คุณจะ “ดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณต่อ ๆ ไป” ไหม?
คุณจะ “ดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณต่อ ๆ ไป” ไหม?
“จงดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณต่อ ๆ ไปแล้วท่านทั้งหลายจะไม่ทำตาม ความปรารถนาของกายที่ไม่สมบูรณ์เลย.”—ฆะลาเตีย 5:16, ล.ม.
1. เราจะขจัดความกังวลเกี่ยวกับการทำบาปต่อพระวิญญาณได้อย่างไร?
มีวิธีหนึ่งที่จะขจัดความกังวลเกี่ยวกับการทำบาปต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา. นั่นคือโดยการทำสิ่งที่อัครสาวกเปาโลกล่าวที่ว่า “จงดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณต่อ ๆ ไปแล้วท่านทั้งหลายจะไม่ทำตามความปรารถนาของกายที่ไม่สมบูรณ์เลย.” (ฆะลาเตีย 5:16, ล.ม.) ถ้าเรายอมให้พระวิญญาณของพระเจ้าชี้นำเรา ความปรารถนาฝ่ายเนื้อหนังที่ไม่เหมาะสมจะไม่มีทางชนะเรา.—โรม 8:2-10.
2, 3. ถ้าเราดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณต่อ ๆ ไป เราจะได้รับผลกระทบอย่างไร?
2 ขณะที่เรา “ดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณต่อ ๆ ไป” พลังปฏิบัติการของพระเจ้าจะกระตุ้นเราให้เชื่อฟังพระยะโฮวา. เราจะแสดงคุณลักษณะเยี่ยงพระเจ้าขณะที่เราอยู่ในงานรับใช้, ในประชาคม, ที่บ้าน, และที่อื่น ๆ. ผลแห่งพระวิญญาณจะปรากฏชัดในวิธีที่เราปฏิบัติต่อคู่สมรส, ต่อลูก ๆ, ต่อเพื่อนร่วมความเชื่อ, และต่อคนอื่น ๆ.
3 การดำเนินชีวิต “ตามวิญญาณจากแง่คิดของพระเจ้า” ทำให้เราสามารถเลิกทำบาป. (1 เปโตร 4:1-6, ล.ม.) ถ้าเราอยู่ภายใต้การโน้มนำของพระวิญญาณ เราก็จะไม่ทำบาปที่ให้อภัยไม่ได้อย่างแน่นอน. แต่เราจะได้รับผลกระทบในด้านดีอะไรอีกถ้าเราดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณเรื่อยไป?
จงติดสนิทกับพระเจ้าและพระคริสต์
4, 5. การดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณส่งผลกระทบต่อทัศนะที่เรามีต่อพระเยซูอย่างไร?
4 เนื่องจากเราดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราจึงสามารถรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์. เมื่อเขียนเกี่ยวกับของประทานฝ่ายวิญญาณ เปาโลกล่าวกับเพื่อนร่วมความเชื่อในเมืองโครินท์ดังนี้: “ข้าพเจ้าขอบอก [ผู้บูชารูปเคารพในอดีต] ให้ทราบว่า ไม่มีใครที่พูดโดยพระวิญญาณของพระเจ้าจะพูดว่า ‘ให้เยซูเป็นที่สาปแช่ง’ และไม่มีใครสามารถพูดว่า ‘พระเยซูเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า’ นอกจากจะพูดโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์.” (1 โกรินโธ 12:1-3, ฉบับแปล 2002) แรงกระตุ้นใด ๆ ที่กระตุ้นผู้คนให้สาปแช่งพระเยซูต้องมาจากซาตานพญามาร. แต่ในฐานะคริสเตียนที่ดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ เรามั่นใจว่าพระยะโฮวาทรงปลุกพระเยซูให้คืนพระชนม์และตั้งพระองค์ให้อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าสิ่งทรงสร้างอื่น ๆ ทั้งปวง. (ฟิลิปปอย 2:5-11) เรามีความเชื่อในเครื่องบูชาไถ่ของพระคริสต์และยอมรับพระเยซูในฐานะองค์พระผู้เป็นเจ้าที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าให้ดูแลเรา.
