“สำเร็จในสวรรค์อย่างไร, ก็ให้สำเร็จในแผ่นดินโลกเหมือนกัน”
“สำเร็จในสวรรค์อย่างไร, ก็ให้สำเร็จในแผ่นดินโลกเหมือนกัน”
“ความเชื่อของคาทอลิกระบุถึงบั้นปลายสี่อย่าง นั่นคือ ความตาย, การพิพากษา, นรก, และสวรรค์.”—คาทอลิซิซึม เรียบเรียงโดยจอร์ช บรานท์.
โปรดสังเกตว่าในรายการสี่อย่างที่อาจเกิดกับมนุษยชาติ ไม่มีการกล่าวถึงแผ่นดินโลก. นี่ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเลยเนื่องจากคริสตจักรคาทอลิกยึดติดกับความเชื่อที่ว่าสักวันหนึ่งแผ่นดินโลกจะถูกทำลาย เช่นเดียวกับความเชื่อของศาสนาอื่น ๆ อีกบางศาสนา. พจนานุกรมเกี่ยวกับเทววิทยาคาทอลิก (ภาษาฝรั่งเศส) ทำให้เรื่องนี้ชัดเจนโดยให้คำอธิบายภายใต้หัวเรื่อง “อวสานของโลก” ว่า “คริสตจักรคาทอลิกเชื่อและสอนว่า โลกในปัจจุบันนี้ อย่างที่พระเจ้าสร้างมาและดำรงอยู่นั้น จะไม่คงอยู่ตลอดไป.” คู่มือถามตอบของคาทอลิกที่ออกเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เสนอแนวคิดนี้ด้วยโดยกล่าวว่า “โลกของเรา . . . ถูกกำหนดให้ดับสูญ.” แต่ถ้าโลกของเรากำลังจะดับสูญ จะว่าอย่างไรกับคำสัญญาในคัมภีร์ไบเบิลเรื่องอุทยานบนแผ่นดินโลก?
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวอย่างชัดเจนว่าในอนาคตจะมีอุทยานบนแผ่นดินโลก. ตัวอย่างเช่น ผู้พยากรณ์ยะซายาพรรณนายะซายา 65:21, 22, ฉบับแปลใหม่) ชาวยิว ซึ่งเป็นพวกที่พระเจ้าทรงให้คำสัญญาเหล่านี้ เชื่อมั่นว่าแผ่นดินของพวกเขา—ที่จริง ทั่วทั้งโลก—สักวันหนึ่งจะกลายเป็นอุทยานซึ่งมนุษยชาติจะได้อาศัยอยู่ตลอดไป.
เกี่ยวกับแผ่นดินโลกรวมถึงผู้คนที่อาศัยในโลกดังนี้: “เขาจะสร้างบ้านและเข้าอาศัยอยู่ในนั้น เขาจะปลูกสวนองุ่นและกินผลของมัน เขาจะไม่สร้างและคนอื่นเข้าอาศัยอยู่ เขาจะไม่ปลูกและคนอื่นกิน เพราะอายุชนชาติของเราจะเป็นเหมือนอายุของต้นไม้ และผู้เลือกสรรของเราจะใช้ผลงานน้ำมือของเขานาน.” (บทเพลงสรรเสริญบท 37 ยืนยันความหวังนี้. “คนทั้งหลายที่มีใจถ่อมลงจะได้แผ่นดินเป็นมฤดก.” (บทเพลงสรรเสริญ 37:11) ข้อคัมภีร์นี้ไม่ได้กล่าวถึงการพาชาติอิสราเอลกลับคืนสู่แผ่นดินตามคำสัญญาแค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น. เพลงสรรเสริญบทเดียวกันนี้เน้นว่า “คนสัตย์ธรรมจะได้แผ่นดินเป็นมฤดก, และจะอาศัยอยู่ที่นั่นต่อไปเป็นนิตย์.” (บทเพลงสรรเสริญ 37:29) * โปรดสังเกตว่าเพลงสรรเสริญบทนี้กล่าวว่า ชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลกเป็นบำเหน็จรางวัลสำหรับ ‘คนถ่อมใจ’. ในคัมภีร์ไบเบิลภาษาฝรั่งเศสฉบับหนึ่ง คำอธิบายเกี่ยวกับข้อคัมภีร์นี้กล่าวว่า คำ ‘คนถ่อมใจ’ “มีความหมายกว้างกว่าที่มีปรากฏในฉบับแปลต่าง ๆ; คำนี้หมายรวมถึงคนที่ถูกเอาเปรียบ, คนที่ทนทุกข์หรือถูกข่มเหงเพื่อเห็นแก่ยาห์เวห์ [พระยะโฮวา], คนที่ถ่อมตัวลงยอมอยูใต้อำนาจพระเจ้า.”
