คุณสามารถรับมือได้กับความไม่มั่นใจ
คุณสามารถรับมือได้กับความไม่มั่นใจ
“แน่นอน!” “มั่นใจได้!” “รับประกัน!” ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คุณคงได้ยินถ้อยคำดังกล่าวหลายครั้ง. อย่างไรก็ตาม ในชีวิตประจำวันของเรามีไม่กี่เรื่องที่เราจะมั่นใจได้. ชีวิตเอาแน่ไม่ได้เสียจนบ่อยครั้งเราสงสัยว่า มีอะไรบ้างไหมที่เราจะมั่นใจได้อย่างแท้จริง. ดูเหมือนว่า ความสงสัยและความไม่มั่นใจจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต.
เป็นที่เข้าใจได้ว่า ผู้คนส่วนใหญ่ปรารถนาให้ตนเองและครอบครัวมีความมั่นคงและความสุข. พวกเขาทำงานหนักเพื่อให้ได้สิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าจะทำให้มีความสุขและมั่นคง โดยทั่วไปแล้วคือเงินทองและทรัพย์สมบัติวัตถุ. อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหว, พายุเฮอร์ริเคน, อุบัติเหตุ, หรืออาชญากรรมที่รุนแรงอาจทำให้ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นสูญไปในพริบตา. ความเจ็บป่วยร้ายแรง, การหย่าร้าง, หรือการตกงานอาจเปลี่ยนชีวิตในชั่วข้ามคืน. จริงอยู่ สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่เกิดขึ้นกับคุณจริง ๆ. ถึงกระนั้น เพียงแค่รู้ว่าสิ่งที่เลวร้ายอาจเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้ก็ทำให้รู้สึกกังวลใจและเป็นทุกข์. แต่ปัญหายังไม่หมดเพียงเท่านี้.
“ความไม่มั่นใจ” มีความหมายเหมือนกับคำว่า “สงสัย” และพจนานุกรมฉบับหนึ่งนิยามคำ “สงสัย” ว่าเป็น “ความไม่แน่ใจในความเชื่อหรือความคิดเห็นซึ่งบ่อยครั้งเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจ.” นอกจากนี้ ตามที่หนังสือการจัดการกับความคิดของคุณ (ภาษาอังกฤษ) กล่าวไว้ว่า “ความไม่มั่นใจเกี่ยวกับบางสิ่งที่สำคัญเป็นสาเหตุใหญ่ของความหวั่นวิตกและความกังวล.” ความไม่แน่ใจที่ไม่ได้รับการแก้ไขอาจนำไปสู่ความกังวล, ความข้องขัดใจ, และความโกรธ. ใช่แล้ว การวิตกเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นหรืออาจไม่เกิดขึ้นนั้นอาจก่อความเสียหายต่อสุขภาพจิตใจและร่างกายของเรา.
ผลก็คือ บางคนไปสุดโต่งในอีกด้านหนึ่ง. พวกเขาเป็นเหมือนชายหนุ่มชาวบราซิลซึ่งได้กล่าวว่า “จะกังวลทำไมว่าจะเกิดอะไรขึ้น? วันนี้ก็เป็นเรื่องของวันนี้ และพรุ่งนี้ก็เป็นเรื่องของพรุ่งนี้.” ทัศนะแบบชะตาลิขิตที่ว่า “ให้เรากินและดื่มเถิด” เช่นนั้นมีแต่จะนำไปสู่ความผิดหวัง, ความทุกข์, และความตายในที่สุด. (1 โกรินโธ 15:32) เป็นสิ่งดีกว่ามากสำหรับเราที่จะหันไปหาพระผู้สร้าง พระยะโฮวาพระเจ้า ซึ่งคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงพระองค์ว่า “ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างที่เงาเปลี่ยนไป.” (ยาโกโบ 1:17, ล.ม.) หากเราพิจารณา คัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระเจ้า เราจะพบคำแนะนำที่ดีและการชี้แนะถึงวิธีรับมือกับความไม่แน่นอนในชีวิต. พระคำของพระเจ้าช่วยเราให้เข้าใจด้วยว่า เหตุใดจึงมีความไม่มั่นใจมากเหลือเกิน.
