จงสอนบุตรให้รักพระยะโฮวา
จงสอนบุตรให้รักพระยะโฮวา
“ลูกธนูในมือของคนกล้าหาญเป็นฉันใด, บุตรชายหญิงของคนหนุ่มก็เป็นฉันนั้น.”—บทเพลงสรรเสริญ 127:4.
1, 2. บุตรเป็นเหมือนกับ “ลูกธนูในมือของคนกล้าหาญ” อย่างไร?
นักยิงธนูเตรียมพร้อมจะยิงลูกธนูไปที่เป้า. เขาวางลูกธนูพาดเข้ากับสายอย่างพิถีพิถัน แล้วก็น้าวศรจนคันธนูโก่งด้วยมัดกล้ามอันตึงเขม็ง. แม้ว่าต้องออกแรงเต็มที่อย่างนั้น เขาพยายามเล็งลูกธนูอย่างบรรจง. แล้วเขาก็ปล่อยลูกธนูพุ่งออกไป! ลูกธนูจะพุ่งเข้าเป้าไหม? มีปัจจัยหลายอย่างที่กำหนดว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร เป็นต้นว่า ความชำนาญของนักยิงธนู, ผลกระทบของลม, และสภาพของลูกธนู.
2 กษัตริย์ซะโลโมเปรียบบุตรว่าเหมือนกับ “ลูกธนูในมือของคนกล้าหาญ.” (บทเพลงสรรเสริญ 127:4) ให้เรามาพิจารณากันว่าอาจใช้ตัวอย่างเปรียบเทียบนี้ได้อย่างไร. นักยิงธนูพาดวางลูกธนูเข้ากับคันธนูเพียงชั่วเวลาสั้น ๆ. เพื่อจะยิงให้เข้าเป้า เขาต้องปล่อยลูกธนูออกไปโดยเร็ว. เช่นเดียวกัน บิดามารดามีเพียงแค่เวลาค่อนข้างสั้นที่จะพัฒนาความรักจากหัวใจต่อพระยะโฮวาในตัวบุตร. หลังจากช่วงเวลาซึ่งดูเหมือนว่าเพียงแค่ไม่กี่ปี ลูก ๆ ก็เติบโตขึ้นและออกจากบ้านไป. (มัดธาย 19:5) พวกเขาจะพุ่งเข้าเป้าไหม—กล่าวคือ ลูก ๆ จะยังคงรักและรับใช้พระเจ้าต่อไปไหมเมื่อเขาออกจากบ้านไป? มีปัจจัยมากมายที่มีผลต่อคำตอบ. ปัจจัยเหล่านั้นรวมถึงปัจจัยสามประการต่อไปนี้ คือ ความสามารถของบิดามารดา, สภาพแวดล้อมที่บุตรได้รับการเลี้ยงดูเติบโตขึ้นมา, และวิธีที่ “ลูกธนู” หรือตัวเด็กเองตอบรับต่อการอบรมสั่งสอนที่เขาได้รับ. ให้เรามาพิจารณาปัจจัยเหล่านี้แต่ละปัจจัยให้ละเอียดยิ่งขึ้น. ในอันดับแรก เราจะพิจารณาลักษณะบางประการของบิดามารดาที่มีความสามารถ.
บิดามารดาที่มีความสามารถวางตัวอย่างที่ดี
3. เหตุใดคำพูดของบิดามารดาต้องได้รับการสนับสนุนโดยการกระทำ?
3 พระเยซูทรงวางตัวอย่างไว้สำหรับบิดามารดาโดยที่พระองค์ทรงปฏิบัติสอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์สอน. (โยฮัน 13:15) ในทางตรงกันข้าม พระองค์ทรงตำหนิพวกฟาริซายที่ “สั่งสอน” แต่ “หาทำตาม ไม่.” (มัดธาย 23:3) เพื่อจะกระตุ้นใจบุตรให้รักพระยะโฮวา คำพูดและการกระทำของบิดามารดาต้องสอดคล้องกัน. คำพูดที่ไม่ได้รับการสนับสนุนโดยการกระทำนั้นไร้ประสิทธิภาพเหมือนกับคันธนูที่ไร้สาย.—1 โยฮัน 3:18.
4. บิดามารดาควรถามตัวเองด้วยคำถามอะไร และเพราะเหตุใด?
