“จงทำให้งานรับใช้ของท่านสำเร็จครบถ้วน”
“จงทำให้งานรับใช้ของท่านสำเร็จครบถ้วน”
“จงทำให้งานรับใช้ของท่านสำเร็จครบถ้วน.”—2 ติโมเธียว 4:5, ล.ม.
1, 2. แม้ว่าคริสเตียนทุกคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวดี แต่มีข้อเรียกร้องอะไรในพระคัมภีร์สำหรับผู้ปกครอง?
คุณเป็นผู้ประกาศราชอาณาจักรไหม? ถ้าใช่ ก็ขอให้ขอบคุณพระยะโฮวาพระเจ้าสำหรับสิทธิพิเศษอันยอดเยี่ยมนี้. คุณเป็นผู้ปกครองในประชาคมไหม? นั่นเป็นสิทธิพิเศษจากพระยะโฮวาที่เพิ่มเข้ามาอีก. แต่เราต้องไม่ลืมว่าไม่ใช่การศึกษาฝ่ายโลกหรือความสามารถในการพูดที่ทำให้ไม่ว่าใครในพวกเรามีคุณวุฒิสำหรับการประกาศหรือการดูแลประชาคม. พระยะโฮวาทำให้เรามีคุณวุฒิเพียงพอสำหรับงานรับใช้ และผู้ชายบางคนในพวกเรามีสิทธิพิเศษที่จะรับใช้ในฐานะผู้ดูแลก็เพราะพวกเขาบรรลุข้อเรียกร้องที่พระคัมภีร์กำหนดไว้โดยเฉพาะ.—2 โกรินโธ 3:5, 6; 1 ติโมเธียว 3:1-7.
2 คริสเตียนที่อุทิศตัวทุกคนทำงานของผู้เผยแพร่ข่าวดี แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ดูแลหรือผู้ปกครองจำเป็นต้องวางตัวอย่างที่ดีในงานรับใช้. ผู้ปกครอง “ที่พากเพียรในการพูดและการสั่งสอน” เป็นที่สังเกตเห็นของพระเจ้าและพระคริสต์ รวมทั้งเพื่อนผู้นมัสการพระยะโฮวา. (1 ติโมเธียว 5:17, ล.ม.; เอเฟโซ 5:23; เฮ็บราย 6:10-12) ไม่ว่าสภาพการณ์เป็นอย่างไร คำสอนของผู้ปกครองต้องก่อประโยชน์ฝ่ายวิญญาณ เพราะอัครสาวกเปาโลบอกติโมเธียวซึ่งเป็นผู้ดูแลว่า “จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่เขาจะไม่ยอมรับฟังคำสอนที่ก่อประโยชน์ แต่ตรงกับความปรารถนาของเขาเอง เขาจะรวบรวมครูไว้สำหรับตนเอง ที่จะให้ยอนหูของตน; และเขาจะบ่ายหูจากความจริง แต่แล้วเขาจะหันไปยังเรื่องเท็จ. ฝ่ายท่านจงรักษาสติในทุกสิ่ง จงทนรับการร้าย จงทำงานของผู้เผยแพร่ข่าวดี จงทำให้งานรับใช้ของท่านสำเร็จครบถ้วน.”—2 ติโมเธียว 4:3-5, ล.ม.
3. ต้องมีการทำอะไรเพื่อจะไม่ให้คำสอนเท็จคุกคามสภาพฝ่ายวิญญาณของประชาคม?