เหตุผลที่เกิดความไม่มั่นใจ
พระคัมภีร์จัดให้มีมุมมองที่เป็นจริงต่อชีวิต และช่วยเราให้ปลูกฝังทัศนะที่ถูกต้องต่อความไม่แน่นอนและการท่านผู้ประกาศ 9:11, 12, ล.ม.
เปลี่ยนแปลง. แม้ว่าสายสัมพันธ์ในครอบครัว, สถานะทางสังคม, สติปัญญา, สุขภาพที่ดี, และอื่น ๆ อาจให้ความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่คัมภีร์ไบเบิลชี้ว่าเราไม่อาจทึกทักเอาว่าสิ่งเหล่านี้จะยืนยงหรือคาดหวังว่าชีวิตจะอยู่รอดปลอดภัย. กษัตริย์ซะโลโมผู้ชาญฉลาดกล่าวว่า “คนที่วิ่งเร็วมิใช่จะชนะในการวิ่งแข่ง หรือคนที่มีอำนาจใหญ่โตมิใช่จะชนะการสู้รบได้ หรือคนฉลาดก็เช่นกันจะมีอาหารกินเสมอก็หาไม่ หรือคนที่มีความเข้าใจก็เหมือนกันหาใช่ว่าจะมั่งคั่งไม่ หรือแม้แต่คนเหล่านั้นที่มีความรู้ก็จะหาได้รับความโปรดปรานไม่.” เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? “เพราะวาระและเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้าย่อมบังเกิดแก่เขาทุกคน.” ด้วยเหตุนี้ ซะโลโมจึงเตือนว่า “เหมือนปลาที่ติดอยู่ในอวนอันร้ายกาจ และเหมือนนกที่ติดกับ บุตรมนุษย์เองก็ติดบ่วงแร้วในยามหายนะเมื่อยามนั้นมาถึงเขาอย่างกะทันหัน.”—พระเยซูคริสต์ตรัสถึงเวลาแห่งความกังวลและความไม่มั่นใจอย่างยิ่งที่จะมีมาเหนือคนชั่วอายุหนึ่งด้วย. พระองค์ตรัสด้วยถ้อยคำที่ชัดเจนว่า “จะมีนิมิตที่ดวงอาทิตย์, ที่ดวงจันทร์, และที่ดวงดาวทั้งปวง และบนแผ่นดินก็จะมีความทุกข์ร้อนตามประเทศต่าง ๆ, จะมีความฉงนสนเท่ห์เพราะเสียงกึกก้องของทะเลและคลื่น. มนุษย์ก็จะสลบไปเพราะความกลัว, และเพราะคอยท่าดูเหตุการณ์ซึ่งจะบังเกิดในโลก ด้วยว่าฤทธิ์อำนาจทั้งปวงแห่งท้องฟ้าจะสะเทือนสะท้าน.” กระนั้น พระเยซูได้ชี้ไปยังสิ่งที่ให้กำลังใจสำหรับคนที่มีหัวใจสุจริตในปัจจุบันว่า “เมื่อท่านทั้งหลายเห็นเหตุการณ์ทั้งปวงนั้นบังเกิดมา. จงรู้ว่าแผ่นดินของพระเจ้าใกล้จะถึงแล้ว.” (ลูกา 21:25, 26, 31) ทำนองเดียวกัน แทนที่จะกลัวอนาคตที่ไม่แน่นอน เรามีความเชื่อในพระเจ้าซึ่งช่วยให้เรามองผ่านความไม่แน่นอนไปยังอนาคตที่มั่นคงและยอดเยี่ยม.
