การแสดงความนับถือต่อการชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์ของเรา
การแสดงความนับถือต่อการชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์ของเรา
“คนเหล่านี้เราจะนำมายังภูเขาบริสุทธิ์ของเราและกระทำให้เขาชื่นบานอยู่ในนิเวศอธิษฐานของเรา.”—ยะซายา 56:7, ฉบับแปลใหม่.
1. เรามีเหตุผลอะไรตามหลักพระคัมภีร์ที่จะแสดงความนับถืออย่างเหมาะสมต่อการประชุมของเรา?
พระยะโฮวาได้รวบรวมประชาชนของพระองค์ คือคริสเตียนผู้ถูกเจิมและสหายของพวกเขา ให้มานมัสการพระองค์ที่ “ภูเขาบริสุทธิ์” ของพระองค์. พระองค์กำลังทำให้พวกเขาชื่นชมยินดีอยู่ใน “นิเวศอธิษฐาน” ของพระองค์ คือพระวิหารฝ่ายวิญญาณ ซึ่งเป็น “นิเวศอธิษฐานสำหรับบรรดาชนชาติทั้งหลาย.” (ยะซายา 56:7, ฉบับแปลใหม่; มาระโก 11:17) เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงว่าการนมัสการของพระยะโฮวานั้นบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน, และสูงส่ง. โดยแสดงความนับถืออย่างเหมาะสมต่อการประชุมของเราเพื่อศึกษาและนมัสการ เราพิสูจน์ว่าเรามีทัศนะแบบเดียวกับพระยะโฮวาในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์.
2. อะไรที่แสดงให้เห็นว่าพระยะโฮวาทรงถือว่าสถานที่ที่พระองค์ทรงเลือกไว้เพื่อการนมัสการพระองค์นั้นศักดิ์สิทธิ์ และพระเยซูทรงแสดงอย่างไรว่าพระองค์ทรงถือเช่นนั้นด้วย?
2 ในชาติอิสราเอลโบราณ สถานที่ที่พระยะโฮวาทรงเลือกเพื่อการนมัสการพระองค์ต้องถือว่าศักดิ์สิทธิ์. พลับพลา รวมทั้งเครื่องตกแต่งและภาชนะใช้สอยต่าง ๆ ในพลับพลาต้องถูกเจิมและชำระให้บริสุทธิ์ “เพื่อจะเป็นบริสุทธิ์ที่สุด.” (เอ็กโซโด 30:26-29) ห้องสองห้องของสถานศักดิ์สิทธิ์ถูกเรียกว่า “ที่บริสุทธิ์” และ “ที่บริสุทธิ์ที่สุด.” (เฮ็บราย 9:2, 3) ต่อมา ได้มีการแทนที่พลับพลาด้วยพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม. ในฐานะศูนย์กลางการนมัสการพระยะโฮวา เยรูซาเลมถูกเรียกว่า “เมืองบริสุทธิ์.” (นะเฮมยา 11:1; มัดธาย 27:53) ระหว่างที่ทรงรับใช้บนแผ่นดินโลก พระเยซูเองทรงแสดงความนับถืออย่างเหมาะสมต่อพระวิหาร. พระองค์ทรงพิโรธผู้คนที่ใช้บริเวณพระวิหารอย่างที่ไม่แสดงความนับถือเพื่อการค้าขายและใช้เป็นทางเดินลัด.—มาระโก 11:15, 16.
3. อะไรแสดงชัดถึงความศักดิ์สิทธิ์ของการประชุมกันของชาติอิสราเอล?
