จงรักกันฉันพี่น้องมากยิ่งขึ้น
จงรักกันฉันพี่น้องมากยิ่งขึ้น
“จงประพฤติด้วยความรักต่อไป อย่างที่พระคริสต์ทรงรักท่านทั้งหลาย.”—เอเฟ. 5:2
1. พระเยซูทรงชี้ว่าลักษณะที่สำคัญของสาวกของพระองค์คืออะไร?
การประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าตามบ้านเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของพยานพระยะโฮวา. ถึงกระนั้น พระคริสต์เยซูทรงเลือกอีกแง่มุมหนึ่งของศาสนาคริสเตียนเพื่อระบุว่าใครเป็นสาวกแท้ของพระองค์. พระองค์ตรัสว่า “เราให้บัญญัติใหม่แก่เจ้าทั้งหลาย คือ ให้พวกเจ้ารักกัน เรารักพวกเจ้ามาแล้วอย่างไร ก็ให้พวกเจ้ารักกันอย่างนั้นด้วย. เพราะเหตุนี้แหละ คนทั้งหลายจะรู้ว่าพวกเจ้าเป็นสาวกของเรา ถ้าพวกเจ้ารักกัน.”—โย. 13:34, 35
2, 3. ความรักฉันพี่น้องของเรามีผลกระทบอย่างไรต่อคนที่เข้าร่วมการประชุมกับเรา?
2 ไม่มีความรักอื่นใดในสังคมมนุษย์จะเทียบได้กับความรักที่มีอยู่ท่ามกลางสังคมพี่น้องคริสเตียนแท้. เช่นเดียวกับที่แม่เหล็กดูดเหล็ก ความรักก็ดึงดูดผู้รับใช้ของพระยะโฮวาให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวและดึงดูดคนที่มีหัวใจสุจริตให้มาเป็นผู้นมัสการแท้. ขอพิจารณาตัวอย่างของมาร์เซลีโน ซึ่งอยู่ที่ประเทศแคเมอรูน. เขาประสบอุบัติเหตุในที่ทำงานซึ่งทำให้เขาตาบอด. หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ก็มีข่าวลือแพร่ออกไปว่าที่เขาตาบอดเพราะเขาเป็นพ่อมด. แทนที่จะปลอบโยนเขา ศิษยาภิบาลและสมาชิกโบสถ์คนอื่น ๆ กลับขับไล่เขาออกจากคริสตจักร. เมื่อพยานพระยะโฮวาคนหนึ่งเชิญเขาไปร่วมการประชุม มาร์เซลีโนจึงลังเล. เขาไม่อยากถูกปฏิเสธอีก.
3 มาร์เซลีโนแปลกใจเมื่อเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น ณ หอประชุมราชอาณาจักร. เขาได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และได้รับการปลอบโยนจากคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลที่เขาได้ยินได้ฟัง. เขาเริ่มเข้าร่วมการประชุมประจำประชาคมทุกรายการ ก้าวหน้าในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล และรับบัพติสมาในปี 2006. ตอนนี้เขาบอกความจริงกับครอบครัวและเพื่อนบ้านของเขา และเริ่มนำการศึกษาพระคัมภีร์หลายราย. มาร์เซลีโนอยากให้คนที่ศึกษาพระคัมภีร์กับเขารู้สึกถึงความรักแบบเดียวกับที่เขาเองประสบในหมู่ประชาชนของพระเจ้า.
4. เหตุใดเราควรทำตามคำเตือนสติของเปาโลที่ให้ “ประพฤติด้วยความรักต่อไป”?