“มีความมั่นใจเต็มที่เกี่ยวกับความหวัง”
แม้ว่าเราไม่อาจแน่ใจในทุกสิ่งที่เราได้ยิน, ได้อ่าน, หรือเห็น แต่เรามีเหตุผลที่ดีในการไว้วางใจพระผู้สร้าง. พระองค์ไม่เพียงแค่เป็นองค์สูงสุดเท่านั้น แต่ยังเป็นพระบิดาที่เปี่ยมด้วยความรักผู้ซึ่งใฝ่พระทัยในบุตรทางแผ่นดินโลกของพระองค์ด้วย. พระเจ้าตรัสเกี่ยวกับถ้อยคำของพระองค์ว่า “จะไม่ได้กลับมายังเราโดยไร้ผล, และโดยยังมิได้ทำอะไรให้สำเร็จตามความพอใจของเรา, และสัมฤทธิ์ผลสมประสงค์ดังที่เราได้ใช้มันไปทำฉันนั้น.”—ยะซายา 55:11.
พระเยซูคริสต์สอนความจริงจากพระเจ้า และหลายคนที่ฟังพระองค์ได้ตอบรับคำสอนนั้นด้วยความเชื่อมั่นและความมั่นใจ. ยกตัวอย่าง ชาวซะมาเรียที่มีหัวใจสุจริตกลุ่มหนึ่งได้บอกผู้หญิงซึ่งได้ยินได้ฟังจากพระเยซูก่อนว่า “ตั้งแต่นี้ไปเราไม่เชื่อเพราะคำของเจ้า เพราะว่าเราได้ยินเอง, และรู้ว่าท่านองค์นี้เป็นผู้ช่วยโลกให้รอดเป็นแน่.” (โยฮัน 4:42) เช่นเดียวกับปัจจุบันนี้ แม้ว่าเรามีชีวิตอยู่ในสมัยที่ไม่มีความมั่นคง เราไม่จำเป็นต้องสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่จะเชื่อ.
เมื่อพูดถึงเรื่องความเชื่อทางศาสนา หลายคนมีความคิดเห็นว่าแทนที่จะพยายามทำความเข้าใจ เราควรเพียงแต่เชื่อเท่านั้น. อย่างไรก็ตาม ลูกาผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นนั้น. ท่านได้ค้นคว้าและจัดเตรียมความรู้ถ่องแท้ เพื่อผู้อื่นอาจ “รู้ถ้วนถี่ถึงความแน่นอนของเรื่องต่าง ๆ” ที่ท่านได้เขียน. (ลูกา 1:4, ล.ม.) เนื่องจากครอบครัวและเพื่อน ๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับความเชื่อของเราอาจกังวลว่าในที่สุดเราจะผิดหวัง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราสามารถจะปกป้องความเชื่อของเรา. (1 เปโตร 3:15) เฉพาะแต่โดยการรู้เหตุผลอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับสิ่งที่เราเชื่อ เราจึงจะช่วยคนอื่นให้ไว้วางใจพระเจ้าได้. คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาถึงพระยะโฮวาด้วยถ้อยคำดังนี้: “พระองค์เป็นศิลา, กิจการของพระองค์ดีรอบคอบ; เพราะทางทั้งปวงของพระองค์ยุติธรรม: พระองค์เป็นพระเจ้าแห่งความจริงปราศจากความอสัตย์, เป็นผู้ชอบธรรมและซื่อสัตย์.”—พระบัญญัติ 32:4.
กิจการ 10:34, 35) เปโตรกล่าวถ้อยคำเหล่านี้เพราะท่านเพิ่งเห็นวิธีที่พระหัตถ์ของพระเจ้าได้ชี้นำในเรื่องต่าง ๆ จนครอบครัวของคนต่างชาติซึ่งในอดีตเคยถูกมองว่าไม่สะอาดและไม่เป็นที่ยอมรับ ได้กลายเป็นที่ยอมรับจำเพาะพระองค์. เช่นเดียวกับเปโตร เราสามารถเชื่อมั่นในความไม่ลำเอียงและความชอบธรรมของพระเจ้าด้วยเช่นกัน เมื่อเราเห็น “ชนฝูงใหญ่” ด้วยตาของเราเอง ซึ่งมีมากกว่าหกล้านคน จาก 230 กว่าดินแดนตลอดทั่วแผ่นดินโลก ผู้ซึ่งได้ละทิ้งแนวทางชีวิตเดิมของตนและดำเนินในแนวทางแห่งความชอบธรรม.—วิวรณ์ 7:9, ล.ม.; ยะซายา 2:2-4.
