คำถามจากผู้อ่าน
คำถามจากผู้อ่าน
อัครสาวกเปาโลหมายความว่าอย่างไรเมื่อกล่าวว่า ผู้หญิงควร “นิ่งเสียในที่ประชุม”?
เปาโลเขียนถึงประชาคมคริสเตียนในเมืองโครินท์ดังนี้: “ดังที่ปฏิบัติกันอยู่ในบรรดาคริสตจักรแห่งสิทธชนนั้น. จงให้พวกผู้หญิงนิ่งเสียในที่ประชุม เพราะไม่ทรงยอมให้เขาพูด.” (1 โกรินโธ 14:33, 34) เพื่อเราจะเข้าใจข้อคัมภีร์นี้อย่างถูกต้อง นับว่าเป็นประโยชน์ที่เราจะพิจารณาบริบทของคำแนะนำที่เปาโลให้ไว้.
ที่ 1 โกรินโธ บท 14 เปาโลกำลังพูดถึงเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมของประชาคมคริสเตียน. ท่านอธิบายว่าควรมีการพิจารณาเรื่องอะไร ณ การประชุมและแนะนำว่าพวกเขาควรปฏิบัติตัวอย่างไร. (1 โกรินโธ 14:1-6, 26-34) นอกจากนั้น ท่านได้เน้นวัตถุประสงค์ของการประชุมคริสเตียน นั่นคือ เพื่อ “คริสตจักร [“ประชาคม,” ล.ม.] จะได้รับความเจริญขึ้น.”—1 โกรินโธ 14:4, 5, 12, 26.
คำแนะนำของเปาโลที่ให้ “นิ่ง” ปรากฏสามครั้งใน 1 โกรินโธ บท 14. แต่ละครั้งเปาโลกล่าวกับคนแต่ละกลุ่มในประชาคม แต่ทุกครั้งที่กล่าวเช่นนั้นท่านได้ให้เหตุผลเดียวกัน นั่นคือ เพื่อ “ให้ทุกสิ่งดำเนินไปอย่างที่ถูกที่ควรและเป็นไปตามระเบียบ.”—1 โกรินโธ 14:40, ล.ม.
ครั้งแรกเปาโลกล่าวว่า “ถ้าผู้ใดจะพูดภาษาแปลก ๆ จงให้พูดเพียงแต่สองคน หรืออย่างมากที่สุดเพียงสามคน, และให้พูดทีละคน, และให้คนหนึ่งแปล. แต่ถ้าไม่มีผู้ใดแปลได้ก็ให้คนเหล่านั้นนิ่ง อยู่ในที่ประชุม, และให้พูดกับตัวเอง และทูลแก่พระเจ้า.” (1 โกรินโธ 14:27, 28) นี่ไม่ได้หมายความว่าคนนั้นจะไม่ได้พูดเลย ณ การประชุม แต่หมายความว่ามีบางโอกาสที่เขาควรจะนิ่งเงียบ. ที่จริง เขาคงไม่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการประชุม ซึ่งก็คือเพื่อเสริมสร้างกันและกัน หากเขาพูดภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ.
ครั้งที่สองเปาโลกล่าวว่า “ฝ่ายพวกผู้พยากรณ์นั้นให้พูดสองคนหรือสามคน และให้คนอื่นพิจารณาข้อความนั้น. ถ้ามีสิ่งใดทรงสำแดงแก่คนอื่นที่นั่งอยู่ด้วยกัน, ให้คนเดิมนั้นนิ่ง เสียก่อน.” ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าคนแรกที่พยากรณ์นั้นจะไม่ได้พูด ณ ที่ประชุม แต่เขาจะต้องนิ่ง1 โกรินโธ 14:26, 29-31.