บนแผ่นดินโลกหรือในสวรรค์?
ในคำเทศน์บนภูเขา พระเยซูทรงให้คำสัญญาที่เตือนเราให้นึกถึงข้อพระคัมภีร์ข้างต้นดังนี้: “บุคคลผู้ใดมีใจอ่อนสุภาพก็เป็นสุข, เพราะว่าเขาจะได้รับความยืนยงในแผ่นดินโลกเป็นมฤดก.” (มัดธาย 5:5) มีการย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า แผ่นดินโลกจะเป็นบำเหน็จถาวรสำหรับผู้ซื่อสัตย์. อย่างไรก็ตาม พระเยซูกล่าวกับเหล่าอัครสาวกอย่างชัดเจนว่าพระองค์กำลังเตรียมที่สำหรับพวกเขา “ในราชนิเวศแห่งพระบิดาของ [พระองค์]” และพวกเขาจะอยู่ในสวรรค์กับพระองค์. (โยฮัน 14:1, 2, ล.ม.; ลูกา 12:32; 1 เปโตร 1:3, 4) แล้วถ้าเป็นอย่างนั้น เราควรเข้าใจคำสัญญาเรื่องพระพรบนแผ่นดินโลกอย่างไร? คำสัญญาเหล่านั้นยังคงใช้ได้ในทุกวันนี้ไหมและใช้กับใคร?
ผู้คงแก่เรียนด้านคัมภีร์ไบเบิลบางคนกล่าวว่า “แผ่นดินโลก” ที่กล่าวถึงในคำเทศน์บนภูเขาและแม้แต่ในบทเพลงสรรเสริญบท 37 เป็นเพียงความหมายเป็นนัย. ในอรรถาธิบายบิบเลเดอ เกลร์ของ เอฟ. วีกูรูซ์ อธิบายว่าถ้อยคำเหล่านี้ “มีความหมายเป็นนัยหมายถึงสวรรค์และคริสตจักร.” ตามที่ เอ็ม. ลากรองช์ นักค้นคว้าด้านคัมภีร์ไบเบิลชาวฝรั่งเศสกล่าวไว้ พระพรนี้ “ไม่ใช่คำสัญญาที่ว่าคนถ่อมใจจะได้ครอบครองแผ่นดินโลกที่เขาอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะในระบบปัจจุบันหรือโลกที่สมบูรณ์ในอนาคต แต่เป็นสถานที่ ไม่ว่าอาจจะเป็นที่ไหนก็ตาม ซึ่งเป็นอาณาจักรฝ่ายสวรรค์.” นักค้นคว้าด้านคัมภีร์ไบเบิลอีกคนหนึ่งกล่าวว่า นั่นเป็น “การให้ความสำคัญแก่แผ่นดินโลกในแบบที่มีความหมายเป็นนัยเพื่ออ้างถึงสวรรค์.” ยังมีนักค้นคว้าคนอื่น ๆ ที่มีความเห็นว่า “แผ่นดินตามคำสัญญาหรือคะนาอันมีความหมายเป็นนัยและเป็นภาพเล็งถึงถิ่นฐานที่อยู่เบื้องบน ซึ่งก็คือราชอาณาจักรของพระเจ้าที่ได้รับการรับรองว่าจะเป็นของคนชอบธรรม. นี่เป็นความหมายของข้อความในบทเพลงสรรเสริญ 37 และในที่อื่น ๆ ด้วย.” แต่เร็วเกินไปไหมที่เราควรจะบอกว่าคำสัญญาของพระเจ้าไม่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินโลก?