5 ผู้ที่อ้างตัวเป็นคริสเตียนบางคนในศตวรรษแรกปฏิเสธว่าพระเยซูเสด็จมาเป็นเนื้อหนัง. (2 โยฮัน 7-11) การยอมรับแนวคิดผิด ๆ นั้นทำให้บางคนปฏิเสธคำสอนแท้เกี่ยวกับพระเยซู พระมาซีฮา. (มาระโก 1:9-11; โยฮัน 1:1, 14) การดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ป้องกันเราไม่ให้พ่ายแพ้ต่อการออกหากเช่นนั้น. แต่โดยการคงไว้ซึ่งความระแวดระวังฝ่ายวิญญาณเท่านั้นที่ทำให้เราสามารถรับพระกรุณาอันใหญ่หลวงจากพระยะโฮวาและ “ดำเนินอยู่ในความจริงต่อ ๆ ไป.” (3 โยฮัน 3, 4, ล.ม.) ดังนั้น ขอเราตั้งใจที่จะปฏิเสธการออกหากทุกรูปแบบเพื่อว่าเราสามารถรักษาสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นกับพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเรา.
6. พระวิญญาณของพระเจ้าก่อให้เกิดคุณลักษณะอะไรบ้างในตัวผู้ดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณ?
6 เปาโลจัดเอาการบูชารูปเคารพและการแบ่งแยกนิกายที่เป็นการออกหากไว้ในกลุ่ม “การของเนื้อหนัง” เช่นเดียวกับการผิดประเวณีและการประพฤติหละหลวม. แต่ท่านอธิบายว่า “เขาทั้งหลายที่อยู่ฝ่ายพระเยซูคริสต์ได้เอาเนื้อหนังกับความปรารถนาและราคะตัณหาของเนื้อหนังนั้นตรึงไว้ที่กางเขนเสียแล้ว. ถ้าเรามีชีวิตอยู่โดยพระวิญญาณก็ให้เราดำเนินฆะลาเตีย 5:19-21, 24, 25) พลังปฏิบัติการของพระเจ้าก่อให้เกิดคุณลักษณะอะไรบ้างในตัวของคนที่อยู่และดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณ? เปาโลเขียนดังนี้: “ผลแห่งพระวิญญาณคือ ความรัก, ความยินดี, สันติสุข, ความอดกลั้นไว้นาน, ความกรุณา, ความดี, ความเชื่อ, ความอ่อนโยน, การควบคุมตนเอง.” (ฆะลาเตีย 5:22, 23, ล.ม.) ขอเราพิจารณาแง่มุมเหล่านี้ของผลแห่งพระวิญญาณ.
ตามพระวิญญาณด้วย.” (“รักซึ่งกันและกัน”
7. ความรักคืออะไร และลักษณะเด่นบางอย่างของความรักมีอะไรบ้าง?
7 ความรัก—ผลอย่างหนึ่งแห่งพระวิญญาณ—บ่อยครั้งเกี่ยวข้องกับความรักใคร่อันแรงกล้าและความห่วงใยแบบไม่เห็นแก่ตัวที่มีต่อผู้อื่น ควบคู่ไปกับความสัมพันธ์อันอบอุ่นที่มีต่อพวกเขา. พระคัมภีร์กล่าวว่า “พระเจ้าทรงเป็นความรัก” เนื่องจากพระองค์เป็นแบบอย่างอันยอดเยี่ยมในคุณลักษณะนี้. ความรักยิ่งใหญ่ของพระเจ้าและของพระบุตรของพระองค์ที่มีต่อมนุษยชาติแสดงให้เห็นเป็นแบบอย่างในเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซูคริสต์. (1 โยฮัน 4:8; โยฮัน 3:16; 15:13; โรม 5:8) เราได้รับการระบุตัวว่าเป็นสาวกของพระเยซูโดยความรักที่เรามีต่อกันและกัน. (โยฮัน 13:34, 35) อันที่จริง เราได้รับพระบัญชาให้ “รักซึ่งกันและกัน.” (1 โยฮัน 3:23) และเปาโลกล่าวว่าความรักอดกลั้นไว้นานและแสดงความกรุณา. ความรักไม่อิจฉาริษยา, และไม่อวดตัว, ไม่ประพฤติหยาบโลน, หรือแสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเอง. ความรักไม่ปล่อยตัวให้เกิดโทโสหรือจดจำความเสียหาย. ความรักยินดีกับความจริง ไม่ยินดีในการอธรรม. ความรักยอมทน, เชื่อ, หวัง, และอดทนทุกสิ่ง. ยิ่งกว่านั้น ความรักไม่ล้มเหลวเลย.—1 โกรินโธ 13:4-8.