3 เพื่อจะแน่ใจว่าคำสอนเท็จไม่คุกคามสภาพฝ่ายวิญญาณของประชาคม ผู้ดูแลต้องทำตามคำแนะนำของเปาโลที่ว่า “จงรักษาสติในทุกสิ่ง . . . จงทำให้งานรับใช้ของท่านสำเร็จครบถ้วน.” (2 ติโมเธียว 4:5, ล.ม.) ใช่แล้ว ผู้ปกครองต้อง ‘ทำให้งานรับใช้ของตนสำเร็จครบถ้วน.’ เขาต้องทำงานรับใช้อย่างเต็มที่, ครบถ้วน, ทุกอย่างตามที่กำหนดไว้. ผู้ปกครองที่ทำงานรับใช้ของตนอย่างเต็มที่ จะให้การเอาใจใส่อย่างสมควรต่อหน้าที่รับผิดชอบของเขาทุกอย่าง ไม่มีงานใดที่ถูกละเลย หรือทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ. บุคคลเช่นนั้นจะซื่อสัตย์แม้แต่ในสิ่งเล็กน้อย.—ลูกา 12:48; 16:10.
4. อะไรสามารถช่วยเราทำงานรับใช้ให้สำเร็จครบถ้วนได้?
4 การทำงานรับใช้ของเราให้สำเร็จครบถ้วนใช่ว่าจะต้องใช้เวลามากขึ้นเสมอไป แต่ว่าต้องใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพ. ฝีก้าวที่สม่ำเสมอและสมดุลสามารถช่วยคริสเตียนทุกคนทำสิ่งต่าง ๆ ในงานรับใช้ให้สำเร็จได้. ที่จะใช้เวลามากขึ้นในงานรับใช้ตามบ้านเรือน ผู้ปกครองจำเป็นต้องจัดระเบียบตนเองให้ดีเพื่อจะรักษาตารางเวลาให้สมดุล และรู้ว่าจะแบ่งงานอะไรให้คนอื่นทำ และจะทำเช่นนั้นอย่างไร. (เฮ็บราย 13:17) เป็นที่คาดหมายได้ว่าผู้ปกครองซึ่งเป็นที่นับถือย่อมจะทำส่วนของตนด้วย เช่นเดียวกับที่นะเฮมยามีส่วนร่วมในการสร้างกำแพงกรุงเยรูซาเลมขึ้นใหม่. (นะเฮมยา 5:16) และผู้รับใช้พระยะโฮวาทุกคนควรมีส่วนร่วมเป็นประจำในงานประกาศราชอาณาจักร.—1 โกรินโธ 9:16-18.
5. เราควรรู้สึกเช่นไรต่องานรับใช้?
5 งานที่เราได้รับมอบหมายฐานะผู้ประกาศในเรื่องราชอาณาจักรมัดธาย 24:14) แม้ว่าเราไม่สมบูรณ์ เราสามารถได้กำลังใจจากถ้อยคำของเปาโลที่ว่า “เรามีทรัพย์นั้น [งานรับใช้] ในภาชนะดิน เพื่อกำลังที่มากกว่าปกติจะมาจากพระเจ้าและมิใช่มาจากตัวเราเอง.” (2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.) ถูกแล้ว เราสามารถถวายงานรับใช้อย่างเป็นที่ยอมรับ แต่เฉพาะเมื่ออาศัยกำลังและสติปัญญาที่พระเจ้าประทานให้เท่านั้น.—1 โกรินโธ 1:26-31.
ฝ่ายสวรรค์ที่สถาปนาขึ้นแล้วนั้นเป็นงานอันน่ายินดีอย่างแท้จริง! แน่นอนว่าเราทะนุถนอมสิทธิพิเศษที่ได้มีส่วนร่วมในการประกาศข่าวดีไปทั่วแผ่นดินโลกที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนที่อวสานจะมาถึง. (การสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้า
6. มีความแตกต่างเช่นไรระหว่างอิสราเอลโดยกำเนิดกับอิสราเอลฝ่ายวิญญาณ?
