้ผลประโยชน์ของราชอาณาจักรมาเป็นอันดับแรกในชีวิต ประกาศเรื่องราชอาณาจักรไปทั่วโลก โดยได้รับความช่วยเหลือจากพระวิญญาณของพระยะโฮวา. (ซคา. 4:6) คุณมีส่วนร่วมในงานนี้เป็นประจำไหม? คุณพยายามเป็นผู้ประกาศราชอาณาจักรที่ดีขึ้นไหม อาจจะโดยใช้เวลามากขึ้นในงานรับใช้หรือโดยทำงานนี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น? บางคนได้พยายามปรับปรุงคุณภาพของงานรับใช้ด้วยการใช้คัมภีร์ไบเบิลให้เป็นประโยชน์มากขึ้น. อัครสาวกเปาโล ซึ่งใช้พระคัมภีร์เป็นประจำในการชักเหตุผล เขียนว่า “พระคำของพระเจ้ามีชีวิต ทรงพลัง.”—ฮีบรู 4:12; กิจ. 17:2, 3
8, 9. (ก) มีประสบการณ์อะไรบ้างที่เน้นให้เห็นคุณค่าของการใช้คัมภีร์ไบเบิลในงานประกาศของเรา? (ข) เราจะใช้พระคำของพระเจ้าอย่างชำนาญมากขึ้นได้อย่างไร?
8 เมื่อไปประกาศตามบ้าน พี่น้องชายคนหนึ่งอ่านดานิเอล 2:44 ให้ชายชาวคาทอลิกคนหนึ่งฟังและอธิบายว่าราชอาณาจักรของพระเจ้าจะทำให้เกิดสันติภาพและความปลอดภัยแท้อย่างไร. ชายคนนี้ตอบว่า “ผมขอบคุณคุณจริง ๆ ที่เปิดพระคัมภีร์และให้ผมดูว่าพระคัมภีร์บอกไว้อย่างไร แทนที่จะเพียงแค่พูดให้ผมฟัง.” เมื่อพี่น้องชายคนหนึ่งอ่านพระคัมภีร์ให้สตรีคนหนึ่งซึ่งนับถือนิกายกรีกออร์โทด็อกซ์ฟัง เธอก็แสดงความสนใจและตั้งคำถามหลายข้อ. เช่นเดียวกัน ในกรณีนี้พี่น้องชายกับภรรยาของเขาก็ได้ให้คำตอบจากคัมภีร์ไบเบิล. ต่อมา สตรีคนนี้กล่าวว่า “คุณรู้ไหมว่าทำไมดิฉันจึงยินดีคุยกับคุณ? เพราะคุณมาที่บ้านดิฉันพร้อมกับคัมภีร์ไบเบิล และคุณอ่านจากพระคัมภีร์.”
9 แน่นอน สรรพหนังสือของเรามีความสำคัญและเราควรเสนอให้ผู้คนในเขตงานของเราอ่าน. แต่คัมภีร์ไบเบิลเป็นเครื่องมือหลักของเรา. ดังนั้น ถ้าคุณไม่ได้ใช้พระคัมภีร์ในงานประกาศเป็นประจำ คุณน่าจะตั้งเป้าที่จะทำอย่างนั้นมิใช่หรือ? คุณอาจเลือกข้อพระคัมภีร์หลัก ๆ สักสองสามข้อ
ที่อธิบายว่าราชอาณาจักรของพระเจ้าคืออะไร และราชอาณาจักรนี้จะแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้คนในละแวกบ้านคุณเป็นห่วงอย่างไร. แล้วจงพร้อมที่จะอ่านข้อพระคัมภีร์เหล่านั้นเมื่อคุณประกาศตามบ้าน.ภูมิใจที่ถูกเรียกตามพระนามพระเจ้า
10, 11. ในเรื่องการใช้พระนามของพระเจ้า มีข้อแตกต่างกันอย่างไรระหว่างพระเยซูกับหลายคนที่อ้างว่าติดตามพระองค์?