4 เหตุใดตัวอย่างของบิดามารดาจึงสำคัญมาก? เช่นเดียวกับที่ผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้ที่จะรักพระเจ้าโดยดูจากตัวอย่างของพระเยซู เด็ก ๆ ก็สามารถเรียนรู้ที่จะรักพระยะโฮวาโดยทำตามตัวอย่างที่ดีของบิดามารดา. คนที่เด็กติดต่อคบหาด้วยสามารถเสริมให้เขาเข้มแข็งขึ้น หรือไม่ก็ “ทำให้นิสัยดีเสียไป.” (1 โกรินโธ 15:33, ล.ม.) เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตบุตร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสำคัญในวัยที่กำลังพัฒนานิสัยใจคอ คนที่เขาติดต่อคบหาด้วยหรือเพื่อนที่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อเขามากที่สุดได้แก่บิดามารดา. ด้วยเหตุนั้น บิดามารดาควรถามตัวเองว่า ‘ฉันเป็นเพื่อนชนิดใดสำหรับลูก? ตัวอย่างของฉันส่งเสริมลูกให้พัฒนานิสัยที่ดีไหม? ฉันวางตัวอย่างไว้เช่นไรในเรื่องสำคัญอย่างเช่นการอธิษฐานและการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล?’
บิดามารดาที่มีความสามารถอธิษฐานกับบุตร
5. บุตรสามารถเรียนอะไรได้จากคำอธิษฐานของบิดามารดา?
5 บุตรของคุณสามารถเรียนได้มากเกี่ยวกับพระยะโฮวาโดยการฟังคำอธิษฐานของคุณ. ถ้าพวกเขาฟังคุณขอบพระคุณพระเจ้าเมื่อรับประทานอาหารและอธิษฐานเมื่อศึกษาคัมภีร์ไบเบิล พวกเขาอาจได้ข้อสรุปเช่นไร? พวกเขาน่าจะเรียนรู้ว่าพระยะโฮวาทรงจัดเตรียมสิ่งจำเป็นฝ่ายร่างกายให้เรา—ซึ่งเราควรขอบพระคุณพระองค์—และพระองค์ทรงสอนความจริงฝ่ายวิญญาณแก่เรา. นั่นเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า.—ยาโกโบ 1:17.
6. บิดามารดาสามารถช่วยบุตรให้รู้สึกว่าพระยะโฮวาทรงสนพระทัยพวกเขาเป็นส่วนตัวได้อย่างไร?
6 แต่ถ้าคุณอธิษฐานกับครอบครัวในเวลาอื่น ๆ นอกเหนือจากเวลาอาหารและเมื่อศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับครอบครัว และถ้าคุณอธิษฐานอย่างเจาะจงในเรื่องต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณและบุตร คุณจะบรรลุผลมากยิ่งกว่านั้นอีก. คุณจะช่วยบุตรให้รู้สึกว่าพระยะโฮวาทรงเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และพระองค์ทรงใฝ่พระทัยอย่างลึกซึ้งในแต่ละคนเป็นส่วนตัว. (เอเฟโซ 6:18; 1 เปโตร 5:6, 7) บิดาคนหนึ่งกล่าวว่า “นับตั้งแต่ลูกสาวเราเกิดมา เราอธิษฐานกับเธอ. เมื่อเธอโตขึ้น เราอธิษฐานในเรื่องความสัมพันธ์ที่เหมาะสมและเรื่องอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อเธอ. ไม่มีสักวันเดียวที่ผ่านไปโดยที่เราไม่ได้อธิษฐานด้วยกันกับเธอจนกระทั่งเธอออกเรือนแต่งงานไป.” คุณสามารถทำอย่างเดียวกันนั้นได้ไหมโดยอธิษฐานกับบุตรทุก ๆ วัน? คุณสามารถช่วยบุตรได้ไหมให้ถือว่าพระยะโฮวาทรงเป็นมิตรที่ไม่เพียงแต่จัดเตรียมสิ่งจำเป็นฝ่ายวัตถุและฝ่ายวิญญาณเท่านั้น แต่ยังทรงคอยดูแลความจำเป็นด้านอารมณ์ให้พวกเขาด้วย?—ฟิลิปปอย 4:6, 7.
7. เพื่อคำอธิษฐานจะเป็นแบบที่เจาะจง บิดามารดาจำเป็นต้องทราบอะไร?