6 เมื่อกล่าวถึงคริสเตียนผู้ถูกเจิม เปาโลกล่าวว่าพระเจ้าได้ “ทรงโปรดให้เรามีคุณวุฒิเพียงพอ . . . ให้เป็นผู้รับใช้แห่งสัญญาใหม่.” ท่านอัครสาวกเทียบความแตกต่างให้เห็นระหว่างสัญญาใหม่ที่ทำกับอิสราเอลฝ่ายวิญญาณผ่านทางพระเยซูคริสต์กับสัญญาเดิมที่ทำกับอิสราเอลโดยกำเนิดผ่านทางโมเซ. เปาโลกล่าวอีกด้วยว่าเมื่อโมเซลงมาจากภูเขาไซนายพร้อมกับแผ่นศิลาที่จารึกบัญญัติสิบประการ หน้าของโมเซเปล่งรัศมีเจิดจ้าจนชาวอิสราเอลไม่สามารถจ้องมองหน้าท่านได้. แต่ในเวลาต่อมา มีบางสิ่งที่สำคัญกว่านั้นอีกได้เกิดขึ้น เพราะ “ความสามารถในการคิดของเขาชะงักงัน” และผ้าคลุมหน้าปิดคลุมหัวใจของพวกเขาไว้. แต่เมื่อหันกลับมาหาพระยะโฮวาด้วยความเลื่อมใสอย่างสุดหัวใจ ผ้าคลุมนั้นก็ถูกนำออกไป. ต่อจากนั้นเมื่อกล่าวถึงงานรับใช้ที่ประทานแก่ผู้ที่อยู่ในสัญญาใหม่ เปาโลกล่าวว่า “พวกเราทุกคน . . . ที่ . . . ไม่มีผ้าคลุมหน้าก็สะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาเสมือนกระจก.” (2 โกรินโธ 3:6-8, 14-18, ล.ม.; เอ็กโซโด 34:29-35) “แกะอื่น” ของพระเยซูในทุกวันนี้มีสิทธิพิเศษเช่นกันที่จะสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวา.—โยฮัน 10:16.
7. มนุษย์จะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าได้อย่างไร?
7 มนุษย์ที่ผิดบาปจะสะท้อนพระรัศมีของพระเจ้าได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีใครเห็นพระพักตร์พระองค์แล้วจะมีชีวิตอยู่ได้? (เอ็กโซโด 33:20) นอกจากพระยะโฮวาจะมีพระรัศมีเจิดจ้าจากพระกายแล้ว พระองค์ยังมีพระประสงค์อันรุ่งโรจน์ที่จะพิสูจน์ความชอบธรรมแห่งพระบรมเดชานุภาพของพระองค์โดยทางราชอาณาจักร. ความจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งแห่ง “ราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า” ที่เริ่มป่าวประกาศโดยผู้ที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งเทลงมาในวันเพนเทคอสต์ ปี ส.ศ. 33. (กิจการ 2:11, ล.ม.) ด้วยการชี้นำจากพระวิญญาณ พวกเขาสามารถทำงานรับใช้ที่มอบหมายแก่พวกเขาสำเร็จครบถ้วน.—กิจการ 1:8.
8. ในเรื่องการรับใช้ เปาโลตั้งใจว่าจะทำอย่างไร?
8 เปาโลตั้งใจว่าจะไม่ให้สิ่งใดขัดขวางท่านจากการทำงานรับใช้ของท่านให้สำเร็จครบถ้วน. ท่านเขียนว่า “เนื่องจากเรามีการรับใช้นี้ตามความเมตตาที่ได้แสดงต่อเรา เราจึงไม่เลิกเสีย; แต่เราได้สลัดทิ้งสิ่งต่าง ๆ อันเต็มด้วยเล่ห์เหลี่ยมน่าละอาย ไม่ประพฤติตนอย่างฉลาดแกมโกง ไม่บิดเบือนพระคำของพระเจ้า แต่โดยการสำแดงความจริงให้ปรากฏ เราจึงแนะนำตัวเองแก่สติรู้สึกผิดชอบของคนทั้งปวงจำเพาะพระเจ้า.” (2 โกรินโธ 4:1, 2, ล.ม.) โดยทางสิ่งที่เปาโลเรียกว่า “การรับใช้นี้” ความจริงถูกสำแดงให้ปรากฏและแสงสว่างฝ่ายวิญญาณแพร่ออกไป.
