จากคุกมืดสู่เทือกเขาแอลป์ในสวิตเซอร์แลนด์
เรื่องราวชีวิตจริง
จากคุกมืดสู่เทือกเขาแอลป์ในสวิตเซอร์แลนด์
เล่าโดยโลทาร์ วัลเทอร์
หลังจากติดคุกมืดนานถึงสามปีในเรือนจำคอมมิวนิสต์ทางเยอรมนีตะวันออกผมเกือบทนรอไม่ไหวที่จะสูดกลิ่นอายของอิสรภาพที่ยังความสดชื่นอีกทั้งจะได้กลับไปอยู่ร่วมกับครอบครัวอย่างอบอุ่น.
อย่างไรก็ดี ผมไม่ได้เตรียมใจให้พร้อมสำหรับสีหน้าส่อความไม่แน่ใจของโยฮันเนสลูกชายวัยหกขวบ. เพราะสามปีหลังในชีวิตลูกชายไม่เคยเห็นหน้าพ่อ. ผมเป็นคนแปลกหน้าอย่างสิ้นเชิงสำหรับลูก.
ต่างกันกับลูกชาย ตอนเป็นเด็ก ผมมีความสุขได้อยู่ใกล้ชิดพ่อแม่ผู้เปี่ยมความรัก. บรรยากาศภายในบ้านของเราที่เมืองเคมนิตซ์ ประเทศเยอรมนีมีแต่ความรัก ผมเกิดที่นั่นปี 1928. คุณพ่อเป็นคนโผงผางเมื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจศาสนา. ท่านเล่าว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกทหารแต่ละฝ่ายซึ่งอ้างตัวเป็น “คริสเตียน” อวยพรให้อีกฝ่ายด้วยคำ “เมอร์รีคริสต์มาส” ในวันที่ 25 ธันวาคม ครั้นแล้ว วันถัดไปก็กลับไปเข่นฆ่ากันอีก. สำหรับท่าน ศาสนาเป็นสุดยอดของความหน้าซื่อใจคด.
ความผิดหวังเปิดทางให้ความเชื่อเข้ามาแทน
น่ายินดีที่ผมไม่ประสบความผิดหวังเช่นนั้น. สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเมื่อผมอายุ 17 ปี และผมจึงพ้นการเกณฑ์ทหารอย่างหวุดหวิด. กระนั้นก็ดี ผมเป็นทุกข์เพราะหลายคำถามคอยรบกวนจิตใจ อาทิ ‘ทำไมจึงฆ่าฟันกัน? ผมจะไว้ใจใครได้? จะหาความปลอดภัยที่แท้จริงจากที่ไหน?’ เยอรมนีตะวันออกซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของเราตกอยู่ใต้อำนาจบังคับของโซเวียต. อุดมการณ์ของระบอบคอมมิวนิสต์ที่ยึดเอาความยุติธรรม, ความเสมอภาค, ความมั่นคงเป็นปึกแผ่น, และสันติไมตรีได้จูงใจคนเหล่านั้นซึ่งเหนื่อยล้าระอาใจจากผลเสียหายของสงคราม. ไม่นานเท่าไร หลายคนท่ามกลางสุจริตชนเหล่านี้ก็จะรู้สึกผิดหวังอย่างแรง—คราวนี้ไม่ใช่โดยศาสนา แต่โดยการเมือง.
มัดธายบท 24 ทั้งบท นับเป็นครั้งแรกในชีวิตก็ว่าได้. ผมประทับใจคำอธิบายที่มีเหตุผลและน่าเชื่อในหนังสือเล่มนั้น ซึ่งระบุสมัยของเราเป็น “ช่วงอวสานของระบบนี้” และแจ้งมูลฐานต้นเหตุแห่งปัญหาต่าง ๆ ของมนุษยชาติ.—มัดธาย 24:3, ล.ม.; วิวรณ์ 12:9.