3 ชาวอิสราเอลประชุมกันเป็นประจำเพื่อนมัสการพระยะโฮวาและฟังการอ่านพระบัญญัติของพระองค์. มีบางวันในเทศกาลของพวกเขาที่ถูกเรียกว่าการประชุมบริสุทธิ์หรือการประชุมตามพิธี ซึ่งแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของการชุมนุมเหล่านั้น. (เลวีติโก 23:2, 3, 36, 37, ฉบับแปลใหม่) ณ การประชุมสาธารณะในสมัยเอษราและนะเฮมยา พวกเลวี “ได้ช่วยประชาชนให้เข้าใจธรรมบัญญัติ.” เนื่องจาก “ประชาชนได้ร้องไห้เมื่อเขาได้ยินถ้อยคำของธรรมบัญญัติ” พวกเลวี “จึงให้ประชาชนเงียบกล่าวว่า ‘จงนิ่งเสียเพราะวันนี้เป็นวันบริสุทธิ์.’ ” หลังจากนั้น ชาวอิสราเอลฉลองเทศกาลตั้งทับอาศัยเจ็ดวันด้วย “ความเปรมปรีดิ์ยิ่งนัก.” นอกจากนั้น “ทุกวันท่านอ่านธรรมบัญญัติของพระเจ้า ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย เขาถือเทศกาลเลี้ยงอยู่เจ็ดวันและในวันที่แปดมีการชุมนุมตามพิธีตามกฎหมาย.” (นะเฮมยา 8:7-11, 17, 18, ฉบับแปลใหม่) โอกาสเหล่านี้นับว่าบริสุทธิ์อย่างแท้จริงซึ่งเรียกร้องให้คนที่เข้าร่วมต้องเอาใจใส่ด้วยความนับถือ.
การประชุมของเราเป็นการชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์
4, 5. การประชุมของเรามีลักษณะเด่นอะไรที่ให้หลักฐานว่าเป็นการชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์?
4 จริงอยู่ ในทุกวันนี้พระยะโฮวาไม่มีเมืองใดบนแผ่นดินโลกที่เป็นเมืองบริสุทธิ์ พร้อมกับมีพระวิหารพิเศษที่อุทิศแด่การนมัสการพระองค์. แต่เราไม่ควรลืมข้อเท็จจริงที่ว่าการนะเฮมยา 8:8, ล.ม.) การประชุมของเราทุกรายการเริ่มและจบด้วยการอธิษฐาน และในการประชุมส่วนใหญ่เราร้องเพลงสรรเสริญพระยะโฮวาด้วย. (บทเพลงสรรเสริญ 26:12) การประชุมประชาคมเป็นส่วนหนึ่งของการนมัสการของเราอย่างแท้จริงและเรียกร้องให้เราเองต้องมีใจเลื่อมใสแรงกล้าและใส่ใจด้วยความนับถือ.
ประชุมเพื่อการนมัสการพระยะโฮวาเป็นการชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์. สามครั้งต่อสัปดาห์ เราประชุมกันเพื่ออ่านและศึกษาพระคัมภีร์. มีการ “อธิบาย” พระคำของพระยะโฮวา และเช่นเดียวกับในสมัยของนะเฮมยา มีการ “ชี้แจงความหมาย.” (5 พระยะโฮวาทรงอวยพรประชาชนของพระองค์เมื่อพวกเขาประชุมร่วมกันเพื่อนมัสการพระองค์, ศึกษาพระคำของพระองค์, และเพลิดเพลินกับมิตรภาพในหมู่คริสเตียน. เมื่อถึงเวลาประชุม เราสามารถแน่ใจว่า “พระยะโฮวาได้ทรงประทานพระพร” ณ ที่แห่งนั้น. (บทเพลงสรรเสริญ 133:1, 3) เรารับเอาพระพรนั้นหากเราเข้าร่วมและตั้งใจติดตามรายการทางฝ่ายวิญญาณ. นอกจากนั้น พระเยซูตรัสว่า “มีสองสามคนประชุมกันที่ไหน ๆ ในนามของเรา ๆ จะอยู่ท่ามกลางเขาที่นั่น.” เมื่อดูบริบท คำกล่าวนี้ใช้กับคริสเตียนผู้ปกครองที่ประชุมกันเพื่อจัดการกับปัญหาร้ายแรงระหว่างบุคคล แต่อาจใช้ข้อนี้กับการประชุมของเราได้ด้วย. (มัดธาย 18:20) หากพระคริสต์ทรงอยู่ด้วยโดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์เมื่อคริสเตียนประชุมด้วยกันในพระนามของพระองค์ การประชุมนั้นก็น่าจะถือว่าศักดิ์สิทธิ์มิใช่หรือ?
