จงเอาใจใส่ “ศิลปะในการสอน”
จงเอาใจใส่ “ศิลปะในการสอน”
“จงประกาศพระคำ . . . จงว่ากล่าว ตักเตือนแรง ๆ กระตุ้นเตือนด้วยความอดกลั้นไว้นานและด้วยศิลปะในการสอน.”—2 ติโม. 4:2.
1. พระเยซูทรงบัญชาให้สาวกทำอะไร และพระองค์ทรงวางตัวอย่างเช่นไร?
ถึงแม้พระเยซูรักษาโรคโดยการอัศจรรย์ขณะที่รับใช้บนแผ่นดินโลก แต่ผู้คนรู้จักพระองค์ส่วนใหญ่ไม่ใช่ในฐานะผู้รักษาโรคหรือผู้ทำการอัศจรรย์ แต่รู้จักในฐานะผู้สอน. (มโก. 12:19; 13:1) การประกาศข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าเป็นงานสำคัญที่สุดของพระเยซู และผู้ติดตามพระองค์ในทุกวันนี้ก็เช่นเดียวกัน. คริสเตียนได้รับมอบหมายงานสอนคนให้เป็นสาวกต่อ ๆ ไปโดยสอนเขาให้ปฏิบัติตามทุกสิ่งที่พระเยซูบัญชา.—มัด. 28:19, 20.
2. เราต้องทำเช่นไรเพื่อบรรลุผลสำเร็จในงานประกาศที่ได้รับมอบหมาย?
2 เพื่อบรรลุผลสำเร็จในงานสอนคนให้เป็นสาวก เราพยายามเสมอที่จะปรับปรุงความสามารถในการสอนให้ดีขึ้น. อัครสาวกเปาโลเน้นความสำคัญของทักษะนี้เมื่อเขียนจดหมายถึงติโมเธียวเพื่อนร่วมงานประกาศกับท่าน. ท่านกล่าวดังนี้: “จงหมั่นเอาใจใส่ตัวท่านเองและการสอนของท่าน. จงทำสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ เพราะด้วยการทำเช่นนี้ ท่านจะช่วยทั้งตัวท่านเองและคนที่ฟังท่านให้รอด.” (1 ติโม. 4:16) เปาโลนึกถึงการสอนที่ไม่ใช่เพียงแต่ให้ความรู้เท่านั้น. คริสเตียนผู้เผยแพร่ที่มีประสิทธิภาพเข้าถึงหัวใจผู้คนและกระตุ้นเขาให้เปลี่ยนแปลงชีวิต. การทำเช่นนี้ต้องใช้ศิลปะ. ดังนั้น เราจะพัฒนา “ศิลปะในการสอน” เมื่อเราเสนอข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าแก่คนอื่น ๆ ได้อย่างไร?—2 ติโม. 4:2.
การพัฒนา “ศิลปะในการสอน”
3, 4. (ก) เราจะพัฒนา “ศิลปะในการสอน” ได้อย่างไร? (ข) โรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้าช่วยเราอย่างไรให้เป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพ?
3 พจนานุกรมเล่มหนึ่งนิยามคำ “ศิลปะ” ว่าเป็น “ทักษะที่ได้มาจากการศึกษา, การฝึกฝน, หรือการสังเกต.” เราต้องเอาใจใส่ทั้งสามแง่มุมดังกล่าวเพื่อเป็นผู้สอนข่าวดีที่มีประสิทธิภาพ. เราจะเข้าใจเรื่องที่ศึกษาได้อย่างถูกต้องก็ต่อเมื่อเราศึกษาพร้อมด้วยการอธิษฐาน. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 119:27, 34.) การสังเกตผู้เผยแพร่ที่มีประสิทธิภาพขณะที่เขาสอนช่วยเราให้เรียนรู้วิธีที่เขาสอนและเลียนแบบเขา. และการพยายามอย่างจริงจังอยู่เสมอเพื่อนำสิ่งที่เราเรียนรู้ไปใช้จะช่วยเราปรับปรุงความสามารถให้ดีขึ้น.—ลูกา 6:40; 1 ติโม. 4:13-15.