4 ความรักฉันพี่น้องในหมู่พวกเราเป็นคุณลักษณะที่น่าดึงดูดใจ ดังนั้น เราทุกคนต้องทำส่วนของตัวเองเพื่อรักษาความรักแบบนี้ไว้. ขอให้คิดถึงกองไฟที่ลุกไหม้ในค่ำคืนอันหนาวเย็นในค่ายพักแรม ซึ่งดึงดูดผู้คนให้มาอยู่ใกล้ ๆ เปลวไฟเพื่อจะได้ความอบอุ่น. หากคนที่ได้รับความอบอุ่นจากกองไฟนี้ไม่คอยเติมฟืน กองไฟนี้ก็จะมอดดับ. คล้ายกัน ความรักซึ่งเป็นเครื่องผูกพันที่ยอดเยี่ยมในประชาคมจะอ่อนลงไปหากพวกเราแต่ละคนที่เป็นคริสเตียนไม่คอยเสริมให้ความรักนี้แรงกล้าอยู่เสมอ. เราจะทำอย่างนี้ได้อย่างไร? อัครสาวกเปาโลตอบว่า “จงประพฤติด้วยความรักต่อไป อย่างที่พระคริสต์ทรงรักท่านทั้งหลาย อีกทั้งทรงประทานพระองค์เองเป็นของถวายและเป็นเครื่องบูชาอันหอมหวานแด่พระเจ้าเพื่อท่านทั้งหลาย.” (เอเฟ. 5:2) คำถามที่เราต้องการพิจารณาก็คือ ฉันจะประพฤติด้วยความรักต่อ ๆ ไปได้โดยวิธีใด?
“ให้พวกท่านเปิดใจให้กว้างเช่นกัน”
5, 6. เหตุใดเปาโลจึงกระตุ้นคริสเตียนในเมืองโครินท์ให้ “เปิดใจให้กว้าง”?
5 อัครสาวกเปาโลเขียนถึงคริสเตียนในเมืองโครินท์โบราณว่า “เราพูดกับท่านทั้งหลายอย่างเปิดเผยแล้ว พี่น้องชาวโครินท์ หัวใจเราเปิดกว้างแล้ว. ใจเราไม่คับแคบสำหรับ2 โค. 6:11-13) เหตุใดเปาโลกระตุ้นคริสเตียนในเมืองโครินท์ให้เปิดใจให้กว้างในการแสดงความรัก?
พวกท่าน แต่ใจพวกท่านคับแคบสำหรับความรักใคร่อันอบอุ่น. ดังนั้น ข้าพเจ้าพูดกับพวกท่านเหมือนพูดกับบุตรว่า ให้พวกท่านเปิดใจให้กว้างเช่นกันเพื่อตอบสนองความรักใคร่ของเรา.” (6 ขอให้พิจารณาว่าประชาคมในเมืองโครินท์โบราณเริ่มต้นอย่างไร. เปาโลมาที่เมืองโครินท์ในฤดูใบไม้ร่วงสากลศักราช 50. แม้ว่างานประกาศของท่านที่นั่นเริ่มต้นด้วยความยากลำบาก แต่ท่านอัครสาวกไม่เลิกประกาศ. ในชั่วเวลาสั้น ๆ หลายคนในเมืองนั้นแสดงความเชื่อในข่าวดี. เปาโลทุ่มเทตัวโดยใช้เวลา “หนึ่งปีหกเดือน” เพื่อสอนและเสริมสร้างประชาคมใหม่นี้ให้เข้มแข็ง. เห็นได้ชัดว่า ท่านรักคริสเตียนในเมืองโครินท์อย่างยิ่ง. (กิจ. 18:5, 6, 9-11) พวกเขามีเหตุผลเต็มเปี่ยมที่จะรักและนับถือท่านเป็นการตอบแทน. อย่างไรก็ตาม มีบางคนในประชาคมตีตัวออกห่างจากท่าน. อาจเป็นได้ที่บางคนไม่ชอบคำแนะนำแบบตรงไปตรงมาของท่าน. (1 โค. 5:1-5; 6:1-10) ส่วนคนอื่นอาจฟังคำใส่ร้ายของ “พวกอัครสาวกสุดวิเศษ.” (2 โค. 11:5, 6) เปาโลต้องการให้พี่น้องทั้งหมดมีความรักแท้ต่อท่าน. ดังนั้น ท่านขอร้องพวกเขาให้ “เปิดใจให้กว้าง” ด้วยการเข้ามามีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับท่านและผู้เชื่อถือคนอื่น ๆ.