7 แน่นอน เพื่อคุณจะทำให้คำอธิษฐานของคุณเป็นแบบเจาะจง คุณจำต้องทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในชีวิตของบุตร. ขอให้สังเกตความเห็นของบิดาคนหนึ่งที่ได้เลี้ยงดูบุตรสาวสองคน: “ตอนสิ้นสุดของแต่ละสัปดาห์ ผมถามตัวเองสองคำถาม: ‘สัปดาห์นี้มีเรื่องอะไรที่อยู่ในใจลูก? และลูกพบเรื่องอะไรที่ดี ๆ บ้าง?’ ” บิดามารดาทั้งหลาย คุณสามารถถามตัวเองแบบนั้นแล้วก็พูดถึงคำตอบในคำอธิษฐานที่คุณอธิษฐานกับบุตรด้วยได้ไหม? ถ้าคุณทำอย่างนั้น คุณก็กำลังสอนพวกเขาไม่เพียงแค่ให้อธิษฐานถึงพระยะโฮวา—ผู้สดับคำอธิษฐาน—แต่สอนเขาให้รักพระองค์ด้วย.—บทเพลงสรรเสริญ 65:2.
บิดามารดาที่มีความสามารถส่งเสริมนิสัยการศึกษาที่ดี
8. เหตุใดบิดามารดาต้องช่วยบุตรให้พัฒนานิสัยในการศึกษาพระคำของพระเจ้า?
8 ทัศนคติของบิดามารดาต่อการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลส่งมัดธาย 24:45-47, ล.ม.; สุภาษิต 4:1, 2) ด้วยเหตุนั้น เพื่อจะช่วยบุตรให้พัฒนาสายสัมพันธ์ที่เปี่ยมด้วยความรักและยั่งยืนนานกับพระยะโฮวา บิดามารดาควรส่งเสริมบุตรให้พัฒนานิสัยในการศึกษาพระคำของพระเจ้า.
ผลต่อสายสัมพันธ์ของบุตรกับพระเจ้าได้อย่างไร? เพื่อที่ความสัมพันธ์ใด ๆ จะเติบโตและดำรงอยู่ต่อไป คนที่เกี่ยวข้องต้องไม่เพียงแค่พูดคุยกัน แต่ต้องฟังกันด้วย. วิธีหนึ่งที่เราฟังพระยะโฮวาก็คือด้วยการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลโดยอาศัยหนังสือต่าง ๆ ที่ “ทาสสัตย์ซื่อ” จัดเตรียมให้. (9. บุตรจะได้รับความช่วยเหลือให้พัฒนานิสัยที่ดีในการศึกษาได้โดยวิธีใด?
9 บุตรจะได้รับความช่วยเหลือให้พัฒนานิสัยที่ดีในการศึกษาได้โดยวิธีใด? อีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างของบิดามารดาช่วยสอนได้ดีที่สุด. ลูก ๆ เห็นคุณเพลิดเพลินกับการอ่านคัมภีร์ไบเบิลหรือการศึกษาส่วนตัวเป็นประจำไหม? จริงอยู่ คุณคงจะยุ่งมากในการดูแลบุตร และคุณอาจนึกสงสัยอยู่ว่าจะหาเวลาอ่านและศึกษาได้เมื่อไร. แต่จงถามตัวเองว่า ‘ลูก ๆ เห็นฉันดูโทรทัศน์เป็นประจำไหม?’ ถ้าเป็นอย่างนั้น คุณจะสามารถกันเวลาบางส่วนไว้ได้ไหมที่จะวางตัวอย่างที่ดีแก่บุตรในเรื่องการศึกษาส่วนตัว?
10, 11. เหตุใดบิดามารดาควรจัดให้มีการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลในครอบครัวเป็นประจำ?
10 อีกวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลซึ่งบิดามารดาสามารถสอนลูก ๆ ให้ฟังพระยะโฮวาก็คือโดยศึกษาคัมภีร์ไบเบิลในครอบครัวเป็นประจำ. (ยะซายา 30:21) แต่บางคนอาจนึกสงสัยว่า ‘ทำไมเด็ก ๆ จำเป็นจะต้องมีการศึกษาในครอบครัวอีกในเมื่อพ่อแม่ก็พาพวกเขาไปประชุมที่ประชาคมเป็นประจำอยู่แล้ว?’ มีเหตุผลที่ดีหลายประการ. พระยะโฮวาทรงมอบหน้าที่รับผิดชอบหลักแก่บิดามารดาที่จะสอนบุตร. (สุภาษิต 1:8; เอเฟโซ 6:4) การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลในครอบครัวสอนบุตรว่าการนมัสการไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่ทำกันพอเป็นพิธีในที่สาธารณะเท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตส่วนตัวในครอบครัว.—พระบัญญัติ 6:6-9.