ขอพิจารณาประโยคสุดท้ายที่ว่า “พระองค์ . . . เป็นผู้ชอบธรรมและซื่อสัตย์.” เรามีหลักฐานอะไรที่จะมั่นใจในเรื่องนี้? อัครสาวกเปโตรเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ในข้อเท็จจริงนั้น. ท่านบอกกับนายทหารโรมันและครอบครัวของเขาว่า “ข้าพเจ้าเห็นจริงแล้วว่าพระเจ้าไม่ทรงเลือกหน้าผู้ใด แต่ชาวชนในประเทศใด ๆ ที่เกรงกลัวพระองค์และประพฤติในทางชอบธรรมก็เป็นที่ชอบพระทัยพระองค์.” (ในฐานะคริสเตียนแท้ เราไม่ต้องการจะเป็นคนคลั่งไคล้หรือยืนกราน แต่เป็นคนใจถ่อมและมีเหตุผล. กระนั้น เราไม่ขาดความมั่นใจในสิ่งที่เราเชื่อและสิ่งที่คาดหวังในอนาคต. อัครสาวกเปาโลเขียนถึงคริสเตียนในศตวรรษแรกดังนี้: “เราปรารถนาให้ท่านแต่ละคนสำแดงความอุตส่าห์เช่นเดียวกัน เพื่อมีความมั่นใจเต็มที่เกี่ยวกับความหวังจนถึงที่สุด.” (เฮ็บราย 6:11, ล.ม.) เช่นเดียวกัน ข่าวดีจากคัมภีร์ไบเบิลได้ทำให้เรามี “ความมั่นใจเต็มที่เกี่ยวกับความหวัง.” ความหวังนั้นซึ่งอยู่บนพื้นฐานแห่งพระคำของพระเจ้าอย่างมั่นคง “มิได้กระทำให้เกิดความเสียใจเพราะไม่สมหวัง” ดังที่เปาโลชี้แจงไว้ด้วย.—โรม 5:5.
นอกจากนี้ เรามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่า การสอนคนอื่นเรื่องข่าวดีจากคัมภีร์ไบเบิลจะนำความมั่นคงและความมั่นใจทางฝ่ายวิญญาณมาสู่พวกเขา และแม้แต่ทางอารมณ์และทางร่างกายด้วย. เราสามารถกล่าวร่วมกับเปาโลว่า “ข่าวดีที่เราประกาศไม่ได้มาถึงท่ามกลางท่านทั้งหลายโดยวาจาเท่านั้นแต่โดยฤทธิ์และโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์และความมั่นใจเต็มที่ด้วย.”—1 เธซะโลนิเก 1:5, ล.ม.
พระพรในปัจจุบันเนื่องจากความมั่นคงฝ่ายวิญญาณ
แม้ว่าปัจจุบันเราไม่อาจคาดหมายความมั่นคงอย่างเต็มที่ในชีวิต แต่มีหลายสิ่งที่ทำได้ซึ่งจะช่วยเราให้มีชีวิตค่อนข้างมั่นคงและปลอดภัย. ยกตัวอย่าง การคบหาสมาคมเป็นประจำกับประชาคมคริสเตียนที่การประชุมต่าง ๆ จะช่วยให้ตั้งมั่นคง เนื่องจากเราได้รับการสอนหลักการและค่านิยมที่ดีและถูกต้องที่นั่น. เปาโลเขียนว่า “ท่านจงกำชับคนเหล่านั้นที่มั่งมีฝ่ายโลกอย่าให้มีใจถือมานะทิฏฐิ, อย่าให้ความหวังของเขาอิงอยู่กับทรัพย์อนิจจัง, แต่ให้หวังในพระเจ้าผู้ทรงประทานสิ่งสารพัตรให้แก่เราอย่างบริบูรณ์เพื่อจะให้เราใช้ด้วยความปีติยินดี.” (1 ติโมเธียว 6:17) โดยเรียนรู้ที่จะมอบความไว้วางใจในพระยะโฮวาและไม่ไว้วางใจในสิ่งฝ่ายวัตถุหรือความเพลิดเพลินที่ไม่ยั่งยืน หลายคนสามารถสลัดความกังวลและความข้องขัดใจซึ่งพวกเขาเคยมีในอดีตออกไปได้.—มัดธาย 6:19-21.