8. เหตุใดเราควรแสดงความรักต่อเพื่อนร่วมนมัสการพระยะโฮวา?
8 ถ้าเรายอมให้พระวิญญาณของพระเจ้าก่อผลเป็นความรักในตัวเรา คุณลักษณะนี้ก็จะอยู่ในสัมพันธภาพที่เรามีกับพระเจ้าและเพื่อนบ้าน. (มัดธาย 22:37-39) อัครสาวกโยฮันเขียนว่า “คนใดที่ไม่มีความรักผู้นั้นก็ยังอยู่ในความตาย. ผู้หนึ่งผู้ใดที่เกลียดชังพี่น้องของตนก็ย่อมเป็นผู้ฆ่าคน และท่านทั้งหลายรู้แล้วว่า, ผู้ฆ่าคนไม่มีชีวิตนิรันดร์อยู่ในตัวเลย.” (1 โยฮัน 3:14, 15) ผู้ฆ่าคนจะพบที่ปลอดภัยได้ในเมืองคุ้มภัยของชาวอิสราเอลเฉพาะถ้าเขาไม่ได้เกลียดชังคนที่เขาฆ่า. (พระบัญญัติ 19:4, 11-13) ถ้าเราได้รับการชี้นำโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราจะแสดงความรักต่อพระเจ้า, เพื่อนร่วมนมัสการ, และคนอื่น ๆ.
“ความยินดีในพระยะโฮวาเป็นป้อมของพวกเจ้า”
9, 10. ความยินดีคืออะไร และมีเหตุผลอะไรบ้างที่จะชื่นชมยินดี?
9 ความยินดีคือสภาพที่เป็นสุขอย่างยิ่ง. พระยะโฮวาเป็น “พระเจ้าผู้ประกอบด้วยความสุข.” (1 ติโมเธียว 1:11; บทเพลงสรรเสริญ 104:31) พระบุตรทรงยินดีทำตามพระทัยประสงค์ของพระบิดาของพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 40:8; เฮ็บราย 10:7-9) และ “ความยินดีในพระยะโฮวาเป็นป้อม [ของเรา].”—นะเฮมยา 8:10, ล.ม.
10 ความยินดีที่มาจากพระเจ้าทำให้เราอิ่มใจพอใจอย่างแท้จริงเมื่อเราทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าแม้ในยามที่มีความยุ่งยาก, ความโศกเศร้า, หรือการกดขี่ข่มเหง. “ความรู้ของพระเจ้า” ทำให้เรามีความสุขอะไรเช่นนี้! (สุภาษิต 2:1-5) สัมพันธภาพที่เปี่ยมด้วยความยินดีระหว่างเรากับพระเจ้ามีพื้นฐานจากความรู้ถ่องแท้และความเชื่อในพระองค์และในเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซู. (1 โยฮัน 2:1, 2) การเป็นส่วนแห่งภราดรภาพนานาชาติที่แท้จริงเป็นอีกแหล่งหนึ่งของความยินดี. (ซะฟันยา 3:9; ฮาฆี 2:7) ความหวังเรื่องราชอาณาจักรและสิทธิพิเศษยิ่งใหญ่ที่เรามีในการประกาศข่าวดีทำให้เราชื่นชมยินดี. (มัดธาย 6:9, 10; 24:14) ความหวังเกี่ยวกับชีวิตนิรันดร์ก็ทำให้เรายินดีเช่นกัน. (โยฮัน 17:3) เนื่องจากเรามีความหวังที่วิเศษเช่นนั้น เราควร “มีความยินดีอย่างยิ่ง.”—พระบัญญัติ 16:15.
จงมีสันติสุขและความอดกลั้นไว้นาน
11, 12. (ก) คุณจะนิยามคำว่าสันติสุขอย่างไร? (ข) สันติสุขของพระเจ้าส่งผลกระทบเช่นไรต่อเรา?