11 นอกจากนั้น การศึกษาในครอบครัวที่มีการนำอย่างดีสามารถเปิดช่องทางให้บิดามารดามีโอกาสจะรู้ว่าบุตรคิดอย่างไรในเรื่องสิ่งฝ่ายวิญญาณและเรื่องศีลธรรม. ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กยังเล็ก บิดามารดาสามารถใช้หนังสืออย่างเช่น จงเรียนจากครูผู้ยิ่งใหญ่. * ในเกือบทุกย่อหน้าของคู่มือศึกษาคัมภีร์ไบเบิลเล่มนี้ จะมีคำถามให้เด็ก ๆ แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่กำลังพิจารณากันอยู่. โดยหาเหตุผลจากข้อพระคัมภีร์ที่อ้างถึงในหนังสือ บิดามารดาก็จะสามารถช่วยบุตรให้พัฒนาความสามารถในการสังเกตเข้าใจ “เพื่อแยกออกว่าอะไรถูกอะไรผิด.”—เฮ็บราย 5:14, ล.ม.
12. บิดามารดาอาจปรับการศึกษาของครอบครัวให้เข้ากับความจำเป็นของบุตรอย่างไร และคุณพบว่าอะไรที่ใช้ได้ผลในเรื่องนี้?
12 ขณะที่บุตรโตขึ้น จงปรับการศึกษาให้เข้ากับความจำเป็นสุภาษิต 23:15.
ของพวกเขา. ขอให้สังเกตวิธีที่บิดามารดาคู่หนึ่งช่วยลูกวัยรุ่นให้หาเหตุผลเมื่อลูกขอไปร่วมงานสังสรรค์เต้นรำที่โรงเรียนจัด. ผู้เป็นพ่อกล่าวว่า “เราบอกลูก ๆ ว่าเราจะกันเวลาส่วนหนึ่งในการศึกษาของครอบครัวคราวหน้าไว้ ผมกับภรรยาจะแสดงเป็นลูก และให้ลูกสาวของเราแสดงบทพ่อแม่. ลูกคนไหนจะแสดงบทของพ่อหรือของแม่ก็ได้ แต่เด็ก ๆ ก็ต้องร่วมมือกันค้นคว้าในเรื่องนั้นและให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานสังสรรค์เต้นรำของโรงเรียน.” ผลเป็นเช่นไร? ผู้เป็นพ่อเล่าต่อไปว่า “เรารู้สึกทึ่งที่เห็นว่าลูกสาวเรา (ในบทของพ่อแม่) สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เมื่อพวกเธออธิบายกับเรา (ซึ่งแสดงบทของลูก) ถึงเหตุผลตามหลักคัมภีร์ไบเบิลว่าทำไมจึงไม่ฉลาดสุขุมที่จะไปร่วมงานสังสรรค์เต้นรำ. ที่ทำให้เราประทับใจมากกว่านั้นอีกก็คือลูกได้เสนอแนะทางเลือกที่ยอมรับได้แทนการไปร่วมกิจกรรมนี้. ทั้งหมดนี้ทำให้เราเข้าใจถึงความคิดและความปรารถนาของลูก ๆ ลึกซึ้งยิ่งขึ้นซึ่งนับว่ามีค่ามาก.” จริงอยู่ ต้องอาศัยความเพียรพยายามและจินตนาการเพื่อจะมีการศึกษาในครอบครัวเป็นประจำและตรงกับความจำเป็นของครอบครัว แต่ผลตอบแทนนั้นคุ้มค่าความพยายามทีเดียว.—จงสร้างบรรยากาศที่สงบสุข
13, 14. (ก) บิดามารดาสามารถสร้างบรรยากาศที่สงบสุขในบ้านได้อย่างไร? (ข) มีผลประโยชน์เช่นไรเมื่อบิดามารดายอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง?
