จง “มีใจแรงกล้าเพื่อการดี”!
จง “มีใจแรงกล้าเพื่อการดี”!
“[พระเยซู] ทรงประทานพระองค์เองเพื่อเรา เพื่อจะช่วยเราให้เลิกทำชั่วทุกอย่าง และชำระเราให้เป็นคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นของพระองค์โดยเฉพาะ และมีใจแรงกล้าเพื่อการดี.”—ทิทุส 2:14
1. เกิดอะไรขึ้นในบริเวณพระวิหารเมื่อพระเยซูเสด็จมาถึงในวันที่ 10 เดือนไนซาน ส.ศ. 33?
วันนั้นเป็นวันที่ 10 เดือนไนซาน สากลศักราช 33 เพียงไม่กี่วันก่อนการฉลองปัศคา. ฝูงชนผู้นมัสการในบริเวณพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมต่างรู้สึกตื่นเต้น. จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพระเยซูเสด็จมาถึง? ผู้เขียนหนังสือกิตติคุณสามเล่ม คือมัดธาย, มาระโก, และลูกา ต่างก็ให้หลักฐานที่แสดงว่าพระเยซูทรงขับไล่พวกคนที่ซื้อขายกันที่นั่นเป็นครั้งที่สอง. พระองค์ทรงคว่ำโต๊ะคนรับแลกเงินกับม้านั่งของคนขายนกเขา. (มัด. 21:12; มโก. 11:15; ลูกา 19:45) ความมีใจแรงกล้าของพระเยซูไม่ได้น้อยลงไปเลยนับตั้งแต่ที่พระองค์ทรงทำคล้าย ๆ กันนั้นเมื่อสามปีก่อน.—โย. 2:13-17
2, 3. เรารู้ได้อย่างไรว่าความมีใจแรงกล้าของพระเยซูไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การชำระพระวิหาร?
2 บันทึกของมัดธายแสดงให้เห็นว่าความมีใจแรงกล้ามัด. 21:14) บันทึกของลูกากล่าวถึงงานอื่น ๆ ที่พระเยซูทรงทำ. “[พระเยซู] ทรงสอนในพระวิหารทุกวัน.” (ลูกา 19:47; 20:1) ความมีใจแรงกล้าของพระเยซูจึงเห็นได้อย่างชัดเจนจากการที่พระองค์ทรงทำงานประกาศ.
ของพระเยซูในโอกาสนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การชำระพระวิหาร. พระองค์ยังทรงรักษาคนตาบอดและคนง่อยที่มาหาพระองค์ที่นั่นด้วย. (3 ในเวลาต่อมา อัครสาวกเปาโลเขียนถึงทิทุสและอธิบายว่าพระเยซู “ทรงประทานพระองค์เองเพื่อเรา เพื่อจะช่วยเราให้เลิกทำชั่วทุกอย่าง และชำระเราให้เป็นคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นของพระองค์โดยเฉพาะและมีใจแรงกล้าเพื่อการดี.” (ทิทุส 2:14) เราในปัจจุบันจะ “มีใจแรงกล้าเพื่อการดี” ได้โดยวิธีใดบ้าง? และตัวอย่างของกษัตริย์ที่ดีของยูดาห์หนุนใจเราอย่างไร?
มีใจแรงกล้าเพื่อการประกาศและการสอน
4, 5. กษัตริย์ยูดาห์สี่องค์พิสูจน์ตัวอย่างไรว่ามีใจแรงกล้าเพื่อการดี?
