อะไรคือทางแก้สำหรับอคติด้านชาติพันธุ์?
อะไรคือทางแก้สำหรับอคติด้านชาติพันธุ์?
ในสเปนกรรมการตัดสินยุติการแข่งขันฟุตบอลนัดหนึ่ง. เพราะเหตุใด? เพราะผู้ชมจำนวนมากได้พากันใช้ถ้อยคำสบประมาทผู้เล่นคนหนึ่งจากแคเมอรูนอย่างไม่หยุดหย่อนจนเขาขู่ว่าจะออกจากสนาม. ในรัสเซียการจู่โจมทำร้ายชาวแอฟริกา, เอเชีย, และลาตินอเมริกาได้กลายเป็นเรื่องธรรมดา; ระหว่างปี 2004 การทำร้ายโดยพวกเหยียดผิวที่นั่นได้เพิ่มขึ้น 55 เปอร์เซ็นต์จนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นถึง 394 รายในปี 2005. ที่บริเตนหนึ่งในสามของชาวเอเชียและคนผิวดำที่ตอบคำถามในการสำรวจความเห็น คิดว่าพวกเขาถูกปลดออกจากงานเนื่องจากการเหยียดเชื้อชาติ. ตัวอย่างเหล่านี้สะท้อนให้เห็นแนวโน้มอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก.
อคติด้านชาติพันธุ์แตกต่างกันในด้านความรุนแรง มีตั้งแต่คำพูดที่ทำให้ขุ่นเคืองหรือคำพูดที่ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่นไปจนถึงนโยบายของชาติที่พยายามจะกำจัดกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง. * อะไรคือสาเหตุหลักของอคติด้านชาติพันธุ์? เราจะหลีกเลี่ยงการแสดงอคติเช่นนั้นได้อย่างไร? เป็นเรื่องสมเหตุผลไหมที่จะหวังว่าสักวันหนึ่งครอบครัวทั้งสิ้นของมนุษยชาติจะอยู่ด้วยกันอย่างสันติ? คัมภีร์ไบเบิลให้ความหยั่งเห็นเข้าใจที่น่าสนใจในเรื่องเหล่านี้.
การกดขี่และความเกลียดชัง
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ความคิดในใจของมนุษย์นั้นล้วนแต่ชั่วตั้งแต่เด็กมา.” (เยเนซิศ 8:21) ดังนั้น บางคนจึงมีความพึงพอใจจากการกดขี่คนอื่น. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวต่อไปว่า “นี่แน่ะ, น้ำตาของผู้ถูกข่มเหงเป็นต้น, ไม่มีคนเช็ดให้; ในมือของผู้ข่มเหงนั้นได้กุมอำนาจไว้.”—ท่านผู้ประกาศ 4:1.
คัมภีร์ไบเบิลยังแสดงว่าความเกลียดชังด้านชาติพันธุ์มีอยู่นานแล้ว. ตัวอย่างเช่น ประมาณ 3,700 ปีมาแล้ว ฟาโรห์แห่งอียิปต์ได้เชิญชวนยาโคบชาวฮีบรูพร้อมกับครอบครัวใหญ่ของท่านให้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในอียิปต์. อย่างไรก็ดี ต่อมาฟาโรห์อีกองค์หนึ่งรู้สึกว่าผู้อพยพกลุ่มใหญ่นี้เป็นภัยคุกคาม. ผลก็คือ บันทึกเรื่องราวบอกว่า “พระองค์ทรงประกาศแก่ชนชาติของพระองค์ว่า ‘ดูเถิดคนอิสราเอลมีมากเกินไปและมีกำลังยิ่งกว่าเราอีก มาเถิดให้เราหาอุบายปราบพวกนี้ มิฉะนั้นเขาจะทวีมากขึ้น.’ . . . เหตุฉะนั้นเขาจึงตั้งนายงานเกณฑ์ให้คนอิสราเอลทำการงานตรากตรำ.” (เอ็กโซโด 1:9-11, ฉบับแปลใหม่) ชาวอียิปต์ถึงกับสั่งให้ฆ่าทารกชายแรกเกิดทุกคนซึ่งเป็นลูกหลานของยาโคบ.—เอ็กโซโด 1:15, 16.
สาเหตุหลักคืออะไร?