ระหว่างที่ผมสืบเสาะหาคำตอบที่มีความหมายให้ตัวเอง คุณป้าของผมซึ่งเป็นพยานพระยะโฮวาได้พูดเรื่องความเชื่อของท่าน. ท่านให้ผมอ่านหนังสือที่ยึดพระคัมภีร์เป็นหลัก ซึ่งกระตุ้นผมให้อ่านหลังจากนั้นไม่นาน ผมได้รับสิ่งพิมพ์ของพยานพระยะโฮวามากขึ้น และขณะอ่านหนังสือเหล่านั้นอย่างจริงจัง ผมตระหนักว่าผมพบความจริงตามที่ผมแสวงหาด้วยใจแรงกล้า. ผมตื่นเต้นมากที่เรียนรู้ว่าพระเยซูคริสต์ขึ้นครองราชย์ในสวรรค์ปี 1914 และอีกไม่ช้าพระองค์จะทรงปราบองค์กรต่าง ๆ ที่ดูหมิ่นพระเจ้า เพื่อนำพระพรสู่มนุษยชาติที่เชื่อฟัง. การค้นพบที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับผมคือความเข้าใจกระจ่างแจ้งเรื่องค่าไถ่. เรื่องนี้ทำให้ผมหันเข้าหาพระยะโฮวาพระเจ้าโดยทูลอธิษฐานจากใจจริงเพื่อขออภัยโทษ. ผมรู้สึกจับใจอย่างลึกซึ้งในคำเชิญอันอ่อนโยนซึ่งปรากฏอยู่ที่พระธรรมยาโกโบ 4:8 (ล.ม.) ที่ว่า “จงเข้าใกล้พระเจ้า แล้วพระองค์จะทรงเข้าใกล้ท่านทั้งหลาย.”
ทั้ง ๆ ที่ผมกระตือรือร้นมีใจแรงกล้าเนื่องจากได้พบความเชื่อใหม่ พ่อแม่และพี่สาวของผมทีแรกก็ยังลังเลที่จะยอมรับสิ่งที่ผมบอกให้เขาทราบ. อย่างไรก็ดี สิ่งนี้ไม่ได้ระงับความปรารถนาของผมที่จะร่วมการประชุมคริสเตียนซึ่งพยานฯ กลุ่มเล็ก ๆ จัดขึ้นใกล้เมืองเคมนิตซ์. ผมประหลาดใจมาก เมื่อพ่อแม่รวมทั้งพี่สาวด้วยได้ไปร่วมการประชุมครั้งแรกกับผม! ตอนนั้นเป็นฤดูหนาวช่วงปี 1945/1946. ต่อมา เมื่อมีการตั้งกลุ่มศึกษาพระคัมภีร์ที่เมืองฮาร์เทา ซึ่งพวกเราอยู่ที่นี่ ครอบครัวของผมก็เริ่มเข้าร่วมการศึกษาเป็นประจำ.
“ข้าพเจ้าเป็นเด็กอยู่”
การเรียนรู้ความจริงในคัมภีร์ไบเบิลที่มีความสำคัญ และการคบหาสมาคมกับประชาชนของพระยะโฮวาเป็นประจำกระตุ้นผมให้อุทิศชีวิตแด่พระยะโฮวา และผมได้รับบัพติสมา ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 1946. ผมมีความสุขมากเมื่อสมาชิกครอบครัวก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณเช่นเดียวกัน และในที่สุดคนทั้งสามก็เข้ามาเป็นพยานฯ ที่ซื่อสัตย์. พี่สาวของผมยังคงเป็นสมาชิกที่ขยันขันแข็งของประชาคมหนึ่งในเมืองเคมนิตซ์. ทั้งแม่และพ่อต่างก็รับใช้ด้วยความภักดีกระทั่งสิ้นอายุขัยในปี 1965 และปี 1986 ตามลำดับ.