4 ทั้งอาซา, เยโฮซาฟาต, ฮิศคียาห์, และโยซียาห์ต่างก็รณรงค์เพื่อขจัดการไหว้รูปเคารพในยูดาห์ให้หมดสิ้น. อาซา “ทรงกำจัดแท่นบูชาพระต่างด้าวและปูชนียสถานสูงทั้งหลายและพังเสาศักดิ์สิทธิ์ลงและได้โค่นอาเช-ราห์เสีย.” (2 โคร. 14:3 ฉบับ R73) ด้วยใจแรงกล้าเพื่อการนมัสการพระยะโฮวา เยโฮซาฟาต “กวาดทำลายที่นมัสการบนเนินสูงและเสารูปเคารพนั้นไปเสียจากแผ่นดินยูดา.”—2 โคร. 17:6; 19:3 *
5 หลังจากการถือปัศคาเจ็ดวันที่ฮิศคียาห์จัดขึ้นในกรุงเยรูซาเลม “พวกยิศราเอลทั้งปวงที่ประชุมกันนั้น ได้ออกไปยังหัวเมืองตามแผ่นดินยูดา, หักฟันทำลายเสาเคารพและรูปพระอัศธะโรธเสีย, กับได้รื้อที่สูงสำหรับนมัสการทั้งแท่นทั่วตระกูลยูดา, เบ็นยามิน, เอ็ฟรายิม, และมะนาเซ, จนทำลายเสียสิ้น.” (2 โคร. 31:1) โยซียาห์ซึ่งยังเยาว์ขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อพระชนมายุเพียงแปดพรรษา. บันทึกในประวัติศาสตร์กล่าวว่า “ในปีที่แปดแห่งรัชกาล, เมื่อท่านยังทรงพระเยาว์อยู่, ก็ได้ตั้งพระราชหฤทัยแสวงหาพระเจ้าแห่งดาวิดราชบิดาใหญ่ของท่าน: ครั้นในปีที่สิบสองได้ตั้งต้นชำระแผ่นดินยูดาและกรุงยะรูซาเลม, กวาดให้ปราศจากที่นมัสการบนเนินสูง, รูปเสา, รูปสลัก, และรูปหล่อ.” (2 โคร. 34:3) ดังนั้น กษัตริย์ทั้งสี่องค์ต่างก็มีใจแรงกล้าเพื่อการดี.
6. เพราะเหตุใดงานรับใช้ของเราอาจเปรียบได้กับการรณรงค์ของกษัตริย์ที่ซื่อสัตย์แห่งอาณาจักรยูดาห์?
6 ปัจจุบัน เราร่วมในการรณรงค์คล้าย ๆ กันนั้นเพื่อช่วยผู้คนให้เป็นอิสระจากคำสอนของศาสนาเท็จ ซึ่งรวมถึงการไหว้รูปเคารพด้วย. การประกาศตามบ้านทำให้เราสามารถพบกับคนทุกชนิด. (1 ติโม. 2:4) หญิงสาวชาวเอเชียคนหนึ่งเล่าถึงวิธีที่มารดาเธอทำพิธีบูชารูปเคารพมากมายที่บ้าน. เนื่องจากหญิงสาวคนนี้คิดตามเหตุผลว่ารูปเคารพเหล่านั้นไม่อาจเป็นตัวแทนของพระเจ้าองค์เที่ยงแท้ได้ทั้งหมด เธอจึงมักอธิษฐานขอให้เธอได้รู้ว่าพระเจ้าองค์เที่ยงแท้คือใคร. เมื่อเธอเปิดประตูต้อนรับคนที่มาเคาะประตูบ้าน เธอก็พบกับพยานฯ สองคนซึ่งพร้อมจะช่วยเธอให้รู้จักพระนามอันโดดเด่นของพระเจ้าองค์เที่ยงแท้ คือพระยะโฮวา. และเธอรู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่ได้รู้ความจริงเกี่ยวกับรูปเคารพ! เดี๋ยวนี้เธอแสดงความกระตือรือร้นอย่างน่าชมเชยด้วยการประกาศตามบ้านอย่างขยันขันแข็ง และช่วยคนอื่นให้มารู้จักพระยะโฮวาและพระประสงค์ของพระองค์.—เพลง. 83:18; 115:4-8; 1 โย. 5:21
7. เราจะทำอะไรได้เพื่อเลียนแบบผู้สอนที่เดินทางไปทั่วประเทศในสมัยเยโฮซาฟาต?
7 เมื่อเราร่วมงานประกาศตามบ้านในเขตที่เราได้รับมอบหมาย เราทำงานอย่างทั่วถึงขนาดไหน? น่าสนใจ ในปีที่สามของรัชกาลเยโฮซาฟาต ท่านส่งเจ้านายใหญ่ห้าองค์, ชาวเลวีเก้าคน, และปุโรหิตสองคนออกไป. ท่านส่งพวกเขาให้เดินทางไปทั่วทุกเมืองเพื่อสอนประชาชนในเรื่องกฎหมายของพระยะโฮวา. การรณรงค์ของพวกเขาก่อผลที่ดีมากถึงขนาดที่ประชาชนในชาติต่าง ๆ โดยรอบเริ่มเกรง2 โครนิกา 17:9, 10) เราอาจเริ่มการสนทนากับสมาชิกคนอื่น ๆ ของครอบครัวที่อยู่ในเขตทำงานของเราได้ถ้าเรากลับไปเยี่ยมในวันเวลาอื่น.