9, 10. เป็นไปได้อย่างไรที่จะสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวา?
2 โกรินโธ 4:6, ล.ม.; เยเนซิศ 1:2-5) เนื่องจากเราได้รับสิทธิพิเศษอันล้ำค่าที่ได้เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า ขอเรารักษาตัวให้ปราศจากความมัวหมองเพื่อจะสามารถสะท้อนพระรัศมีของพระยะโฮวาเสมือนกระจก.
9 ในเรื่องของแหล่งแห่งความสว่างทางกายภาพและความสว่างฝ่ายวิญญาณ เปาโลเขียนว่า “พระเจ้าคือผู้ได้ตรัสว่า ‘จงให้ความสว่างส่องออกจากความมืด’ และพระองค์ทรงส่องสว่างยังหัวใจของเรา ให้สว่างด้วยความรู้อันรุ่งโรจน์ของพระเจ้าโดยพระพักตร์พระคริสต์.” (10 ผู้อยู่ในความมืดฝ่ายวิญญาณไม่สามารถเห็นพระรัศมีของพระยะโฮวาหรือพระรัศมีของพระองค์ที่สะท้อนผ่านทางพระเยซูคริสต์ ซึ่งเป็นโมเซผู้ยิ่งใหญ่. แต่ฐานะผู้รับใช้ของพระยะโฮวา เราได้รับความสว่างอันรุ่งโรจน์นั้นจากพระคัมภีร์และเราสะท้อนแสงสว่างนั้นแก่คนอื่น ๆ. เพื่อคนที่อยู่ในความมืดฝ่ายวิญญาณทุกวันนี้จะไม่ถูกทำลาย พวกเขาจำเป็นต้องได้รับแสงสว่างจากพระเจ้า. ด้วยความยินดีและความกระตือรือร้นอย่างยิ่ง เราเชื่อฟังพระบัญชาของพระเจ้าที่ให้ความสว่างส่องออกจากความมืดเพื่อนำคำสรรเสริญมาสู่พระยะโฮวา.
ให้ความสว่างของคุณส่องออกไปในการศึกษาพระคัมภีร์ตามบ้าน
11. พระเยซูกล่าวเช่นไรเกี่ยวกับการให้ความสว่างของเราส่องออกไป และวิธีหนึ่งที่จะทำเช่นนั้นในงานรับใช้ของเราคืออะไร?
11 พระเยซูบอกสาวกของพระองค์ว่า “ท่านทั้งหลายเป็นความสว่างของโลก. เมืองซึ่งสร้างไว้บนภูเขาจะปิดบังไว้ไม่ได้. เมื่อเขาจุดตะเกียงแล้วมิได้เอาถังครอบไว้, ย่อมตั้งไว้ที่เชิงตะเกียง, จะได้ส่องสว่างแก่ทุกคนที่อยู่ในเรือนนั้น. ให้ความสว่างของท่านส่องไปต่อหน้าคนทั้งปวงอย่างนั้น, เพื่อเขาจะได้เห็นการดีของท่าน, แล้วจะได้สรรเสริญพระบิดาของท่านผู้อยู่ในสวรรค์.” (มัดธาย 5:14-16) ความประพฤติที่ดีของเราอาจทำให้คนอื่นสรรเสริญพระเจ้า. (1 เปโตร 2:12) และหลายแง่มุมแห่งงานเผยแพร่ของเราให้โอกาสเรามากมายที่จะให้ความสว่างส่องออกไป. เป้าหมายหลักของเราอย่างหนึ่งคือการสะท้อนความสว่างฝ่ายวิญญาณจากพระคำของพระเจ้าด้วยการนำการศึกษาพระคัมภีร์ตามบ้านอย่างบังเกิดผล. นี่เป็นวิธีที่สำคัญยิ่งเพื่อจะทำให้งานรับใช้ของเราสำเร็จครบถ้วน. มีคำแนะนำอะไรบ้างที่อาจช่วยเราให้นำการศึกษาพระคัมภีร์อย่างที่เข้าถึงหัวใจของผู้แสวงหาความจริง?
