“ทุกคนต้องแบกภาระของตนเอง”
“ทุกคนต้องแบกภาระของตนเอง”
“เราแต่ละคนจะให้การต่อพระเจ้าเกี่ยวกับตัวเอง.”—โรม 14:12, ล.ม.
1. ชายหนุ่มฮีบรูสามคนรับเอาความรับผิดชอบอะไรอย่างซื่อสัตย์?
ชายหนุ่มฮีบรูสามคนที่อยู่ในประเทศบาบิโลนเผชิญการตัดสินใจที่หมายถึงชีวิตหรือความตาย. พวกเขาควรจะก้มกราบรูปเคารพขนาดมหึมาดังที่กฎหมายของประเทศนั้นเรียกร้องไหม? หรือว่าเขาควรจะปฏิเสธที่จะนมัสการรูปนั้นและถูกจับตัวโยนเข้าไปในเตาไฟที่ลุกโพลง? ซัดรัค, เมเซ็ค, และอะเบ็ดนะโค ไม่มีเวลาปรึกษาใคร ๆ อีกทั้งพวกเขาไม่จำเป็นต้องปรึกษาด้วย. โดยไม่ลังเล พวกเขาแถลงว่า “ขอฝ่าพระบาททรงทราบ ข้าแต่ราชา พระเจ้าของฝ่าพระบาทหาใช่พระเจ้าที่พวกข้าพเจ้ารับใช้ไม่ และรูปทองคำซึ่งฝ่าพระบาทได้ทรงตั้งไว้นั้น พวกข้าพเจ้าจะไม่นมัสการ.” (ดานิเอล 3:1-18, ล.ม.) ชาวฮีบรูสามคนนั้นแบกความรับผิดชอบของตนเอง.
2. ที่แท้แล้วการตัดสินคดีพระเยซูคริสต์ของปีลาตอาศัยการตัดสินของใคร และนั่นทำให้ผู้สำเร็จราชการชาวโรมันนั้นพ้นความรับผิดชอบไหม?
2 ราว ๆ หกศตวรรษต่อมา ผู้สำเร็จราชการชาวโรมันได้รับฟังข้อกล่าวหาบุรุษผู้หนึ่ง. หลังจากการพิจารณาคดี เขามั่นใจว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด. แต่ฝูงชนเรียกร้องให้ประหารชายผู้นั้น. ปรากฏว่า หลังจากใช้ความพยายามทัดทานความต้องการของฝูงชน ผู้สำเร็จราชการไม่อยากแบกความรับผิดชอบของตนอีกต่อไปและยอมแพ้ต่อความกดดัน. เขาเอาน้ำมาล้างมือและแถลงว่า “เราปราศจากเลือดของคนชอบธรรมนี้แล้ว.” จากนั้นก็ปล่อยให้ชายผู้นี้ถูกนำตัวไปตรึง. ใช่แล้ว แทนที่จะแบกความรับผิดชอบด้วยตัวเองในการตัดสินคดีของพระเยซูคริสต์ ปนเตียวปีลาตให้คนอื่น ๆ ตัดสินแทน. ไม่ว่าน้ำปริมาณมากแค่ไหนก็ไม่อาจชำระเขาให้พ้นความรับผิดชอบที่ทำให้พระเยซูถูกพิพากษาอย่างไม่เป็นธรรม.—มัดธาย 27:11-26; ลูกา 23:13-25.
3. ทำไมเราไม่ควรให้คนอื่น ๆ ตัดสินใจแทนเรา?