กลัวพระยะโฮวา. (อ่าน8. เราอาจขยายขอบเขตการประกาศของเราได้อย่างไร?
8 ผู้รับใช้ของพระเจ้าจำนวนมากในสมัยปัจจุบันเต็มใจจากบ้านแล้วย้ายไปรับใช้ในที่ซึ่งมีความต้องการผู้ประกาศที่มีใจแรงกล้ามากกว่า. คุณจะทำอย่างนั้นได้ไหม? บางคนในพวกเราที่ไม่สามารถย้ายอาจพยายามประกาศกับผู้คนที่อาศัยในเขตของเราแต่พูดอีกภาษาหนึ่ง. เนื่องจากมีคนหลายชาติหลายภาษาที่เขาพบในเขตประกาศ รอน ซึ่งอายุ 81 ปีแล้วได้เรียนพูดคำทักทายในภาษาต่าง ๆ 32 ภาษา! เมื่อไม่นานมานี้ เขาพบสามีภรรยาชาวแอฟริกาคู่หนึ่งที่ถนนและทักทายทั้งสองด้วยภาษาโยรูบาซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของสองคนนี้. ทั้งสองถามรอนว่าเขาเคยไปแอฟริกาหรือ. เมื่อเขาตอบว่าไม่เคย ทั้งสองก็ถามว่าแล้วเขารู้ภาษาของพวกเขาได้อย่างไร. โดยวิธีนี้เขาสามารถประกาศเป็นอย่างดีกับคนทั้งสอง. พวกเขารับวารสารด้วยความเต็มใจและยินดีให้ที่อยู่ ซึ่งเขาได้ส่งต่อให้กับประชาคมท้องถิ่นเพื่อสามีภรรยาคู่นี้จะมีโอกาสได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิล.
9. เหตุใดการอ่านโดยตรงจากพระคัมภีร์ในการประกาศจึงสำคัญ? จงยกตัวอย่าง.
9 บรรดาครูสอนที่ได้ออกไปทั่วประเทศตามบัญชาของเยโฮซาฟาตถือ “หนังสือพระบัญญัติของพระยะโฮวา” ไปด้วย. ตลอดทั่วโลก เราพยายามสอนผู้คนโดยใช้คัมภีร์ไบเบิล เพราะหนังสือนี้เป็นพระคำของพระเจ้า. เราพยายามเป็นพิเศษให้คนอื่น ๆ ได้เห็นข้อความจริง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลโดยอ่านโดยตรงจากพระคัมภีร์ในการประกาศ. เจ้าของบ้านคนหนึ่งบอกกับลินดาพยานฯ คนหนึ่งว่า สามีเธอเป็นโรคเส้นเลือดสมองและเธอต้องคอยดูแลเขา. เจ้าของบ้านคนนี้ครวญว่า “ไม่รู้ว่าดิฉันไปทำอะไรไว้พระเจ้าถึงปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นกับดิฉัน.” ลินดาตอบว่า “ดิฉันอยากช่วยคุณให้มั่นใจเรื่องหนึ่ง” แล้วเธอก็อ่านข้อความในยาโกโบ 1:13 และพูดเสริมว่า “ความทุกข์ยากทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเราและคนที่เรารักไม่ใช่ การลงโทษจากพระเจ้า.” เมื่อได้ฟังอย่างนั้น เจ้าของบ้านก็กอดลินดาด้วยความซาบซึ้งใจ. ลินดายอมรับว่า “ที่ดิฉันปลอบโยนเธอได้ก็เพราะดิฉันใช้คัมภีร์ไบเบิล. บางครั้งข้อคัมภีร์ที่เราอ่านเป็นข้อที่เจ้าของบ้านไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย.” การสนทนาในครั้งนั้นในที่สุดก็ได้ทำให้สตรีคนนี้ตอบรับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำ.
เยาวชนซึ่งรับใช้ด้วยใจแรงกล้า
10. โยซียาห์เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเยาวชนคริสเตียนในปัจจุบันอย่างไร?
10 กลับมาที่ตัวอย่างของโยซียาห์ เราสังเกตว่าท่านตั้งมั่นในการนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้ตั้งแต่ยังเยาว์ และมีพระชนมายุได้ประมาณ 20 ปีเมื่อท่านเริ่มรณรงค์ต่อต้านการไหว้รูปเคารพทั่วประเทศ. (อ่าน 2 โครนิกา 34:1-3) คนหนุ่มสาวจำนวนมากมายในปัจจุบันมีใจแรงกล้าคล้าย ๆ กันนั้นในงานรับใช้.