12. การอธิษฐานเกี่ยวข้องอย่างไรกับการนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้าน?
12 การอธิษฐานถึงพระยะโฮวาในเรื่องนี้แสดงถึงความปรารถนาอย่างแรงกล้าของเราที่จะนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. การอธิษฐานยังแสดงว่าเราเห็นความสำคัญของการช่วยคนอื่นให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า. (ยะเอศเคล 33:7-9) พระยะโฮวาย่อมตอบคำอธิษฐานของเราและอวยพรความพยายามอย่างจริงจังของเราในงานรับใช้. (1 โยฮัน 5:14, 15) แต่เราอธิษฐานไม่เพียงแค่เพื่อจะพบใครบางคนที่จะนำการศึกษาพระคัมภีร์กับเขา. หลังจากเริ่มการศึกษาได้แล้ว การอธิษฐานและการคิดใคร่ครวญถึงความจำเป็นเฉพาะอย่างของนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลจะช่วยเราให้นำการศึกษาแต่ละครั้งอย่างบังเกิดผล.—โรม 12:12.
13. อะไรอาจช่วยเราให้นำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้านอย่างบังเกิดผล?
13 เพื่อจะนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้านอย่างบังเกิดผล แต่ละครั้งเราต้องเตรียมตัวอย่างดี. ถ้าเรารู้สึกว่ายังไม่มีความสามารถพอ เราอาจได้ประโยชน์มากจากการสังเกตวิธีที่ผู้ดูแลการศึกษาหนังสือประจำประชาคมถ่ายทอดเนื้อหาในบทเรียนแต่ละสัปดาห์. บางครั้ง เราอาจไปด้วยกันกับผู้ประกาศราชอาณาจักรที่บังเกิดผลดีในการนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้าน. แน่นอน เราควรพิจารณาเจตคติและวิธีการสอนของพระเยซูคริสต์เป็นพิเศษ.
14. เราจะเข้าถึงหัวใจของนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้อย่างไร?
14 พระเยซูยินดีในการทำตามพระประสงค์ของพระบิดาฝ่ายสวรรค์และในการพูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับพระเจ้า. (บทเพลงสรรเสริญ 40:8) พระองค์มีจิตใจอ่อนโยนและประสบความสำเร็จในการเข้าถึงหัวใจของผู้ที่ฟังพระองค์. (มัดธาย 11:28-30) เพราะฉะนั้น ขอให้เราพยายามที่จะเข้าถึงหัวใจของผู้ที่ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับเรา. เพื่อจะทำเช่นนั้น เราจำเป็นต้องเตรียมตัวสำหรับการศึกษาแต่ละครั้งโดยคำนึงถึงสภาพการณ์เฉพาะอย่างของนักศึกษา. ตัวอย่างเช่น ถ้า เขาอยู่ในวัฒนธรรมที่ไม่มีภูมิหลังด้านคัมภีร์ไบเบิล เราอาจจำเป็นต้องทำให้เขาเชื่อมั่นว่าคัมภีร์ไบเบิลเป็นความจริง. ในกรณีเช่นนั้น เห็นได้ชัดว่า เราจะต้องอ่านข้อคัมภีร์หลายข้อ พร้อมทั้งอธิบายข้อเหล่านั้น.
ช่วยนักศึกษาให้เข้าใจตัวอย่างต่าง ๆ
15, 16. (ก) เราอาจช่วยนักศึกษาที่ไม่เข้าใจตัวอย่างที่ใช้ในคัมภีร์ไบเบิลได้อย่างไร? (ข) เราอาจทำอะไรได้ถ้าหนังสือเล่มหนึ่งยกตัวอย่างที่เข้าใจยากสำหรับนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลบางคน?