7. เราจะ “เปิดใจให้กว้าง” ในการแสดงความรักฉันพี่น้องได้อย่างไร?
7 แล้วจะว่าอย่างไรสำหรับพวกเรา? เราจะ “เปิดใจให้กว้าง” ด้วยการแสดงความรักฉันพี่น้องได้อย่างไร? คนที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกันหรือมีภูมิหลังด้านชาติพันธุ์เหมือนกันอาจมีแนวโน้มตามธรรมชาติอยู่แล้วที่จะรักกัน. และคนที่มีความชอบในเรื่องนันทนาการคล้าย ๆ กันมักใช้เวลาส่วนใหญ่ด้วยกัน. แต่ถ้าความสนใจที่เรามีร่วมกันกับคริสเตียนบางคนทำให้เราแยกตัวจากคนอื่น ๆ เราก็จำเป็นต้อง “เปิดใจให้กว้าง.” คงนับว่าสุขุมที่จะถามตัวเองว่า ‘นาน ๆ ครั้งฉันจึงจะร่วมรับใช้หรือสังสรรค์กับพี่น้องที่ไม่อยู่ในกลุ่มที่สนิทกับฉันไหม? ที่หอประชุม ฉันไม่ค่อยได้ติดต่อพูดคุยกับคนใหม่ ๆ ที่เพิ่งมาสมทบกับประชาคมเท่าไรนัก เพราะฉันคิดว่าต้องให้เวลาล่วงเลยไปอีกหน่อยเขาจึงจะเป็นเพื่อนของฉันได้อย่างนั้นไหม? ฉันทักทายคนอื่น ๆ ในประชาคมทั้งคนที่อายุมากกว่าและคนที่อายุน้อยกว่าไหม?’
8, 9. คำแนะนำของเปาโลซึ่งบันทึกไว้ที่โรม 15:7 ช่วยเราได้อย่างไรให้ทักทายกันอย่างที่จะเสริมให้รักกันฉันพี่น้องมากขึ้น?
8 ในเรื่องการทักทายกัน ถ้อยคำที่เปาโลเขียนถึงคริสเตียนในกรุงโรมอาจช่วยเราให้มีทัศนะที่ถูกต้องต่อเพื่อนผู้นมัสการ. (อ่านโรม 15:7) คำภาษากรีกในข้อนี้ที่แปลไว้ว่า “ต้อนรับกัน” มีความหมายว่า “ต้อนรับด้วยความกรุณาหรือด้วยใจอารี ยอมรับเข้ากลุ่มและเป็นเพื่อนกัน.” เมื่อเจ้าบ้านที่มีน้ำใจเอื้ออารีในสมัยคัมภีร์ไบเบิลต้อนรับเพื่อนที่มาเยี่ยมที่บ้าน เขาจะแสดงออกให้แขกรู้ว่าเขายินดีอย่างยิ่งที่ได้พบกัน. พระคริสต์ทรงต้อนรับเราเข้าสู่ประชาคมคริสเตียนอย่างเดียวกันนั้น และเราได้รับการกระตุ้นให้เลียนแบบพระองค์ในการต้อนรับเพื่อนผู้นมัสการด้วยกัน.