3 คุณล่ะเป็นอย่างไร? เมื่อต้องทำการตัดสินใจ คุณเป็นเหมือนชายหนุ่มฮีบรูสามคนนั้นไหม หรือว่าคุณให้คนอื่นตัดสินใจแทนคุณ? การตัดสินใจไม่ใช่เรื่องง่าย. คนเราต้องมีความเป็นผู้ใหญ่พอเพื่อจะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง. ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ต้องทำการตัดสินใจที่ดีเพื่อลูกวัยเยาว์ของตน. แน่นอน การตัดสินใจเป็นเรื่องยากเมื่อเกี่ยวข้องกับฆะลาเตีย 6:1, 2, ล.ม.) แทนที่จะเป็นอย่างนั้น นั่นเป็นภาระที่ “เราแต่ละคนจะให้การต่อพระเจ้าเกี่ยวกับตัวเอง.” (โรม 14:12, ล.ม.) คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ทุกคนต้องแบกภาระของตนเอง.” (ฆะลาเตีย 6:5) ดังนั้นแล้ว เราจะตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุมในชีวิตได้อย่างไร? ก่อนอื่น เราต้องตระหนักถึงขีดจำกัดต่าง ๆ ของตัวเราเองที่เป็นมนุษย์และเรียนรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อชดเชยขีดจำกัดเหล่านั้น.
สภาพการณ์ที่ซับซ้อนและมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง. อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบในการตัดสินใจต่าง ๆ ไม่หนักถึงขนาดที่จะรวมอยู่ใน “ภาระหนัก” ซึ่งเราอาจต้องการให้ผู้มี “คุณวุฒิฝ่ายวิญญาณ” แบกรับแทนเรา. (ข้อเรียกร้องสำคัญ
4. การไม่เชื่อฟังของชายหญิงคู่แรกน่าจะสอนบทเรียนสำคัญอะไรแก่เราในเรื่องการตัดสินใจ?
4 ในตอนต้นประวัติศาสตร์มนุษย์ ชายหญิงคู่แรกตัดสินใจอย่างที่ก่อผลเสียหายร้ายแรงตามมา. ทั้งสองเลือกกินผลไม้เกี่ยวกับความรู้เรื่องความดีและความชั่ว. (เยเนซิศ 2:16, 17) อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจเช่นนั้น? คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “เมื่อหญิงนั้นเห็นว่าผลไม้ต้นนั้นน่ากินและงามด้วย, ทั้งเป็นผลไม้ที่พึงต้องการให้มีปัญญาขึ้น, จึงเก็บผลไม้นั้นมากินเข้าไป; แล้วส่งให้สามีกินด้วยกัน.” (เยเนซิศ 3:6) การตัดสินใจเลือกของฮาวาอาศัยความปรารถนาอันเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง. การกระทำของนางชักนำให้อาดามทำอย่างเดียวกัน. ผลก็คือ บาปและความตาย “ลามไปถึงคนทั้งปวง.” (โรม 5:12) การไม่เชื่อฟังของอาดามกับฮาวาน่าจะสอนบทเรียนสำคัญอย่างหนึ่งแก่เราเกี่ยวกับขีดจำกัดของมนุษย์ นั่นคือ เมื่อใดที่ไม่ยึดมั่นตามการชี้นำของพระเจ้า มนุษย์ก็มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจผิดพลาด.
5. พระยะโฮวาจัดเตรียมอะไรเพื่อให้การชี้นำเรา และเราต้องทำอะไรเพื่อจะได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น?
5 ช่างน่าดีใจสักเพียงไรที่พระยะโฮวาพระเจ้าไม่ได้ปล่อยให้เราดำเนินชีวิตเองโดยปราศจากการชี้นำ! พระคัมภีร์บอกเราว่า “เมื่อเจ้าสงสัยว่าจะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา, หูของเจ้าก็จะได้ยินเสียงแนะมาข้างหลังของเจ้าว่า, ‘ทางนี้แหละ; เดินไปเถอะ!’ ” (ยะซายา 30:21) พระยะโฮวาตรัสกับเราผ่านทางคัมภีร์ไบเบิล พระคำที่มีขึ้นโดยการดลใจของพระองค์. เราต้องศึกษาพระคัมภีร์และได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระคำนั้น. เพื่อจะตัดสินใจเลือกอย่างถูกต้อง เราต้องรับ “อาหารแข็ง [ที่] เป็นของผู้อาวุโส.” “ด้วยการใช้” เรายัง “ได้ฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจเพื่อแยกออกว่าอะไรถูกอะไรผิด.” (เฮ็บราย 5:14, ล.ม.) เราสามารถฝึกฝนความสามารถในการสังเกตเข้าใจโดยนำสิ่งที่เราเรียนรู้จากพระคำของพระเจ้ามาประยุกต์ใช้.
6. จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อสติรู้สึกผิดชอบของเราจะทำงานอย่างถูกต้อง?
6 สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในขั้นตอนการตัดสินใจก็คือสติรู้สึกผิดชอบที่เรามีมาแต่กำเนิด. ความสามารถทางศีลธรรมที่ว่านี้มีความสามารถที่จะตัดสิน และสามารถ “ปรับโทษ” เราและ “แก้ตัว” ให้เรา. (โรม 2:14, 15) อย่างไรก็ตาม เพื่อจะให้สติรู้สึกผิดชอบทำงานอย่างถูกต้อง สติรู้สึกผิดชอบจำต้องได้รับการสอนด้วยความรู้ถูกต้องเกี่ยวกับพระคำของพระเจ้า และได้รับการฝึกให้ตอบสนองได้ไวโดยการนำความรู้ในพระคำนั้นไปใช้. สติรู้สึกผิดชอบที่ขาดการฝึกฝนจะถูกครอบงำได้ง่ายจากธรรมเนียมและนิสัยของผู้คนในชุมชน. สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราและความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ก็อาจชักนำให้เราทำสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควรได้เช่นกัน. จะเกิดอะไรขึ้นกับสติรู้สึกผิดชอบหากเราเพิกเฉยเสียงกระตุ้นเตือนของมันครั้งแล้วครั้งเล่าและหากเราฝ่าฝืนมาตรฐานที่พระเจ้ากำหนดไว้? ในที่สุดสติรู้สึกผิดชอบก็จะเสมือนมีรอยที่ถูกนาบด้วย ‘เหล็กร้อนแดง’ เป็นเหมือนเนื้อที่ไหม้เกรียมกลายเป็นแผลเป็น คือตายด้านและด้านชา. (1 ติโมเธียว 4:2) ในอีกด้านหนึ่ง สติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึกฝนจากพระคำของพระเจ้าให้การชี้นำที่ปลอดภัย.
7. ข้อเรียกร้องสำคัญในการตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุมคืออะไร?
7 ฉะนั้น ข้อเรียกร้องสำคัญประการหนึ่งเพื่อจะแบกความรับผิดชอบในการตัดสินใจอย่างที่ฉลาดสุขุมก็คือ ความรู้ที่ถูกต้องในพระคัมภีร์และความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เหล่านั้น. แทนที่จะตัดสินใจอย่างผลีผลามเมื่อเผชิญทางเลือกต่าง ๆ เราควรใช้เวลาค้นคว้าหลักการต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิล และใช้ความสามารถในการคิดของเราในการนำหลักการเหล่านั้นไปใช้. แม้แต่เมื่อต้องตัดสินใจอย่างปัจจุบันทันด่วน เหมือนอย่างกรณีของซัดรัค, เมเซ็ค, และอะเบ็ดนะโค เราก็จะอยู่พร้อม หากเรามีความรู้ที่ถูกต้องในพระคำของพระเจ้าและสติรู้สึกผิดชอบของเราได้รับการฝึกฝนจากพระคำนั้น. เพื่อจะเข้าใจว่าการรุดหน้าสู่ความอาวุโสช่วยเราพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างไร ให้เรามาพิจารณาสองขอบเขตของชีวิต.
เราควรเลือกคบกับใคร?
8, 9. (ก) หลักการอะไรที่แสดงว่าต้องหลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมที่ไม่ดี? (ข) การคบหาสมาคมที่ไม่ดีหมายถึงเฉพาะการเป็นเพื่อนโดยตรงกับคนไม่มีศีลธรรมเท่านั้นไหม? จงอธิบาย.