10 พระยะโฮวาตรัสว่า “เจ้าทั้งหลายเป็นพยานของเราว่าเราเป็นพระเจ้า.” (ยซา. 43:12, ฉบับแปลคิงเจมส์) พระเยซูคริสต์ พยานที่สำคัญที่สุดของพระยะโฮวา ถือว่าเป็นเกียรติที่ได้เชิดชูพระนามของพระเจ้าและประกาศพระนามนี้ให้ผู้คนรู้จัก. (อ่านเอ็กโซโด 3:15; โยฮัน 17:6; ฮีบรู 2:12) ที่จริง เนื่องจากพระเยซูทรงประกาศพระนามของพระบิดา พระองค์จึงถูกเรียกว่า “พยานที่ซื่อสัตย์.”—วิ. 1:5; มัด. 6:9
11 ตรงกันข้าม หลายคนที่อ้างว่าเป็นตัวแทนพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์ไม่แสดงความนับถือต่อพระนามของพระเจ้า ถึงกับลบพระนามพระองค์ออกจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลของพวกเขา. คำสั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่มีไปถึงบิชอปนิกายคาทอลิก ซึ่งสะท้อนทัศนะคล้าย ๆ กัน มีใจความว่า “อย่าใช้หรืออย่าออกพระนามของพระเจ้าในรูปเททรากรัมมาทอน (ยฮวฮ)” ในการนมัสการ. * นั่นช่างเป็นความคิดที่น่าตำหนิสักเพียงไร!
12. ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาได้รับการระบุตัวชัดเจนยิ่งขึ้นอย่างไรในปี 1931?
12 คริสเตียนแท้ภูมิใจที่ได้ใช้พระนามของพระเจ้า โดยเลียนแบบทั้งพระคริสต์และ “พยานกลุ่มใหญ่” ที่อยู่ก่อนพระองค์. (ฮีบรู 12:1) ที่จริง ในปี 1931 ผู้รับใช้ของพระเจ้าได้รับการระบุตัวชัดเจนยิ่งขึ้นด้วยการรับเอาชื่อพยานพระยะโฮวา. (อ่านยะซายา 43:10-12) ด้วยเหตุนั้น ในความหมายที่พิเศษอย่างยิ่ง สาวกแท้ของพระคริสต์กลายมาเป็น “ประชาชนสำหรับพระนาม [พระเจ้า].”—กิจ. 15:14, 17
13. เราจะดำเนินชีวิตสมกับชื่อที่พระเจ้าประทานให้ได้อย่างไร?
13 เราเองจะดำเนินชีวิตสมกับชื่อที่พิเศษยิ่งนี้ได้อย่างไร? ประการหนึ่งนั้น เราต้องประกาศเรื่องพระเจ้าอย่างซื่อสัตย์. เปาโลเขียนว่า “ ‘ทุกคนที่ทูลอ้อนวอนโดยออกพระนามพระยะโฮวาจะรอด.’ แต่ผู้คนจะทูลอ้อนวอนพระองค์ได้อย่างไรถ้าเขายังไม่เชื่อในพระองค์? และเขาจะเชื่อในพระองค์ได้อย่างไรถ้าเขาไม่เคยได้ยินเรื่องพระองค์? และเขาจะได้ยินเรื่องพระองค์ได้อย่างไรถ้าไม่มีใครประกาศ? แล้วเขาจะประกาศได้อย่างไรถ้าไม่มีใครใช้เขาไป?” (โรม 10:13-15) นอกจากนั้น ด้วยความผ่อนหนักผ่อนเบาเราควรเปิดโปงคำสอนเท็จทางศาสนาที่หมิ่นประมาทพระผู้สร้าง เช่น หลักคำสอนเรื่องไฟนรก ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นคำสอนที่ทำให้พระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความรักกลายเป็นพระเจ้าที่มีลักษณะที่โหดร้ายแบบพญามาร.—ยิระ. 7:31; 1 โย. 4:8; เทียบกับมาระโก 9:17-27
14. เมื่อได้มารู้จักพระนามของพระเจ้า บางคนแสดงปฏิกิริยาอย่างไร?
14 คุณภูมิใจที่ได้ชื่อตามพระนามพระบิดาผู้อยู่ในสวรรค์ไหม? คุณช่วยคนอื่น ๆ ให้มารู้จักพระนามอันบริสุทธิ์ไหม? สตรีคนหนึ่งที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ยินว่าพยานพระยะโฮวารู้จักพระนามของพระเจ้า เมื่อเธอพบพยานฯ ในครั้งถัดมาเธอจึงขอให้ช่วยชี้พระนามนั้นจากพระคัมภีร์ของเธอ. เมื่อเธออ่านบทเพลงสรรเสริญ 83:18 ก็เกิดผลกระทบที่น่าทึ่ง. เธอเริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและตอนนี้เธอเป็นพี่น้องที่ซื่อสัตย์ซึ่งรับใช้ในอีกประเทศหนึ่ง. เมื่อสตรีชาวคาทอลิกคนหนึ่งซึ่งอาศัยในออสเตรเลียเห็นพระนามของพระเจ้าในคัมภีร์ไบเบิลเป็นครั้งแรก เธอร้องไห้ด้วยความยินดี. ถึงตอนนี้ เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เธอได้รับใช้เป็นไพโอเนียร์ประจำ. ไม่นานมานี้ เมื่อพยานฯ ในจาเมกาชี้ให้สตรีคนหนึ่งดูพระนามของพระเจ้าในพระคัมภีร์ของเธอเอง เธอก็ร้องไห้ด้วยความยินดีด้วยเช่นกัน. ดังนั้น จงภูมิใจที่ถูกเรียกตามพระนามของพระเจ้า และเลียนแบบพระเยซูด้วยการทำให้พระนามอันล้ำค่านี้เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ทุกคน.