ศาสนาต่าง ๆ ของโลกไม่ค่อยจะสนับสนุนการต่อต้านอคติด้านชาติพันธุ์. ถึงแม้เป็นความจริงที่ว่าบางคนได้ต่อต้านการกดขี่อย่างกล้าหาญ แต่บ่อยเหลือเกินที่ศาสนาโดยรวมได้เข้าข้างผู้กดขี่. นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐ ที่มีการนำกฎหมายและศาลเตี้ยมาใช้เพื่อปราบชนผิวดำ และมีกฎหมายที่ห้ามการแต่งงานระหว่างคนต่างสีผิวเรื่อยมาจนกระทั่งปี 1967. เป็นเช่นนั้นด้วยในแอฟริกาใต้ภายใต้ระบบการแบ่งแยกผิว เมื่อคนกลุ่มน้อยได้ปกป้องตำแหน่งสำคัญของพวกเขาไว้โดยกฎหมายซึ่งรวมเอาคำสั่งห้ามในเรื่องการสมรสต่างเชื้อชาติ. ในแต่ละกรณี บางคนที่สังกัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งสนับสนุนการไม่ยอมผ่อนปรนเป็นคนที่เคร่งศาสนาอย่างมาก.
อย่างไรก็ดี คัมภีร์ไบเบิลเผยให้เห็นสาเหตุลึก ๆ ในเรื่องอคติด้านชาติพันธุ์. พระคัมภีร์อธิบายสาเหตุที่บางกลุ่มชาติพันธุ์กดขี่กลุ่มอื่น. พระคัมภีร์บอกว่า “ผู้ที่ไม่รักก็ไม่รู้จักพระเจ้า, เพราะว่าพระเจ้าทรงเป็นความรัก. ถ้าผู้ใดว่า, ‘ข้าพเจ้ารักพระเจ้า’ และใจยังเกลียดชังพี่น้องของตัว ผู้นั้นเป็นคน1 โยฮัน 4:8, 20) ถ้อยคำดังกล่าวนี้ชี้ถึงสาเหตุหลักของอคติด้านชาติพันธุ์. ผู้คนมีอคติเช่นนั้น ไม่ว่าพวกเขาอ้างว่าเคร่งศาสนาหรือไม่ก็ตาม เพราะพวกเขาไม่ได้มารู้จักหรือรักพระเจ้า.
พูดมุสา. เพราะว่าผู้ที่ไม่รักพี่น้องของตนที่แลเห็นแล้ว, จะรักพระเจ้าที่ยังไม่ได้แลเห็นอย่างไรได้?” (การรู้จักพระเจ้า—พื้นฐานสำหรับความปรองดองด้านชาติพันธุ์
การรู้จักและการรักพระเจ้าก่อให้เกิดความปรองดองด้านชาติพันธุ์ได้อย่างไร? พระคำของพระเจ้าเผยให้เห็นความรู้อะไรที่ยับยั้งผู้คนมิให้ก่อความเสียหายแก่คนที่ดูเหมือนแตกต่างจากเขา? คัมภีร์ไบเบิลเปิดเผยว่าพระยะโฮวาทรงเป็นพระบิดาของมนุษย์ทุกคน. พระคัมภีร์บอกว่า “เราทั้งหลายมีพระเจ้าองค์เดียวคือพระบิดา, และสิ่งสารพัตรทั้งปวงบังเกิดมาแต่พระองค์นั้น.” (1 โกรินโธ 8:6) นอกจากนี้ พระคัมภีร์กล่าวว่า “พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ทุกชาติมาจากคน ๆ เดียว.” (กิจการ 17:26, ฉบับแปล 2002) ด้วยเหตุนี้ ที่แท้แล้ว มนุษย์ทุกคนเป็นพี่น้องกัน.
กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสิ้นสามารถภูมิใจที่ได้รับชีวิตจากพระเจ้า แต่ทุกกลุ่มล้วนมีสิ่งที่ต้องเสียใจในเรื่องบรรพบุรุษของพวกเขา. เปาโลผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลได้กล่าวว่า “ความผิด [“บาป,” ล.ม.] ได้เข้ามาในโลกเพราะคน ๆ เดียว.” โดยเหตุนี้ “คนทั้งปวงได้ทำผิดทุกคน, และขาดการถวายเกียรติยศแก่พระเจ้า.” (โรม 3:23; 5:12) พระยะโฮวาเป็นพระเจ้าแห่งความหลากหลาย—ไม่มีบุคคลสองคนที่เหมือนกันทุกอย่าง. กระนั้น พระองค์มิได้ให้กลุ่มชาติพันธุ์ใดมีพื้นฐานในการรู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่า. ความรู้สึกอันแพร่หลายที่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองดีกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นนั้นขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ชี้แจงไว้ในพระคัมภีร์. เห็นได้ชัด ความรู้ที่เราได้รับจากพระเจ้าส่งเสริมความปรองดองด้านชาติพันธุ์.