4 พระยะโฮวาเป็นผู้สอนองค์ยิ่งใหญ่. โดยทางองค์การของพระองค์ในส่วนที่เห็นได้ พระองค์ทรงจัดให้มีคำชี้นำแก่ผู้รับใช้ของพระองค์ทางแผ่นดินโลกเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาจะทำงานประกาศที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ. (ยซา. 30:20, 21) เพื่อจุดประสงค์นี้ ทุกประชาคมจึงจัดให้มีโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้าทุกสัปดาห์ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อช่วยทุกคนที่เข้าร่วมให้เป็นผู้ประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้าที่มีประสิทธิภาพ. ตำราหลักของโรงเรียนนี้คือคัมภีร์ไบเบิล. พระคำของพระยะโฮวาที่มีขึ้นโดยการดลใจบอกเราว่าเราจะสอนเรื่องอะไร. ยิ่งกว่านั้น พระคำของพระองค์แสดงให้เห็นว่าวิธีสอนแบบใดที่บังเกิดผลและเหมาะสม. โรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้าเตือนใจเราอยู่เสมอว่าเราจะเป็นผู้สอนที่ดีขึ้นถ้าเราใช้พระคำของพระเจ้าเป็นพื้นฐาน, ใช้คำถามอย่างมีประสิทธิภาพ, สอนแบบง่าย ๆ, และแสดงความสนใจผู้อื่นจากใจจริง. ขอเราพิจารณาจุดต่าง ๆ เหล่านี้ทีละจุด. จากนั้นเราจะพิจารณาวิธีเข้าถึงหัวใจของนักศึกษา.
จงใช้พระคำของพระเจ้าเป็นพื้นฐานในการสอน
5. อะไรควรเป็นพื้นฐานในการสอนของเรา และทำไม?
5 พระเยซู ครูผู้ยิ่งใหญ่ในบรรดาครูที่เป็นมนุษย์ ทรงใช้พระคัมภีร์เป็นพื้นฐานในการสอน. (มัด. 21:13; โย. 6:45; 8:17) พระองค์ทรงสอนถ้อยคำของผู้ที่ทรงใช้พระองค์มา ไม่ใช่คำสอนของพระองค์เอง. (โย. 7:16-18) นี่แหละเป็นตัวอย่างให้เราติดตาม. ดังนั้น เรื่องที่เราพูดไม่ว่าเมื่อออกประกาศหรือในการศึกษาพระคัมภีร์ตามบ้านควรรวมจุดอยู่ที่พระคำของพระเจ้า. (2 ติโม. 3:16, 17) ไม่ว่าเราจะหาเหตุผลอย่างชาญฉลาดได้มากสักแค่ไหน ก็ไม่อาจเทียบได้กับประสิทธิภาพและพลังของพระคัมภีร์ที่มีขึ้นโดยการดลใจ. คัมภีร์ไบเบิลมีพลังมาก. เมื่อเราพยายามช่วยนักศึกษาให้เข้าใจไม่ว่าจุดใดก็ตาม วิธีที่ดีที่สุดที่เราทำได้คือให้เขาอ่านจากพระคัมภีร์ที่พูดถึงเรื่องนั้น.—อ่านฮีบรู 4:12.
6. ผู้สอนจะทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจได้ว่านักศึกษาเข้าใจเรื่องที่พิจารณาจริง ๆ?
6 แน่นอน นี่ไม่ได้หมายความว่าคริสเตียนผู้สอนไม่ต้องเตรียมตัวสำหรับการสอนคัมภีร์ไบเบิล. ตรงกันข้าม ควรคิดล่วงหน้าอย่างรอบคอบเพื่อตัดสินว่าผู้สอนหรือนักศึกษาจะอ่านข้อคัมภีร์ที่อ้างถึงข้อไหนบ้างจากคัมภีร์ไบเบิลใน1 โค. 14:8, 9.
ระหว่างการศึกษา. ปกติแล้วนับว่าดีที่จะอ่านข้อคัมภีร์ที่สนับสนุนความเชื่อของเรา. เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกันที่จะช่วยนักศึกษาให้เข้าใจข้อคัมภีร์แต่ละข้อที่เขาอ่าน.—จงใช้คำถามอย่างมีประสิทธิภาพ
7. เหตุใดการใช้คำถามจึงเป็นวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ?