15 ผู้ที่ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอาจไม่คุ้นเคยกับตัวอย่างใดตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ในพระคัมภีร์. ตัวอย่างเช่น เขาอาจไม่เข้าใจสิ่งที่พระเยซูหมายถึงเมื่อพระองค์ตรัสเรื่องการตั้งตะเกียงไว้บนเชิงตะเกียง. (มาระโก 4:21, 22) พระเยซูกำลังกล่าวถึงตะเกียงน้ำมันสมัยโบราณที่มีไส้ตะเกียงติดไฟลุกอยู่. ตะเกียงแบบนั้นตั้งอยู่บนเชิงตะเกียงลักษณะพิเศษ จึงทำให้แสงสว่างส่องทั่วบริเวณบ้าน. การค้นคว้าเรื่อง “ตะเกียง” และ “เชิงตะเกียง” ในหนังสือเช่น การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อจะเข้าใจตัวอย่างของพระเยซูอย่างชัดเจนอาจเป็นสิ่งจำเป็น. * แต่การเตรียมตัวเพื่อจะอธิบายแก่นักศึกษาอย่างที่เขาเข้าใจได้และหยั่งรู้ค่านั้นคุ้มค่าสักเพียงไร!
16 คู่มือศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอาจยกตัวอย่างที่เข้าใจยากสำหรับนักศึกษาบางคน. จงใช้เวลาเพื่ออธิบายเรื่องนั้น หรือใช้ตัวอย่างอื่นที่อธิบายจุดสำคัญอย่างเดียวกัน. หนังสือเล่มหนึ่งอาจเน้นว่าคู่สมรสที่เข้ากันได้ดีและความพยายามในการร่วมมือกันเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตสมรส. เพื่อจะยกตัวอย่างในเรื่องนี้ อาจกล่าวถึงนักกายกรรมที่แกว่งตัวจากชิงช้าสูง แล้วปล่อยมือลอยตัวกลางอากาศให้นักแสดงอีกคนคว้าจับเขาไว้. อีกทางเลือกหนึ่ง อาจแสดงถึงความจำเป็นของการมีคู่สมรสที่ดีและการร่วมประสานความพยายามกันด้วยการยกตัวอย่างวิธีที่คนงานร่วมประสานกันในการรับและส่งต่อเมื่อลำเลียงกล่องออกจากเรือ.
17. เราเรียนอะไรได้จากพระเยซูในเรื่องการยกตัวอย่าง?
17 การใช้ตัวอย่างอื่นอาจเรียกร้องการเตรียมตัวล่วงหน้า. แต่นั่นเป็นวิธีที่แสดงว่าเราให้ความสนใจเป็นส่วนตัวต่อนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิล. พระเยซูใช้ตัวอย่างง่าย ๆ เพื่ออธิบายเรื่องยาก. คำเทศน์ของพระองค์บนภูเขาให้ตัวอย่างต่าง ๆ ในเรื่องนี้ และคัมภีร์ไบเบิลแสดงว่าการสอนของพระองค์ส่งผลกระทบที่ดีต่อผู้ฟัง. (มัดธาย 5:1–7:29) พระเยซูอธิบายเรื่องต่าง ๆ อย่างใจเย็น เพราะพระองค์สนพระทัยอย่างยิ่งในตัวผู้อื่น.—มัดธาย 16:5-12.
18. มีคำแนะนำอะไรในเรื่องข้อคัมภีร์ที่อ้างถึงในสรรพหนังสือของเรา?