พระประสงค์ชั่วนิรันดร์สำหรับแผ่นดินโลก
ในตอนเริ่มต้น แผ่นดินโลกเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับมนุษยชาติ. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญเขียนว่า “ฟ้าสวรรค์เป็นฟ้าสวรรค์ของพระยะโฮวา; แต่แผ่นดินโลกพระองค์ได้ประทานแก่มนุษย์.” (บทเพลงสรรเสริญ 115:16) ด้วยเหตุนั้น พระประสงค์แรกเดิมของพระเจ้าสำหรับมนุษยชาติจึงเกี่ยวข้องกับแผ่นดินโลก ไม่ใช่สวรรค์. พระยะโฮวามอบหมายหน้าที่ให้มนุษย์คู่แรกขยายสวนเอเดนออกไปจนเต็มแผ่นดินโลก. (เยเนซิศ 1:28) พระประสงค์นี้ไม่ใช่แค่ชั่วคราว. พระยะโฮวาทรงยืนยันในพระคำของพระองค์ว่าแผ่นดินโลกจะดำรงอยู่ตลอดไปดังนี้: “กาลสมัยของมนุษย์ต่างหมุนเวียนเปลี่ยนไป, แต่แผ่นดินโลกนี้ตั้งมั่นคงอยู่เป็นนิจ.”—ท่านผู้ประกาศ 1:4; 1 โครนิกา 16:30; ยะซายา 45:18.
คำสัญญาของพระเจ้าไม่เคยล้มเหลว เพราะว่าพระองค์เป็นผู้สูงสุด และพระองค์ทรงรับรองว่าคำสัญญาเหล่านั้นจะสำเร็จเป็นจริง. โดยใช้วัฏจักรของน้ำเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ คัมภีร์ไบเบิลอธิบายว่าความสำเร็จเป็นจริงในคำสัญญาของพระเจ้าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน: “เพราะฝนและหิมะตกลงมาจากท้องฟ้า, และไม่ได้กลับไปที่เดิมโดยมิได้รดพื้นแผ่นดิน, และทำให้พื้นแผ่นดินนั้นเกิดดอกออกผล . . . ฉันใด, ถ้อยคำ [ถ้อยคำของพระเจ้า] ที่ออกไปจากปากของเราจะไม่ได้กลับมายังเราโดยไร้ผล, และโดยยังมิได้ทำอะไรให้สำเร็จตามความพอใจของเรา, และสัมฤทธิ์ผลสมประสงค์ดังที่เราได้ใช้มันไปทำฉันนั้น.” (ยะซายา 55:10, 11) พระเจ้าทรงสัญญาไว้กับมนุษย์. เวลาอาจต้องผ่านไปสักระยะหนึ่งก่อนที่คำสัญญาจะเป็นจริง แต่จะไม่ล้มเหลวอย่างแน่นอน. คำสัญญาต่าง ๆ จะ “กลับ” ไปหาพระองค์โดยที่ได้สำเร็จผลทุกประการตามที่ทรงตรัสไว้.
แน่นอนว่าพระยะโฮวาทรง ‘พอพระทัย’ กับการสร้างแผ่นดินโลกเพื่อมนุษยชาติ. ในช่วงปลายวันที่หกแห่งการทรงสร้าง พระองค์ทรงประกาศว่าทุกสิ่ง “ดีนัก.” (เยเนซิศ 1:31) การเปลี่ยนแผ่นดินโลกให้เป็นอุทยานตลอดไปเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระประสงค์ของพระเจ้าที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ. กระนั้น คำสัญญาของพระเจ้า ‘จะไม่ได้กลับมายังพระองค์โดยไร้ผล.’ คำสัญญาทุกประการเกี่ยวกับชีวิตสมบูรณ์บนแผ่นดินโลก ซึ่งเป็นที่ที่มนุษย์จะอาศัยอยู่ตลอดไปอย่างมีสันติสุขและปลอดภัย จะเป็นจริง.—บทเพลงสรรเสริญ 135:6; ยะซายา 46:10.
พระประสงค์ของพระเจ้าจะสำเร็จแน่นอน
บาปของอาดามและฮาวา บิดามารดาคู่แรก เป็นอุปสรรคชั่วคราวที่ขัดขวางพระประสงค์แรกเดิมของพระเจ้าในการทำให้โลกเป็นอุทยาน. หลังจากไม่เชื่อฟัง ทั้งสองถูกไล่ออกจากสวนเอเดน. ด้วยเหตุนั้น พวกเขาจึงสูญเสียสิทธิพิเศษที่จะมีบทบาทในการทำให้พระประสงค์ของพระเจ้าสำเร็จที่จะให้มนุษย์สมบูรณ์อาศัยอยู่ในโลกที่เป็นอุทยาน. กระนั้น พระเจ้าทรงเตรียมการเพื่อให้พระประสงค์ของพระองค์บรรลุผลสำเร็จ. โดยวิธีใด?—เยเนซิศ 3:17-19, 23.
สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในสวนเอเดนเปรียบได้กับชายคนหนึ่งที่เริ่มสร้างบ้านในทำเลที่ดีมาก. ขณะที่เขาวางฐานราก มีคนหนึ่งผ่านมาและทำลายฐานรากนั้น. แทนที่เขาจะล้มเลิกโครงการก่อสร้าง เขาลงมือดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าบ้านจะสร้างเสร็จ. แม้ว่างานที่ทำเพิ่มเติมนี้ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีข้อสงสัยว่าเป็นเรื่องถูกต้องเหมาะสมที่จะทำให้โครงการที่เริ่มไว้แล้วนี้สำเร็จ.
ในทำนองเดียวกัน พระเจ้าทรงจัดเตรียมเพื่อให้แน่ใจว่า พระประสงค์ของพระองค์จะสำเร็จ. ไม่นานหลังจากบิดามารดาคู่แรกทำบาป พระองค์ทรงประกาศเรื่องความหวังสำหรับลูกหลานของพวกเขา นั่นคือ “พงศ์พันธุ์” ซึ่งจะลบล้างความเสียหายทั้งหมด. เพื่อทำให้คำพยากรณ์นี้สำเร็จ พงศ์พันธุ์หลักจะต้องเป็นพระเยซูพระบุตรของพระเจ้า ผู้เสด็จลงมาบนแผ่นดินโลกและประทานชีวิตของพระองค์เป็นเครื่องบูชาไถ่มนุษยชาติ. (ฆะลาเตีย 3:16; มัดธาย 20:28) เมื่อคืนพระชนม์และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ พระเยซูจะกลายเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักร. แรกทีเดียว พระเยซูทรงเป็นผู้ถ่อมใจที่ได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดกร่วมกับผู้ซื่อสัตย์ที่ถูกเลือกสรรซึ่งได้รับการปลุกให้เป็นขึ้นจากตายสู่ชีวิตฝ่ายสวรรค์และจะเป็นผู้ปกครองร่วมกับพระองค์ในราชอาณาจักรนี้. (บทเพลงสรรเสริญ 2:6-9) ต่อมา รัฐบาลนี้จะบริหารการปกครองเหนือแผ่นดินโลกเพื่อทำให้พระประสงค์แรกเดิมของพระเจ้าบรรลุผลสำเร็จและจะเปลี่ยนแผ่นดินโลกให้เป็นอุทยาน. คนถ่อมใจหลายล้านคนจะ “ได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก” ในแง่ที่ว่าพวกเขาจะได้รับประโยชน์จากการปกครองของราชอาณาจักรนี้ซึ่งปกครองโดยพระเยซูคริสต์และผู้ร่วมปกครองกับพระองค์.—เยเนซิศ 3:15; ดานิเอล 2:44; กิจการ 2:32, 33; วิวรณ์ 20:5, 6.
“สำเร็จในสวรรค์อย่างไร, ก็ให้สำเร็จในแผ่นดินโลกเหมือนกัน”
การช่วยให้รอดสองแง่มุม คือทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก มีกล่าวไว้ในนิมิตที่อัครสาวกโยฮันเห็น. ท่านเห็นวิวรณ์ 5:9, 10) โปรดสังเกตว่าพระประสงค์ของพระเจ้าสำเร็จเป็นจริงถึงสองแง่ นั่นคือ แผ่นดินโลกจะได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่ภายใต้การชี้นำของราชอาณาจักรในสวรรค์ที่ประกอบด้วยพระเยซูคริสต์และผู้ที่เป็นทายาทร่วมกับพระองค์. การจัดเตรียมของพระเจ้าทั้งหมดนี้เปิดโอกาสให้มีการฟื้นฟูโลกเป็นอุทยานตามพระประสงค์แรกเดิมของพระเจ้าในที่สุด.