11 สันติสุข—ผลอีกประการหนึ่งแห่งพระวิญญาณ—เป็นสภาพของความสงบและปลอดจากความกระวนกระวาย. พระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์เป็นพระเจ้าแห่งสันติสุข และเราได้รับการรับรองดังนี้: “พระยะโฮวาจะทรงอวยพระพรแก่พลไพร่ของพระองค์ให้มีความสงบสุข.” (บทเพลงสรรเสริญ 29:11; 1 โกรินโธ 14:33) พระเยซูตรัสกับเหล่าสาวกว่า “เราฝากสันติสุขไว้กับเจ้าทั้งหลาย เรามอบสันติสุขของเราไว้แก่เจ้า.” (โยฮัน 14:27, ล.ม.) สันติสุขจะช่วยเหล่าสาวกของพระองค์อย่างไร?
12 สันติสุขที่พระเยซูประทานแก่เหล่าสาวกทำให้หัวใจและจิตใจของพวกเขาสงบและลดความกลัวที่พวกเขามี. พวกเขาโยฮัน 14:26) ภายใต้อำนาจของพระวิญญาณและการได้รับคำตอบสำหรับคำอธิษฐานของเราในทุกวันนี้ เราประสบ “สันติสุขแห่งพระเจ้า” อันหาที่เปรียบมิได้ซึ่งคุ้มครองหัวใจและจิตใจของเราให้สงบ. (ฟิลิปปอย 4:6, 7) ยิ่งกว่านั้น พระวิญญาณของพระยะโฮวาช่วยเราให้อยู่อย่างสงบและสร้างสันติกับเพื่อนร่วมความเชื่อและคนอื่น ๆ.—โรม 12:18; 1 เธซะโลนิเก 5:13.
มีสันติสุขเป็นพิเศษเมื่อได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ตามที่พระองค์สัญญาไว้. (13, 14. ความอดกลั้นไว้นานคืออะไร และเหตุใดเราจึงควรแสดงคุณลักษณะนี้?
13 ความอดกลั้นไว้นานเกี่ยวข้องกับความสงบสุข เนื่องจากเราเพียรอดทนกับการยั่วโทสะหรือความผิด ในขณะเดียวกันก็หวังว่าสภาพการณ์นั้นจะดีขึ้น. พระเจ้าทรงอดกลั้นไว้นาน. (โรม 9:22-24) พระเยซูทรงแสดงคุณลักษณะนี้ด้วย. เราสามารถรับประโยชน์จากการที่พระเยซูทรงแสดงคุณลักษณะนี้ เพราะท่านเปาโลเขียนว่า “เพราะเหตุนี้เองข้าพเจ้าจึงได้รับพระกรุณา, คือว่าเพื่อพระเยซูคริสต์จะได้ทรงสำแดงความอดกลั้นพระทัยทุกอย่างให้เห็นในตัวข้าพเจ้าซึ่งเป็นตัวเอ้นั้น, ให้เป็นแบบแผนแก่คนทั้งปวงที่ภายหลังจะเชื่อในพระองค์, จึงจะได้ชีวิตนิรันดร์.”—1 ติโมเธียว 1:16.
14 คุณลักษณะของความอดกลั้นไว้นานช่วยเราให้อดทนเมื่อคนอื่นพูดหรือทำในสิ่งที่ไม่กรุณาหรือไร้ความคิด. เปาโลกระตุ้นเพื่อนคริสเตียนให้ “อดกลั้นไว้นานต่อคนทั้งปวง.” (1 เธซะโลนิเก 5:14, ล.ม.) เนื่องจากเราทุกคนไม่สมบูรณ์และทำผิดพลาด เราจึงต้องการอย่างแน่นอนที่จะให้ผู้คนอดทนกับเรา และอดกลั้นไว้นานเมื่อเราทำผิดพลาดในการปฏิบัติต่อพวกเขา. ดังนั้น ขอเราพยายาม “อดกลั้นไว้นานด้วยความยินดี.”—โกโลซาย 1:9-12, ล.ม.
จงแสดงความกรุณาและความดี
15. จงนิยามคำว่ากรุณา และยกตัวอย่างผู้ที่สำแดงคุณลักษณะนี้.
15 มีการสำแดงความกรุณาเมื่อเราแสดงความสนใจคนอื่นโดยทางคำพูด และการกระทำที่เป็นมิตรและเป็นประโยชน์. พระยะโฮวาทรงกรุณา และพระบุตรของพระองค์ก็เป็นเช่นนั้นด้วย. (โรม 2:4; 2 โกรินโธ 10:1) มีการคาดหมายให้ผู้รับใช้ของพระเจ้าและของพระคริสต์เป็นคนกรุณา. (มีคา 6:8; โกโลซาย 3:12) แม้แต่บางคนที่ไม่มีสัมพันธภาพเป็นส่วนตัวกับพระเจ้าก็ยังแสดง ‘ความกรุณาเป็นอันมาก.’ (กิจการ 27:3; 28:2) ดังนั้น จึงมีเหตุผลที่จะคาดหมายว่าเราสามารถแสดงความกรุณาถ้าเรา “ดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณต่อ ๆ ไป.”