6. อาจกล่าวอะไรได้เกี่ยวกับสถานที่ประชุมของเรา ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่?
6 เป็นความจริงที่ว่าพระยะโฮวาไม่ได้สถิตในวิหารที่มนุษย์สร้าง. แต่กระนั้น หอประชุมราชอาณาจักรเป็นสถานนมัสการแท้. (กิจการ 7:48; 17:24) เราประชุมกันที่นั่นเพื่อศึกษาพระคำของพระยะโฮวา, อธิษฐานถึงพระองค์, และร้องเพลงสรรเสริญพระองค์. เป็นเช่นนั้นด้วยกับหอประชุมใหญ่ของเรา. อาคารที่ใหญ่กว่าซึ่งเราเช่าสำหรับจัดการประชุมภาค เช่น ศูนย์การประชุม, ห้องจัดแสดง, หรือสนามกีฬา กลายเป็นสถานนมัสการขณะที่ถูกใช้สำหรับ การชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์ของเรา. ในโอกาสเหล่านี้เพื่อการนมัสการ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เราควรแสดงความนับถือ อีกทั้งเจตคติและความประพฤติของเราควรสะท้อนให้เห็นว่าเรามีความนับถือเช่นนั้น.
วิธีแสดงความนับถือต่อการประชุมของเรา
7. เราสามารถแสดงความนับถือต่อการประชุมของเราอย่างที่เห็นได้ชัดเจนโดยวิธีใด?
7 มีบางวิธีที่เราสามารถแสดงความนับถือต่อการประชุมของเราอย่างที่เห็นได้ชัดเจน. วิธีหนึ่งคือโดยการอยู่ร่วมร้องเพลงราชอาณาจักร. เนื้อร้องของหลายเพลงอยู่ในรูปคำอธิษฐานและเพราะเหตุนั้นจึงควรร้องอย่างที่แสดงความนับถือ. โดยยกข้อความจากเพลงสรรเสริญบท 22 อัครสาวกเปาโลอ้างถึงข้อความดังกล่าวว่าเป็นคำตรัสของพระเยซู ที่ว่า “เราจะประกาศพระนามของพระองค์แก่พี่น้องของเรา เราจะร้องเพลงสรรเสริญพระองค์ท่ามกลางชุมนุมชน.” (เฮ็บราย 2:12, ฉบับแปล 2002) ดังนั้น เราควรพยายามทำให้เป็นนิสัยที่จะอยู่พร้อมในที่นั่งก่อนประธานจะประกาศชื่อบทเพลง แล้วก็ร้องเพลงนั้นพร้อมกับคิดถึงความหมายของเนื้อเพลงไปด้วย. ขอให้การร้องเพลงของเราสะท้อนถึงความรู้สึกอย่างที่ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญได้เขียนไว้ว่า “ข้าพเจ้าจะขอบพระเดชพระคุณพระยะโฮวาในท่ามกลางที่ปรึกษาของคนเที่ยงธรรมและในที่ประชุมชน.” (บทเพลงสรรเสริญ 111:1) ใช่แล้ว การร้องเพลงสรรเสริญพระยะโฮวาเป็นเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่เราควรมาถึงก่อนการประชุมเริ่มและอยู่จนกระทั่งจบการประชุม.
8. ตัวอย่างอะไรในคัมภีร์ไบเบิลแสดงว่าเราควรเอาใจใส่ด้วยความนับถือต่อคำอธิษฐาน ณ การประชุม?