11-13. เราได้ข้อคิดอะไรบ้างจากเยาวชนในสมัยปัจจุบันที่รับใช้พระยะโฮวาด้วยใจแรงกล้า?
11 ฮันนาห์ ซึ่งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ มีอายุได้ 13 ปีและกำลังเรียนภาษาฝรั่งเศสที่โรงเรียนเมื่อเธอได้ยินว่ามีการตั้งกลุ่มที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสขึ้นในเมืองใกล้ ๆ.
บิดาเธอเห็นด้วยที่จะไปด้วยกันกับเธอเพื่อเข้าร่วมการประชุมที่นั่น. ตอนนี้ฮันนาห์อายุ 18 ปีแล้ว และเธอประกาศอย่างกระตือรือร้นโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสในฐานะไพโอเนียร์ประจำ. คุณจะเรียนภาษาต่างประเทศด้วยได้ไหมเพื่อช่วยคนอื่น ๆ ให้เรียนรู้เรื่องพระยะโฮวา?12 เรเชล ประทับใจมากเมื่อได้ชมดีวีดีจงมุ่งตามเป้าหมายที่ทำให้พระเจ้าได้รับคำสรรเสริญ. เมื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับทัศนะของเธอเมื่อเริ่มรับใช้พระยะโฮวาในปี 1995 เธอกล่าวว่า “ตอนนั้นดิฉันคิดว่าดิฉันแข็งแรงดีในความจริง.” แล้วเธอก็กล่าวอีกว่า “หลังจากชมละครเรื่องนี้แล้ว ดิฉันก็รู้ตัวว่าที่ผ่านมาดิฉันเพียงแค่ดำเนินชีวิตแบบเรื่อย ๆ เอื่อย ๆ มาตั้งหลายปี. ดิฉันต้องต่อสู้เพื่อความจริงและคิดอย่างจริงจังและพยายามเต็มที่ในเรื่องการรับใช้และการศึกษาส่วนตัว.” ตอนนี้เรเชลพบว่าเธอกำลังรับใช้พระยะโฮวาด้วยใจแรงกล้ามากขึ้น. ผลเป็นอย่างไร? “สายสัมพันธ์ของดิฉันกับพระยะโฮวาลึกซึ้งยิ่งขึ้น. คำอธิษฐานของดิฉันมีความหมายมากขึ้น การศึกษาส่วนตัวก็ลึกซึ้งขึ้นและน่าเพลิดเพลินกว่าเดิม และดิฉันรู้สึกว่าเรื่องราวในพระคัมภีร์แจ่มชัดยิ่งขึ้น. เมื่อเป็นอย่างนี้ ดิฉันจึงเพลิดเพลินกับงานรับใช้มากและรู้สึกอิ่มใจอย่างแท้จริงเมื่อเห็นว่าพระคำของพระยะโฮวากำลังช่วยปลอบประโลมใจคนอื่น ๆ.”
13 ลุค เป็นชายหนุ่มคนหนึ่งที่ได้รับกำลังใจจากดีวีดีละครเรื่องหนุ่มสาวถามว่า—ฉันจะทำอย่างไรกับชีวิตของฉัน? หลังจากชมดีวีดีเรื่องนี้แล้ว ลุคเขียนว่า “ผมรู้สึกถูกกระตุ้นให้ประเมินสถานการณ์ในชีวิตของผมใหม่.” เขายอมรับว่า “ในอดีต ผมถูกกดดันให้แสวงหาความมั่นคงด้านการเงินด้วยการเรียนสูงก่อน แล้วค่อยเน้นเรื่องเป้าหมายฝ่ายวิญญาณทีหลัง. การทำตามแรงกดดันอย่างนั้นไม่ได้ช่วยให้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ มีแต่จะทำให้คุณอ่อนแอลงเท่านั้นเอง.” เยาวชนทั้งหลาย ขอให้พิจารณาว่าคุณสามารถใช้สิ่งที่คุณเรียนที่โรงเรียนเพื่อขยายงานรับใช้ของคุณอย่างที่ฮันนาห์ทำได้ไหม. และขอให้คุณเลียนแบบเรเชลด้วยการมุ่งตามเป้าหมายที่ทำให้พระเจ้าได้รับคำสรรเสริญอย่างแท้จริงด้วยใจแรงกล้า. ขอให้ทำอย่างลุค แล้วคุณจะเลี่ยงพ้นอันตรายต่าง ๆ ที่เป็นเหมือนกับดักสำหรับคนหนุ่มสาวหลายคน.