7 คำถามที่ดีกระตุ้นความคิดและช่วยผู้สอนให้เข้าถึงหัวใจของนักศึกษา. ดังนั้น แทนที่คุณจะอธิบายข้อคัมภีร์ให้นักศึกษาฟัง จงขอเขาอธิบายให้คุณฟัง. บางครั้งคำถามเสริมหรือแม้แต่คำถามที่ต่อเนื่องกันหลายคำถามอาจจำเป็นเพื่อช่วยนักศึกษาให้เข้าใจอย่างถูกต้อง. เมื่อคุณใช้คำถามต่าง ๆ เพื่อสอนนักศึกษา แท้ที่จริงคุณกำลังช่วยเขาไม่เพียงแต่ให้เข้าใจเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังข้อสรุปใด ๆ เท่านั้น แต่ยังช่วยเขาให้ได้ข้อสรุปด้วยตัวเอง.—มัด. 17:24-26; ลูกา 10:36, 37.
8. เราจะหยั่งเห็นสิ่งที่อยู่ในหัวใจนักศึกษาได้อย่างไร?
8 วิธีศึกษาที่ใช้ในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของเราเป็นแบบถามตอบ. ไม่ต้องสงสัย คนส่วนใหญ่ที่คุณศึกษาพระคัมภีร์ด้วยจะสามารถตอบคำถามที่พิมพ์ไว้แล้วได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ข้อมูลในวรรคนั้น. กระนั้น ผู้สอนที่มีความหยั่งเห็นเข้าใจจะไม่พอใจเพียงแค่คำตอบที่ถูกต้อง. ยกตัวอย่าง นักศึกษาอาจสามารถอธิบายได้อย่างถูกต้องถึงสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลพูดเกี่ยวกับการผิดประเวณี. (1 โค. 6:18) อย่างไรก็ตาม คำถามหยั่งทัศนะที่ผ่อนหนักผ่อนเบาสามารถบอกได้ว่านักศึกษาคิดอย่างไรจริง ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เขากำลังเรียนรู้. ดังนั้น ผู้สอนอาจถามดังนี้: “เหตุใดคัมภีร์ไบเบิลจึงตำหนิเพศสัมพันธ์นอกสายสมรส? คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับข้อจำกัดนี้ที่พระเจ้าทรงวางไว้? คุณคิดไหมว่าการดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของพระเจ้าในเรื่องศีลธรรมมีประโยชน์?” คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้จะบอกได้ว่านักศึกษาคิดอย่างไรจริง ๆ.—อ่านมัดธาย 16:13-17.
จงสอนแบบง่าย ๆ
9. เราควรคำนึงถึงสิ่งใดเมื่อถ่ายทอดความรู้ในพระคัมภีร์?
9 ความจริงหลาย ๆ เรื่องในพระคำของพระเจ้า ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องที่ค่อนข้างง่าย. แต่อาจเป็นได้ว่าคนที่เราศึกษาคัมภีร์ไบเบิลด้วยถูกทำให้สับสนด้วยคำสอนของศาสนาเท็จ. หน้าที่ของเราฐานะผู้สอนคือทำให้คัมภีร์ไบเบิลเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย. ผู้สอนที่มีประสิทธิภาพถ่ายทอดความรู้อย่างง่าย ๆ, ชัดเจน, และถูกต้องแม่นยำ. ถ้าเราทำตามแนวแนะดังกล่าว เราก็จะไม่ทำให้ความจริงเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก. จงหลีกเลี่ยงรายละเอียดที่ไม่จำเป็น. ไม่จำเป็นที่จะอธิบายทุกแง่มุมจากข้อคัมภีร์ที่เราอ่าน. จงมุ่งสนใจในสิ่งที่สำคัญ ๆ เท่านั้นที่จะช่วยให้เข้าใจชัดเจนในจุดที่มีการพิจารณา. นักศึกษาจะค่อย ๆ หยั่งรู้เข้าใจความจริงในพระคัมภีร์ที่ลึกซึ้งกว่าเมื่อเขามีความเข้าใจมากขึ้นเรื่อย ๆ.—ฮีบรู 5:13, 14.