8 อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “อย่าหลงผิด การคบหาสมาคมที่ไม่ดีย่อมทำให้นิสัยดีเสียไป.” (1 โกรินโธ 15:33, ล.ม.) พระเยซูคริสต์บอกเหล่าสาวกว่า “เจ้าไม่เป็นส่วนของโลก.” (โยฮัน 15:19, ล.ม.) เมื่อได้เรียนหลักการเหล่านี้ เราเข้าใจได้ไม่ยากว่า เราต้องหลีกเลี่ยงการเป็นมิตรสหายกับคนล่วงประเวณี, คนเล่นชู้, ขโมย, คนขี้เมา, และคนอื่น ๆ ประเภทนี้. (1 โกรินโธ 6:9, 10) แต่เมื่อเรามีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความจริงในคัมภีร์ไบเบิล เราก็ตระหนักว่าการใช้เวลาชมเรื่องของผู้คนแบบนี้ทางภาพยนตร์, ทีวี, จอคอมพิวเตอร์, หรืออ่านเรื่องเกี่ยวกับคนเหล่านั้นจากหนังสือ ก็ส่งผลเสียหายเช่นกัน. เป็นจริงอย่างนั้นด้วยกับการคบหากับ “คนอำพรางตัว” ผ่านทางแชตรูมในอินเทอร์เน็ต.—บทเพลงสรรเสริญ 26:4, ล.ม.
9 แล้วการคบหาใกล้ชิดกับผู้คนที่มีศีลธรรมแต่ไม่มีความเชื่อในพระเจ้าองค์เที่ยงแท้ล่ะ? พระคัมภีร์บอกเราว่า “โลกทั้งสิ้นอยู่ในอำนาจตัวชั่วร้าย.” (1 โยฮัน 5:19, ล.ม.) เราได้มาเข้าใจว่าการคบหาสมาคมที่ไม่ดีไม่ใช่หมายถึงแค่การคบหากับคนที่ประพฤติหละหลวมหรือเสื่อมทรามทางศีลธรรมเท่านั้น. ฉะนั้น เป็นการฉลาดสุขุมที่เราจะสร้างสัมพันธภาพใกล้ชิดเฉพาะแต่กับผู้ที่รักพระยะโฮวา.
10. อะไรช่วยเราให้ตัดสินใจอย่างสุขุมรอบคอบในเรื่องการติดต่อเกี่ยวข้องกับผู้คนในโลก?
10 การหลีกเลี่ยงไม่ติดต่อเกี่ยวข้องกับผู้คนในโลกอย่างสิ้นเชิงนั้นเป็นไปไม่ได้ และไม่มีการเรียกร้องให้ทำอย่างนั้นด้วย. (โยฮัน 17:15) การไปประกาศ, ไปโรงเรียน, ไปทำงาน ล้วนเกี่ยวข้องกับการพบปะผู้คนในโลก. คริสเตียนที่สมรสกับคนต่างศาสนากันก็อาจต้องติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกมากกว่าคนอื่น ๆ. อย่างไรก็ตาม หากเราใช้ความสามารถในการสังเกตเข้าใจ เราจะเข้าใจว่า การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกอย่างจำกัดเท่าที่จำเป็นนั้น ต่างกันกับการผูกสัมพันธภาพใกล้ชิดกับโลก. (ยาโกโบ 4:4) ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถตัดสินใจอย่างสุขุมรอบคอบได้ว่าเราควรจะเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษที่โรงเรียน เช่น กีฬานักเรียนและการเต้นรำ, และเข้าร่วมงานสังสรรค์และรับประทานอาหารมื้อพิเศษกับเพื่อนร่วมงานหรือไม่.
การเลือกงานทำ
11. อะไรคือสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเลือกงานทำ?