ความห่วงใยของพระเจ้าที่มีต่อชนทุกชาติ
บางคนเคยสงสัยว่าพระเจ้าส่งเสริมความลำเอียงด้านชาติพันธุ์หรือไม่โดยการโปรดปรานชาวอิสราเอลและสอนพวกเขาให้แยกตัวจากชาติอื่น. (เอ็กโซโด 34:12) ครั้งหนึ่ง พระเจ้าทรงเลือกชาติอิสราเอลฐานะเป็นสมบัติพิเศษของพระองค์เนื่องจากความเชื่ออันโดดเด่นของอับราฮามบรรพบุรุษของพวกเขา. พระเจ้าเองทรงปกครองชาติอิสราเอลโบราณ ทรงเลือกผู้ปกครองของพวกเขาและประทานประมวลกฎหมายให้. ระหว่างช่วงเวลาที่ชาติอิสราเอลยอมรับการจัดเตรียมนี้ ชนชาติอื่นสามารถเห็นผลต่าง ๆ จากการปกครองโดยพระเจ้าเมื่อเทียบกับผลที่เกิดจากการปกครองโดยมนุษย์ในที่อื่น ๆ. นอกจากนี้ พระยะโฮวายังทรงสอนชาวอิสราเอลย้อนไปในสมัยนั้นในเรื่องความจำเป็นที่จะมีเครื่องบูชาเพื่อทำให้มนุษยชาติกลับมามีสัมพันธภาพที่ดีกับพระเจ้าอีก. ดังนั้น การที่พระยะโฮวาติดต่อเกี่ยวข้อง กับชาติอิสราเอลจึงเป็นประโยชน์ต่อชนทุกชาติ. นั่นสอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์ได้ตรัสแก่อับราฮามที่ว่า “ชนทุกชาติทั่วโลกจะได้พรเพราะพงศ์พันธุ์ของเจ้า, เพราะเจ้าได้เชื่อฟังเสียงของเรา.”—เยเนซิศ 22:18.
นอกจากนี้ ชาวยิวมีสิทธิพิเศษที่ได้รับคำแถลงอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าและที่จะเป็นชาติซึ่งพระมาซีฮามาประสูติ. แต่เรื่องนี้ก็เช่นกันก็เพื่อที่ชนทุกชาติจะได้รับประโยชน์. พระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูที่ประทานแก่ชาวยิวมีคำพรรณนาที่ทำให้อบอุ่นใจเกี่ยวกับสมัยที่กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสิ้นจะได้รับพระพรมากมายดังนี้: “ประชาชนเป็นอันมากจะพากันกล่าวว่า, ‘มาเถิดพวกเรา, ให้เราขึ้นไปยังภูเขาแห่งพระยะโฮวา, และยังโบสถ์แห่งพระเจ้าแห่งยาโคบ; พระองค์จะได้ทรงสอนเราให้รู้จักวิถีทางของพระองค์’ . . . ประเทศต่อประเทศจะไม่ยกดาบขึ้นต่อสู้กัน, และเขาจะไม่ศึกษายุทธศาสตร์อีกต่อไป. ต่างคนก็จะนั่งอยู่ใต้ซุ้มเถาองุ่นและใต้ต้นมะเดื่อเทศของตน; และจะไม่มีอะไรมาทำให้เขาสะดุ้งกลัว.”—มีคา 4:2-4.
ถึงแม้พระเยซูคริสต์เองทรงประกาศแก่ชาวยิว พระองค์ยังตรัสด้วยว่า “ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรนี้จะได้รับการประกาศทั่วทั้งแผ่นดินโลกที่มีคนอาศัยอยู่ เพื่อเป็นคำพยานแก่ทุกชาติ.” (มัดธาย 24:14, ล.ม.) ไม่มีชาติใดจะพลาดโอกาสในการได้ยินข่าวดี. ฉะนั้น พระยะโฮวาทรงวางตัวอย่างที่สมบูรณ์พร้อมในการปฏิบัติอย่างไม่ลำเอียงต่อกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสิ้น. “พระเจ้าไม่ทรงเลือกหน้าผู้ใด แต่ชาวชนในประเทศใด ๆ ที่เกรงกลัวพระองค์และประพฤติในทางชอบธรรมก็เป็นที่ชอบพระทัยพระองค์.”—กิจการ 10:34, 35.