16. สภาพการณ์เช่นไรบ้างที่ควรกระตุ้นเราให้แสดงความกรุณา?
เอเฟโซ 4:26, 27, 32, ล.ม.) เป็นการเหมาะสมโดยเฉพาะที่จะแสดงความกรุณาต่อผู้ที่ประสบความยากลำบาก. แน่นอน คริสเตียนผู้ปกครองคงไม่ได้แสดงความกรุณาถ้าเขาไม่ให้คำแนะนำตามหลักพระคัมภีร์เพียงเพราะกลัวว่าจะกระทบความรู้สึกของคนใดคนหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่เห็นชัดเจนว่าเขากำลังตกอยู่ในอันตรายจากการละทิ้งแนวทางของ “ความดีทุกอย่างและความชอบธรรมและความจริง.”—เอเฟโซ 5:9.
16 เราอาจแสดงความกรุณาได้แม้ว่ามีเหตุผลจะขุ่นเคืองเนื่องจากคำพูดที่เจ็บแสบหรือการกระทำที่ไม่คำนึงถึงคนอื่นจากคนใดคนหนึ่ง. เปาโลกล่าวว่า “โกรธเถิด และถึงกระนั้นก็อย่าทำบาป. อย่าให้ตะวันตกโดยที่ท่านยังขุ่นเคืองอยู่ และอย่าเปิดช่องแก่พญามาร. . . . จงมีใจกรุณาต่อกัน, มีใจเมตตาอันอ่อนละมุน, ให้อภัยกันด้วยใจกว้างอย่างที่พระเจ้าทรงให้อภัยท่านทั้งหลายด้วยใจกว้างโดยทางพระคริสต์.” (17, 18. ความดีมีความหมายว่าอย่างไร และคุณลักษณะนี้ควรมีบทบาทเช่นไรในชีวิตของเรา?
17 ความดีเป็นคุณธรรม เป็นความยอดเยี่ยมด้านศีลธรรม หรือเป็นคุณลักษณะหรือสภาพที่เป็นไปในทางที่ดี. พระเจ้าทรงคุณความดีในความหมายที่ครบถ้วนสมบูรณ์. (บทเพลงสรรเสริญ 25:8; ซะคาระยา 9:17) พระเยซูก็ทรงคุณความดีและมีคุณลักษณะเป็นเลิศด้านศีลธรรม. กระนั้น พระองค์ไม่ยอมรับคำว่า “ประเสริฐ” ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์เมื่อมีคนเรียกพระองค์ว่า “อาจารย์ผู้ประเสริฐ.” (มาระโก 10:17, 18) เห็นได้ชัดว่านี่เป็นเพราะพระองค์ยอมรับว่าพระเจ้าเป็นแบบอย่างสูงสุดในเรื่องความดี.
18 ความสามารถของเราที่จะทำดีถูกขัดขวางเนื่องจากบาปที่ได้รับเป็นมรดก. (โรม 5:12) กระนั้น เราสามารถแสดงคุณลักษณะนี้ได้ถ้าเราอธิษฐานขอพระเจ้า ‘สอนความดีแก่เรา.’ (บทเพลงสรรเสริญ 119:66, ล.ม.) เปาโลกล่าวกับเพื่อนร่วมความเชื่อในกรุงโรมว่า “พี่น้องทั้งหลายของข้าพเจ้า, ส่วนท่านทั้งหลายนั้นข้าพเจ้าเชื่อเป็นแน่ว่าท่านทั้งหลายบริบูรณ์ด้วยการดี, ประกอบด้วยความรู้ทุกอย่าง.” (โรม 15:14) คริสเตียนผู้ดูแลต้องเป็น “ผู้รักความดี.” (ติโต 1:7, 8) ถ้าเราได้รับการชี้นำโดยพระวิญญาณของพระเจ้า เราจะเป็นที่รู้จักว่าเป็นคนดี และพระยะโฮวาจะ ‘ระลึกถึงเราตามความดีที่เราได้กระทำ.’—นะเฮมยา 5:19; 13:31.