10. มีปัจจัยอะไรบ้างที่กำหนดว่าจะครอบคลุมเนื้อหามากน้อยแค่ไหนในการศึกษาแต่ละครั้ง?
10 เราควรครอบคลุมเนื้อหามากน้อยแค่ไหนในการศึกษาแต่ละครั้ง? เรื่องนี้ต้องใช้การสังเกตเข้าใจ. ความสามารถและสภาพการณ์ของนักศึกษาและผู้สอนแตกต่างกัน แต่เราควรจำไว้เสมอว่าเป้าหมายของเราฐานะเป็นผู้สอนโกโล. 2:6, 7.
คือ ช่วยนักศึกษาให้สร้างความเชื่อที่เข้มแข็ง. ดังนั้น เราให้เขามีเวลามากพอที่จะอ่าน, ทำความเข้าใจ, และตอบรับความจริงที่อยู่ในพระคำของพระเจ้า. เราไม่พิจารณาเนื้อหามากเกินกว่าที่เขาจะเข้าใจได้. ในเวลาเดียวกัน จงให้การศึกษาคืบหน้าไป. เมื่อนักศึกษาเข้าใจจุดหนึ่งแล้ว เราก็ศึกษาจุดถัดไป.—11. เราเรียนรู้อะไรจากอัครสาวกเปาโลในเรื่องการสอน?
11 อัครสาวกเปาโลประกาศข่าวดีแบบที่เข้าใจง่ายเมื่อสนทนากับคนใหม่ ๆ. แม้ว่าท่านมีการศึกษาสูง แต่ท่านก็หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ฟังเข้าใจยาก. (อ่าน 1 โครินท์ 2:1, 2.) ความจริงในพระคัมภีร์ที่เรียบง่ายดึงดูดคนที่จริงใจและทำให้เขาพอใจ. ไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาสูงเพื่อจะเข้าใจพระคัมภีร์.—มัด. 11:25; กิจ. 4:13; 1 โค. 1:26, 27.
จงช่วยนักศึกษาให้เห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้เรียน
12, 13. อะไรอาจกระตุ้นนักศึกษาให้ปฏิบัติตามสิ่งที่เขาได้เรียนรู้? จงยกตัวอย่าง.
12 เพื่อจะบังเกิดผล เราต้องสอนให้เข้าถึงหัวใจของนักศึกษา. นักศึกษาต้องเข้าใจว่าเขาจะนำเรื่องนั้นไปใช้อย่างไรในชีวิตของเขาเอง, เรื่องนั้นเป็นประโยชน์ต่อเขาอย่างไร, และชีวิตของเขาจะดีขึ้นอย่างไรถ้าเขาทำตามคำแนะนำในพระคัมภีร์.—ยซา. 48:17, 18.
13 ยกตัวอย่าง เราอาจกำลังพิจารณาฮีบรู 10:24, 25 ซึ่งสนับสนุนคริสเตียนให้ประชุมกับเพื่อนร่วมความเชื่อเพื่อให้การหนุนใจจากพระคัมภีร์และมีการคบหาสมาคมที่เปี่ยมด้วยความรัก. ถ้านักศึกษายังไม่เคยเข้าร่วมการประชุมของประชาคม เราก็อาจอธิบายสั้น ๆ ว่ามีการนำการประชุมอย่างไรและมีการพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง. เราอาจพูดถึงการประชุมประจำประชาคมว่าเป็นส่วนแห่งการนมัสการของเราและแสดงให้เห็นว่าเราเองได้รับประโยชน์จากการประชุมนั้น. จากนั้นเราก็อาจเชิญนักศึกษาเข้าร่วมการประชุม. แรงกระตุ้นที่เขาตอบรับต่อคำสั่งในพระคัมภีร์ควรมาจากการที่เขาปรารถนาจะเชื่อฟังพระยะโฮวา ไม่ใช่อยากให้ผู้นำการศึกษาพอใจ.—กลา. 6:4, 5.
