การเชื่อมประสานในปานามา
การเชื่อมประสานในปานามา
“ปานามาเชื่อมโลกเข้าด้วยกัน.” ราว ๆ ห้าสิบปีมาแล้ว สถานีวิทยุซึ่งประชาชนนิยมมากแห่งหนึ่งของปานามา ประเทศในอเมริกากลาง เคยยกเอาถ้อยคำนี้ขึ้นมากล่าว. ปัจจุบันกลายมาเป็นถ้อยคำที่หลายคนใช้แสดงความรู้สึกที่มีต่อประเทศนั้น.
ปานามาทำหน้าที่เป็นสะพานในรูปแบบหนึ่งซึ่งเชื่อมระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้. ยิ่งกว่านั้น สะพานจริงชื่อบริดจ์ ออฟ ดิ อเมริกา ทอดคร่อมคลองปานามาอันลือชื่อ. คลองที่ทอดยาวข้ามประเทศเชื่อมมหาสมุทรแอตแลนติกกับแปซิฟิกเข้าด้วยกัน แสดงถึงความสามารถอันน่าทึ่งด้านวิศวกรรม. นี่ทำให้เรือเดินทะเลจากทั่วโลกแล่นผ่านได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งหากไม่มีคลองสายนี้ เรือ
เดินทะเลคงต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์. ใช่แล้ว ปานามาทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมที่สำคัญเพื่อการติดต่อระหว่างกันของหลายภูมิภาคในโลก.สะพานและที่อยู่ของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ
อนึ่ง ปานามาได้กลายเป็นประเทศที่รวมผู้คนจากหลายเชื้อชาติหลายพื้นเพต่างกัน. ประชาชนเหล่านี้พร้อมกับกลุ่มคนพื้นเมืองหลายกลุ่มได้ก่อให้เกิดประชากรที่แตกต่างกระจายกันอยู่ทั่วภูมิประเทศอันงดงามแห่งนี้. อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ไหมที่จะเอาชนะอุปสรรคสืบเนื่องจากความแตกต่างกันทางสังคม, วัฒนธรรม, ศาสนา, และภาษา แล้วก่อผลเป็นเอกภาพทางความคิดและจุดมุ่งหมายที่ตั้งอยู่บนความจริงอันมีค่าสุดประมาณซึ่งพบได้ในพระคำของพระเจ้า?
ใช่แล้ว เป็นไปได้. บันทึกคำกล่าวของอัครสาวกเปาโลในเอเฟโซ 2:17, 18 แสดงให้เห็นว่าคริสเตียนสมัยศตวรรษแรก—ทั้งยิวและคนต่างชาติ—ประสบความสำเร็จในการเอาชนะอุปสรรคทำนองเดียวกัน โดยอาศัยเครื่องบูชาของพระคริสต์ที่ยังผลให้เกิดเอกภาพ. เปาโลเขียนดังนี้: “พระองค์ [พระเยซู] ได้เสด็จมาประกาศสันติสุข [“ข่าวดีแห่งสันติสุข,” ล.ม.] แก่ท่านทั้งหลายที่อยู่ไกล, และประกาศสันติสุขแก่เขาเหล่านั้นที่อยู่ใกล้ เพราะว่าโดยพระองค์เราทั้งสองพวกจึงมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบิดาได้โดยพระวิญญาณองค์เดียว.”