9 เมื่อเราทักทายพี่น้องที่หอประชุมราชอาณาจักรและในสถานที่อื่น เราสามารถแสดงความสนใจต่อคนที่ในช่วง
หลัง ๆ เราไม่ค่อยได้พบหรือไม่ค่อยได้คุยด้วย. เราน่าจะหาโอกาสคุยกับพวกเขาสักสองสามนาที. ในการประชุมครั้งถัดไป เราอาจทำแบบเดียวกันนั้นกับคนอื่น ๆ. ไม่นานนัก เราก็จะมีโอกาสได้สนทนากับพี่น้องแทบทุกคน. ไม่จำเป็นต้องกังวลถ้าเราไม่ได้คุยกับทุกคนในการประชุมแต่ละครั้ง. คงไม่มีใครขุ่นเคืองถ้าเราไม่สามารถทักทายกับเขาทุก ๆ ครั้ง ณ การประชุม.10. มีโอกาสอันล้ำค่าอะไรสำหรับทุกคนในประชาคม และเราจะรับประโยชน์เต็มที่จากโอกาสดังกล่าวได้อย่างไร?
10 การทักทายคนอื่น ๆ เป็นก้าวแรกในการต้อนรับพวกเขา. นั่นเป็นขั้นตอนที่อาจนำไปสู่การพูดคุยกันและมีมิตรภาพที่ยั่งยืนในที่สุดได้. ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เข้าร่วมการประชุมภาคและการประชุมหมวดแนะนำตัวเองกับคนอื่นและเริ่มคุยกัน พวกเขาก็จะมองไปถึงโอกาสต่อไปที่จะได้พบกันอีก. อาสาสมัครก่อสร้างหอประชุมและคนที่ร่วมในงานบรรเทาทุกข์มักกลายเป็นเพื่อนกันเพราะพวกเขาได้มารู้จักคุณลักษณะที่ดีของกันและกันระหว่างที่มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน. โอกาสที่จะสร้างมิตรภาพที่ยั่งยืนมีอยู่มากมายในองค์การของพระยะโฮวา. ถ้าเรา “เปิดใจให้กว้าง” มิตรภาพของเราจะขยายวงกว้างยิ่งขึ้น และมีความรักอันแรงกล้ายิ่งขึ้นซึ่งประสานเราให้เป็นหนึ่งเดียวในการนมัสการแท้.
จงให้เวลาแก่คนอื่น ๆ
11. พระเยซูทรงวางตัวอย่างอะไรไว้ ดังที่มีบันทึกไว้ในมาระโก 10:13-16?
11 เช่นเดียวกับพระเยซู คริสเตียนทุกคนควรพยายามเป็นคนที่คนอื่นเข้าหาได้ง่าย. ขอให้พิจารณาว่าพระเยซูทรงแสดงปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อเหล่าสาวกพยายามห้ามบิดามารดาบางคนไม่ให้พาลูกเข้ามาหาพระองค์. พระองค์ตรัสว่า “ให้เด็กเล็ก ๆ เข้ามาหาเราเถิด อย่าห้ามพวกเขาเลย เพราะราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นของคนอย่างนี้.” แล้ว “พระองค์ทรงโอบเด็ก ๆ ไว้ แล้วทรงวางพระหัตถ์บนพวกเด็ก ๆ และอวยพรพวกเขา.” (มโก. 10:13-16) ขอให้นึกภาพว่าเด็ก ๆ เหล่านั้นคงต้องตื่นเต้นขนาดไหนที่ครูผู้ยิ่งใหญ่ทรงแสดงความสนพระทัยด้วยความรักเช่นนั้นต่อพวกเขา!
12. อะไรอาจเป็นอุปสรรคทำให้เราไม่ได้สนทนากับคนอื่น?