8 อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้แก่การประชุมของเราทุกรายการคือคำทูลอธิษฐานด้วยความรู้สึกจากหัวใจที่กล่าวเพื่อทุกคนที่เข้าร่วม. ในโอกาสหนึ่ง คริสเตียนในศตวรรษแรกในกรุงเยรูซาเลมประชุมด้วยกันและ “พร้อมใจกันเปล่งเสียงสรรเสริญพระเจ้า” ในคำอธิษฐานด้วยใจแรงกล้า. ผลก็คือ พวกเขา “กล่าวคำของพระเจ้าด้วยใจกล้าหาญ” เรื่อยไป—แม้ถูกข่มเหง. (กิจการ 4:24-31) เรานึกภาพออกไหมว่ามีใครบางคนที่อยู่ที่นั่นใจลอยขณะอธิษฐาน? ไม่เป็นอย่างนั้นแน่ ๆ เพราะพวกเขา “พร้อมใจกัน” อธิษฐาน. คำอธิษฐาน ณ การประชุมของเราสะท้อนถึงความรู้สึกของทุกคนที่เข้าร่วม. เราจึงควรเอาใจใส่ด้วยความนับถือต่อคำอธิษฐานเหล่านี้.
9. เราแสดงความนับถือต่อการประชุมอันศักดิ์สิทธิ์ด้วยเสื้อผ้าและความประพฤติของเราได้โดยวิธีใด?
9 นอกจากนั้น เราสามารถแสดงว่าเรานับถือความศักดิ์สิทธิ์ของการประชุมของเรามากเพียงไรโดยวิธีที่เราแต่งกาย. การปรากฏกายของเราทั้งในเรื่องเสื้อผ้าและทรงผมสามารถเสริมให้การประชุมของเราเป็นที่น่านับถือยิ่งขึ้น. อัครสาวกเปาโลแนะนำดังนี้: “ข้าพเจ้าปรารถนาให้ชายทั้งหลายอธิษฐานในที่ประชุมทุกแห่ง, ด้วยยกมืออันบริสุทธิ์, ปราศจากโทโสและการเถียงกัน. ฝ่ายพวกผู้หญิงก็เหมือนกัน, ให้แต่งตัวด้วยผ้านุ่งห่มอย่างสุภาพ, ให้รู้จักละอายและหงิมเสงี่ยม, ไม่ใช่ถักผมหรือประดับกายด้วยเครื่องทองและมุกดาหรือมีผ้านุ่งห่มอย่างแพง, แต่ให้ประดับกายด้วยกิจการอันดี, ซึ่งสมกับหญิงที่ประกาศตัวว่าเป็นคนธรรม.” (1 ติโมเธียว 2:8-10) เมื่อเราเข้าร่วมการประชุมภาคขนาดใหญ่ซึ่งจัดในสนามกีฬากลางแจ้ง ชุดที่เราสวมใส่สามารถเลือกให้เหมาะกับสภาพอากาศและในขณะเดียวกันก็ยังเป็นแบบที่น่านับถือ. นอกจากนั้น ความนับถือที่เรามีต่อการประชุมจะช่วยให้เรางดเว้นการรับประทานหรือการเคี้ยวหมากฝรั่งระหว่างที่ระเบียบวาระการประชุมกำลังดำเนินอยู่. การแต่งกายและความประพฤติที่เหมาะสมของเรา ณ การประชุมเป็นการถวายเกียรติแด่พระยะโฮวาพระเจ้าและการนมัสการพระองค์ ทั้งยังเป็นการให้เกียรติเพื่อนผู้นมัสการด้วย.
ความประพฤติที่สมกับครัวเรือนของพระเจ้า
10. อัครสาวกเปาโลแสดงอย่างไรว่าจำเป็นต้องมีมาตรฐานสูงด้านการประพฤติ ณ การประชุมคริสเตียนของเรา?