เงียบในบางโอกาส. แล้วคนที่ได้รับการสำแดงหรือเปิดเผยโดยการอัศจรรย์นั้นจึงจะกล่าวแก่ประชาคมได้ โดยวิธีนี้จึงจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการประชุม นั่นคือเพื่อจะ “ได้รับความหนุนใจสิ้นทุกคน.”—ครั้งที่สาม เปาโลกล่าวกับสตรีคริสเตียนเท่านั้น โดยพูดว่า “จงให้พวกผู้หญิงนิ่งเสียในที่ประชุม เพราะไม่ทรงยอมให้เขาพูด แต่จงให้เขาอยู่ใต้บังคับบัญชา.” (1 โกรินโธ 14:34) ทำไมเปาโลจึงให้คำสั่งเช่นนี้แก่พี่น้องหญิง? ก็เพื่อจะรักษาความเป็นระเบียบในประชาคม. ท่านกล่าวว่า “ถ้าเขาอยากรู้สิ่งใดก็ให้ถามสามีที่บ้าน เพราะว่าที่ผู้หญิงจะพูดในที่ประชุมนั้นก็น่าอาย.”—1 โกรินโธ 14:35.
บางทีพี่น้องหญิงบางคนอาจมีความเห็นขัดแย้งกับสิ่งที่กล่าวในที่ประชุม. คำแนะนำของเปาโลช่วยพี่น้องหญิงให้หลีกเลี่ยงน้ำใจที่ก่อความไม่สงบและยอมรับฐานะของตนในการจัดเตรียมของพระยะโฮวาเรื่องความเป็นประมุขด้วยความถ่อมใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงผู้ที่เป็นสามี. (1 โกรินโธ 11:3) นอกจากนี้ โดยการนิ่งเสีย พี่น้องหญิงจะแสดงให้เห็นว่าพวกเธอไม่ปรารถนาจะเป็นผู้สอนในประชาคม. เมื่อเปาโลเขียนจดหมายไปหาติโมเธียว ท่านแสดงให้เห็นว่าคงเป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่ผู้หญิงจะทำหน้าที่ผู้สอนในประชาคม. ท่านกล่าวดังนี้: “ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้ผู้หญิงสั่งสอนหรือใช้อำนาจเหนือผู้ชาย, แต่ให้เขานิ่ง ๆ อยู่.”—1 ติโมเธียว 2:12.
นี่หมายความว่าสตรีคริสเตียนไม่ควรพูดเลยในระหว่างการประชุมประชาคมอย่างนั้นไหม? ไม่ใช่. ในสมัยของเปาโลมีบางโอกาสที่สตรีคริสเตียนจะอธิษฐานหรือพยากรณ์ในที่ประชุม ซึ่งอาจเป็นเพราะได้รับการกระตุ้นโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์. ในโอกาสเช่นนั้น พวกเธอจะยอมรับฐานะของตนโดยการคลุมศีรษะ. * (1 โกรินโธ 11:5) นอกจากนั้น ไม่ว่าในสมัยของเปาโลหรือทุกวันนี้ พี่น้องทั้งหญิงและชายต่างก็ได้รับการกระตุ้นให้ประกาศความหวังของตนอย่างเปิดเผย. (เฮ็บราย 10:23-25) นอกจากจะทำเช่นนั้นขณะที่รับใช้ตามบ้านแล้ว พี่น้องหญิงยังประกาศความหวังของตนและสนับสนุนคนอื่น ๆ ระหว่างการประชุมประชาคมด้วยการให้ความคิดเห็นที่ไตร่ตรองอย่างดีเมื่อได้รับเชิญให้ตอบ และพวกเธอยังตอบรับการมอบหมายส่วนสาธิตและนักเรียนในโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้าอีกด้วย.
ดังนั้น สตรีคริสเตียนจึง ‘นิ่งเงียบ’ โดยไม่พยายามจะทำบทบาทซึ่งเป็นของผู้ชายและสอนต่อหน้าประชาคม. พวกเธอไม่ตั้งคำถามเชิงโต้แย้งซึ่งอาจเป็นการท้าทายอำนาจของผู้สอน. โดยทำบทบาทที่เหมาะสมของตนในประชาคมอย่างครบถ้วน สตรีคริสเตียนมีส่วนอย่างมากในการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งสันติสุขในประชาคม ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ “ทุกสิ่ง [ณ การประชุมประชาคม] เป็นไปเพื่อการเสริมสร้าง.”—1 โกรินโธ 14:26, 33, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 10 ปัจจุบัน พี่น้องหญิงที่อาวุโสได้ติดตามแบบอย่างนี้เมื่อมีสภาพการณ์บางอย่างที่ทำให้พวกเธอต้องทำหน้าที่แทนพี่น้องชายในประชาคม.—ดูหอสังเกตการณ์ฉบับ 15 กรกฎาคม 2002 หน้า 26.