12 คริสเตียนแต่ละคนควรถามตัวเองว่า ‘ฉันวางตัวแบบที่คนอื่นจะเข้าหาได้ง่ายไหม หรือว่าฉันดูมีธุระยุ่งอยู่เสมอ?’ บางครั้ง นิสัยบางอย่างที่จริง ๆ แล้วไม่มีอะไรผิดอาจกลายเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นการสนทนา. ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามักใช้โทรศัพท์มือถือหรือฟังเพลงโดยใช้หูฟังขณะที่อยู่กับคนอื่น ๆ อาจเป็นเหมือนกับการส่งสารบอกคนอื่นว่าเราไม่อยากให้ใครมายุ่งกับเรา. ถ้าคนอื่นมักเห็นเราหมกมุ่นกับการใช้คอมพิวเตอร์มือถือ พวกเขาอาจลงความเห็นว่าเราไม่สนใจจะคุยกับพวกเขา. แน่นอน มี “เวลานิ่งเงียบ.” แต่เมื่อเราอยู่กับหลาย ๆ คน นั่นมักเป็น “เวลาพูด.” (ผู้ป. 3:7, ล.ม.) บางคนอาจบอกว่า “ฉันอยากอยู่ตามลำพังมากกว่า” หรือ “ในตอนเช้าฉันไม่ค่อยอยากพูดกับใคร.” อย่างไรก็ตาม การพูดคุยกันฉันมิตรแม้แต่ในเวลาที่เราไม่อยากพูดเท่าไรนักเป็นหลักฐานที่แสดงว่าเรามีความรักที่ “ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว.”—1 โค. 13:5
13. เปาโลสนับสนุนติโมเธียวให้มีทัศนะอย่างไรต่อพี่น้องคริสเตียน?
13 เปาโลสนับสนุนติโมเธียวที่อายุยังน้อยให้แสดงความนับถือต่อพี่น้องทุกคนในประชาคม. (อ่าน 1 ติโมเธียว 5:1, 2) เราเองก็ควรปฏิบัติต่อคริสเตียนที่สูงอายุเหมือนเป็นพ่อเป็นแม่ และคนที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกันเหมือนเป็นพี่เป็นน้องในครอบครัวเดียวกัน. เมื่อเรามีทัศนะอย่างนั้น พี่น้องที่รักของเราก็จะไม่รู้สึกว่าเราเป็นคนเข้าหาได้ยากและวางตัวห่างเหิน.
14. การสนทนาแบบที่เสริมสร้างกับคนอื่น ๆ เป็นประโยชน์อย่างไร?
14 เมื่อเราร่วมสนทนาแบบที่เสริมสร้างกับคนอื่น ๆ เราส่งเสริมให้พวกเขามีความเชื่อและอารมณ์ที่มั่นคง. พี่น้องคนหนึ่งซึ่งทำงานที่สำนักงานสาขายังจำได้ดีว่า ในช่วงแรก ๆ ที่เข้ามาทำงานในเบเธล พี่น้องในครอบครัวเบเธลหลายคนซึ่งมีอายุมากกว่ามักแวะเวียนมาคุยกับเขาเป็นประจำ. คำพูดที่ให้กำลังใจของพี่น้องเหล่านั้นทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเบเธลจริง ๆ. ตอนนี้ เขาพยายามเลียนแบบพี่น้องเหล่านั้นด้วยการพูดคุยกับคนอื่น ๆ ที่รับใช้ด้วยกันในเบเธล.
ความถ่อมใจช่วยเราสร้างสันติ
15. มีอะไรที่แสดงว่าความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้แม้แต่กับผู้นมัสการแท้?
15 ดูเหมือนว่า นางยุโอเดียกับนางซินติเค พี่น้องคริสเตียนสองคนในเมืองฟิลิปปอยโบราณ ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างพวกเธอได้. (ฟิลิป. 4:2, 3) เป็นที่รู้กันทั่วว่าเปาโลกับบาร์นาบัสโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนจนทำให้ทั้งสองแยกทางกันอยู่ชั่วระยะหนึ่ง. (กิจ. 15:37-39) บันทึกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้แม้แต่กับผู้นมัสการแท้. พระยะโฮวาทรงช่วยเราให้สามารถแก้ข้อขัดแย้งและฟื้นฟูมิตรภาพได้. แต่พระองค์ทรงคาดหมายให้เราทำอะไรบางอย่าง.
16, 17. (ก) ความถ่อมใจสำคัญเพียงไรในการแก้ไขความขัดแย้งส่วนตัว? (ข) เรื่องราวเกี่ยวกับยาโคบที่เข้าไปหาเอซาวแสดงให้เห็นคุณค่าของความถ่อมใจอย่างไร?
