จงเลียนแบบมิชชันนารีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด
จงเลียนแบบมิชชันนารีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด
“จงเป็นผู้เลียนแบบข้าพเจ้าเหมือนที่ข้าพเจ้าเป็นผู้เลียนแบบพระคริสต์.” —1 โค. 11:1.
1. เหตุใดเราควรเลียนแบบพระเยซูคริสต์?
อัครสาวกเปาโลเลียนแบบพระเยซูคริสต์ มิชชันนารีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด. เปาโลยังกระตุ้นเพื่อนคริสเตียนด้วยว่า “จงเป็นผู้เลียนแบบข้าพเจ้าเหมือนที่ข้าพเจ้าเป็นผู้เลียนแบบพระคริสต์.” (1 โค. 11:1) หลังจากพระเยซูวางตัวอย่างแก่เหล่าอัครสาวกในเรื่องความถ่อมใจโดยทรงถ่อมพระองค์ล้างเท้าให้พวกเขา พระองค์ตรัสว่า “เราวางแบบอย่างไว้ให้พวกเจ้า เพื่อว่าเราได้ทำต่อพวกเจ้าอย่างไร พวกเจ้าจะทำต่อกันอย่างนั้นด้วย.” (โย. 13:12-15) ในปัจจุบัน พวกเราที่เป็นคริสเตียนมีพันธะที่จะเลียนแบบพระเยซูคริสต์ทั้งทางคำพูดและการกระทำตลอดจนคุณลักษณะที่เราแสดงในชีวิต.—1 เป. 2:21.
2. แม้ว่าคุณไม่เคยได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการปกครองให้เป็นมิชชันนารี แต่คุณสามารถมีน้ำใจแบบใด?
2 ในบทความที่แล้ว เราได้เรียนว่ามิชชันนารีคือคนที่ถูกส่งไปเป็นผู้เผยแพร่หรือบอกข่าวดีแก่คนอื่น ๆ. เปาโลตั้งคำถามที่น่าสนใจในเรื่องนี้. (อ่านโรม 10:11-15.) ขอให้สังเกตว่าท่านอัครสาวกถามว่า “เขาจะได้ยินเรื่องพระองค์ได้อย่างไรถ้าไม่มีใครประกาศ?” จากนั้น ท่านยกข้อความจากคำพยากรณ์ในพระธรรมยะซายาขึ้นมากล่าวว่า “เท้า ของผู้ที่ประกาศข่าวดีช่างงดงามจริง ๆ!” (ยซา. 52:7) แม้ว่าคุณไม่ได้รับการแต่งตั้งและถูกส่งไปรับใช้เป็นมิชชันนารีในเขตมอบหมายต่างแดน แต่คุณสามารถมีน้ำใจในการเผยแพร่ข่าวดี โดยเลียนแบบพระเยซูในการเป็นผู้ประกาศข่าวดีที่กระตือรือร้น. ในปีที่แล้ว มีผู้ประกาศราชอาณาจักร 6,957,852 คน ‘ทำงานเป็นผู้เผยแพร่ข่าวดี’ ใน 236 ดินแดน.—2 ติโม. 4:5.
“พวกข้าพเจ้าได้สละทุกสิ่งและติดตามพระองค์”
3, 4. พระเยซูทรงยอมสละอะไรในสวรรค์ และเราต้องทำอะไรเพื่อจะเป็นสาวกของพระองค์?
3 เพื่อจะทำหน้าที่มอบหมายบนแผ่นดินโลกให้สำเร็จ พระเยซู “ทรงสละพระองค์เองแล้วรับสภาพทาส” ยอมสละชีวิตและเกียรติยศที่ทรงมีในสวรรค์. (ฟิลิป. 2:7) ไม่ว่าเราจะเลียนแบบพระคริสต์มากเพียงใดก็ตามก็ไม่อาจเทียบได้กับสิ่งที่พระเยซูทรงทำเมื่อเสด็จมายังแผ่นดินโลก. แต่เราสามารถเป็นสาวกที่ซื่อสัตย์มั่นคง ไม่หันกลับไปมองสิ่งต่าง ๆ ที่เราเคยมีในโลกของซาตานด้วยความเสียดาย.—1 โย. 5:19.