14, 15. (ก) นักศึกษาพระคัมภีร์จะเรียนรู้อะไรได้เกี่ยวกับพระยะโฮวา? (ข) ความรู้เกี่ยวกับบุคลิกลักษณะของพระเจ้าจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาพระคัมภีร์ได้อย่างไร?
14 ผลดีประการสำคัญที่นักศึกษาได้รับจากการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและนำหลักการในนั้นไปใช้คือเขาได้มารู้จักและรักพระยะโฮวาฐานะเป็นบุคคล. (ยซา. 42:8) พระองค์ไม่ใช่เป็นแค่พระบิดาและพระผู้สร้างที่เปี่ยมด้วยความรักและเป็นเจ้าของเอกภพนี้เท่านั้น แต่พระองค์ยังเปิดเผยบุคลิกลักษณะและพระปรีชาสามารถของพระองค์แก่คนที่รักและรับใช้พระองค์ด้วย. (อ่านเอ็กโซโด 34:6, 7.) ก่อนหน้าที่โมเซจะพาชาวอิสราเอลออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ พระยะโฮวาทรงระบุตัวพระองค์เองโดยตรัสว่า “เราจะเป็นอย่างที่เราประสงค์จะเป็น.” (เอ็ก. 3:13-15, ล.ม.) คำตรัสนี้แสดงให้เห็นว่าพระยะโฮวาจะเปลี่ยนบทบาทเป็นอะไรก็ได้ตามที่จำเป็นเพื่อทำให้พระประสงค์ที่เกี่ยวกับประชาชนที่ถูกเลือกสรรของพระองค์สำเร็จ. ดังนั้น ชาวอิสราเอลจึงมารู้จักพระยะโฮวาในฐานะผู้ช่วยให้รอด, นักรบ, ผู้ประทานสิ่งจำเป็น, และผู้ทำให้คำสัญญาสำเร็จ และในแง่อื่น ๆ.—เอ็ก. 15:2, 3; 16:2-5; ยโฮ. 23:14.
15 นักศึกษาของเราอาจไม่ได้รับการช่วยเหลือโดยการอัศจรรย์จากพระยะโฮวาเหมือนที่โมเซได้รับ. กระนั้นก็ตาม เมื่อนักศึกษามีความเชื่อมากขึ้นและหยั่งรู้ค่าสิ่งที่ได้เรียนรู้และเริ่มนำหลักการในพระคัมภีร์ไปใช้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาจะเห็นถึงความจำเป็นที่จะหมายพึ่งพระยะโฮวาสำหรับความกล้าหาญ, สติปัญญา, และการชี้นำ. เมื่อเขาทำเช่นนั้น เขาก็เช่นกัน จะมารู้จักพระยะโฮวาในฐานะที่ปรึกษาที่สุขุมและวางใจได้, เป็นผู้ปกป้อง, และผู้ประทานทุกสิ่งที่เขาจำเป็นต้องมีด้วยพระทัยเอื้ออารี.—เพลง. 55:22; 63:7; สุภา. 3:5, 6.
จงแสดงความสนใจด้วยความรัก
16. เหตุใดความสามารถที่ติดตัวมาจึงไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเป็นผู้สอนที่มีประสิทธิภาพ?
16 ถ้าคุณรู้สึกว่าตนเองสอนไม่ชำนาญเท่าที่ควรก็อย่าเพิ่งท้อแท้. พระยะโฮวาและพระเยซูกำลังดูแลโครงการกิจ. 1:7, 8; วิ. 14:6) พระองค์ทั้งสองสามารถเสริมความพยายามของเราเพื่อว่าถ้อยคำของเราจะส่งผลกระทบในทางดีต่อผู้มีหัวใจชอบธรรม. (โย. 6:44) ความรักจากใจจริงที่ผู้สอนมีต่อนักศึกษาจะชดเชยความสามารถที่ติดตัวมาในด้านใดด้านหนึ่งที่ยังขาดอยู่. อัครสาวกเปาโลแสดงให้เห็นว่าท่านเข้าใจความสำคัญของการมีความรักต่อคนที่ท่านสอน.—อ่าน 1 เทสซาโลนิเก 2:7, 8.