10 ใน 1 โกรินโธบท 14 เราพบคำแนะนำที่ฉลาดสุขุมของอัครสาวกเปาโลในเรื่องที่ว่าควรดำเนินการประชุมคริสเตียนอย่างไร. ท่านกล่าวลงท้ายว่า “ให้ทุกสิ่งดำเนินไปอย่างที่ถูกที่ควรและเป็นไปตามระเบียบ.” (1 โกรินโธ 14:40, ล.ม.) การประชุมของเราเป็นส่วนสำคัญในกิจกรรมของประชาคมคริสเตียน และความประพฤติของผู้เข้าร่วมต้องเป็นแบบที่เหมาะกับครัวเรือนของพระเจ้า.
11, 12. (ก) อะไรคือสิ่งที่ควรประทับลงในจิตใจของเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมการประชุม? (ข) เด็ก ๆ สามารถแสดงความเชื่อของตน ณ การประชุมในวิธีที่เหมาะสมได้โดยวิธีใด?
ท่านผู้ประกาศ 5:1, ฉบับแปลใหม่) โมเซสอนชาวอิสราเอลให้เข้ามาประชุมร่วมกัน ทั้งผู้ใหญ่และ “เด็กทั้งปวง.” ท่านกล่าวว่า “จงให้คนทั้งปวงมาประชุมกัน . . . ให้เขาทั้งหลายได้ยินฟัง, และกลัวเกรงพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้า, และเชื่อฟังประพฤติตามพระบัญญัติทั้งปวงนี้; และให้บุตรทั้งหลายของเขาซึ่งยังมิได้รู้จักอะไร, ได้ยิน, และเรียนรู้ ที่จะเกรงกลัวพระยะโฮวา.”—พระบัญญัติ 31:12, 13.
11 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ จำเป็นต้องได้รับการสอนในเรื่องวิธีประพฤติตัว ณ การประชุม. บิดามารดาคริสเตียนควรอธิบายให้ลูก ๆ เข้าใจว่าหอประชุมราชอาณาจักรและสถานที่ที่เราศึกษาหนังสือประจำประชาคมไม่ใช่ที่เล่น แต่เป็นที่ที่เรานมัสการพระยะโฮวาและศึกษาพระคำของพระองค์. กษัตริย์ซะโลโมผู้ฉลาดสุขุมเขียนว่า “เจ้าจงระวังเท้าของเจ้าเมื่อเจ้าไปยังพระนิเวศของพระเจ้า; [จง] เข้าใกล้ชิดเพื่อจะฟัง.” (12 คล้ายกันในทุกวันนี้ เด็กเล็กเข้าร่วมการประชุมกับพ่อแม่โดยมีจุดประสงค์หลักคือเพื่อฟังและเรียนรู้. ทันทีที่พวกเขาสามารถติดตามและเข้าใจอย่างน้อยในเรื่องความจริงพื้นฐานของคัมภีร์ไบเบิล เด็ก ๆ ก็สามารถ “ประกาศอย่างเปิดเผย” ถึงความเชื่อของเขาโดยเข้าส่วนร่วมในการแสดงความเห็นสั้น ๆ. (โรม 10:10, ล.ม.) เด็กเล็กอาจเริ่มด้วยการตอบเพียงไม่กี่คำสำหรับคำถามที่เขาเข้าใจ. ทีแรก เขาอาจต้องอ่านตอบ แต่ในที่สุดเขาจะพยายามตอบเป็นคำพูดของเขาเอง. นี่ย่อมเป็นประโยชน์และน่าเพลิดเพลินสำหรับตัวเด็กเอง และการแสดงความเชื่อเช่นนั้นด้วยความสมัครใจของเขาเองทำให้หัวใจของผู้ใหญ่ในที่ประชุมเบิกบานยินดี. ตามธรรมดาแล้ว บิดามารดาเองจะวางตัวอย่างในการแสดงความเห็น. หากเป็นไปได้ ก็นับว่าดีที่จะจัดหาให้เด็กมีคัมภีร์ไบเบิล, หนังสือเพลง, และหนังสือศึกษาของเขาเอง. พวกเขาควรเรียนรู้ที่จะใช้หนังสือเหล่านั้นด้วยความนับถืออย่างเหมาะสม. ทั้งหมดนี้จะประทับลงในจิตใจของเด็ก ๆ ว่าการประชุมต่าง ๆ ของเราเป็นการชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์.