จงเอาใจใส่คำเตือนด้วยใจแรงกล้า
14. ประชาชนที่นมัสการพระยะโฮวาต้องเป็นคนแบบใด และเหตุใดการเป็นคนแบบนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย?
14 ประชาชนของพระยะโฮวาจำเป็นต้องสะอาดพระองค์จึงจะทรงยอมรับการนมัสการของพวกเขา. ยะซายาเตือนว่า “ไปซิ! ไปเสียเถอะ! จงออกไปเสียจากที่นั่น; จงออกไปเสียจากกลางเมืองนั้น, เจ้าผู้ถือเครื่องภาชนะของพระยะโฮวา, จงรักษาตัวไว้ให้สะอาดหมดจด.” (ยซา. 52:11) หลายปีก่อนที่ยะซายาจะเขียนถ้อยคำดังกล่าว อาซากษัตริย์ที่ดีมุ่งรณรงค์อย่างแข็งขันเพื่อขจัดการประพฤติผิดศีลธรรมให้หมดไปจากยูดาห์. (อ่าน 1 กษัตริย์ 15:11-13) และหลายศตวรรษต่อมา อัครสาวกเปาโลบอกทิทุสว่าพระเยซูประทานพระองค์เองเพื่อชำระเหล่าสาวกของพระองค์เพื่อทำให้พวกเขาเป็น “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นของพระองค์โดยเฉพาะและมีใจแรงกล้าเพื่อการดี.” (ทิทุส 2:14) ในสังคมปัจจุบันที่เต็มด้วยความชั่วร้าย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรักษาตัวสะอาดด้านศีลธรรม—โดยเฉพาะสำหรับคนหนุ่มสาว. ตัวอย่างเช่น ผู้รับใช้ของพระเจ้าทุกคน ไม่ว่าคนหนุ่มสาวหรือผู้สูงอายุ ก็ต้องต่อสู้เพื่อรักษาตัวให้ปราศจากมลทินของสื่อลามกซึ่งมีอยู่ทั่วไปในป้ายโฆษณา, ในจอโทรทัศน์, ในภาพยนตร์, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเทอร์เน็ต.
15. อะไรอาจช่วยเราได้ให้พัฒนาความเกลียดต่อสิ่งชั่ว?
15 ความกระตือรือร้นของเราในการใส่ใจคำเตือนของพระเจ้าจะช่วยเราได้ให้พัฒนาความเกลียดต่อสิ่งชั่ว. (เพลง. 97:10; โรม 12:9) เราจำเป็นต้องเกลียดสื่อลามกเพื่อจะ “หลุดพ้นจากแรงดึงดูดของมันที่มีพลังราวกับแม่เหล็ก” อย่างที่คริสเตียนคนหนึ่งพรรณนาไว้. เพื่อจะงัดแม่เหล็กให้หลุดจากกัน ต้องใช้แรงที่มากกว่าแรงดึงดูดที่ยึดมันไว้ด้วยกัน. คล้ายกัน ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อจะต้านทานแรงล่อใจของสื่อลามก. แต่การเข้าใจว่าสื่อลามกทำให้เราเสียหายมากขนาดไหนจะช่วยเราให้พัฒนาความเกลียดต่อสื่อลามก. พี่น้องชายคนหนึ่งได้พยายามอย่างหนักเพื่อจะเลิกนิสัยดูเว็บไซต์ลามกในอินเทอร์เน็ต. เขาย้ายคอมพิวเตอร์ส่วนตัวมาไว้ในตำแหน่งที่คนอื่น ๆ ในครอบครัวจะเห็นได้ชัดเจน. พร้อมกันนั้น เขาเองก็ตั้งใจแน่วแน่ยิ่งขึ้นที่จะรักษาตัวให้สะอาดและมีใจแรงกล้าเพื่อการดี. เขาทำมากกว่านั้นไปอีกขั้นหนึ่งด้วยซ้ำ. เนื่องจากเขาต้องใช้อินเทอร์เน็ตในธุรกิจ เขาจึงกำหนดไว้เลยว่าจะเปิดใช้อินเทอร์เน็ตเฉพาะเมื่อภรรยาอยู่ข้าง ๆ เท่านั้น.
คุณค่าของการประพฤติที่ดี
16, 17. การประพฤติที่ดีของเรามีผลอย่างไรต่อคนที่สังเกตเห็น? จงยกตัวอย่าง.