“ความเชื่ออันปราศจากความหน้าซื่อใจคด”
19. จงนิยามคำว่าความเชื่ออย่างที่สอดคล้องกับเฮ็บราย 11:1.
19 ความเชื่อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลแห่งพระวิญญาณด้วย “คือความคาดหมายที่แน่นอนในสิ่งซึ่งหวังไว้ เป็นการแสดงออกเด่นชัดถึงสิ่งที่เป็นจริง ถึงแม้ไม่ได้เห็นสิ่งนั้นก็ตาม.” (เฮ็บราย 11:1, ล.ม.) ถ้าเรามีความเชื่อ เราแน่ใจว่าทุกสิ่งที่พระยะโฮวาสัญญาจะสำเร็จอย่างแน่นอน. หลักฐานที่น่าเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นจริงซึ่งมองไม่เห็นนั้นหนักแน่นถึงขนาดที่กล่าวได้ว่า ความเชื่อในเรื่องนั้นก็เท่ากับเป็นหลักฐานที่แน่ชัด. ยกตัวอย่าง การดำรงอยู่ของสิ่งทรงสร้างทำให้เรามั่นใจว่ามีพระผู้สร้าง. เราจะแสดงความเชื่อชนิดดังกล่าวถ้าเราดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณต่อ ๆ ไป.
20. “บาปที่เข้าติดพันเราโดยง่าย” คืออะไร และเราอาจหลีกเลี่ยงบาปนั้นและการของเนื้อหนังได้อย่างไร?
20 การขาดความเชื่อเป็น “บาปที่เข้าติดพันเราโดยง่าย.” (เฮ็บราย 12:1, ล.ม.) เราต้องพึ่งอาศัยการทรงนำจากพระวิญญาณของพระเจ้าเพื่อจะหลีกเลี่ยงการของเนื้อหนัง, การ นิยมวัตถุ, และคำสอนผิด ๆ ที่อาจทำลายความเชื่อ. (โกโลซาย 2:8; 1 ติโมเธียว 6:9, 10; 2 ติโมเธียว 4:3-5) พระวิญญาณของพระเจ้าก่อให้เกิดความเชื่อในตัวผู้รับใช้ของพระยะโฮวาในสมัยปัจจุบันเช่นเดียวกับเหล่าพยานก่อนยุคคริสเตียนและคนอื่น ๆ ในสมัยที่มีการบันทึกคัมภีร์ไบเบิล. (เฮ็บราย 11:2-40) และ “ความเชื่ออันปราศจากความหน้าซื่อใจคด” ของเราเองอาจส่งเสริมความเชื่อของคนอื่นเป็นอย่างดี.—1 ติโมเธียว 1:5, ล.ม.; เฮ็บราย 13:7.
จงสำแดงความอ่อนโยนและการควบคุมตนเอง
21, 22. ความอ่อนโยนมีความหมายอย่างไร และเหตุใดเราควรแสดงคุณลักษณะนี้?
21 ความอ่อนโยนคือการมีนิสัยใจคอและการประพฤติที่อ่อนสุภาพ. คุณลักษณะประการหนึ่งของพระเจ้าคือความอ่อนโยน. เรารู้เรื่องนี้เนื่องจากพระเยซูซึ่งเป็นชายที่มีความอ่อนโยนสะท้อนคุณลักษณะของพระยะโฮวาอย่างสมบูรณ์แบบ. (มัดธาย 11:28-30; โยฮัน 1:18; 5:19) ถ้าอย่างนั้น มีข้อเรียกร้องอะไรจากเราฐานะเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า?
22 ฐานะคริสเตียน เราถูกคาดหมายให้ ‘สำแดงความอ่อนโยนต่อคนทั้งปวง.’ (ติโต 3:2, ล.ม.) เราแสดงความอ่อนโยนเมื่ออยู่ในงานรับใช้. ผู้ที่มีคุณวุฒิฝ่ายวิญญาณได้รับคำแนะนำให้ปรับคริสเตียนที่ทำผิด “ด้วยน้ำใจอ่อนโยน.” (ฆะลาเตีย 6:1, ล.ม.) เราทุกคนสามารถส่งเสริมความเป็นเอกภาพและสันติสุขของคริสเตียนโดยการแสดง “ความถ่อมใจและความอ่อนโยน.” (เอเฟโซ 4:1-3, ล.ม.) เราสามารถสำแดงความอ่อนโยนถ้าเราดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณและแสดงการควบคุมตนเองอย่างเสมอต้นเสมอปลาย.