13. เราอยากให้คนที่เข้ามาร่วมการประชุมเป็นครั้งแรกรู้สึกเช่นไร?
13 แน่นอน เราไม่ต้องการให้การประชุมของเรามีลักษณะคล้าย ๆ กับการประกอบพิธีทางศาสนาในโบสถ์ต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนจักร. การประกอบพิธีดังกล่าวอาจมีบรรยากาศแบบเย็นชาไร้ความรู้สึก, เคร่งขรึม, หรืออึกทึกครึกโครมราวกับคอนเสิร์ตดนตรีร็อก. เราต้องการให้การประชุมของเราที่หอประชุมราชอาณาจักรมีบรรยากาศอบอุ่นและดึงดูดใจ แต่ไม่ถึงกับปล่อยสบาย ๆ คล้าย ๆ กับชมรมที่พบปะสังสรรค์กันอย่างไม่เป็นทางการ. เราประชุมกันเพื่อนมัสการพระยะโฮวา ดังนั้นการประชุมของเราควรเป็นที่น่านับถือเสมอ. สิ่งที่เราปรารถนาก็คือ หลังจากฟังเนื้อหาที่มีการนำเสนอและสังเกตดูการประพฤติของเราและเด็ก ๆ คนที่เข้ามาร่วมการประชุมเป็นครั้งแรกจะกล่าวว่า “พระเจ้าสถิตอยู่ท่ามกลางพวกท่านเป็นแน่.”—1 โกรินโธ 14:25.
ลักษณะอันถาวรของการนมัสการของเรา
14, 15. (ก) เราจะหลีกเลี่ยง ‘การเพิกเฉยต่อนิเวศของพระเจ้าของเรา’ ได้โดยวิธีใด? (ข) ยะซายา 66:23 กำลังสำเร็จเป็นจริงอยู่แล้วอย่างไร?
14 ดังกล่าวไปแล้วข้างต้น พระยะโฮวากำลังรวบรวมประชาชนของพระองค์และทำให้พวกเขาชื่นชมยินดีใน ยะซายา 56:7, ฉบับแปลใหม่) นะเฮมยาชายผู้ซื่อสัตย์ได้เตือนใจเพื่อนร่วมชาติชาวยิวว่า พวกเขาควรแสดงความนับถืออย่างเหมาะสมต่อพระวิหารที่เป็นตัวตึกโดยสนับสนุนพระวิหารนั้นทางด้านวัตถุ. ท่านกล่าวว่า “เรา [ไม่ควร] เพิกเฉยต่อพระนิเวศของพระเจ้าของเรา.” (นะเฮมยา 10:39, ฉบับแปลใหม่) นอกจากนั้น เราไม่ควรเพิกเฉยต่อคำเชิญของพระยะโฮวาที่ให้นมัสการพระองค์ใน “นิเวศอธิษฐาน” ของพระองค์.
“นิเวศอธิษฐาน” ของพระองค์ กล่าวคือพระวิหารฝ่ายวิญญาณ. (15 เพื่อแสดงถึงความจำเป็นต้องประชุมร่วมกันเป็นประจำเพื่อนมัสการ ยะซายากล่าวพยากรณ์ดังนี้: “ ‘ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนคือตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 1 ค่ำ และตั้งแต่ซะบาโตถึงซะบาโต เนื้อหนังทั้งสิ้นจะมาก้มลงต่อหน้าเรา’ พระยะโฮวาได้ตรัส.” (ยะซายา 66:23, ล.ม.) เหตุการณ์นี้กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน. ทุกสัปดาห์ของแต่ละเดือน คริสเตียนที่อุทิศตัวมารวมตัวกันเพื่อนมัสการพระยะโฮวาเป็นประจำ. นอกเหนือจากวิธีอื่น ๆ แล้ว พวกเขาทำอย่างนี้โดยเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนและเข้าร่วมงานเผยแพร่แก่สาธารณชน. คุณเป็นคนหนึ่งที่ ‘มาก้มลงต่อหน้าพระยะโฮวา’ เป็นประจำไหม?
16. เหตุใดการเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำควรเป็นลักษณะอันถาวรของชีวิตเราในเวลานี้?
16 ยะซายา 66:23 จะเป็นจริงอย่างเต็มที่กับชีวิตในโลกใหม่ที่พระยะโฮวาทรงสัญญา. เมื่อถึงเวลานั้น “เนื้อหนังทั้งสิ้น” ในความหมายตามตัวอักษรจะ “มาก้มลงต่อหน้า” หรือนมัสการพระยะโฮวาตลอดชั่วนิรันดร์ สัปดาห์แล้วสัปดาห์เล่าและเดือนแล้วเดือนเล่า. เนื่องจากการประชุมร่วมกันเช่นนั้นเพื่อนมัสการพระยะโฮวาจะเป็นลักษณะอันถาวรของชีวิตฝ่ายวิญญาณของเราในระบบใหม่ เราควรทำให้การเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำ ณ การชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์เป็นลักษณะอันถาวรของชีวิตเราเสียแต่บัดนี้มิใช่หรือ?
17. เหตุใดเราจำเป็นต้องประชุม “ให้มากยิ่งขึ้นเมื่อ [เรา] เห็นวันเวลานั้นใกล้เข้ามาแล้ว”?
17 ขณะที่อวสานใกล้เข้ามา เราควรตั้งใจแน่วแน่ยิ่งขึ้นกว่าเดิมที่จะเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนเพื่อนมัสการ. ด้วยความนับถือที่มีต่อความศักดิ์สิทธิ์ของการประชุมของเรา เราไม่ปล่อยให้งานฝ่ายโลก, การบ้าน, หรือการศึกษาภาคค่ำเป็นเหตุให้เราไม่ได้ประชุมกับเพื่อนร่วมความเชื่อเป็นประจำ. เราจำเป็นต้องได้รับกำลังที่มาโดยทางการคบหาสมาคม. การประชุมประชาคมทำให้เรามีโอกาสทำความรู้จักกัน, หนุนใจกัน, และกระตุ้นให้บังเกิด “ใจรักซึ่งกันและกันและกระทำการดี.” เราจำเป็นต้องทำอย่างนี้ “ให้มากยิ่งขึ้นเมื่อ [เรา] เห็นวันเวลานั้นใกล้เข้ามาแล้ว.” (เฮ็บราย 10:24, 25) ดังนั้น ขอให้เราแสดงความนับถืออย่างเหมาะสมต่อการชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์ของเราเสมอโดยเข้าร่วมเป็นประจำ, สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม, และมีการประพฤติที่ดี. โดยทำอย่างนั้น เราแสดงว่าเรามีทัศนะแบบเดียวกับพระยะโฮวาในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์.
เพื่อทบทวน
• อะไรแสดงว่าการชุมนุมของประชาชนของพระยะโฮวานั้นควรถือว่าศักดิ์สิทธิ์?
• ลักษณะอะไรของการประชุมของเราที่เป็นหลักฐานว่าเป็นการชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์?
• เด็ก ๆ สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าพวกเขานับถือความศักดิ์สิทธิ์ของการประชุมของเรา?
• เหตุใดเราควรทำให้การประชุมเป็นประจำเป็นลักษณะอันถาวรของชีวิตเรา?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 28]
การประชุมเพื่อนมัสการพระยะโฮวาเป็นการชุมนุมอันศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะจัดที่ไหนก็ตาม
[ภาพหน้า 31]
เด็กเล็กของเราเข้าร่วมการประชุมเพื่อฟังและเรียนรู้