11 การนำหลักการจากคัมภีร์ไบเบิลไปใช้อย่างสุขุมรอบคอบช่วยเราตัดสินใจว่าเราจะบรรลุพันธะหน้าที่ของเราอย่างไรในการ ‘เลี้ยงดูสมาชิกครอบครัวของเรา.’ (1 ติโมเธียว 5:8, ล.ม.) สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ ลักษณะของงาน กล่าวคือ งานนั้นเรียกร้องให้เราทำอะไร. การเลือกงานที่ส่งเสริมสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลตำหนิโดยตรงนั้นผิดอย่างแน่นอน. ฉะนั้น คริสเตียนแท้จะไม่รับงานที่อาจเกี่ยวข้องกับการบูชารูปเคารพ, การขโมย, การใช้เลือดในทาง ที่ผิด, หรือกิจปฏิบัติอื่น ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการในพระคัมภีร์. นอกจากนั้น เราจะไม่พูดโกหกหรือหลอกลวง แม้นายจ้างเรียกร้องให้เราทำเช่นนั้นก็ตาม.—กิจการ 15:29; วิวรณ์ 21:8.
12, 13. นอกเหนือจากลักษณะของงานเองแล้ว มีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่มีความสำคัญในการตัดสินใจเลือกงานทำ?
12 แล้วหากงานที่จะทำไม่ได้ขัดกับข้อเรียกร้องใด ๆ ของพระเจ้าโดยเฉพาะล่ะ? เมื่อเรามีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความจริงและความสามารถในการสังเกตเข้าใจของเราพัฒนาขึ้น เราจะตระหนักว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงด้วย. จะว่าอย่างไรถ้างานนั้นทำให้เราไปพัวพันกับกิจปฏิบัติที่ขัดกับพระคัมภีร์ เช่น การทำหน้าที่รับโทรศัพท์ที่บ่อนการพนัน? แหล่งที่มาของค่าจ้างและสถานที่ที่เราทำงานก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วย. ตัวอย่างเช่น คริสเตียนที่เป็นผู้รับเหมาอิสระจะเสนอประมูลงานทาสีโบสถ์ของคริสตจักรไหม ซึ่งเป็นการมีส่วนช่วยสนับสนุนศาสนาเท็จ?—2 โกรินโธ 6:14-16.
13 จะว่าอย่างไรถ้าโอกาสหนึ่งนายจ้างของเรารับเหมาทาสีสถานนมัสการของศาสนาเท็จ? ในกรณีนี้ เราคงต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น เรามีอำนาจควบคุมขอบเขตของงานที่จะทำนั้นถึงขีดไหน และเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานนั้นมากน้อยเพียงไร. และจะว่าอย่างไรถ้าเราทำการบริการที่ไม่ขัดกับมาตรฐานในพระคัมภีร์ เช่น ส่งไปรษณียภัณฑ์ตามสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน ซึ่งก็รวมถึงสถานที่ที่มีการทำผิดศีลธรรมด้วย? หลักการที่กล่าวไว้ในมัดธาย 5:45 น่าจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของเรามิใช่หรือ? สิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามด้วยก็คือ การที่เราทำงานนั้นทุกวัน ๆ อาจส่งผลกระทบต่อสติรู้สึกผิดชอบของเราอย่างไร. (เฮ็บราย 13:18) ใช่แล้ว ที่จะแบกความรับผิดชอบของเราในการตัดสินใจอย่างสุขุมรอบคอบในเรื่องงานเราต้องพัฒนาความสามารถในการสังเกตเข้าใจให้เฉียบแหลมขึ้นและฝึกฝนสติรู้สึกผิดชอบที่พระเจ้าประทานให้.
“จงรับพระองค์ให้เข้าส่วนในทางทั้งหลายของเจ้า”
14. อะไรที่เราควรคำนึงถึงเสมอเมื่อต้องทำการตัดสินใจ?
14 จะว่าอย่างไรสำหรับการตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ เช่น การศึกษาต่อ และการยอมรับหรือปฏิเสธการรักษาบางอย่างทางการแพทย์? เมื่อเผชิญการตัดสินใจเรื่องใดก็ตาม เราต้องค้นดูให้รู้แน่ถึงหลักการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องนั้น แล้วใช้ความสามารถในการคิดหาเหตุผลของเราประยุกต์ใช้หลักการเหล่านั้น. กษัตริย์ซะโลโมผู้ชาญฉลาดแห่งชาติอิสราเอลโบราณกล่าวไว้ว่า “จงวางใจในพระยะโฮวาด้วยสุดใจของเจ้า, อย่าพึ่งในความเข้าใจของตนเอง: จงรับพระองค์ให้เข้าส่วนในทางทั้งหลายของเจ้า, และพระองค์จะชี้ทางเดินของเจ้าให้แจ่มแจ้ง.”—สุภาษิต 3:5, 6.