4 ในโอกาสหนึ่ง อัครสาวกเปโตรบอกพระเยซูว่า “พวกข้าพเจ้าได้สละทุกสิ่งและติดตามพระองค์.” (มัด. 19:27) เปโตร, อันเดรอัส, ยาโกโบ, และโยฮันทิ้งอวนทันทีเมื่อได้รับคำเชิญให้ติดตามพระเยซู. พวกเขาเลิกอาชีพประมงและให้งานประกาศเป็นงานประจำชีพของตน. ตามบันทึกในกิตติคุณลูกา เปโตรกล่าวว่า “พวกข้าพเจ้าได้สละสิ่งที่พวกข้าพเจ้ามีและติดตามพระองค์.” (ลูกา 18:28) พวกเราส่วนใหญ่ไม่ต้องทิ้ง ‘สิ่งที่พวกเรามี’ ทั้งหมดเพื่อจะติดตามพระเยซู. อย่างไรก็ตาม เราต้อง “ปฏิเสธตัวเอง” เพื่อเป็นสาวกของพระคริสต์และเป็นผู้รับใช้พระยะโฮวาอย่างสิ้นสุดหัวใจ. (มัด. 16:24) แนวทางเช่นนั้นยังผลเป็นพระพรอย่างอุดม. (อ่านมัดธาย 19:29.) การมีน้ำใจในการเผยแพร่ข่าวดีของพระคริสต์ทำให้เราอิ่มใจยินดี โดยเฉพาะถ้าเราได้มีส่วนแม้จะเล็กน้อยในการช่วยบางคนให้มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระเจ้าและพระบุตรที่รักของพระองค์.
5. จงเล่าประสบการณ์ที่แสดงว่าผู้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในประเทศอื่นอาจตัดสินใจทำอะไรเมื่อเขาเรียนความจริงในคัมภีร์ไบเบิล.
5 ชายชาวบราซิลคนหนึ่งชื่อวัลมีร์ ซึ่งอาศัยอยู่ที่ภาคกลางของประเทศซูรินาเม ทำธุรกิจเหมืองทองคำ. เขาติดเหล้าและใช้ชีวิตแบบผิดศีลธรรม. ครั้งหนึ่งตอนที่เขาอยู่ในเมือง พยานพระยะโฮวาเริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเขา. เขาศึกษาทุกวัน เปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองหลายอย่าง และในที่สุดก็รับบัพติสมา. เมื่อเขาเห็นว่างานที่เขาทำอยู่ทำให้
ยากจะดำเนินชีวิตสอดคล้องกับความเชื่อใหม่ที่เขาเพิ่งพบ เขาขายธุรกิจที่ทำรายได้ดีนี้แล้วย้ายกลับไปบราซิลเพื่อช่วยครอบครัวเขาให้ได้พบทรัพย์สมบัติฝ่ายวิญญาณ. เมื่อได้เรียนความจริงในคัมภีร์ไบเบิล หลายคนที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในประเทศอื่นยินดีสละงานในประเทศที่มั่งคั่งแล้วกลับไปบ้านเกิด โดยมีเป้าหมายจะช่วยญาติ ๆ และคนอื่น ๆ ให้เรียนความจริง. ผู้ประกาศราชอาณาจักรเหล่านี้แสดงน้ำใจของผู้เผยแพร่ข่าวดีอย่างแท้จริง.6. เราสามารถทำอะไรได้ถ้าเราไม่สามารถย้ายไปยังที่ที่มีความต้องการผู้ประกาศราชอาณาจักรมากกว่า?
6 พยานพระยะโฮวาจำนวนไม่น้อยสามารถย้ายไปอยู่ในท้องถิ่นที่มีความต้องการผู้ประกาศราชอาณาจักรมากกว่า. บางคนถึงกับย้ายไปรับใช้ในประเทศอื่น. เราเองอาจไม่สามารถย้ายไปอย่างนั้น แต่เราสามารถเลียนแบบพระเยซูได้โดยทำงานรับใช้ให้ดีที่สุดเสมอ.
พระยะโฮวาทรงจัดให้มีการฝึกอบรมที่จำเป็น
7. มีโรงเรียนอะไรบ้างที่ฝึกอบรมคนที่ต้องการพัฒนาความสามารถในการประกาศเรื่องราชอาณาจักร?