16 ขอให้นึกภาพว่าคุณกับเพื่อนคนหนึ่งกำลังจะออกเดินทางด้วยรถยนต์. คุณต้องเสียบกุญแจแล้วก็ติดเครื่องรถเสียก่อน จึงจะสามารถเริ่มต้นการเดินทางได้. กระบวนการในการแก้ไขความขัดแย้งส่วนตัวก็เริ่มต้นโดยใช้กุญแจอย่างหนึ่ง. กุญแจดังกล่าวคือความถ่อมใจ. (อ่านยาโกโบ 4:10) ดังที่จะเห็นได้จากตัวอย่างต่อไปนี้ในพระคัมภีร์ กุญแจนี้ทำให้คนที่มีเรื่องขัดเคืองกันเริ่มใช้หลักการในคัมภีร์ไบเบิล.
17 ล่วงเลยไปยี่สิบปี นับตั้งแต่ที่เอซาวรู้สึกโกรธแค้นเพราะต้องสูญเสียสิทธิบุตรหัวปีให้แก่ยาโคบ น้องชายฝาแฝดและอยากจะฆ่าน้อง. ฝาแฝดคู่นี้กำลังจะพบกันอีกครั้งหลังจากที่เหตุการณ์ดังกล่าวผ่านไปนานแล้ว และ “ยาโคบมีความกลัวเป็นทุกข์ในใจนัก.” ท่านคิดว่าเป็นไปได้มากทีเดียวที่เอซาวจะทำร้ายท่าน. แต่เมื่อพบกัน ยาโคบทำสิ่งที่เอซาวไม่คาดคิด. ท่าน “ซบหน้าลงถึงดิน” ขณะเข้าไปหาพี่ชาย. เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น? “เอซาววิ่งไปต้อนรับกอดคอจุบยาโคบ เขาทั้งสองก็ร้องไห้.” อันตรายจากการต่อสู้กันจึงไม่เกิดขึ้น. ความถ่อมใจของยาโคบช่วยให้เอาชนะความเกลียดชังที่สุมอยู่ในอกของเอซาว.—เย. 27:41; 32:3-8; 33:3, 4
18, 19. (ก) เมื่อเกิดความขัดแย้งกัน เหตุใดจึงจำเป็นที่เราจะเป็นฝ่ายริเริ่มในการใช้คำแนะนำตามหลักพระคัมภีร์? (ข) เหตุใดเราไม่ควรล้มเลิกความพยายามหากคนอื่นไม่ตอบสนองความพยายามของเราในครั้งแรก?
18 คัมภีร์ไบเบิลมีคำแนะนำที่ดีเยี่ยมในเรื่องการแก้ไขความขัดแย้ง. (มัด. 5:23, 24; 18:15-17; เอเฟ. 4:26, 27) * แต่หากเราไม่ถ่อมใจนำคำแนะนำนั้นไปใช้ การสร้างสันติก็จะเป็นไปได้ยาก. การคอยให้คนอื่นแสดงความถ่อมใจไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา ในเมื่อเราเองก็สามารถแสดงความถ่อมใจได้ด้วย.
เย. 50:15-21) ด้วยการรักษาสันติสุขกับพี่น้อง เรามีส่วนส่งเสริมเอกภาพและความยินดีของประชาคม.—อ่านโกโลซาย 3:12-14
19 ถ้าความพยายามของเราในครั้งแรกเพื่อสร้างสันติไม่ประสบผลเนื่องด้วยเหตุผลบางประการ ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง. คนอื่นอาจต้องใช้เวลาเพื่อปรับความรู้สึก. พวกพี่ชายของโยเซฟคิดคดและทรยศท่าน. เวลาผ่านไปเนิ่นนานก่อนที่พวกเขาจะมาพบกับโยเซฟอีกซึ่งในตอนนี้อยู่ในฐานะมหาเสนาบดีแห่งอียิปต์. อย่างไรก็ตาม ในที่สุดพวกเขาก็เปลี่ยนทัศนคติและขอโยเซฟให้อภัยพวกเขา. โยเซฟให้อภัยพวกพี่ชาย และเหล่าบุตรของยาโคบก็กลายเป็นชาติซึ่งมีสิทธิพิเศษได้ถือพระนามพระยะโฮวา. (ให้เรารัก “ด้วยการกระทำและด้วยความจริงใจ”
20, 21. เราเรียนอะไรได้จากการที่พระเยซูทรงล้างเท้าให้เหล่าอัครสาวก?