เช่นเดียวกันในเวลานี้ พยานพระยะโฮวากำลังประกาศ “ข่าวดีแห่งสันติสุข” แก่ผู้คนในประเทศปานามาทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มซึ่งอยู่ห่างไกลในแง่ศาสนาและบางครั้งก็ทางด้านภูมิศาสตร์. ณ ที่นี่ เอกภาพที่ให้ความพอใจยินดีได้ก่อตัวขึ้นท่ามกลางคนเหล่านั้นที่ “เข้าเฝ้า” พระยะโฮวา. ผลก็คือมีการตั้งประชาคมขึ้นในปานามาหกภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน, ภาษากวางตุ้ง, ภาษามือปานามา, ภาษาอังกฤษ, และอีกสองประชาคมที่ใช้ภาษาดั้งเดิมของท้องถิ่นคือ
ภาษากูนาและงอเบเร (ไกวมี). การรู้ว่าสมาชิกกลุ่มภาษาต่าง ๆ เหล่านี้ได้ร่วมนมัสการพระยะโฮวาอย่างพร้อมเพรียงกันเป็นการหนุนกำลังใจ.การเอาชนะอุปสรรคในโกมาร์กา
กลุ่มงอเบเป็นกลุ่มใหญ่สุดจากแปดกลุ่มคนพื้นเมืองในปานามา. กลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 170,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นที่กว้างไพศาลซึ่งไม่นานมานี้ได้ตั้งชื่อว่าโกมาร์กา หรือเขตสงวน. พื้นที่ส่วนใหญ่ของแถบนี้เป็นป่าเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ การจะเข้าไปถึงได้ต้องใช้การเดินเท้าเป็นหลัก เช่นเดียวกันกับด้านชายฝั่งทะเลอันงดงามนั้นจะไปถึงได้ก็ต้องเข้าทางทะเล. แหล่งชุมชนมักตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำและตามชายฝั่งเพราะเป็นเส้นทางคมนาคมที่สะดวก. ชาวบ้านหลายคนที่อาศัยในโกมาร์กา ประกอบอาชีพเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยการทำไร่กาแฟบนภูเขา, จับปลา, หรือทำการเพาะปลูก. หลายคนเป็นสมาชิกคริสตจักรต่าง ๆ. แต่ยังมีผู้คนที่ยึดมั่นในศาสนาท้องถิ่นที่รู้จักกันว่ามามา ทาทา. คนอื่นหันไปหาซูกิอัส (ชามานส์) เพื่อได้รับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยหรือเมื่อรู้สึกว่าถูกวิญญาณชั่วรบกวน. ถึงแม้หลายคนพูดภาษาสเปน แต่พวกเขาเข้าใจภาษางอเบเรได้ดีที่สุด.
พายเรือแคนูไปเพื่อเข้าถึงหัวใจ
พยานพระยะโฮวาตระหนักดีว่าเป็นเรื่องสำคัญที่พึงช่วยผู้คนเรียนรู้ความจริง ในแบบที่ไม่สักแต่ว่าช่วยให้รู้และเข้าใจ แต่เพื่อให้เข้าถึงหัวใจด้วย. เมื่อความจริงเข้าสู่หัวใจของเขาก็จะก่อแรงกระตุ้นเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในชีวิตให้เป็นไปตามหลักการของคัมภีร์ไบเบิล. ด้วยเหตุนี้ ไพโอเนียร์พิเศษที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในแปดเขตของเขตสงวนจึงได้เรียนภาษางอเบเรด้วยความช่วยเหลือจากพยานฯ ในท้องถิ่นที่พูดภาษานี้.
มี 14 ประชาคมที่เจริญก้าวหน้าในพื้นที่นี้ซึ่งเผยให้เห็นอย่างเด่นชัดว่ามีศักยภาพจะเติบโตขยายตัวต่อไปได้อีก. ตัวอย่างเช่น เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ดีมัสกับฮีเซลาไพโอเนียร์พิเศษสองสามีภรรยาถูกมอบหมายไปช่วยประชาคมเล็ก ๆ ที่ประกอบด้วยผู้ประกาศราว 40 คนในเขตโทโบเบซึ่งอยู่ชายฝั่ง. ไม่ง่ายที่พวกเขาจะชินกับการเดินทางบ่อย ๆ ด้วยเรือแคนูเพื่อไปประกาศแก่ประชาชนผู้มีใจถ่อมตามชายฝั่งแอตแลนติก. ดีมัสและฮีเซลาประสบมาแล้วว่าน้ำในมหาสมุทรที่สงบปราศจากคลื่นอาจแปรปรวนเป็นคลื่นลมแรงอย่างน่ากลัวได้อย่างรวดเร็ว. พวกเขาปวดแขนและปวดหลังอยู่เนือง ๆ หลังจากพายเรือจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง. การเรียนภาษาถิ่นก็เป็นอีกหนึ่งข้อท้าทาย. แต่การเสียสละและความเพียรอดทนของพวกเขาได้รับผลตอบแทนอย่างน่าพอใจในปี 2001 เมื่อมีประมาณ 552 คนเข้าร่วมประชุมรำลึกการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์.