23, 24. การควบคุมตนเองคืออะไร และคุณลักษณะนี้ช่วยเราอย่างไร?
23 การควบคุมตนเองทำให้เราสามารถยับยั้งตัวเราจากการคิด, คำพูด, และการกระทำที่ไม่ดี. พระยะโฮวาทรง “รั้งตนเอง” ในการจัดการกับชาวบาบิโลนผู้ทำลายเยรูซาเลม. (ยะซายา 42:14, ฉบับแปลใหม่) พระบุตรของพระองค์ทรง ‘วางแบบอย่าง’ ให้เราโดยการแสดงการควบคุมตนเองในขณะที่เผชิญความยากลำบาก. และอัครสาวกเปโตรให้คำแนะนำเพื่อนคริสเตียนว่าให้ “เพิ่มความรู้ด้วยการควบคุมตนเอง.”—1 เปโตร 2:21-23; 2 เปโตร 1:5-8, ล.ม.
24 คริสเตียนผู้ปกครองถูกคาดหมายว่าจะเป็นคนควบคุมตนเอง. (ติโต 1:7, 8) ที่จริง ทุกคนที่ได้รับการชี้นำโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถแสดงการควบคุมตนเองและจึงสามารถหลีกเลี่ยงการทำผิดศีลธรรม, คำพูดหยาบคาย, หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้พระยะโฮวาไม่ยอมรับ. ถ้าเราให้พระวิญญาณของพระเจ้าก่อผลให้เรามีการควบคุมตนเอง คนอื่น ๆ ก็จะเห็นคุณลักษณะนี้ได้เนื่องจากคำพูดและการประพฤติของเราเป็นแบบเลื่อมใสพระเจ้า.
จงดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณต่อ ๆ ไป
25, 26. การดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณจะส่งผลกระทบสัมพันธภาพของเราในปัจจุบันและความหวังในอนาคตอย่างไร?
25 ถ้าเราดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณ เราจะเป็นผู้ประกาศราชอาณาจักรที่มีใจแรงกล้า. (กิจการ 18:24-26) เราจะเป็นเพื่อนที่น่าคบหา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คนที่เลื่อมใสในพระเจ้าจะยินดีที่ได้คบหาสมาคมกับเรา. ฐานะเป็นผู้ที่ได้รับการชี้นำโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราจะเป็นแหล่งของการหนุนกำลังใจแก่เพื่อนร่วมนมัสการพระยะโฮวาให้ดำเนินต่อ ๆ ไปตามพระวิญญาณด้วยเช่นกัน. (ฟิลิปปอย 2:1-4) คริสเตียนทุกคนต้องการเป็นเช่นนั้นมิใช่หรือ?
26 ในโลกนี้ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของซาตาน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณ. (1 โยฮัน 5:19) ถึงกระนั้น หลายล้านคนในทุกวันนี้กำลังทำเช่นนั้น. ถ้าเราไว้วางใจในพระยะโฮวาสุดหัวใจ เราจะชื่นชมกับชีวิตในขณะนี้และจะสามารถดำเนินตลอดไปในแนวทางชอบธรรมของผู้ประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่เปี่ยมด้วยความรัก.—บทเพลงสรรเสริญ 128:1; สุภาษิต 3:5, 6.
คุณจะตอบอย่างไร?
• การ “ดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณ” ส่งผลกระทบต่อสัมพันธภาพที่เรามีกับพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์อย่างไร?
• ผลแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ประกอบด้วยคุณลักษณะอะไรบ้าง?
• มีวิธีใดบ้างที่จะแสดงผลแห่งพระวิญญาณของพระเจ้า?
• การดำเนินชีวิตตามการทรงนำจากพระวิญญาณส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราในปัจจุบันและความหวังในอนาคตอย่างไร?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 23]
พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวาส่งเสริมความรักต่อเพื่อนร่วมความเชื่อ
[ภาพหน้า 24]
จงแสดงความกรุณาโดยคำพูดและการกระทำที่เป็นประโยชน์