13 ลูกธนูมีโอกาสจะพุ่งเข้าเป้ามากกว่าถ้าคนยิงเล็งและปล่อยลูกธนูในสภาพอากาศที่สงบ ลมไม่แรง. คล้ายกัน เด็ก ๆ จะเรียนรู้ที่จะรักพระยะโฮวาได้ดีกว่าถ้าบิดามารดาสร้างบรรยากาศที่สงบสุขในบ้าน. ยาโกโบเขียนว่า “เมล็ดของผลแห่งความชอบธรรมได้หว่านลงภายใต้สภาพที่มีสันติสุขสำหรับคนเหล่านั้นที่กระทำให้เกิดสันติสุข.” (ยาโกโบ 3:18, ล.ม.) บิดามารดาจะสร้างบรรยากาศที่สงบสุขในบ้านได้อย่างไร? คู่สมรสจำเป็นต้องรักษาสายสมรสให้เหนียวแน่น. สามีและภรรยาที่รักและนับถือกันมีโอกาสดีกว่าที่จะสอนบุตรให้รักและนับถือผู้อื่น รวมถึงพระยะโฮวาด้วย. (ฆะลาเตีย 6:7; เอเฟโซ 5:33) ความรักและความนับถือส่งเสริมให้มีสันติสุข. และคู่สมรสที่รักษาสันติสุขต่อกันสามารถจัดการกับข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัวได้ดีกว่า.
14 แน่นอน เช่นเดียวกับที่ไม่มีคู่สมรสคู่ใดที่สมบูรณ์ ไม่มีครอบครัวใดสมบูรณ์พร้อมในโลกปัจจุบันนี้. บางครั้งบิดามารดาอาจไม่ได้แสดงผลแห่งพระวิญญาณเมื่อปฏิบัติต่อลูก ๆ. (ฆะลาเตีย 5:22, 23) เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนั้น บิดามารดาควรทำเช่นไร? ถ้าเขายอมรับข้อผิดพลาดนั้น นั่นจะทำให้บุตรนับถือเขาน้อยลงไหม? ขอให้พิจารณาตัวอย่างของอัครสาวกเปาโล. ท่านเป็นบิดาฝ่ายวิญญาณของหลายคน. (1 โกรินโธ 4:15) กระนั้น ท่านยอมรับอย่างเปิดเผยว่าท่านได้ทำผิดพลาด. (โรม 7:21-25) แม้กระนั้น ความถ่อมและความซื่อสัตย์ของท่านทำให้เรามีความนับถือต่อท่านมากขึ้นแทนที่จะลดลง. แม้มีข้อบกพร่อง เปาโล สามารถเขียนอย่างมั่นใจถึงประชาคมในเมืองโครินท์ว่า “ท่านทั้งหลายจงประพฤติตามอย่างข้าพเจ้า, เหมือนข้าพเจ้าประพฤติตามอย่างพระคริสต์.” (1 โกรินโธ 11:1) ถ้าคุณยอมรับด้วยว่าคุณผิดพลาด บุตรก็จะมีแนวโน้มที่จะมองข้ามข้อผิดพลาดของคุณ.
15, 16. เหตุใดบิดามารดาควรอบรมสั่งสอนบุตรให้รักพี่น้องคริสเตียน และเขาสามารถทำอย่างนี้โดยวิธีใด?
15 มีอะไรอีกที่บิดามารดาสามารถทำได้เพื่อสร้างบรรยากาศที่บุตรจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ที่รักพระยะโฮวา? อัครสาวกโยฮันเขียนดังนี้: “ถ้าผู้ใดว่า, ‘ข้าพเจ้ารักพระเจ้า’ และใจยังเกลียดชังพี่น้องของตัว ผู้นั้นเป็นคนพูดมุสา เพราะว่าผู้ที่ไม่รักพี่น้องของตนที่แลเห็นแล้ว, จะรักพระเจ้าที่ยังไม่ได้แลเห็นอย่างไรได้?” (1 โยฮัน 4:20, 21) ด้วยเหตุนั้น เมื่อคุณอบรมสั่งสอนบุตรให้รักพี่น้องคริสเตียน คุณก็กำลังสอนพวกเขาให้รักพระเจ้า. บิดามารดาควรถามตัวเองว่า ‘สิ่งที่ฉันพูดอยู่บ่อย ๆ เกี่ยวกับประชาคมเป็นแบบที่เสริมสร้างหรือวิพากษ์วิจารณ์?’ คุณจะทราบได้อย่างไร? ลองตั้งใจฟังลูก ๆ เมื่อเขาพูดเกี่ยวกับการประชุมและสมาชิกในประชาคม. คุณคงจะมีโอกาสได้ยินความคิดของคุณสะท้อนออกมาในความเห็นของลูก.