ข้ามอ่าวจากเขตโทโบเบไปอีกฟากหนึ่ง นั่นคือหมู่บ้านปูนทา เอสกอนดิดา. ช่วงหนึ่ง ผู้ประกาศกลุ่มเล็ก ๆ ได้พายเรือข้ามอ่าว—ในช่วงที่คลื่นลมเป็นใจ—ไปประชุมที่โทโบเบเป็นประจำ และจากรายงานก็ได้ข้อบ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะตั้งประชาคมใหม่ขึ้นในเขตนี้. เมื่อคำนึงถึงเรื่องนี้ ดีมัสและฮีเซลาได้รับการขอร้องให้ย้ายไปยังปูนทา เอสกอนดิดา. ไม่ทันถึงสองปี กลุ่มเล็ก ๆ ในปูนทา เอสกอนดิดาก็กลายเป็นประชาคมซึ่งมีผู้ประกาศ 28 คน เฉลี่ยแล้วมี 114 คนเข้าร่วมประชุมฟังคำบรรยายสาธารณะประจำสัปดาห์. พอมาในปี 2004 นับว่าเป็นความปลื้มปีติของประชาคมใหม่เมื่อมี 458 คนได้
เข้าร่วมประชุมเพื่อรำลึกการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์.ก้าวข้ามอุปสรรคของการไม่รู้หนังสือ
สำหรับหลายคนที่จริงใจ การช่วยให้พวกเขารู้หนังสือได้ช่วยพวกเขาพัฒนาสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพระยะโฮวา. เป็นเช่นนั้นกับเฟอร์มีนา หญิงสาวจากแถบภูเขาโกมาร์กา. มิชชันนารีพยานฯ ซึ่งทำงานในพื้นที่ห่างไกลที่เธออาศัยอยู่ได้พบว่าเธอตั้งใจฟังข่าวสารเรื่องราชอาณาจักร. เมื่อเสนอจะนำการศึกษาพระคัมภีร์กับเธอ เธอตอบว่าอยากจะเรียนรู้ให้มากขึ้น. ทว่ามีอุปสรรค เธอพูดได้ทั้งภาษาสเปนและงอเบเร แต่อ่านไม่ออกหรือเขียนไม่เป็นเลยทั้งสองภาษา. มิชชันนารีคนหนึ่งอาสาสอนเธอโดยใช้จุลสารจงทุ่มเทตัวเพื่อการอ่านและการเขียน * (ไม่มีในภาษาไทย).
เฟอร์มีนาเป็นนักเรียนดีเยี่ยม ขยันเตรียมบทเรียนอย่างกระตือรือร้น ทำการบ้านเสร็จทุกอย่าง และหมั่นฝึกหัดสะกดคำ. ภายในหนึ่งปี เธอพัฒนาไปมากจนสามารถศึกษาจุลสารคุณสามารถเป็นมิตรของพระเจ้า! * เมื่อมีการจัดเตรียมการประชุมขึ้น เฟอร์มีนาก็เริ่มเข้าร่วม. แต่เนื่องจากครอบครัวของเธอยากจน การจ่ายค่ารถพาลูกไปยังการประชุมไม่ใช่เรื่องง่าย. ไพโอเนียร์คนหนึ่งซึ่งเข้าใจสภาพการณ์ของเฟอร์มีนาจึงแนะนำเธอให้ลองตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีพื้นบ้านที่ชาวงอเบสวมใส่และนำออกขาย. เฟอร์มีนาลงมือทำ และถึงแม้เธอยังมีความจำเป็นด้านอื่นอยู่ แต่เธอทำให้แน่ใจว่าเธอจะใช้เงินจากการขายเสื้อผ้าโดยเฉพาะเพื่อไปร่วมการประชุมคริสเตียนเท่านั้น. ตอนนี้เธอกับครอบครัวย้ายไปอยู่อีกท้องที่หนึ่ง และเธอยังคงก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณอย่างต่อเนื่อง. พวกเขาพอใจยินดีไม่ใช่แค่การได้รู้หนังสือ แต่สำคัญกว่านั้นก็คือได้มารู้จักพระยะโฮวา.