เราชื่นชมยินดีกับภราดรภาพอันอบอุ่นในประชาคมด้วย ซึ่งให้การช่วยเหลือและการสนับสนุนในหลายทาง. มีอยู่ช่วงหนึ่งในงานรับใช้ของอัครสาวกเปาโล ท่านและเพื่อนร่วมเดินทางรู้สึก “หนักใจ” และ “หมดหวังที่จะเอาชีวิตรอดได้.” เปาโลพบการเกื้อหนุนและการบรรเทาจากแหล่งไหน? แน่นอน ความไว้วางใจของท่านในพระเจ้าไม่เคยสั่นคลอน. ถึงกระนั้น ท่านได้รับการหนุนกำลังใจและการปลอบโยนจากเพื่อนคริสเตียนผู้ซึ่งมาช่วยท่าน. (2 โกรินโธ 1:8, 9; 7:5-7) ในปัจจุบัน เมื่อเกิดภัยธรรมชาติหรือความหายนะอื่น ๆ หลายต่อหลายครั้งพี่น้องคริสเตียนของเราเป็นกลุ่มแรกที่มาถึงเพื่อให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นด้านวัตถุและฝ่ายวิญญาณแก่เพื่อนคริสเตียนรวมทั้งคนอื่นที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ.
อีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้รับมือกับความไม่แน่นอนในชีวิตคือการอธิษฐาน. เราสามารถหันเข้าหาพระบิดาผู้สถิตในสวรรค์องค์เปี่ยมด้วยความรักได้เสมอเมื่อเราตกอยู่ภายใต้ความกดดันที่ไม่คาดคิด. “พระยะโฮวาจะเป็นบทเพลงสรรเสริญ 9:9) บิดามารดาที่เป็นมนุษย์อาจไม่ได้ปกป้องลูก ๆ ของเขา. อย่างไรก็ดี พระเจ้าเต็มพระทัยจะช่วยเราให้รับมือกับความกลัวและความรู้สึกไม่มั่นใจ. โดยฝากความกังวลของเราไว้กับพระยะโฮวาในคำอธิษฐาน เรามั่นใจได้ว่าพระองค์ทรงสามารถ “ทำอย่างเหลือล้นเกินกว่าสารพัดสิ่งที่เราทูลขอหรือคิดออก.”—เอเฟโซ 3:20, ล.ม.
ป้อมอันสูงสำหรับผู้ที่ถูกข่มเหงด้วย, เป็นป้อมอันสูงในเวลายากลำบาก.” (คุณหันเข้าหาพระเจ้าในการอธิษฐานเป็นประจำไหม? คุณเชื่อมั่นไหมว่าพระเจ้าทรงสดับคำอธิษฐานของคุณ? เด็กผู้หญิงคนหนึ่งในเซาเปาลูกล่าวว่า “คุณแม่บอกว่าหนูควรอธิษฐานถึงพระเจ้า. แต่หนูถามตัวเองว่า ‘ทำไมหนูต้องพูดกับบุคคลที่หนูไม่รู้จักด้วยซ้ำ?’ อย่างไรก็ตาม พระธรรมสุภาษิต 18:10 ช่วยหนูให้เข้าใจว่า เราจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากพระเจ้าและต้องพูดคุยกับพระองค์ในคำอธิษฐาน.” พระคัมภีร์ข้อนั้นกล่าวว่า “พระนามพระยะโฮวาเป็นป้อมเข้มแข็ง, คนชอบธรรมทั้งปวงวิ่งเข้าไปก็พ้นภัย.” ที่จริง เราจะพัฒนาความไว้วางใจและความมั่นใจในพระยะโฮวาได้อย่างไร หากเราไม่พูดคุยกับพระองค์เป็นประจำ? เพื่อจะชื่นชมกับพระพรในความมั่นคงฝ่ายวิญญาณ เราจำต้องอธิษฐานอย่างจริงใจทุกวันจนเป็นนิสัย. พระเยซูตรัสว่า “เหตุฉะนั้นจงเฝ้าอธิษฐานอยู่ทุกเวลา. เพื่อท่านทั้งหลายจะพ้นเหตุการณ์ทั้งปวงซึ่งจะบังเกิดมานั้น. และจะยืนอยู่ต่อหน้าบุตรมนุษย์ได้.”—ลูกา 21:36.