7 เช่นเดียวกับพระเยซูทรงได้รับการฝึกอบรมจากพระบิดา เราสามารถรับประโยชน์จากการศึกษาที่พระยะโฮวาทรงจัดให้ในเวลานี้. พระเยซูเองตรัสว่า “มีหนังสือของพวกผู้พยากรณ์เขียนไว้ว่า ‘และพวกเขาทุกคนจะได้รับการสอนจากพระยะโฮวา.’ ” (โย. 6:45; ยซา. 54:13) ปัจจุบัน มีโรงเรียนต่าง ๆ ที่จัดไว้โดยเฉพาะเพื่อเตรียมเราให้พร้อมจะเป็นผู้ประกาศราชอาณาจักร. ไม่มีข้อสงสัยว่าเราทุกคนได้รับประโยชน์บางอย่างจากโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้าในประชาคมท้องถิ่น. ไพโอเนียร์ได้รับสิทธิพิเศษเข้าร่วมโรงเรียนไพโอเนียร์. พี่น้องหลายคนที่เป็นไพโอเนียร์มานานชื่นชมยินดีที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนไพโอเนียร์เป็นรอบที่สอง. ผู้ปกครองและผู้ช่วยงานรับใช้ได้เข้าร่วมโรงเรียนพระราชกิจเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนและการรับใช้เพื่อนร่วมความเชื่อ. ผู้ปกครองและผู้ช่วยงานรับใช้จำนวนมากที่เป็นคนโสดได้เข้าเรียนในโรงเรียนฝึกอบรมเพื่องานรับใช้ ซึ่งฝึกสอนพวกเขาให้ช่วยคนอื่น ๆ ในงานประกาศ. และพี่น้องชายหญิงจำนวนมากที่ถูกมอบหมายให้ทำงานมิชชันนารีในประเทศอื่นได้รับการฝึกอบรมที่โรงเรียนว็อชเทาเวอร์ไบเบิลแห่งกิเลียด.
8. พี่น้องบางคนยินดีเสียสละอย่างไรเพื่อรับการฝึกอบรมที่พระยะโฮวาทรงจัดให้?
8 พยานพระยะโฮวาหลายคนต้องปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างเพื่อจะเข้าร่วมชั้นเรียนเหล่านี้ได้. เพื่อจะเข้าเรียนในโรงเรียนฝึกอบรมเพื่องานรับใช้ที่แคนาดา ยูกูลาออกจากงานอาชีพเพราะนายจ้างของเขาไม่ยอมอนุญาตให้ลางาน. ยูกูกล่าวว่า “ผมไม่เสียใจเลย. ที่จริง ถ้าเขายอมให้ผมลางานเป็นกรณีพิเศษ เขาอาจคาดหมายว่าผมน่าจะภักดีต่อบริษัทและอยู่กับบริษัทอย่างถาวร. แต่ตอนนี้ผมเป็นอิสระพร้อมจะไปที่ไหนก็ได้ที่พระยะโฮวามอบหมายให้ผมไป.” เพื่อจะรับประโยชน์จากการฝึกอบรมจากพระเจ้า หลายคนยินดีสละสิ่งที่เมื่อก่อนเขาถือว่ามีค่าอย่างยิ่ง.—ลูกา 5:28.
9. จงยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าคำสอนจากพระคัมภีร์และความพยายามอย่างจริงจังสามารถช่วยผู้คนได้อย่างน่าทึ่ง.
9 คำสอนจากพระคัมภีร์และความพยายามอย่างจริงจังสามารถช่วยผู้คนได้อย่างน่าทึ่ง. (2 ติโม. 3:16, 17) ขอพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับเซาโลซึ่งอยู่ที่ประเทศกัวเตมาลา. เขาเป็นโรคสมองพิการเล็กน้อยตั้งแต่เกิด และครูคนหนึ่งบอกกับแม่เขาว่าเธอไม่ควรบังคับลูกชายให้หัดอ่าน เพราะการทำอย่างนั้นไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากจะทำให้เขาหงุดหงิดเท่านั้นเอง. เมื่อเซาโลออกโรงเรียน เขาจึงอ่านหนังสือไม่ได้. อย่างไรก็ตาม พยานฯคนหนึ่งสอนเซาโลให้หัดอ่าน. ในที่สุด เซาโลก้าวหน้าถึงขั้นทำส่วนบรรยายในโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้า. ในเวลาต่อมา แม่ของเซาโลพบกับครูของเขาในงานประกาศตามบ้าน. เมื่อได้ยินว่าตอนนี้เซาโลอ่านหนังสือได้แล้ว ครูจึงขอให้แม่พาเซาโลมาด้วยเมื่อมาเยี่ยมเธอในสัปดาห์ถัดไป. เมื่อเซาโลไปถึงที่บ้านครู ครูถามเขาว่า “เธอจะสอนอะไรครูล่ะ?” เซาโลเริ่มอ่านย่อหน้าหนึ่งจากหนังสือไบเบิลสอนอะไรจริงๆ? “เหลือเชื่อจริง ๆ เลยว่าตอนนี้เธอกำลังสอนฉันอยู่” ครูกล่าว. ครูไม่สามารถกลั้นน้ำตาเอาไว้ได้อีกและดึงตัวเซาโลไปกอด.