ชนะอุปสรรคเมื่อประกาศแก่คนหูหนวก
หลายครอบครัวในประเทศปานามามักจะรู้สึกอายถ้าคนในครอบครัวพิการทางหู. บางครั้งคนหูหนวกไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาเลย. คนหูหนวกหลายคนรู้สึกว่าถูกกีดกันให้อยู่ต่างหาก เป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์เพราะการสื่อความกับพวกเขาเป็นเรื่องยุ่งยาก.
ดังนั้น ปรากฏชัดว่าน่าจะต้องดำเนินการบางอย่างเพื่อให้ข่าวดีไปถึงผู้ที่พิการทางหู. ด้วยการสนับสนุนของผู้ดูแลเดินทาง กลุ่มไพโอเนียร์พร้อมกับคนอื่น ๆ ที่มีใจแรงกล้าจึงตกลงใจเรียนภาษามือปานามา. การรู้จักคิดหาหนทางเช่นนั้นทำให้พวกเขาได้รับผลตอบแทน.
พอมาถึงช่วงปลายปี 2001 ได้มีการตั้งกลุ่มภาษามือขึ้นในปานามาซิตี. มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 20 คน. ขณะที่พี่น้องทั้งชายและหญิงชำนาญภาษามือมากขึ้น พวกเขาสามารถออกไปประกาศให้คำพยานแก่คนหูหนวกหลายคนซึ่ง “ได้ยิน” ความจริงของคัมภีร์ไบเบิลเป็นครั้งแรกในภาษาของเขา. พยานฯ หลายคนซึ่งลูกของเขาพิการทางหูจึงเริ่มเข้ามาร่วมประชุมด้วย ปรากฏว่าลูก ๆ เข้าใจคำสอนในพระคัมภีร์ได้รวดเร็วขึ้นและกระตือรือร้นมากขึ้นในเรื่องอยากรู้
ความจริง. บ่อยครั้ง พ่อแม่ก็เรียนภาษามือและโดยวิธีนี้จึงสามารถสื่อความกับลูกได้ดีขึ้น. พ่อแม่สามารถช่วยลูกทางฝ่ายวิญญาณและก็พบว่าครอบครัวได้รับการเสริมให้เข้มแข็ง. ประสบการณ์ของเอลซาและอิไรดาลูกสาวเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้.พยานฯ คนหนึ่งซึ่งร่วมงานกับกลุ่มที่ใช้ภาษามือได้ยินเรื่องราวของอิไรดา เธอก็ไปเยี่ยมและฝากจุลสารเพลิดเพลินกับชีวิตบนแผ่นดินโลกตลอดไป! * ให้อ่าน. อิไรดาชอบเรื่องโลกใหม่ที่เธอเรียนจากภาพประกอบในจุลสาร. อิไรดาจึงเริ่มศึกษาพระคัมภีร์จากจุลสารเล่มนั้น. ครั้นศึกษาเล่มนั้นจบ พวกเขาใช้คู่มือศึกษาอีกเล่มหนึ่งคือจุลสารพระผู้สร้างทรงเรียกร้องอะไรจากเรา? * พอมาถึงจุดนี้ อิไรดาเริ่มขอให้แม่ช่วยเตรียมบทเรียนและช่วยอธิบายให้ข้อมูลแก่เธอ.