อีกสิ่งหนึ่งที่เรามั่นใจได้คือความหวังของเราในเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้า. ขอสังเกตถ้อยคำในดานิเอล 2:44 ที่ว่า “พระเจ้าแห่งสรวงสวรรค์จะทรงตั้งอาณาจักรอันหนึ่งขึ้น, ซึ่งจะไม่มีวันทำลายเสียได้, หรือผู้ใดจะชิงเอาอาณาจักรนี้ไปก็หาได้ไม่; แต่อาณาจักรนี้จะทำลายอาณาจักรอื่น ๆ ลงให้ย่อยยับและเผาผลาญเสียสิ้น, และอาณาจักรนี้จะดำรงอยู่เป็นนิจ.” ความหวังนั้นมั่นคงและเป็นสิ่งที่เรามั่นใจได้. บ่อยครั้งคำสัญญาของมนุษย์ล้มเหลว แต่เราไว้วางใจในถ้อยคำของพระยะโฮวาได้เสมอ. แทนที่จะเชื่อถือไม่ได้ พระเจ้าเป็นเหมือนศิลาซึ่งเราวางใจได้. เรารู้สึกได้เช่นเดียวกับดาวิดซึ่งกล่าวว่า “พระเจ้าของข้าพเจ้าและศิลาของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าจะพึ่งในพระองค์, เป็นโล่ของข้าพเจ้า, และเขาแห่งความรอด, และหอรบอันสูงและเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า, พระองค์ผู้ช่วยให้รอดได้ทรงช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากผู้ทำร้าย.”—2 ซามูเอล 22:3.
หนังสือการจัดการกับความคิดของคุณ ที่กล่าวถึงในตอนต้นให้ข้อสังเกตต่อไปอีกว่า “ยิ่งคนเราคิดถึงสิ่งเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นมากเท่าใด สิ่งเหล่านี้ก็ยิ่งดูเหมือนว่าเป็นจริงมากขึ้น และยิ่งมองไม่เห็นวิธีรับมือ.” ดังนั้นแล้ว เหตุใดจึงปล่อยตัวให้เป็นทุกข์หนักใจจากความกังวลและความไม่แน่ใจของโลกนี้ล่ะ? แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ให้แทนที่ความไม่แน่นอนของโลกนี้ด้วยความแน่นอนที่พระเจ้าจัดเตรียมไว้. โดยยึดมั่นความเชื่อของเราในคำสัญญาที่ไม่ล้มเหลวของพระยะโฮวา เราได้รับคำรับรองดังนี้: “ไม่มีผู้ใดเลยที่เชื่อในพระองค์แล้วจะผิดหวัง.”—โรม 10:11, ล.ม.
[คำโปรยหน้า 29]
พระคำของพระเจ้ารับประกันพระพรในอนาคตสำหรับมนุษยชาติ
[คำโปรยหน้า 30]
“ไม่มีผู้ใดเลยที่เชื่อในพระองค์แล้วจะผิดหวัง”
[ภาพหน้า 31]
ข่าวดีเรื่องราชอาณาจักรนำความมั่นคงมาสู่ผู้คน