กฎหมายที่พระเจ้าประทานแก่ชาติอิสราเอลโบราณเผยให้เห็นด้วยว่าพระองค์ใฝ่พระทัยชนทุกชาติ. โปรดสังเกตว่าพระบัญญัติได้เรียกร้องไม่เพียงแต่ให้ยอมทนกับคนที่ไม่ใช่ชาวอิสราเอลซึ่งอาศัยอยู่ในแผ่นดินนั้นเมื่อกล่าวว่า “คนต่างด้าวที่อาศัยอยู่กับเจ้านั้นก็เหมือนกับชาวเมืองของเจ้า เจ้าจงรักเขาเหมือนกับรักตัวเองเพราะว่าเจ้าเคยเป็นคนต่างด้าวในแผ่นดินอียิปต์.” (เลวีติโก 19:34, ฉบับแปลใหม่) กฎหมายของพระเจ้าหลายข้อสอนชาวอิสราเอลให้แสดงความกรุณาต่อผู้อพยพ. ด้วยเหตุนี้ เมื่อโบอัศบรรพบุรุษของพระเยซูเห็นหญิงม่ายต่างชาติที่ขัดสนคนหนึ่งกำลังเก็บข้าวตก ท่านจึงปฏิบัติสอดคล้องกับสิ่งที่ได้เรียนจากพระเจ้าเมื่อท่านได้สั่งคนเกี่ยวข้าวของท่านเป็นมั่นเป็นเหมาะให้ทิ้งข้าวไว้มากพอเพื่อเธอจะเก็บได้.—ประวัตินางรูธ 2:1, 10, 16.
พระเยซูทรงสอนเรื่องความกรุณา
พระเยซูทรงเปิดเผยความรู้ของพระเจ้ามากกว่าใครอื่น. พระองค์ทรงเผยให้เหล่าสาวกของพระองค์เห็นวิธีแสดงความกรุณาต่อผู้คนที่แตกต่างจากเรา. ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเริ่มการสนทนากับหญิงชาวซะมาเรีย. ชาวซะมาเรียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ชาวยิวส่วนใหญ่รังเกียจ ดังนั้น ผู้หญิงคนนี้จึงรู้สึกประหลาดใจ. ระหว่างการสนทนา พระเยซูทรงช่วยผู้หญิงคนนี้ด้วยความกรุณาให้เข้าใจวิธีที่เธอจะได้รับชีวิตนิรันดร์.—โยฮัน 4:7-14.
พระเยซูยังสอนเราถึงวิธีปฏิบัติต่อผู้คนจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเมื่อพระองค์ทรงเล่าอุทาหรณ์เรื่องชาวซะมาเรียผู้อารีฉันเพื่อนบ้าน. ชายผู้นี้เห็นชาวยิวคนหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากถูกโจรทำร้าย. ชาวซะมาเรียคนนี้อาจหาเหตุผลง่าย ๆ ว่า ‘ทำไมฉันจะไปช่วยคนยิวล่ะ. พวกยิวรังเกียจชนชาติของฉัน.’ แต่พระเยซูแสดงว่าชาวซะมาเรียคนลูกา 10:30-37, ฉบับแปล 2002.
นั้นมองคนแปลกหน้าอย่างที่ต่างออกไป. ถึงแม้คนอื่นที่เดินผ่านมาได้เดินผ่านชายที่ได้รับบาดเจ็บไป ชาวซะมาเรียกลับ “มีใจสงสาร” และได้ให้การช่วยเหลือหลายอย่างทีเดียว. พระเยซูทรงสรุปอุปมาเรื่องนี้โดยตรัสว่าใครก็ตามที่ปรารถนาจะได้รับความพอพระทัยจากพระเจ้าก็ควรทำเช่นเดียวกันนั้น.—อัครสาวกเปาโลได้สอนคนเหล่านั้นซึ่งประสงค์จะทำให้พระเจ้าพอพระทัยให้เปลี่ยนบุคลิกภาพของตนและเลียนแบบวิธีที่พระเจ้าทรงปฏิบัติต่อผู้คน. เปาโลเขียนว่า “จงถอดทิ้งบุคลิกภาพเก่ากับกิจปฏิบัติต่าง ๆ ของมันเสีย และสวมบุคลิกภาพใหม่ที่กำลังสร้างขึ้นใหม่ด้วยความรู้ถ่องแท้ตามแบบของพระองค์ผู้ได้ทรงสร้างบุคลิกภาพใหม่นั้น ในการสร้างขึ้นใหม่นั้นไม่มีชาวกรีกหรือยิว, ไม่มีการรับสุหนัตหรือไม่รับสุหนัต, คนต่างชาติ, ชาวซิเทีย . . . ก็ไม่มี . . . แต่นอกจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด จงสวมตัวท่านด้วยความรัก เพราะความรักเป็นเครื่องผูกพันอันสมบูรณ์ที่ทำให้เป็นหนึ่งเดียว.”—โกโลซาย 3:9-14, ล.ม.