หกเดือนภายหลังการรับบัพติสมา ผมเริ่มงานรับใช้ฐานะไพโอเนียร์พิเศษ. ตอนนี้แหละที่ผมเริ่มงานรับใช้ตลอดชีพ “ทั้งในยามเอื้ออำนวยและยามยากลำบาก.” (2 ติโมเธียว 4:2, ล.ม.) ต่อจากนั้นไม่นาน มีช่องทางใหม่ ๆ เปิดสู่งานรับใช้. พื้นที่ห่างไกลโดดเดี่ยวในเยอรมนีตะวันออกต้องการผู้รับใช้เต็มเวลาไปทำงาน. ผมกับเพื่อนพยานฯ คนหนึ่งสมัครไปยังเขตมอบหมายนี้ แต่ผมรู้ตัวว่ายังขาดประสบการณ์และวุฒิภาวะ อาจไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องรับผิดชอบ. เพราะอายุผมตอนนั้นแค่ 18 ปี ผมมีความรู้สึกเช่นเดียวกันกับยิระมะยาที่ว่า “โอ้ยะโฮวาพระเจ้า, ดูเถิด, ข้าพเจ้าพูดไม่ได้, เพราะข้าพเจ้าเป็นเด็กอยู่.” (ยิระมะยา 1:6) แม้ผมหวั่นหวาดอยู่บ้าง แต่ด้วยความกรุณา พี่น้องที่ รับผิดชอบจึงได้ตัดสินใจให้เราลองปฏิบัติหน้าที่ไปพลาง ๆ ก่อน. ดังนั้น เบลซิกเมืองเล็ก ๆ ในรัฐบรันเดนบูร์ก จึงเป็นเขตงานมอบหมายของเรา.
การเผยแพร่ในเขตงานนั้นไม่ง่ายเสียทีเดียว แต่เป็นการฝึกฝนซึ่งเอื้อประโยชน์แก่ผม. ต่อมา นักธุรกิจหญิงที่มีชื่อเสียงหลายคนได้ตอบรับข่าวราชอาณาจักรและมาเป็นพยานพระยะโฮวา. แต่สถานภาพของพวกเธอฐานะพยานฯ ขัดต่อธรรมเนียมประเพณีและความหวาดกลัวที่ฝังรากลึกของชุมชนเล็ก ๆ ในชนบทแถบนั้นด้วย. นักเทศน์นิกายโปรเตสแตนต์รวมทั้งบาทหลวงคาทอลิกต่อต้านพวกเราอย่างรุนแรง และตั้งข้อกล่าวหาอย่างผิด ๆ เนื่องด้วยงานประกาศเผยแพร่ของเรา. แต่ด้วยการวางใจพระยะโฮวาเพื่อการชี้นำและคุ้มครอง เราจึงสามารถช่วยผู้สนใจจำนวนหนึ่งรับเอาความจริง.
มีข้อบ่งชี้มากขึ้นถึงท่าทีที่ไม่ยอมผ่อนปรน
ปี 1948 ผมประสบทั้งพระพรและความยากลำบากหลายประการโดยไม่คาดคิด. ทีแรก ผมได้รับการมอบหมายไปทำงานฐานะไพโอเนียร์ที่เมืองรูดอล์สตัดท์ในรัฐทูรินเงน. ที่นั่นผมได้มารู้จักพี่น้องชายหญิงหลายคนที่ซื่อสัตย์มั่นคงและชื่นชมไมตรีจิตของเขา. พระพรสำคัญอีกประการหนึ่งได้เพิ่มเข้ามาในเดือนกรกฎาคมปีนั้น. ผมได้แต่งงานกับเอริคา อุลล์มันน์ คริสเตียนสาวที่ซื่อสัตย์และกระตือรือร้น ซึ่งผมรู้จักตั้งแต่ผมเริ่มเข้าร่วมการประชุมกับประชาคมเคมนิตซ์. เราเริ่มต้นทำงานรับใช้ด้วยกันฐานะไพโอเนียร์ในเมืองฮาร์เทา บ้านเกิดของผม. อย่างไรก็ตาม ต่อมา เอริคาไม่สามารถรับใช้เต็มเวลาเนื่องจากปัญหาสุขภาพและด้วยเหตุผลอื่นบางอย่าง.