ต่าง ๆ ด้านการศึกษาซึ่งดำเนินอยู่ทั่วโลกในทุกวันนี้. (17. เราจะแสดงให้เห็นว่าเราสนใจนักศึกษาแต่ละคนอย่างจริงใจได้อย่างไร?
17 เช่นเดียวกัน เราสามารถแสดงให้เห็นว่าเราสนใจนักศึกษาพระคัมภีร์แต่ละคนอย่างจริงใจโดยใช้เวลาเพื่อรู้จักเขาให้มากขึ้น. ขณะที่เราพิจารณาหลักการในพระคัมภีร์กับเขา เราคงจะรู้สภาพการณ์ของเขา. เราอาจสังเกตว่าเขาได้ดำเนินชีวิตประสานกับบางจุดที่เขาได้เรียนรู้จากคัมภีร์ไบเบิลแล้ว. ในบางด้าน เขาอาจยังต้องปรับเปลี่ยน. โดยการช่วยนักศึกษาให้เห็นว่าจะนำเรื่องที่ศึกษาในแต่ละครั้งไปใช้กับตัวเขาเองได้อย่างไร เราก็สามารถช่วยเขาด้วยความรักให้มาเป็นสาวกแท้ของพระคริสต์.
18. เหตุใดจึงสำคัญที่จะอธิษฐานกับนักศึกษาและพูดเกี่ยวกับตัวเขาในคำอธิษฐาน?
18 สิ่งสำคัญที่สุดคือเราสามารถอธิษฐานกับนักศึกษาของเราและพูดเกี่ยวกับตัวเขาในคำอธิษฐาน. เขาควรเข้าใจอย่างชัดเจนว่าเราต้องการช่วยเขาให้รู้จักพระผู้สร้างมากยิ่งขึ้น, ใกล้ชิดพระองค์มากขึ้น, และได้รับประโยชน์จากการชี้นำของพระองค์. (อ่านบทเพลงสรรเสริญ 25:4, 5.) เมื่อเราอธิษฐานขอพระยะโฮวาอวยพรความพยายามของนักศึกษาที่จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ นักศึกษาก็จะเห็นความสำคัญของการเป็น “ผู้ทำตามพระคำ.” (ยโก. 1:22) และเมื่อนักศึกษาฟังคำอธิษฐานที่จริงใจของเรา เขาก็จะเรียนรู้วิธีอธิษฐานด้วย. ช่างเป็นความยินดีสักเพียงไรที่ได้ช่วยนักศึกษาพระคัมภีร์ให้สร้างสัมพันธภาพกับพระยะโฮวา!
19. เราจะพิจารณาเรื่องอะไรในบทความถัดไป?
19 เราได้รับกำลังใจที่รู้ว่ามีพยานพระยะโฮวามากกว่าหกล้านห้าแสนคนทั่วโลกง่วนอยู่กับการพัฒนา “ศิลปะในการสอน” โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยผู้มีหัวใจสุจริตให้ทำตามทุกสิ่งที่พระเยซูบัญชา. กิจกรรมการประกาศของเราส่งผลเช่นไร? จะมีการพิจารณาคำตอบสำหรับคำถามนี้ในบทความถัดไป.
คุณจำได้ไหม?
• เหตุใดคริสเตียนจึงต้องพัฒนา “ศิลปะในการสอน”?
• มีวิธีใดบ้างที่ทำให้การสอนของเรามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น?
• อะไรจะชดเชยความสามารถที่ติดตัวมาในการสอนที่เรายังขาดอยู่?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 9]
คุณสมัครเป็นนักเรียนในโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้าแล้วหรือยัง?
[ภาพหน้า 10]
เหตุใดจึงสำคัญที่จะเชิญนักศึกษาให้อ่านจากพระคัมภีร์โดยตรง?
[ภาพหน้า 12]
จงอธิษฐานกับนักศึกษาและพูดเกี่ยวกับตัวเขาในคำอธิษฐาน