‘ไม่รักโลก’
15, 16. คริสเตียนแท้มีทัศนะอย่างไรต่อโลก และเราควรถามตัวเองอย่างไร?
15 “อย่ารักโลกหรือสิ่งของในโลก. ถ้าผู้ใดรักโลก ความรักต่อพระบิดาไม่มีอยู่ในคนนั้น.” (1 โย. 2:15) โลกและ น้ำใจอย่างโลกต่อต้านพระยะโฮวาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์. ดังนั้น สาวกแท้ของพระคริสต์ไม่เพียงแค่ละเว้นจากการเป็นส่วนของโลก. พวกเขาไม่รักโลกเพราะพวกเขารู้อย่างที่สาวกยาโกโบเขียนไว้ว่า “การเป็นมิตรกับโลกคือการเป็นศัตรูกับพระเจ้า.”—ยโก. 4:4
16 ในโลกที่มีสิ่งล่อใจมากมายนับไม่ถ้วน การใส่ใจถ้อยคำของยาโกโบอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก. (2 ติโม. 4:10) ด้วยเหตุนั้น พระเยซูทรงอธิษฐานเพื่อเหล่าสาวกว่า “ข้าพเจ้ามิได้ทูลขอให้พระองค์ทรงนำพวกเขาไปจากโลก แต่ขอให้ทรงดูแลพวกเขาเนื่องจากมีตัวชั่วร้ายนั้น. พวกเขาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโลกเหมือนข้าพเจ้าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโลก.” (โย. 17:15, 16) จงถามตัวเองว่า ‘ฉันพยายามจะไม่เป็นส่วนของโลกไหม? คนอื่น ๆ รู้จุดยืนของฉันไหมในเรื่องการฉลองและธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักพระคัมภีร์ รวมทั้งการฉลองและธรรมเนียมที่อาจไม่ได้มีต้นตอมาจากศาสนานอกรีตแต่สะท้อนน้ำใจของโลกอย่างชัดเจน?’—2 โค. 6:17; 1 เป. 4:3, 4
17. อะไรอาจกระตุ้นคนที่มีหัวใจสุจริตให้มาอยู่ฝ่ายพระยะโฮวา?
17 แน่ล่ะ การยึดจุดยืนตามหลักพระคัมภีร์จะไม่ทำให้โลกชื่นชอบเรา แต่อาจกระตุ้นความสนใจใคร่รู้ของคนที่มีหัวใจสุจริต. จริงทีเดียว เมื่อคนเช่นนั้นเห็นว่าความเชื่อของเรามีรากฐานหนักแน่นจากพระคัมภีร์และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทั้งสิ้นของเรา พวกเขาอาจตอบรับโดยราวกับกล่าวกับผู้ถูกเจิมว่า “เราจะไปด้วยท่าน, เพราะเราได้ยินว่าพระเจ้าอยู่กับท่าน.”—ซคา. 8:23
แสดงความรักแบบคริสเตียนแท้
18. การแสดงความรักต่อพระยะโฮวาและเพื่อนบ้านเกี่ยวข้องกับอะไร?
18 พระเยซูตรัสว่า “จงรักพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดหัวใจของเจ้า ด้วยสุดชีวิตของเจ้า และด้วยสุดความคิดของเจ้า” และ “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง.” (มัด. 22:37, 39) ความรักเช่นนั้น (ภาษากรีก อะกาเป) เป็นความรักที่อาศัยหลักศีลธรรมเป็นพื้นฐานซึ่งคำนึงถึงหน้าที่, หลักการ, และความเหมาะสม แต่ก็มักจะรวมอารมณ์อันแรงกล้าไว้ด้วย. ความรักนี้อาจแสดงออกอย่างอบอุ่นและแรงกล้า. (1 เป. 1:22) ความรักแบบนี้ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับความเห็นแก่ตัว เพราะเป็นความรักที่แสดงออกมาให้เห็นด้วยคำพูดและการกระทำที่ไม่เห็นแก่ตัว.—อ่าน 1 โครินท์ 13:4-7
19, 20. จงเล่าประสบการณ์บางเรื่องที่แสดงให้เห็นพลังของความรักแบบคริสเตียน.