สมัยนั้นประชาชนของพระยะโฮวาลำบาก. กรมแรงงานในเคมนิตซ์ระงับการแจกบัตรปันส่วนอาหารให้ผม พยายามบีบบังคับผมให้เลิกงานเผยแพร่และทำงานอาชีพเต็มเวลา. พวกพี่น้องที่รับผิดชอบได้ใช้กรณีของผมร้องเรียนรัฐให้การยินยอมตามกฎหมาย. การร้องเรียนไม่เป็นผล และวันที่ 23 มิถุนายน 1950 ผมถูกพิพากษาให้ชำระค่าปรับ หรือไม่ก็ติดคุก 30 วัน. พวกเรายื่นอุทธรณ์ แต่ศาลสูงปฏิเสธ ผมจึงต้องติดคุก.
เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเพียงแค่การบ่งบอกถึงพายุแห่งการต่อต้านและความทุกข์ยากที่จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ. ไม่ถึงหนึ่งเดือนต่อมา ในเดือนกันยายน 1950 หลังจากเริ่มรณรงค์ให้ร้ายทางสื่อต่าง ๆ แล้ว รัฐบาลระบอบคอมมิวนิสต์ได้ประกาศห้ามกิจกรรมของพวกเรา. เนื่องจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและการยืนหยัดเป็นกลาง เราจึงถูกตราหน้าเป็นหน่วยสืบราชการลับของประเทศที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ทำ “กิจกรรมที่น่าสงสัย” โดยอาศัยศาสนาบังหน้า. ณ วันที่มีการประกาศห้ามนั่นเอง ภรรยาผมคลอดลูกชายคือโยฮันเนสที่บ้าน ขณะที่ผมอยู่ในคุก. ทั้ง ๆ ที่หญิงผดุงครรภ์ทัดทาน แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้ใช้อำนาจบุกเข้าไปในห้องชุดของเราโดยพลการและค้นหาหลักฐานยืนยันข้อหา. แน่ละ เขาไม่พบอะไรเลย. กระนั้นก็ดี พวกเขาทำสำเร็จในเวลาต่อมา โดยส่งคนเข้ามาสืบข้อมูลในประชาคมของเรา. นั่นนำไปสู่การจับกุมพี่น้องทั้งหมดที่รับผิดชอบ รวมถึงผมด้วย เมื่อเดือนตุลาคม 1953.
ภายในคุกมืด
หลังจากมีคำตัดสินจำคุกตั้งแต่สามปีถึงหกปีเป็นลำดับ พวกเราสมทบกับกลุ่มพี่น้องของเราในห้องมืดอันแสนโสโครกแห่งปราสาทโอสเทอร์สไตน์ เมืองชวิกเคา. แม้สภาพแวดล้อมที่นั่นน่าขยะแขยง แต่ก็เป็นความยินดีอย่างแท้จริงที่ได้คบหากับพี่น้องอาวุโส. การขาดอิสรภาพไม่ได้หมายความว่าเราขาดแคลนอาหารฝ่ายวิญญาณ. แม้รัฐบาลดูถูกดูหมิ่นและประกาศห้าม กระนั้น วารสารหอสังเกตการณ์ ก็ยังเล็ดลอดเข้าไปถึงในคุกและไปถึงพวกเราที่ถูกขังในห้องใต้ดิน! เป็นไปได้อย่างไร?
พี่น้องชายบางคนถูกส่งไปทำงานในเหมืองถ่านหิน ที่นั่นพวกเขาพบพยานฯ ที่ไม่ติดคุกและได้รับวารสารจากพี่น้องเหล่านั้น. ครั้นแล้ว ด้วยไหวพริบอันชาญฉลาด พวกพี่น้องแอบซุกซ่อนวารสารเข้าไปในคุก และจัดการให้อาหารฝ่ายวิญญาณซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งถึงมือพวกเราทุกคน. ผมเป็นสุขและได้รับการหนุนใจมากเหลือเกินเพราะผมประสบการใฝ่พระทัยและการชี้นำของพระยะโฮวาด้วยวิธีนี้!