เอลซาเผชิญปัญหาสองอย่าง: เนื่องจากเธอไม่ใช่พยานฯ จึงไม่มีความรู้เกี่ยวกับความจริงของพระคัมภีร์ และไม่เข้าใจภาษามือ. มีคนเคยบอกเธอว่าไม่ควรสอนภาษามือให้ลูก แต่ควรจะฝึกลูกให้พูด. ด้วยเหตุนี้ การสื่อความระหว่างแม่กับลูกสาวจึงอยู่ในวงจำกัด. เมื่อได้รับแรงกระตุ้นจากการขอความช่วยเหลือของอิไรดา เอลซาจึงขอพยานฯ ในประชาคมมาศึกษากับเธอ. เธอพูดว่า “ดิฉันขอร้องเพราะเห็นแก่ลูกสาว เนื่องจากดิฉันไม่เคยเห็นลูกตื่นเต้นดีใจกับสิ่งใด ๆ มากถึงเพียงนี้.” เอลซาได้สมทบกับลูกสาวในการศึกษาและเรียนภาษามือไปพร้อมกัน. เนื่องจากเอลซาสละเวลาให้ลูกสาวมากขึ้น การสื่อความในบ้านก็ดีขึ้น. อิไรดาเริ่มเลือกคนที่เธอจะคบเป็นเพื่อน และเธอสมทบกับประชาคม. ตอนนี้ทั้งแม่และลูกสาวเข้าร่วมการประชุมคริสเตียนอย่างสม่ำเสมอ. เอลซาได้รับบัพติสมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ส่วนอิไรดาก็กำลังมุ่งสู่จุดหมายนั้นเหมือนกัน. เอลซาเล่าว่านับเป็นครั้งแรกที่เธอเพิ่งเข้าใจลูกสาวและเวลานี้สามารถพูดคุยกันหลายเรื่องที่สำคัญและมีค่ามากสำหรับคนทั้งสอง.
กลุ่มผู้ใช้ภาษามือนี้ซึ่งได้กลายเป็นประชาคมเมื่อเดือนเมษายน ปี 2003 ขณะนี้เติบโตขึ้นจนมีผู้ประกาศประมาณ 50 คน และมีผู้เข้าร่วมการประชุมมากกว่านั้น. มากกว่าหนึ่งในสามเป็นคนหูหนวก. มีการตั้งกลุ่มอื่น ๆ ที่ใช้ภาษามือในสามเมืองนอกเขตนครหลวงปานามาซิตี. ถึงแม้ยังคงต้องทำงานในเขตงานแบบนี้อีกมาก แน่นอนว่าการดำเนินขั้นตอนหลัก ๆ มีอยู่แล้วเพื่อพิชิต “ความเงียบ” อันเป็นอุปสรรคขวางกั้นระหว่างคนหูหนวกที่จริงใจกับพระยะโฮวาพระเจ้า พระผู้สร้างที่เปี่ยมด้วยความรัก.
ผลดังกล่าวเป็นเครื่องหมายบ่งชี้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศปานามา. แม้ผู้คนมาจากวัฒนธรรม, ภาษา, และพื้นเพต่างกัน แต่ก็มีคนมากมายเข้ามานมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวอย่างพร้อมเพรียงกัน. ความจริงแห่งพระคำของพระยะโฮวาเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างด้านการสื่อความในประเทศนี้ได้อย่างมีผลสำเร็จ ซึ่งผู้คนจำนวนมากถือว่าเป็นประเทศที่ “เชื่อมโลกเข้าด้วยกัน.”—เอเฟโซ 4:4.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 15 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 16 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา
^ วรรค 21 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
^ วรรค 21 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา
[แผนที่หน้า 8]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
ทะเลแคริบเบียน
ปานามา
โทโบเบ
มหาสมุทรแปซิฟิก
คลองปานามา
[ภาพหน้า 8]
ผู้หญิงชาวกูนาถือผ้าลายปัก
[ภาพหน้า 9]
มิชชันนารีกำลังประกาศแก่ผู้หญิงชาวงอเบ
[ภาพหน้า 10]
พยานฯ จากงอเบนั่งเรือแคนูไปร่วมการประชุมพิเศษหนึ่งวัน
[ภาพหน้า 11]
ความจริงของคัมภีร์ไบเบิลเป็นสะพานเชื่อมผู้คนที่แตกต่างกันทางวัฒนธรรมและภาษาในปานามา
[ภาพหน้า 12]
การศึกษา “หอสังเกตการณ์” ในภาษามือ
[ภาพหน้า 12]
เอลซากับอิไรดาลูกสาวพึงพอใจกับการสื่อความกันอย่างมีความหมาย
[ที่มาของภาพหน้า 8]
Ship and Kuna women: © William Floyd Holdman/Index Stock Imagery; village: © Timothy O’Keefe/Index Stock Imagery