15. เราเรียนอะไรจากคริสเตียนในศตวรรษแรกเรื่องการตัดสินใจ?
15 บ่อยครั้งการตัดสินใจเลือกของเราส่งผลกระทบต่อคนอื่น ๆ และเราต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย. เพื่อเป็นตัวอย่าง คริสเตียนในศตวรรษแรกไม่ได้อยู่ใต้พระบัญญัติของโมเซอีกต่อไปในเรื่องที่ห้ามบริโภคอาหารบางประเภท. คริสเตียนสามารถเลือกกินอาหารบางอย่างที่เคยถือว่าไม่สะอาดตามพระบัญญัติและไม่มีข้อขัดข้องในด้านอื่น ๆ. อย่างไรก็ตาม อัครสาวกเปาโลเขียนเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ที่อาจเกี่ยวข้องในทางใดทางหนึ่งกับวิหารที่มีการบูชารูปเคารพว่า “ถ้าอาหารเป็นเหตุให้พี่น้องของข้าพเจ้าหลงผิด, ข้าพเจ้าก็จะ1 โกรินโธ 8:11-13) คริสเตียนสมัยแรกได้รับการสนับสนุนให้คำนึงถึงสติรู้สึกผิดชอบของผู้อื่นเพื่อไม่เป็นเหตุให้ใครหลงผิด. การตัดสินใจของเราไม่ควรจะทำให้ตัวเราเอง “เป็นต้นเหตุให้” คนอื่น “หลงผิด.”—1 โกรินโธ 10:29, 32.
ไม่กินเนื้อสัตว์ต่อไปเป็นนิตย์, เกรงว่าข้าพเจ้าจะทำให้พี่น้องหลงผิดไป.” (จงแสวงหาสติปัญญาจากพระเจ้า
16. การอธิษฐานเป็นสิ่งที่ช่วยเราอย่างไรเมื่อทำการตัดสินใจ?
16 สิ่งช่วยเหลือที่ล้ำค่าในการตัดสินใจคือการอธิษฐาน. สาวกยาโกโบกล่าวว่า “ถ้าผู้ใดในพวกท่านขาดสติปัญญา ก็ให้คนนั้นขอแต่พระเจ้า ผู้ทรงโปรดประทานให้แก่คนทั้งปวงด้วยเต็มพระทัยและมิได้ทรงติว่า, แล้วก็จะได้ทรงประทานให้แก่ผู้นั้น.” (ยาโกโบ 1:5) ด้วยความเชื่อมั่น เราสามารถหันเข้าหาพระยะโฮวาได้โดยการอธิษฐานและทูลขอสติปัญญาที่จำเป็นเพื่อจะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง. เมื่อเราพูดคุยกับพระเจ้าองค์เที่ยงแท้ถึงสิ่งที่เราเป็นห่วงและเสาะหาการชี้นำจากพระองค์ พระวิญญาณบริสุทธิ์อาจช่วยเราให้เข้าใจกระจ่างขึ้นในข้อพระคัมภีร์ที่กำลังพิจารณาอยู่นั้นและระลึกถึงข้อพระคัมภีร์อื่น ๆ ที่เราอาจมองข้ามไป.
17. คนอื่น ๆ จะช่วยเราได้อย่างไรในขั้นตอนทำการตัดสินใจ?