ปลายปี 1954 พวกเราโดนย้ายไปอยู่ในคุกเมืองทอร์เกาที่ขึ้นชื่อด้านความย่ำแย่เหลือทน. บรรดาพยานฯ ที่นั่นดีใจที่ได้ต้อนรับพวกเรา. จนถึงตอนนั้น พวกเขาคงไว้ซึ่งความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณโดยท่องสิ่งที่เขายังจำได้จากหอสังเกตการณ์ ฉบับก่อน ๆ. พวกเขาใฝ่ฝันที่จะได้อาหารฝ่ายวิญญาณที่ออกมาใหม่ ๆ สักเพียงใด! ตอนนี้เป็นหน้าที่ของเราที่จะแบ่งปันเนื้อหาสาระของความจริงในคัมภีร์ไบเบิลให้พวกเขาเท่าที่เราศึกษามาแล้วตอนอยู่ชวิกเคา. ทว่าเราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไรในเมื่อมีกฎเคร่งครัดห้ามพูดคุยกันระหว่างที่เราเดินรอบลานบริเวณเรือนจำในแต่ละวัน? พวกพี่น้องได้ให้ข้อแนะอันมีค่าในเรื่องวิธีการ และพระหัตถ์อันทรงฤทธิ์ของพระยะโฮวาทรงพิทักษ์และชี้นำพวกเรา. เรื่องนี้สอนเราถึงความสำคัญของการพากเพียรศึกษาพระคัมภีร์และการคิดรำพึงขณะที่เรามีอิสระและโอกาสทำเช่นนั้น.
วาระสำหรับการตัดสินใจครั้งสำคัญ
ด้วยความช่วยเหลือของพระยะโฮวา พวกเราจึงตั้งมั่นคง. พวกเราประหลาดใจมากทีเดียวเมื่อหลายคนได้รับนิรโทษกรรมตอนสิ้นปี 1956. ยากจะพรรณนาความสุขของพวกเราเมื่อประตูคุกเปิดออก! ตอนนั้น ลูกชายผมอายุหกขวบ และสำหรับผมถือเป็นความปีติยินดีอย่างยิ่งที่ได้กลับมาอยู่กับภรรยาและมีส่วนในการเลี้ยงลูกของเรา. ชั่วระยะหนึ่งโยฮันเนสแสดงท่าทีต่อผมอย่างคนแปลกหน้า แต่ไม่นาน ความผูกพันอบอุ่นฉันพ่อลูกระหว่างเราสองคนก็ผนึกแน่น.
พยานพระยะโฮวาในเยอรมนีตะวันออกเผชิญกาลเวลาอันยากลำบากยิ่ง. การเป็นศัตรูต่องานเผยแพร่คริสเตียนของเราได้เพิ่มทวี และการยืนหยัดรักษาความเป็นกลางหมายถึงการที่เราจำต้องอยู่ท่ามกลางการข่มขู่คุกคามอย่างต่อเนื่อง ชีวิตห้อมล้อมด้วยภัยอันตราย, วิตกกังวล, และอิดโรย. ด้วยเหตุนี้ ผมกับเอริคาจึงต้องพิจารณาสภาพการณ์ของเราอย่างรอบคอบด้วยการอธิษฐาน และเรารู้สึกว่าจำต้องย้ายไปยังสภาพแวดล้อมที่เหมาะกว่า เพื่อความวิตกกังวลจะไม่บ่อนทำลายเรากระทั่งไม่เหลืออะไร. เราต้องการเป็นอิสระในการรับใช้พระยะโฮวาและติดตามเป้าหมายฝ่ายวิญญาณ.
ในฤดูใบไม้ผลิปี 1957 โอกาสก็เปิดให้เราได้ย้ายไปยังสตุตการ์ต เยอรมนีตะวันตก. ที่นั่นไม่มีการสั่งห้ามงานประกาศเผยแพร่ และเราสามารถสมาคมคบหากับพี่น้องของเราอย่างเป็นอิสระ. การเกื้อหนุนด้วยความรักของเขามีมากเหลือล้น. เราอยู่กับประชาคมในเฮเดลฟิงเกนนานเจ็ดปี. ระหว่างปีเหล่านั้น ลูกชายของเราได้เข้าโรงเรียนและก้าวหน้าเป็นอย่างดีในทางความจริง. เดือนกันยายน 1962 ผมมีสิทธิพิเศษเข้ารับการอบรมที่โรงเรียนพระราชกิจในวีสบาเดิน. ที่นั่น ผมได้รับการสนับสนุนให้ย้ายครอบครัวไปรับใช้ในพื้นที่ที่ต้องการผู้สอนพระคัมภีร์ที่พูดภาษาเยอรมัน. ทั้งนี้รวมถึงพื้นที่บางส่วนในเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์.