16 บิดามารดาจะสามารถทำอะไรได้เพื่อช่วยบุตรให้รักพี่น้องฝ่ายวิญญาณ? ปีเตอร์ บิดาของลูกชายวัยรุ่นสองคน กล่าวว่า “ตั้งแต่ลูกยังเล็ก เราเชิญพี่น้องที่อาวุโสฝ่ายวิญญาณมารับประทานอาหารด้วยกันที่บ้านและใช้เวลาด้วยกันเป็นประจำ และเราเพลิดเพลินกันมาก. ลูกชายของเราเติบโตขึ้นมาโดยคลุกคลีอยู่กับผู้คนที่รักพระยะโฮวา และตอนนี้พวกเขาเห็นว่าการรับใช้พระเจ้าเป็นแนวทางชีวิตที่น่าชื่นชมยินดี.” เดนนิส บิดาของลูกสาวห้าคน กล่าวว่า “เราสนับสนุนลูกสาวของเราให้เป็นเพื่อนกับพวกไพโอเนียร์ที่อายุมากกว่าในประชาคม และเมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นไปได้เราก็จะเชิญผู้ดูแลเดินทางกับภรรยามาเป็นแขกที่บ้าน.” คุณจะแสดงความริเริ่มแบบเดียวกันนั้นได้ไหมเพื่อช่วยบุตรให้มีทัศนะต่อประชาคมว่าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว?—มาระโก 10:29, 30.
ความรับผิดชอบของเด็ก
17. บุตรต้องตัดสินใจอะไรในที่สุด?
17 ขอให้พิจารณาตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องนักยิงธนูกันอีกครั้ง. แม้ว่าเขาอาจเชี่ยวชาญ แต่เขาคงจะยิงไม่ถูกเป้าถ้าลูกธนูที่เขายิงนั้นบิดงอ. แน่นอน บิดามารดาจะพยายามอย่างหนักที่จะดัดลูกธนูให้ตรง กล่าวคือ โดยพยายามอย่างมากที่จะปรับเปลี่ยนแก้ไขความคิดที่ผิด ๆ ของบุตร. แต่ในที่สุดบุตรต้องตัดสินใจด้วยตัวเองว่าเขาจะปล่อยให้โลกนี้ทำให้เขาบิดเบี้ยวผิดเพี้ยนตามความประสงค์ของโลกหรือจะยอมให้พระยะโฮวาทำให้ ‘วิถีของเขาราบรื่น [“ตรง,” ล.ม.].’—สุภาษิต 3:5, 6, ฉบับแปลใหม่; โรม 12:2.
18. การเลือกของเด็กสามารถมีผลเช่นไรต่อผู้อื่น?
18 แม้ว่าบิดามารดามีหน้าที่รับผิดชอบหนักในการเลี้ยงดูบุตรด้วย “การตีสอนและการปรับความคิดจิตใจตามหลักการของพระยะโฮวา” แต่สิ่งที่ตัดสินในขั้นสุดท้ายว่าเด็กจะเติบโตขึ้นมาเป็นคนแบบไหนขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง. (เอเฟโซ 6:4, ล.ม.) ด้วยเหตุนั้น บุตรทั้งหลาย จงถามตัวคุณเองว่า ‘ฉันจะยอมรับการอบรมสั่งสอนด้วยความรักจากบิดามารดาไหม?’ ถ้าคุณยอมรับเอา คุณกำลังเลือกเอาแนวทางชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้. คุณจะทำให้บิดามารดามีความสุขมาก. ที่สำคัญที่สุด คุณจะทำให้พระทัยของพระยะโฮวายินดี.—สุภาษิต 27:11.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 11 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณจำได้ไหม?
• บิดามารดาอาจวางตัวอย่างที่ดีได้โดยวิธีใดในเรื่องการอธิษฐานและการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล?
• บิดามารดาอาจสร้างบรรยากาศที่สงบสุขในบ้านได้โดยวิธีใด?
• บุตรเผชิญกับทางเลือกอะไร และการเลือกของพวกเขาจะมีผลอย่างไรต่อผู้อื่น?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 28]
คุณวางตัวอย่างที่ดีแก่บุตรไหมในเรื่องการศึกษาส่วนตัว?
[ภาพหน้า 29]
บรรยากาศที่สงบสุขในครอบครัวส่งเสริมความสุข