การสอนที่กระตุ้นใจ
10. เรามีเครื่องมืออะไรที่ดีเยี่ยมเพื่อใช้สอนความจริงในคัมภีร์ไบเบิล?
10 พระเยซูทรงสอนโดยอาศัยสิ่งที่พระยะโฮวาทรงสอนพระองค์โดยตรงและคำสอนที่พบในคัมภีร์ไบเบิลพระคำลูกา 4:16-21; โย. 8:28) เราเลียนแบบพระเยซูโดยใช้คำแนะนำของพระองค์และสอนโดยใช้พระคัมภีร์เป็นหลัก. เราทุกคนพูดและคิดในแนวเดียวกัน และนั่นส่งเสริมเอกภาพในหมู่พวกเรา. (1 โค. 1:10) เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” จัดพิมพ์หนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักเพื่อช่วยเรารักษาเอกภาพในการสอนและทำงานเผยแพร่ข่าวดีให้สำเร็จ! (มัด. 24:45; 28:19, 20) หนังสือเล่มหนึ่งที่ทาสสัตย์ซื่อจัดพิมพ์ก็คือไบเบิลสอน ซึ่งตอนนี้มีใน 179 ภาษา.
ของพระเจ้า. (11. พี่น้องหญิงคนหนึ่งในเอธิโอเปียเอาชนะการต่อต้านอย่างไรโดยใช้หนังสือไบเบิลสอน?
11 การศึกษาพระคัมภีร์โดยใช้หนังสือไบเบิลสอนสามารถเปลี่ยนความคิดจิตใจของคนที่ต่อต้านเสียด้วยซ้ำ. ครั้งหนึ่ง ขณะที่ลูลาซึ่งเป็นไพโอเนียร์ในประเทศเอธิโอเปียกำลังนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอยู่ ญาติคนหนึ่งของนักศึกษาก็พรวดพราดเข้ามาขัดจังหวะแล้วบอกว่าไม่มีความจำเป็นที่พวกเขาจะต้องศึกษาแบบนี้. ลูลาค่อย ๆ หาเหตุผลกับหญิงคนนี้ โดยใช้ตัวอย่างเกี่ยวกับธนบัตรปลอมในบท 15 ของหนังสือไบเบิลสอน. หญิงคนนี้เงียบไปและยอมให้ทั้งสองศึกษากันต่อ. อันที่จริง เธอมาร่วมด้วยในการศึกษาคราวต่อมาและขอให้ช่วยสอนเธอเป็นส่วนตัว ทั้งยังเสนอจะจ่ายเงินเป็นค่าเรียนเสียด้วยซ้ำ! ไม่นานเธอก็ขอศึกษาสัปดาห์ละสามครั้งและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว.
12. จงยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเยาวชนสามารถสอนความจริงในคัมภีร์ไบเบิลได้.
12 เยาวชนก็สามารถช่วยคนอื่น ๆ ได้โดยใช้หนังสือไบเบิลสอน. ขณะที่เคียนู หนูน้อยวัย 11 ขวบ ซึ่งอยู่ที่ฮาวายกำลังอ่านหนังสือนี้อยู่ที่โรงเรียน เพื่อนร่วมชั้นคนหนึ่งถามเขาว่า “ทำไมเธอไม่ร่วมฉลองเทศกาลต่าง ๆ?” เคียนูตอบด้วยการอ่านโดยตรงที่ภาคผนวกเรื่อง “เราควรฉลองเทศกาลต่าง ๆ ไหม?” แล้วเขาก็เปิดหนังสือไปที่สารบัญและถามเด็กคนนั้นว่าเขาสนใจเรื่องไหนมากที่สุด. ทั้งสองคนเริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลด้วยกัน. ในปีการรับใช้ที่แล้ว พยานพระยะโฮวานำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล 6,561,426 ราย และหลายรายในจำนวนนี้ใช้หนังสือไบเบิลสอน. คุณกำลังใช้เครื่องมือนี้นำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอยู่ไหม?
13. การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลสามารถก่อผลกระทบที่มีพลังต่อผู้คนอย่างไร?
13 การศึกษาพระคัมภีร์โดยใช้หนังสือไบเบิลสอนสามารถก่อผลกระทบที่มีพลังต่อคนที่ปรารถนาจะทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. ไพโอเนียร์พิเศษคู่หนึ่งที่นอร์เวย์เริ่มนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับครอบครัวหนึ่งซึ่งมาจากแซมเบีย. สามีภรรยาชาวแซมเบียคู่นี้มีบุตรสาวสามคนและไม่ต้องการมีบุตรอีก. ดังนั้น เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ขึ้นมาอีก ทั้งสองจึงตัดสินใจจะทำแท้ง. สองสามวันก่อนจะไปปรึกษากับแพทย์ ทั้งสองได้ศึกษาบทที่ชื่อว่า “ทัศนะอย่างพระเจ้าในเรื่องชีวิต.” ภาพเด็กที่ยังไม่เกิดมาซึ่งอยู่ในบทนี้ทำให้ทั้งสองสะเทือนใจอย่างมากจนตัดสินใจไม่ทำแท้ง. สามีภรรยาคู่นี้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณเป็นอย่างดีและตั้งชื่อบุตรชายที่เกิดมาตามชื่อผู้นำการศึกษา.
14. จงยกตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าการดำเนินชีวิตสอดคล้องกับสิ่งที่เราเรียนรู้สามารถก่อผลดีอย่างไร.
14 แง่หนึ่งที่สำคัญของวิธีที่พระเยซูสอนคือการที่พระองค์ดำเนินชีวิตสอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์ทรงสอน. ผู้คนมากมายรู้สึกประทับใจความประพฤติที่ดีของพยานพระยะโฮวาที่เลียนแบบพระเยซูในแง่นี้. นักธุรกิจคนหนึ่งที่นิวซีแลนด์ถูกทุบกระจกรถและขโมยกระเป๋าเอกสารไป. เขาแจ้งความกับตำรวจ และตำรวจบอกว่า “โอกาสเดียวเท่านั้นที่คุณจะได้กระเป๋าเอกสารคืนก็คือถ้าบังเอิญพยานพระยะโฮวาไปพบกระเป๋านั้น.” พยานฯคนหนึ่งที่กำลังส่งหนังสือพิมพ์พบกระเป๋าเอกสารใบนั้น. เมื่อเธอแจ้งให้เจ้าของกระเป๋าทราบ เขามาที่บ้านของพี่น้องหญิงคนนั้น. เขารู้สึกโล่งอกที่พบว่าเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งมีค่าอย่างยิ่งสำหรับเขายังอยู่ในกระเป๋า. พี่น้องหญิงบอกเขาว่า “การคืนของให้เจ้าของเป็นสิ่งที่ดิฉันควรทำอยู่แล้ว โดยเฉพาะในฐานะที่ดิฉันเป็นพยานพระยะโฮวา.” นักธุรกิจคนนี้รู้สึกประหลาดใจอย่างยิ่ง เพราะเขาจำได้ว่าตำรวจบอกเขาอย่างนั้นในเช้าวันนั้นเอง. เห็นได้ชัด คริสเตียนแท้กำลังดำเนินชีวิตสอดคล้องกับคำสอนที่พบในคัมภีร์ไบเบิลและทำตามแบบอย่างของพระเยซู.—จงเลียนแบบเจตคติที่พระเยซูแสดงต่อผู้คน
15, 16. เราสามารถดึงดูดผู้คนให้สนใจข่าวสารที่เราประกาศได้อย่างไร?
15 เจตคติที่ดีของพระเยซูต่อผู้คนดึงดูดพวกเขาให้ฟังข่าวสารของพระองค์. ตัวอย่างเช่น ความรักและความถ่อมของพระองค์ดึงดูดบรรดาคนต่ำต้อยให้เข้ามาหาพระองค์. พระองค์ทรงแสดงความเมตตาสงสารต่อคนที่มาหาพระองค์ อีกทั้งยังปลอบโยนพวกเขาด้วยคำตรัสที่กรุณาและรักษาหลายคนให้หายป่วย. (อ่านมาระโก 2:1-5.) เราไม่สามารถทำการอัศจรรย์ แต่เราสามารถแสดงความรัก, ความถ่อม, และความเมตตาสงสาร ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเรียนความจริง.