19 เนื่องจากความรักเป็นผลอย่างหนึ่งที่เกิดจากพระโยฮัน 13:34, 35; กลา. 5:22) คนที่มีลักษณะเยี่ยงแกะถูกกระตุ้นใจอย่างมากเมื่อพวกเขาเห็นความรักเช่นนั้น. ตัวอย่างเช่น เมื่อหนุ่มชาวยิวคนหนึ่งในประเทศอิสราเอลเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเป็นครั้งแรก เขาประหลาดใจมากที่เห็นพี่น้องชาวยิวและชาวอาหรับนมัสการพระยะโฮวาร่วมกัน. ผลก็คือ เขาเริ่มเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำและตอบรับการศึกษาพระคัมภีร์. คุณแสดงความรักจากใจจริงต่อพี่น้องไหม? และคุณพยายามต้อนรับคนใหม่ ๆ ที่มายังหอประชุมอย่างอบอุ่นไหม ไม่ว่าเขามีสัญชาติ, สีผิว, หรือฐานะทางสังคมเช่นไร?
วิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า ความรักจึงทำให้คริสเตียนแท้สามารถทำสิ่งที่คนอื่นไม่สามารถทำได้ เช่น เอาชนะอุปสรรคด้านเชื้อชาติ, วัฒนธรรม, และการเมือง. (อ่าน20 ในฐานะคริสเตียนแท้ เราพยายามแสดงความรักต่อทุกคน. ที่ประเทศเอลซัลวาดอร์ ผู้ประกาศวัยเยาว์คนหนึ่งศึกษากับสตรีชาวคาทอลิกวัย 87 ปีที่ยึดมั่นกับคริสตจักรของเธอ. วันหนึ่ง สตรีคนนี้ป่วยหนักและต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล. เมื่อเธอกลับมาบ้าน พยานฯ หลายคนได้ไปเยี่ยมและนำอาหารไปให้เธอ. เป็นอย่างนี้อยู่ประมาณหนึ่งเดือน. ไม่มีใครเลยจากคริสตจักรของสตรีคนนี้มาเยี่ยมเธอ. ผลเป็นอย่างไร? เธอทิ้งรูปเคารพ, ลาออกจากคริสตจักร, และศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานฯ ต่อไป. จริงทีเดียว ความรักแบบคริสเตียนมีพลังมาก! ความรักนี้สามารถเข้าถึงหัวใจอย่างที่คำพูดไม่อาจทำได้.
21. เราจะทำให้อนาคตของเรามั่นคงได้อย่างไร?
21 ในไม่ช้า พระเยซูจะตรัสกับทุกคนที่อ้างอย่างผิด ๆ ว่ารับใช้พระองค์ดังนี้ “เราไม่เคยรู้จักพวกเจ้าเลย! เจ้าผู้ทำการชั่ว จงไปให้พ้น.” (มัด. 7:23) ดังนั้น ให้เราเกิดผลที่ถวายเกียรติแด่ทั้งพระบิดาและพระบุตร. พระเยซูตรัสว่า “ทุกคนที่ได้ยินถ้อยคำเหล่านี้ของเราและทำตามจะเปรียบเหมือนคนสุขุมที่สร้างบ้านของตนบนศิลา.” (มัด. 7:24) ถ้าเราพิสูจน์ตัวว่าเป็นสาวกแท้ ของพระคริสต์ เราจะได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้า และอนาคตของเราก็จะมั่นคงดุจดังตั้งอยู่บนศิลา!
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 11 มีหนังสือใหม่ ๆ ของคาทอลิกในภาษาอังกฤษบางเล่ม รวมถึง เดอะ เจรูซาเลม ไบเบิล ซึ่งแปลเททรากรัมมาทอนว่า “ยาห์เวห์.”
คุณจำได้ไหม?
• สาวกแท้ของพระคริสต์ต่างจากสาวกปลอมอย่างไร?
• จงบอก “ผล” บางประการที่พิสูจน์ว่าใครเป็นคริสเตียนแท้.
• คุณตั้งเป้าไว้อย่างไรในเรื่องการเกิดผลแบบคริสเตียน?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 13]
คุณใช้คัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำไหมในงานประกาศ?
[ภาพหน้า 15]
คนอื่นรู้ไหมว่าคุณมีจุดยืนอย่างไรในเรื่องงานฉลองที่ไม่สอดคล้องกับหลักพระคัมภีร์?