18 ความสนใจในตัวผู้อื่นจะกระตุ้นเราให้ “หาเหตุผลจากพระคัมภีร์.” (กิจการ 17:2, 3, ล.ม.) สิ่งนี้เรียกร้องการศึกษาอย่างจริงจังพร้อมด้วยการอธิษฐาน และการใช้สรรพหนังสือที่ “คนต้นเรือนสัตย์ซื่อ” จัดให้อย่างสุขุม. (ลูกา 12:42-44) เพื่อเป็นตัวอย่าง หนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ * ยกข้อความจากพระคัมภีร์หลายข้อ. เนื่องจากหน้ากระดาษมีจำกัด บางข้อจึงแค่อ้างถึง. ระหว่างการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล นับว่าสำคัญที่จะอ่านและอธิบายข้อคัมภีร์ที่อ้างถึงเหล่านี้ อย่างน้อยก็บางข้อ. ที่จริงแล้ว การสอนของเราอาศัยพระคำของพระเจ้า และพระคำนั้นมีพลังมาก. (เฮ็บราย 4:12) จงอ้างถึงคัมภีร์ไบเบิลตลอดการศึกษาแต่ละครั้ง ใช้ข้อคัมภีร์ที่มีอยู่ในวรรคต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์บ่อย ๆ. จงช่วยนักศึกษาให้เข้าใจสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือแนวทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง. จงพยายามแสดงให้เขาเห็นว่าเขาจะได้ ประโยชน์อย่างไรจากการเชื่อฟังพระเจ้า.—ยะซายา 48:17, 18.
ใช้คำถามที่กระตุ้นความคิด
19, 20. (ก) เหตุใดเราควรใช้คำถามหยั่งทัศนะเมื่อนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้าน? (ข) อาจทำอะไรได้หากจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากขึ้น?
19 การที่พระเยซูใช้คำถามอย่างชำนิชำนาญช่วยผู้คนให้หาเหตุผล. (มัดธาย 17:24-27) ถ้าเราใช้คำถามหยั่งทัศนะอย่างที่ไม่ทำให้นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลลำบากใจ คำตอบของเขาอาจเผยให้เห็นสิ่งที่เขาคิดเกี่ยวกับเรื่องหนึ่ง ๆ. เราอาจพบว่าเขายังยึดมั่นกับทัศนะที่ไม่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์. ตัวอย่างเช่น เขาอาจเชื่อเรื่องตรีเอกานุภาพ. ในบทที่ 3 ของหนังสือความรู้ ชี้ให้เห็นว่าคำ “ตรีเอกานุภาพ” ไม่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิล. หนังสือนี้ยกข้อความและอ้างถึงข้อคัมภีร์ต่าง ๆ ที่แสดงว่า พระยะโฮวาเป็นบุคคลต่างหากจากพระเยซู และพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพลังปฏิบัติการของพระเจ้า ไม่ใช่บุคคล. การอ่านและพิจารณาข้อคัมภีร์เหล่านี้อาจเพียงพอแล้ว. แต่ถ้าหากนักศึกษาต้องการข้อพิสูจน์มากกว่านั้นล่ะ? บางทีหลังจากการศึกษาตามปกติในคราวถัดไป อาจใช้เวลาช่วงหนึ่งเพื่อพิจารณาเรื่องนี้อย่างที่ก่อประโยชน์ ตามที่ได้อธิบายไว้ในสิ่งพิมพ์อื่นของพยานพระยะโฮวา เช่น จุลสารคุณควรเชื่อในตรีเอกานุภาพไหม? (ภาษาอังกฤษ) หลังจากนั้น ก็กลับไปศึกษาโดยใช้หนังสือความรู้ ตามเดิม.
20 สมมุติว่าคำตอบของนักศึกษาหลังจากถามคำถามหยั่งทัศนะทำให้เราประหลาดใจหรือกระทั่งผิดหวัง. ถ้าเกี่ยวข้องกับเรื่องการสูบบุหรี่ หรือเรื่องอื่น ๆ ที่ละเอียดอ่อน เราอาจแนะว่าให้ศึกษากันต่อไป แล้วค่อยพิจารณาเรื่องนั้นในภายหลัง. การรู้ว่านักศึกษายังคงสูบบุหรี่ทำให้เราสามารถหาข้อมูลที่ตีพิมพ์ไปแล้วเพื่อจะช่วยเขาทำความก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ. ขณะที่พยายามเข้าถึงหัวใจของนักศึกษา เราสามารถอธิษฐานขอพระยะโฮวาช่วยเขาให้ก้าวหน้าฝ่ายวิญญาณ.