การรู้จักพระเจ้าทำให้คนเปลี่ยนแปลงไหม?
การรู้จักพระยะโฮวาพระเจ้าทำให้วิธีที่ผู้คนปฏิบัติต่อคนจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงไหม? ขอพิจารณาประสบการณ์ของผู้อพยพชาวเอเชียคนหนึ่งในแคนาดาซึ่งรู้สึกผิดหวังเมื่อประสบการเลือกที่รักมักที่ชังที่นั่น. เธอได้พบกับพยานพระยะโฮวา และพวกเขาเริ่มศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเธอ. ภายหลัง เธอได้เขียนจดหมายแสดงความหยั่งรู้ค่าต่อพวกเขาว่า ‘พวกคุณเป็นคนผิวขาวที่น่ารักมากและใจดี. เมื่อฉันสำนึกว่าพวกคุณต่างกันจริง ๆ จากพวกผิวขาวคนอื่น ๆ ฉันก็อยากรู้ว่าทำไม. ฉันคิดแล้วคิดอีกและจึงลงความเห็นว่าพวกคุณเป็นพยานของพระเจ้า. คงต้องมีอะไรบางอย่างในคัมภีร์ไบเบิล. ที่การประชุมของคุณฉันได้เห็นฝูงชนมีทั้งคนผิวขาว, ผิวดำ, ผิวสีน้ำตาล, และผิวเหลือง ซึ่งมีหัวใจสีเดียวกัน—เห็นได้ทะลุปรุโปร่ง—เพราะพวกเขาเป็นพี่น้องกัน. ตอนนี้ฉันรู้แล้วล่ะว่าใครทำให้พวกเขาเป็นแบบนี้. ก็พระเจ้าของพวกคุณนั่นแหละ.’
พระคำของพระเจ้าบอกล่วงหน้าถึงสมัยที่ “แผ่นดินโลกจะเต็มไปด้วยความรู้ฝ่ายพระยะโฮวา.” (ยะซายา 11:9) แม้แต่ขณะนี้ สมจริงตามคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิล ชนฝูงใหญ่จำนวนหลายล้านคน “จากทุกประเทศ ทุกตระกูล ทุกชนชาติ และทุกภาษา” กำลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการนมัสการแท้. (วิวรณ์ 7:9, ล.ม.) พวกเขาคอยท่าที่จะเห็นความรักเข้ามาแทนความเกลียดชังในสังคมทั่วโลกซึ่งจะทำให้พระประสงค์ของพระยะโฮวาที่ทรงสำแดงต่ออับราฮามสำเร็จเป็นจริงในไม่ช้าที่ว่า “ครอบครัวทั้งปวงทั่วแผ่นดินโลกจะได้ความสุขสำราญ.”—กิจการ 3:25.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 หลักการต่าง ๆ ที่มีการพิจารณาในบทความนี้ใช้ได้ไม่เพียงกับอคติด้านชาติพันธุ์แต่กับอคติเนื่องจากสัญชาติ, ศาสนา, ภาษา, และวัฒนธรรมด้วย.
[ภาพหน้า 4, 5]
พระบัญญัติของพระเจ้าสอนชาวอิสราเอลให้รักคนต่างด้าว
[ภาพหน้า 5]
เราเรียนอะไรได้จากอุปมาเรื่องเพื่อนบ้านชาวซะมาเรีย?
[ภาพหน้า 6]
พระเจ้าไม่ได้ให้กลุ่มชาติพันธุ์ใดมีเหตุที่จะรู้สึกว่าเหนือกว่าชาติพันธุ์อื่น