16 เป็นเรื่องน่าชมเชยที่มีน้ำใจที่ดีในหมู่คนหนุ่มสาวที่รับใช้พระยะโฮวา และนั่นทำให้ผู้คนที่มองเห็นประทับใจมาก! (อ่าน 1 เปโตร 2:12) ชายคนหนึ่งซึ่งมาเยือนเบเธลที่ลอนดอนเปลี่ยนทัศนะของเขาที่มีต่อพยานพระยะโฮวาอย่างสิ้นเชิงหลังจากที่ได้ใช้เวลาวันหนึ่งซ่อมบำรุงเครื่องพิมพ์ที่นั่น. ภรรยาของเขาซึ่งกำลังศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับพยานฯ ในท้องถิ่นสังเกตว่าทัศนคติของสามีเปลี่ยนไป. ก่อนหน้านั้น เขาไม่ต้องการให้พยานฯ มาเยี่ยมที่บ้าน. แต่เมื่อเขากลับมาจากการทำงานที่เบเธล เขาก็เอ่ยชมไม่ขาดปากในเรื่องที่เขาได้รับการปฏิบัติอย่างกรุณาเมื่ออยู่ที่นั่น. เขาให้ข้อสังเกตว่าไม่มีใครใช้ภาษาไม่สุภาพ. ทุกคนใจเย็น และบรรยากาศก็สงบสุข. เขาประทับใจเป็นพิเศษที่พี่น้องหนุ่มสาวทำงานอย่างขันแข็งโดยไม่รับค่าจ้าง อาสาสมัครที่จะใช้เวลาและกำลังเพื่อช่วยในการจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวดี.
17 คล้ายกัน พี่น้องที่ทำงานอาชีพเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวก็ทำงานอย่างเต็มกำลัง. (โกโล. 3:23, 24) เมื่อเป็นอย่างนี้ก็มักทำให้พวกเขามีความมั่นคงในอาชีพการงานมากขึ้น เพราะนายจ้างเห็นค่าที่พวกเขามีความสำนึกในหน้าที่และไม่ต้องการเสียลูกจ้างแบบพวกเขา.
18. เราจะ “มีใจแรงกล้าเพื่อการดี” ได้อย่างไร?
18 ความไว้วางใจที่เรามีต่อพระยะโฮวา, การเชื่อฟังพระบัญชาของพระองค์, และการเอาใจใส่ดูแลสถานที่ประชุมของเราเป็นส่วนหนึ่งในวิธีต่าง ๆ ที่เราแสดงความมีใจแรงกล้าเพื่อพระนิเวศของพระยะโฮวา. นอกจากนั้น เราต้องการมีส่วนร่วมเต็มที่เท่าที่เราทำได้ในการประกาศเรื่องราชอาณาจักรและในงานทำให้คนเป็นสาวก. ไม่ว่าเราอายุยังน้อยหรืออายุมากแล้ว เราจะเกี่ยวเก็บผลประโยชน์มากมายถ้าเราทำทุกสิ่งที่เราทำได้เพื่อรักษามาตรฐานที่สะอาดในการนมัสการของเรา. และเราจะเป็นที่รู้จักเสมอไปว่าเป็นประชาชนที่ “มีใจแรงกล้าเพื่อการดี.”—ทิทุส 2:14
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 4 อาซาอาจได้ขจัดทำลายที่นมัสการบนเนินสูงทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการนมัสการพระเท็จทั้งหลาย แต่ไม่ได้ขจัดทำลายสถานที่ที่ประชาชนนมัสการพระยะโฮวา. หรืออาจเป็นได้ว่าที่นมัสการบนเนินสูงถูกสร้างขึ้นใหม่ในช่วงท้ายรัชกาลของอาซา และที่เหล่านี้ถูกขจัดทำลายโดยเยโฮซาฟาตราชบุตรของท่าน.—1 กษัต. 15:14; 2 โคร. 15:17
จากตัวอย่างทั้งในคัมภีร์ไบเบิลและในสมัยปัจจุบันคุณเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ
• วิธีแสดงใจแรงกล้าด้วยการประกาศและการสอน?
• วิธีที่หนุ่มสาวคริสเตียนสามารถ “มีใจแรงกล้าเพื่อการดี”?
• วิธีเลิกนิสัยที่ทำให้เสื่อมเสีย?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 13]
คุณใช้คัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำในงานประกาศไหม?
[ภาพหน้า 15]
การเรียนพูดอีกภาษาหนึ่ง เมื่อยังเรียนอยู่ในโรงเรียนอาจช่วยคุณให้ขยายงานรับใช้