20 ไม่นานก่อนสิ้นพระชนม์ พระเยซูทรงบอกเหล่าอัครสาวกว่า “เราวางแบบอย่างไว้ให้พวกเจ้า เพื่อว่าเราได้ทำต่อพวกเจ้าอย่างไร พวกเจ้าจะทำต่อกันอย่างนั้นด้วย.” (โย. 13:15) พระองค์ทรงเพิ่งล้างเท้าให้อัครสาวก 12 คน. พระเยซูไม่ได้เพียงแค่ทำตามธรรมเนียมหรือลงมือกระทำด้วยความกรุณา. ก่อนเล่าเรื่องการล้างเท้า โยฮันเขียนว่า “สำหรับคนของ [พระเยซู] ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักพวกเขาเสมอ พระองค์จึงทรงรักพวกเขาจนถึงที่สุด.” (โย. 13:1) ความรักที่พระเยซูทรงมีต่อเหล่าสาวกนั่นเองที่กระตุ้นพระองค์ให้ทำสิ่งซึ่งตามปกติแล้วเป็นหน้าที่ของทาส. ในตอนนี้ พวกเขาต้องถ่อมใจทำสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นการแสดงความรักต่อกัน. ความรักฉันพี่น้องที่แท้จริงควรกระตุ้นเราให้ดูแลและห่วงใยพี่น้องคริสเตียนของเราทั้งหมด.
21 อัครสาวกเปโตร ซึ่งพระบุตรของพระเจ้าทรงล้างเท้าให้ท่าน เข้าใจความมุ่งหมายของสิ่งที่พระเยซูทำ. ท่านเขียนว่า “เมื่อท่านทั้งหลายทำให้แนวทางชีวิตของพวกท่านสะอาดแล้วโดยการเชื่อฟังความจริงซึ่งทำให้พวกท่านรักใคร่กันฉันพี่น้องโดยไม่เสแสร้ง ก็ให้พวกท่านรักกันอย่างแรงกล้าจากหัวใจ.” (1 เป. 1:22) อัครสาวกโยฮัน ซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ล้างเท้าให้ท่านด้วย เขียนว่า “ลูกเอ๋ย อย่าให้เรารักด้วยลมปากเท่านั้น แต่ให้รักด้วยการกระทำและด้วยความจริงใจ.” (1 โย. 3:18) ขอให้หัวใจเรากระตุ้นเราให้ยืนยันความรักฉันพี่น้องด้วยการกระทำ.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 18 ดูหนังสือรวบรวมเป็นองค์การเพื่อทำตามพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา หน้า 144-150.
คุณจำได้ไหม?
• เราจะ “เปิดใจให้กว้าง” ในการแสดงความรักต่อกันได้โดยวิธีใดบ้าง?
• อะไรจะช่วยเราในการให้เวลาแก่คนอื่น ๆ?
• ความถ่อมใจมีบทบาทอย่างไรในการสร้างสันติ?
• อะไรควรกระตุ้นเราให้ห่วงใยเพื่อนร่วมความเชื่อ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 21]
จงต้อนรับเพื่อนร่วมความเชื่ออย่างอบอุ่น
[ภาพหน้า 23]
อย่าพลาดโอกาสที่จะให้เวลาแก่คนอื่น ๆ