16 ความเมตตาสงสารก่อผลดีเมื่อทาริอัว ซึ่งเป็นไพโอเนียร์พิเศษ ไปประกาศที่บ้านชายสูงอายุคนหนึ่งชื่อบีเร ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะที่อยู่ห่างไกลในหมู่เกาะคิริบาส ตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก. แม้ว่าชายคนนี้บอกว่าเขาไม่อยากฟัง ทาริอัวสังเกตว่าเขาเป็นอัมพาตเฉพาะส่วนและเธอรู้สึกสงสารเขา. “คุณลุงเคยได้ยินคำสัญญาของพระเจ้าสำหรับคนที่เจ็บป่วยและสูงอายุไหม?” เธอถาม. แล้วเธอก็อ่านส่วนหนึ่งของคำพยากรณ์ในพระธรรมยะซายา. (อ่านยะซายา 35:5, 6.) ชายคนนี้กล่าวอย่างแปลกใจว่า “ผมอ่านคัมภีร์ไบเบิลมาหลายปีและมิชชันนารีจากคริสตจักรของผมก็มาเยี่ยมผมหลายปีแล้ว แต่ผมไม่เคยเห็นเรื่องนี้ในพระคัมภีร์เลย.” บีเรตอบรับการศึกษาพระคัมภีร์ และเขาก้าวหน้าเป็นอย่างดีในการเรียนความจริง. แม้ว่าเขาพิการ แต่ในเวลานี้เขารับบัพติสมาแล้ว เป็นผู้นำในการดูแลกลุ่มโดดเดี่ยว และสามารถเดินประกาศข่าวดีไปทั่วเกาะ.
จงเลียนแบบพระคริสต์ต่อ ๆ ไป
17, 18. (ก) คุณจะเป็นผู้เผยแพร่ข่าวดีที่เกิดผลได้อย่างไร? (ข) คนที่รับใช้อย่างจริงจังจะได้รับอะไรตอบแทน?
17 ดังที่ประสบการณ์อันน่ายินดีในงานรับใช้แสดงให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่า เราสามารถเป็นผู้เผยแพร่ข่าวดีที่เกิดผลถ้าเราพัฒนาและแสดงคุณลักษณะอย่างที่พระเยซูทรงแสดง. ดังนั้น นับว่าเหมาะจริง ๆ ที่เราจะเลียนแบบพระคริสต์ในการเป็นผู้เผยแพร่ข่าวดีที่กระตือรือร้น!
18 เมื่อมีบางคนได้เข้ามาเป็นสาวกของพระเยซูในศตวรรษแรก เปโตรถามว่า “พวกข้าพเจ้าจะได้อะไรบ้าง?” พระเยซูทรงตอบว่า “ทุกคนที่ได้สละบ้านหรือพี่น้องชายหญิงหรือบิดาหรือมารดาหรือลูก ๆ หรือไร่นาเพื่อเห็นแก่นามของเราจะได้คืนอีกหลายเท่าและจะได้รับชีวิตนิรันดร์.” (มัด. 19:27-29) เราจะเห็นจริงตามนั้นอย่างแน่นอนถ้าเราเลียนแบบพระเยซูคริสต์ มิชชันนารีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อ ๆ ไป.
คุณจะตอบอย่างไร?
• พระยะโฮวาทรงฝึกอบรมเราอย่างไรให้เป็นผู้เผยแพร่ข่าวดี?
• เหตุใดหนังสือไบเบิลสอนจึงใช้ได้ผลดีในงานรับใช้ของเรา?
• เราจะเลียนแบบพระเยซูได้อย่างไรในเรื่องเจตคติของเราต่อผู้คน?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 17]
เมื่อพระเยซูทรงเชิญเปโตร, อันเดรอัส, ยาโกโบ, และโยฮันให้ติดตามพระองค์ พวกเขาตอบรับทันที
[ภาพหน้า 19]
หนังสือต่าง ๆ เช่น “ไบเบิลสอน” ช่วยเราให้มีเอกภาพในการสอน