21. ผลอาจเป็นเช่นไรถ้าเราปรับวิธีการสอนให้เข้ากับความจำเป็นเฉพาะอย่างของนักศึกษา?
21 ด้วยการเตรียมตัวที่ดีและความช่วยเหลือจากพระยะโฮวา เราจะสามารถปรับวิธีการสอนของเราให้เข้ากับความจำเป็นเฉพาะอย่างของนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้อย่างไม่ต้องสงสัย. ขณะที่เวลาผ่านไป เราอาจสามารถช่วยเขาพัฒนาความรักที่ลึกซึ้งต่อพระเจ้า. เราอาจประสบความสำเร็จด้วยในการสร้างความนับถือและความหยั่งรู้ค่าต่อองค์การของพระยะโฮวา. และเป็นที่น่ายินดีสักเพียงไรเมื่อนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลยอมรับว่า ‘พระเจ้าสถิตอยู่ท่ามกลางพวกเราเป็นแน่’! (1 โกรินโธ 14:24, 25) ฉะนั้น ขอให้เรานำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอย่างบังเกิดผล และทำทุกสิ่งเท่าที่ทำได้เพื่อช่วยคนอื่น ๆ ให้เข้ามาเป็นสาวกของพระเยซู.
ทรัพย์ที่ต้องทะนุถนอม
22, 23. อะไรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะทำงานรับใช้ของเราให้สำเร็จครบถ้วน?
22 เพื่อจะทำงานรับใช้ของเราให้สำเร็จครบถ้วน เราต้องพึ่งอาศัยกำลังที่พระเจ้าประทานให้. เมื่อกล่าวถึงงานรับใช้ เปาโลเขียนถึงเพื่อนคริสเตียนผู้ถูกเจิมดังนี้: “เรามีทรัพย์นั้นในภาชนะดิน เพื่อกำลังที่มากกว่าปกติจะมาจากพระเจ้าและมิใช่มาจากตัวเราเอง.”—2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.
23 ไม่ว่าจะเป็นผู้ถูกเจิมหรือ “แกะอื่น” เราต่างเปรียบเหมือนภาชนะดินที่แตกง่าย. (โยฮัน 10:16) กระนั้น พระยะโฮวาทรงสามารถประทานกำลังที่จำเป็นเพื่อให้งานมอบหมายของเราสำเร็จครบถ้วนไม่ว่าจะประสบความกดดันอะไรก็ตาม. (โยฮัน 16:13; ฟิลิปปอย 4:13) ฉะนั้น ขอให้เราวางใจพระยะโฮวาเต็มเปี่ยม, ทะนุถนอมงานรับใช้ของเราที่เปรียบเหมือนทรัพย์, และทำงานรับใช้ของเราให้สำเร็จครบถ้วน.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 15 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา
^ วรรค 18 จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.
คุณจะตอบอย่างไร?
• อะไรที่ผู้ปกครองสามารถทำได้เพื่อให้งานรับใช้ของตนสำเร็จครบถ้วน?
• เราจะปรับปรุงประสิทธิภาพในการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้านได้อย่างไร?
• คุณจะทำอย่างไรถ้านักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลไม่เข้าใจตัวอย่างหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในบางเรื่อง?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 16]
คริสเตียนผู้ปกครองสอนในประชาคมและช่วยฝึกอบรมเพื่อนร่วมความเชื่อในงานประกาศ
[ภาพหน้า 18]
การนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลตามบ้านอย่างบังเกิดผลเป็นวิธีหนึ่งในการให้ความสว่างส่องออกไป