17 คนอื่น ๆ จะช่วยเราได้ไหมในการตัดสินใจ? ใช่แล้ว พระยะโฮวาทรงจัดให้มีผู้อาวุโสอยู่ในประชาคม. (เอเฟโซ 4:11, 12) พวกเขาสามารถเป็นที่ปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ. ผู้ที่มีความหยั่งรู้เข้าใจอย่างลึกซึ้งทางฝ่ายวิญญาณและมีประสบการณ์ในชีวิตสามารถช่วยเราให้ใส่ใจหลักการอื่น ๆ เพิ่มเติมจากคัมภีร์ไบเบิลที่อาจเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของเรา และช่วยเรา “ตรวจดูให้รู้แน่ถึงสิ่งที่สำคัญกว่า.” (ฟิลิปปอย 1:9, 10, ล.ม.) อย่างไรก็ตาม ข้อพึงระวังคือ เราต้องระวังที่จะไม่ให้คนอื่นตัดสินใจแทนเรา. เราต้องแบกความรับผิดชอบในการตัดสินใจด้วยตัวเอง.
ผลจะออกมาดีเสมอหรือ?
18. อาจกล่าวได้เช่นไรเกี่ยวกับผลของการตัดสินใจอย่างถูกต้อง?
18 การตัดสินใจที่ยึดมั่นกับหลักการจากคัมภีร์ไบเบิลและด้วยสติรู้สึกผิดชอบอันดีจะนำไปสู่ผลดีเสมอไหม? ใช่แล้ว สำหรับผลในระยะยาว. แต่ในระยะสั้น บางครั้งอาจเป็นผลที่ไม่น่าปรารถนาก็ได้. ซัดรัค, เมเซ็ค, และอะเบ็ดนะโค รู้ว่าการตัดสินใจไม่ยอมก้มกราบรูปเคารพมหึมานั้นอาจนำไปสู่ความตาย. (ดานิเอล 3:16-19) คล้ายกัน หลังจากที่เหล่าอัครสาวกบอกศาลสูงของพวกยิวว่าพวกเขาต้องเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์ พวกเขาถูกโบยก่อนจะถูกปล่อยตัวไป. (กิจการ 5:27-29, 40) นอกจากนี้ “วาระและเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้า” อาจก่อผลกระทบที่ไม่น่าปรารถนาขึ้นได้ต่อผลของการตัดสินใจใด ๆ ก็ตาม. (ท่านผู้ประกาศ 9:11, ล.ม.) ถ้าเราประสบปัญหาในทางใดทางหนึ่งทั้ง ๆ ที่ทำการตัดสินใจอย่างถูกต้องแล้ว เราก็มั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาจะช่วยเราให้อดทน และจะทรงอวยพรเราในวันข้างหน้า.—2 โกรินโธ 4:7.
19. เราจะแบกความรับผิดชอบในการตัดสินใจอย่างกล้าหาญได้อย่างไร?
19 ฉะนั้น เมื่อทำการตัดสินใจ เราต้องค้นหาหลักการจากพระคัมภีร์ แล้วใช้ความสามารถในการคิดของเราประยุกต์ใช้หลักการเหล่านั้น. เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรที่พระยะโฮวาให้ความช่วยเหลือแก่เราโดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์และผู้อาวุโสในประชาคม! โดยอาศัยการชี้นำและความช่วยเหลือเหล่านั้น ขอให้เรามีความกล้าหาญที่จะแบกความรับผิดชอบของเราเองในการตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุม.
คุณได้เรียนรู้อะไร?
• อะไรคือข้อเรียกร้องสำคัญเพื่อจะตัดสินใจอย่างฉลาดสุขุม?
• การรุดหน้าสู่ความอาวุโสมีผลต่อเราอย่างไรในการเลือกผู้ที่เราคบหา?
• มีปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่เราควรคำนึงถึงเมื่อทำการตัดสินใจเรื่องงานที่จะทำ?
• มีความช่วยเหลืออะไรอยู่พร้อมเมื่อเราต้องทำการตัดสินใจ?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 22]
การไม่เชื่อฟังของอาดามกับฮาวาสอนบทเรียนสำคัญแก่เรา
[ภาพหน้า 24]
ก่อนทำการตัดสินใจที่สำคัญ จงค้นคว้าหลักการจากพระคัมภีร์