ไปต่อจนถึงเทือกเขาแอลป์ของสวิตเซอร์แลนด์
ดังนั้น เราจึงย้ายไปสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1963. เรารับการชี้แนะให้ทำงานร่วมกับประชาคมเล็ก ๆ ในเมืองบรุนเนน ติดทะเลสาบลูเซิร์นที่สวยงาม ในตอนกลางเทือกเขาแอลป์ของสวิส. สำหรับพวกเราเหมือนกับว่าเรากำลังอยู่ในอุทยาน. เราต้องปรับตัวให้ชินกับภาษาถิ่นสวิส-เยอรมันที่คนในแถบนั้นพูดกัน และปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตและเจตคติของผู้คนในท้องถิ่น. กระนั้นก็ดี เราชื่นชมที่ได้ทำงานเผยแพร่ท่ามกลางประชาชนที่รักสันติ. เราอยู่ในบรุนเนนนานถึง 14 ปี. ลูกชายของเราเติบโตขึ้นที่นั่น.
ปี 1977 เมื่ออายุผมเกือบ 50 เราได้รับเชิญเข้าไปรับใช้ในสำนักเบเธลสวิสที่เมืองทูน. เราถือเป็นสิทธิพิเศษโดยไม่นึกไม่ฝัน และเราก็ตอบรับคำเชิญด้วยความรู้สึกบทเพลงสรรเสริญ 9:1.
ขอบคุณอย่างลึกซึ้ง. ผมกับภรรยารับใช้ในเบเธลเก้าปี เรารำลึกอยู่เสมอว่าช่วงนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในชีวิตคริสเตียน และเป็นพัฒนาการฝ่ายวิญญาณเฉพาะตัวของเรา. นอกจากนั้น เราชื่นชมที่ได้ร่วมทำงานประกาศเผยแพร่กับผู้ประกาศที่มีภูมิลำเนาในเมืองทูนและพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดเวลาเรามองเห็นทิวทัศน์เทือกเขาเบิร์นในสวิตเซอร์แลนด์ที่ปกคลุมด้วยหิมะ สิ่งหนึ่งใน “การมหัศจรรย์ต่าง ๆ” ของพระยะโฮวา.—ย้ายอีกครั้งหนึ่ง
ถัดจากนั้น ต้นปี 1986 เราย้ายอีกครั้งหนึ่ง. เราถูกมอบหมายให้ทำงานฐานะไพโอเนียร์พิเศษที่ประชาคมบุคส์ ซึ่งเป็นเขตงานกว้างใหญ่มากทางภาคตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์. เราต้องปรับตัวอีกเพื่อให้ชินกับวิถีชีวิตที่ต่างออกไป. อย่างไรก็ตาม โดยได้รับการกระตุ้นจากความปรารถนาที่จะรับใช้พระยะโฮวาไม่ว่าที่ไหนที่เราสามารถทำประโยชน์ได้มากที่สุด เรายอมรับหน้าที่มอบหมายใหม่คราวนี้และเราได้รับพระพรจากพระองค์. บางครั้งผมทำหน้าที่แทนผู้ดูแลเดินทาง โดยการเยี่ยมประชาคมต่าง ๆ และให้การหนุนใจ. สิบแปดปีผ่านไปและเรามีประสบการณ์ซึ่งยังความสุขมากมายจากงานประกาศในภูมิภาคแถบนี้. ประชาคมในเมืองบุคส์เติบโตขึ้นและเราชื่นชอบการประชุมในหอประชุมราชอาณาจักรที่สวยงามซึ่งได้มีการอุทิศเมื่อห้าปีมาแล้ว.
พระยะโฮวาทรงใฝ่พระทัยพวกเราอย่างมากมาย. เราได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตทำงานรับใช้เต็มเวลา กระนั้นเราไม่เคยขาดสิ่งใด. เราชื่นชมยินดีและพึงพอใจที่เห็นลูกชายของเราพร้อมกับภรรยารวมทั้งลูกสามคนของเขา ทั้งครอบครัวของหลาน ๆ ต่างดำเนินอยู่ในทางของพระยะโฮวาด้วยความซื่อสัตย์.
