คุณจำได้ไหม?
คุณจำได้ไหม?
คุณได้รับประโยชน์จากการอ่านวารสารหอสังเกตการณ์ฉบับที่พิมพ์ออกเมื่อเร็ว ๆ นี้ไหม? ลองดูว่าคุณจะตอบคำถามต่อไปนี้ได้หรือไม่:
• พระเยซูจะ “ทรงช่วยคนขัดสน” ตามที่บอกไว้ล่วงหน้าในบทเพลงสรรเสริญ 72:12 อย่างไร?
ระหว่างที่พระคริสต์ทรงปกครองเหนือแผ่นดินโลกทุกคนจะได้รับความยุติธรรม และไม่มีการทุจริต. สงครามมักทำให้เกิดความยากจน แต่พระคริสต์จะทรงทำให้เกิดสันติภาพอย่างบริบูรณ์. พระองค์ทรงเห็นอกเห็นใจประชาชนและจะทรงรวบรวมผู้คนทั้งสิ้นให้เป็นหนึ่งเดียว และพระองค์จะทรงทำให้แน่ใจว่ามีอาหารบริบูรณ์สำหรับมวลมนุษยชาติ. (บทเพลงสรรเสริญ 72:4-16)—1/5, หน้า 7.
• พวกเราที่เป็นคริสเตียนจะแสดงให้เห็นอย่างไรว่าเรามี “ความกล้าที่จะพูด”? (1 ติโมเธียว 3:13, ล.ม.; ฟิเลโมน 8; เฮ็บราย 4:16)
เราสามารถทำเช่นนั้นได้โดยประกาศแก่คนอื่น ๆ ด้วยความกล้าอย่างกระตือรือร้น, โดยสอนและให้คำแนะนำอย่างทันท่วงทีและบังเกิดผล, และโดยเปิดเผยความรู้สึกในใจต่อพระเจ้าในคำอธิษฐาน โดยมั่นใจว่าพระองค์จะทรงสดับฟังและตอบคำอธิษฐานของเรา.—15/5, หน้า 14-16.
• ภายใต้พระบัญญัติของโมเซ เหตุใดบางเรื่องที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ทำให้คนเรา “ไม่สะอาด”?
กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความไม่สะอาดซึ่งเกิดจากการหลั่งอสุจิ, การมีประจำเดือน, และการคลอดบุตรนั้นส่งเสริมรูปแบบชีวิตที่มีสุขอนามัยและสุขภาพดี, เน้นความศักดิ์สิทธิ์ของเลือด, รวมทั้งแสดงให้เห็นความจำเป็นที่ต้องมีการไถ่บาป.—1/6, หน้า 31.
• หากคนเราต้องการมีความสุข ทำไมจึงเป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาพระธรรมบทเพลงสรรเสริญ?
เหล่าผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญทราบว่าความสุขเป็นผลจากการมีสัมพันธภาพที่ดีกับพระเจ้า. (บทเพลงสรรเสริญ 112:1) พวกเขาเน้นว่าสัมพันธภาพกับมนุษย์, การมีวัตถุเงินทอง, และความสำเร็จไม่อาจนำมาซึ่งความสุขอันเกิดจากการเป็นส่วนหนึ่งของ “ชนประเทศที่นับถือพระยะโฮวาเป็นพระเจ้า.” (บทเพลงสรรเสริญ 144:15)—15/6, หน้า 12.
• ชาวอิสราเอลโบราณมีสายสัมพันธ์ที่พิเศษอะไรกับพระยะโฮวา?
ในปี 1513 ก่อนสากลศักราช พระยะโฮวาทรงนำชาวอิสราเอลเข้าสู่สายสัมพันธ์แบบใหม่กับพระองค์ ซึ่งเป็นการทำสัญญาร่วมกัน. (เอ็กโซโด 19:5, 6; 24:7) นับแต่นั้นมา ชาวอิสราเอลจึงเกิดมาเป็นสมาชิกของชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรซึ่งได้อุทิศแด่พระองค์แล้ว. กระนั้น แต่ละคนต้องตัดสินใจเองว่าเขาจะรับใช้พระเจ้าหรือไม่. 1/7, หน้า 21-22.
• ทำไมเราควรทำทุกสิ่ง “โดยปราศจากการบ่นพึมพำ”? (ฟิลิปปอย 2:14, ล.ม.)
ตัวอย่างมากมายในพระคัมภีร์แสดงให้เห็นว่าการบ่นพึมพำก่อผลเสียหายท่ามกลางประชาชนของพระเจ้า. เราควรคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับอำนาจกัดกร่อนของการบ่นซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในทุกวันนี้. มนุษย์ไม่สมบูรณ์มีแนวโน้มที่จะบ่น และเราควรคอยตรวจดูและหลีกเลี่ยงแนวโน้มดังกล่าว.—15/7, หน้า 16-17.
• เรารู้ได้อย่างไรว่าพระปัญญาซึ่งพรรณนาไว้ในสุภาษิต 8:22-31 ไม่ใช่สติปัญญาที่เป็นนามธรรม?
พระปัญญานี้ได้ถูก “สร้าง” ขึ้นในตอนเริ่มต้นแห่งวิถีทางของพระยะโฮวา. พระเจ้าทรงเป็นอยู่เรื่อยมาและทรงไว้ซึ่งปัญญาเสมอ และพระปัญญาของพระองค์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น. พระปัญญาที่กล่าวถึงในสุภาษิต 8:22-31 นั้นได้อยู่เคียงข้างพระเจ้าในฐานะ “ลูกมือ” ซึ่งเป็นคำที่ใช้กับบุคคลวิญญาณผู้มากำเนิดเป็นพระเยซูและได้เคยทำงานร่วมกับพระเจ้าอย่างใกล้ชิดในการสร้างสิ่งต่าง ๆ มาก่อน. (โกโลซาย 1:17; วิวรณ์ 3:14)—1/8, หน้า 31.