กษัตริย์หลายองค์นั่งบนบัลลังก์ในสวรรค์ พวกเขาเป็นผู้ถูกเลือกสรรจากท่ามกลางสาวกที่ซื่อสัตย์ของพระคริสต์. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวอย่างชัดเจนถึงผู้ร่วมปกครองกับพระคริสต์ว่า “เขาจะครอบครองแผ่นดินโลก.” (ในคำอธิษฐานแบบอย่างของพระเยซู พระองค์สนับสนุนสาวกอธิษฐานขอให้พระทัยประสงค์ของพระเจ้าสำเร็จ “ในสวรรค์อย่างไร, ก็ให้สำเร็จในแผ่นดินโลกเหมือนกัน.” (มัดธาย 6:9, 10) ถ้อยคำเหล่านี้จะมีความหมายใด ๆ ไหมถ้าแผ่นดินโลกจะไม่มีอีกต่อไปหรือเพียงแต่มีความหมายเป็นนัยที่บ่งชี้ถึงสวรรค์? ในทำนองเดียวกัน ข้อคัมภีร์นี้จะมีความหมายไหมถ้าคนดีทุกคนไปสวรรค์? นับตั้งแต่เรื่องราวการทรงสร้างจนถึงนิมิตในพระธรรมวิวรณ์ของคัมภีร์ไบเบิล พระประสงค์ของพระเจ้าเกี่ยวกับแผ่นดินโลกเห็นได้อย่างชัดเจน. แผ่นดินโลกจะเป็นอย่างที่พระเจ้าประสงค์ไว้ นั่นคือเป็นอุทยาน. นี่เป็นพระทัยประสงค์ที่พระเจ้าสัญญาว่าจะทำให้สำเร็จ. ผู้คนที่ซื่อสัตย์บนแผ่นดินโลกอธิษฐานขอให้พระทัยประสงค์นี้สำเร็จเป็นจริง.
ชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลกคือสิ่งที่พระผู้สร้าง พระเจ้าผู้ “ไม่กลับกลอก” ได้ประสงค์ไว้แต่แรก. (มาลาคี 3:6; โยฮัน 17:3; ยาโกโบ 1:17) มากกว่าหนึ่งศตวรรษมาแล้วที่วารสารหอสังเกตการณ์ นี้อธิบายถึงพระประสงค์ของพระเจ้าที่จะสำเร็จเป็นจริงในสองแง่มุม. เรื่องนี้ช่วยเราให้เข้าใจคำสัญญาเรื่องการฟื้นฟูแผ่นดินโลกที่พบในพระคัมภีร์. เราขอเชิญคุณให้ตรวจสอบเรื่องนี้มากขึ้นโดยพิจารณากับพยานพระยะโฮวาหรือโดยติดต่อกับผู้จัดพิมพ์วารสารนี้.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 5 แม้คัมภีร์ไบเบิลหลายฉบับได้แปลคำภาษาฮีบรู เอเรตส์ ว่า “แผ่นดิน” แทนการใช้คำ “แผ่นดินโลก” แต่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องเจาะจงว่าเอเรตส์ ซึ่งอยู่ในบทเพลงสรรเสริญ 37:11, 29 หมายถึงแผ่นดิน ที่ประทานแก่ชาติอิสราเอลเท่านั้น. หนังสือการศึกษาคำในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเก่า (ภาษาอังกฤษ) โดยวิลเลียม วิลสัน นิยามคำ เอเรตส์ว่า “แผ่นดินโลกในความหมายที่กว้างขวางอย่างยิ่ง ทั้งในส่วนที่อาศัยอยู่ได้และอยู่ไม่ได้ และเมื่อใช้ในความหมายที่จำกัดก็หมายถึง ผืนแผ่นดินบางส่วน, ดินแดงหนึ่ง, หรือประเทศหนึ่ง.” ดังนั้น ความหมายแรกสุดและสำคัญที่สุดของคำภาษาฮีบรูนี้ก็คือ ดาวเคราะห์, ลูกโลก, และแผ่นดินโลก.—ดูหอสังเกตการณ์ ฉบับ 1 มกราคม 1986 หน้า 31 (ภาษาอังกฤษ).
[ภาพหน้า 4]
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวอย่างชัดเจนว่าในอนาคตแผ่นดินโลกจะเป็นอุทยาน
[ภาพหน้า 7]
คำอธิษฐานแบบอย่างของพระเยซูจะมีความหมายไหมถ้าแผ่นดินโลกจะไม่มีอีกต่อไป?