เมื่อมองย้อนหลัง ผมรู้แน่แก่ใจว่าเราได้รับใช้พระยะโฮวามาตลอด “ทั้งในยามเอื้ออำนวยและยามยากลำบาก.” การมุ่งติดตามงานรับใช้ฝ่ายคริสเตียนได้นำผมออกมาจากคุกมืดคอมมิวนิสต์สู่เทือกเขาแอลป์ที่งดงามในสวิตเซอร์แลนด์. ผมกับครอบครัวไม่เคยนึกเสียใจเลย.
[กรอบหน้า 28]
“เหยื่อสองต่อ” ยืนหยัดมั่นคงเมื่อถูกกดขี่ข่มเหง
ภายใต้ระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (GDR) รู้จักกันทั่วไปว่าเยอรมนีตะวันออก พยานพระยะโฮวาถูกเพ็งเล็งเป็นพิเศษที่จะถูกปราบปรามอย่างโหดร้าย. บันทึกต่าง ๆ บ่งชี้ว่าพยานฯ มากกว่า 5,000 คนถูกส่งเข้าค่ายแรงงานบังคับให้ทำงานหนักและในศูนย์กักขังนักโทษเนื่องจากงานเผยแพร่ฝ่ายคริสเตียนและการรักษาความเป็นกลางของเขา.—ยะซายา 2:4.
มีการพรรณนาถึงบางคนในจำพวกพยานฯ เหล่านี้ว่า “เหยื่อสองต่อ.” พวกเขาประมาณ 325 คนถูกกักขังในค่ายกักกันและในเรือนจำของพวกนาซี. ครั้นแล้ว ในช่วงทศวรรษ 1950 พวกเขาถูกหน่วยสตาซี ฝ่ายดูแลความมั่นคงปลอดภัยของรัฐแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันติดตามไล่ล่าแล้วนำตัวไปกักขัง. คุกบางแห่งถูกพวกนาซีและเจ้าหน้าที่หน่วยสตาซีใช้ให้ทำหน้าที่สองต่อด้วยซ้ำ คือถูกใช้เป็นคุกนาซีก่อนแล้วจากนั้นเป็นคุกสตาซี.
ระหว่างสิบปีแรก จากปี 1950 ถึงปี 1961 ซึ่งการกดขี่ข่มเหงเป็นไปอย่างรุนแรง ยอดรวมพยานฯ ทั้งชายและหญิง 60 คนจบชีวิตในคุกเนื่องจากการปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อนักโทษ, ภาวะทุโภชนาการ, การเจ็บป่วย, และชราภาพ. พยานฯ สิบสองคนถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต และในเวลาต่อมาลดโทษจำคุกให้เหลือ 15 ปี.
เวลานี้ ณ สำนักงานกลางแห่งหน่วยสตาซีครั้งอดีตที่เบอร์ลินมีการจัดแสดงนิทรรศการอย่างถาวรซึ่งเน้น 40 ปีแห่งการข่มเหงพยานพระยะโฮวาในเยอรมนีตะวันออก. รูปภาพและประวัติส่วนตัวที่แสดงที่นั่นให้หลักฐานโดยปราศจากคำพูดถึงความกล้าหาญและความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณของเหล่าพยานฯ ผู้ซื่อสัตย์มั่นคงภายใต้การข่มเหงที่รุนแรง.
[แผนที่หน้า 24, 25]
(รายละเอียดดูจากวารสาร)
เยอรมนีตะวันออก
รูดอลสตัดท์
เบลซิก
ทอร์เกา
เคมนิตซ์
ชวิกเคา
[ภาพหน้า 25]
ปราสาทโอสเทอร์สไตน์ที่ชวิกเคา
[ที่มาของภาพ]
Fotosammlung des Stadtarchiv Zwickau, Deutschland
[ภาพหน้า 26]
กับเอริคา ภรรยาผม