การเข้าใจจุดประสงค์ของการตีสอน
การเข้าใจจุดประสงค์ของการตีสอน
คุณคิดถึงอะไรเมื่อได้ยินคำว่า “การตีสอน”? การตีสอนเป็นการปฏิบัติเพื่อทำให้คนเชื่อฟังกฎหรือมาตรฐานความประพฤติ และลงโทษเขาถ้าไม่เชื่อฟัง. ถึงแม้นี่ไม่ใช่คำจำกัดความเพียงอย่างเดียวอันเป็นที่ยอมรับ แต่หลายคนในทุกวันนี้ถือว่า การตีสอนไม่ว่าแบบใดก็ตาม มีความหมายในทางลบทำนองนี้.
อย่างไรก็ดี คัมภีร์ไบเบิลพรรณนาถึงการตีสอนแบบที่ต่างออกไป. กษัตริย์ซะโลโมผู้ชาญฉลาดได้เขียนว่า “บุตรชายของเราเอ๋ย, อย่าประมาทต่อบทวินัย [“อย่าปฏิเสธการตีสอน,” ล.ม.] ของพระยะโฮวา.” (สุภาษิต 3:11) ถ้อยคำเหล่านี้พาดพิงถึง ไม่ใช่การตีสอนโดยทั่วไป แต่เป็น “การตีสอนของพระยะโฮวา” นั่นคือ การตีสอนที่อาศัยหลักการอันสูงส่งของพระเจ้า. เฉพาะการตีสอนดังกล่าวเท่านั้นที่ก่อผลประโยชน์ทางฝ่ายวิญญาณ—กระทั่งน่าปรารถนาด้วยซ้ำ. ในทางตรงกันข้าม การตีสอนที่อาศัยความคิดของมนุษย์ซึ่งขัดแย้งกับหลักการอันสูงส่งของพระยะโฮวามักเป็นการใช้อำนาจอย่างผิด ๆ และก่อผลเสียหาย. นั่นเป็นสาเหตุที่หลายคนมีเจตคติในแง่ลบต่อการตีสอน.
เหตุใดเราได้รับการกระตุ้นให้ยอมรับการตีสอนของพระยะโฮวา? ในพระคัมภีร์ การตีสอนของพระเจ้าได้รับการพรรณนาว่าเป็นการสำแดงความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างมา. ด้วยเหตุนี้ ซะโลโมกล่าวต่อไปว่า “ผู้ใดที่พระยะโฮวาทรงรักพระองค์ทรงเตือนสอนผู้นั้น, เช่นบิดากระทำต่อบุตรที่ตนชื่นชม.”—สุภาษิต 3:12.
การตีสอนหรือการลงโทษ—อย่างไหนกัน?
การตีสอนดังที่พรรณนาไว้ในคัมภีร์ไบเบิลมีหลายแง่มุม เช่น การชี้แนะ, การสั่งสอน, การอบรม, การว่ากล่าว, การแก้ไข, และกระทั่งการลงโทษ. อย่างไรก็ดี ในแต่ละกรณี การตีสอนของพระยะโฮวาได้รับแรงกระตุ้นจากความรัก และเป้าหมายของการตีสอนนั้นคือเพื่อประโยชน์แก่ผู้รับ. การตีสอนเพื่อแก้ไขของพระยะโฮวาไม่เคยใช้เพียงเพื่อจุดประสงค์ในการลงโทษสถานเดียว.
ในทางตรงข้าม ปฏิบัติการของพระเจ้าที่เป็นการลงโทษก็ใช่ว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขหรืออบรมผู้ได้รับเสมอไป. ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่วันนั้นทีเดียวที่อาดามและฮาวาได้ทำบาป เขาทั้งสองเริ่มได้รับผลต่าง ๆ จากการไม่เชื่อฟังของเขา. พระยะโฮวาทรงขับไล่เขาทั้งสองออกจากอุทยานเอเดน และเขาต้องตกอยู่ในอำนาจของผลกระทบจากความไม่สมบูรณ์, ความเจ็บป่วย, และความชรา. หลังจากมีชีวิตอยู่หลายร้อยปีด้วยความเจ็บปวด ทั้งคู่ก็พินาศตลอดกาล. ทั้งหมดนี้เป็นการลงโทษจากพระเจ้าจริง ๆ แต่ไม่ใช่เป็นการตีสอนเพื่อแก้ไข. เนื่องจากเจตนาขัดขืนและไม่กลับใจ อาดามและฮาวาจึงอยู่ในวิสัยที่สุดจะแก้ไขได้.
เรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับการที่พระยะโฮวาทรงดำเนินการลงโทษนั้นรวมไปถึงน้ำท่วมโลกในสมัยของโนฮา, การทำลายเมืองโซโดมและโกโมร์ราห์, และการกำจัดกองทัพของชาวอียิปต์ในทะเลแดง. ปฏิบัติการเหล่านี้โดยพระยะโฮวามิได้มุ่งหมายที่จะให้การชี้แนะ, การสั่งสอน, หรือการอบรมสำหรับผู้ที่ถูกลงโทษ. อัครสาวกเปโตรเขียนเกี่ยวกับการลงโทษโดยพระเจ้าเช่นนั้นว่า “พระองค์มิได้ทรงยับยั้งไว้จากการลงโทษโลกในสมัยโบราณ แต่ได้ทรงคุ้มครองโนฮาผู้ประกาศความชอบธรรมให้ปลอดภัยพร้อมกับคนอื่นอีกเจ็ดคนเมื่อพระองค์ทรงบันดาลให้น้ำมาท่วมโลกแห่งคนที่ดูหมิ่นพระเจ้า และโดยการทำลายเมืองโซโดมและโกโมร์ราห์ให้เป็นเถ้าถ่าน พระองค์ได้ทรงกล่าวโทษพวกเขา เป็นแบบอย่างสำหรับคนที่ดูหมิ่นพระเจ้าเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น.”—2 เปโตร 2:5, 6, ล.ม.
2 เธซะโลนิเก 1:8, 9, ล.ม.) ปรากฏชัดว่า การลงโทษดังกล่าวมิได้มุ่งหมายที่จะสอนหรือขัดเกลาคนที่ถูกลงโทษนั้น. อย่างไรก็ดี เมื่อพระยะโฮวาทรงเชิญผู้นมัสการพระองค์ให้ยอมรับการตีสอน พระองค์มิได้พาดพิงถึงการลงโทษคนทำบาปที่ไม่กลับใจ.
ในความหมายใดที่การลงโทษดังกล่าวนี้ “เป็นแบบอย่างสำหรับคนที่ดูหมิ่นพระเจ้าเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น”? ในจดหมายของเปาโลถึงชาวเทสซาโลนีกา ท่านชี้ถึงสมัยของเราว่าเป็นเวลาที่พระเจ้า โดยทางพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์จะ “ทรงแก้แค้นคนที่ไม่รู้จักพระเจ้าและคนที่ไม่เชื่อฟังข่าวดี.” เปาโลกล่าวเสริมอีกว่า “คนเหล่านี้แหละจะถูกลงโทษตามคำพิพากษาให้พินาศตลอดกาล.” (น่าสังเกตที่คัมภีร์ไบเบิลมิได้พรรณนาพระยะโฮวาฐานะผู้ลงโทษเป็นประการแรก. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ส่วนใหญ่มักมีการพรรณนาถึงพระองค์ในฐานะพระครูองค์เปี่ยมด้วยความรักและผู้ฝึกอบรมที่อดทน. (โยบ 36:22; บทเพลงสรรเสริญ 71:17; ยะซายา 54:13) ใช่แล้ว การตีสอนที่อาศัยหลักการของพระเจ้าซึ่งมีจุดประสงค์ในการแก้ไขนั้นดำเนินควบคู่ไปกับความรักและความอดทนเสมอ. โดยเข้าใจจุดประสงค์ของการตีสอน คริสเตียนจึงอยู่ในฐานะที่ดีกว่าที่จะยอมรับการตีสอนและทำการตีสอนด้วยเจตคติที่ถูกต้อง.
การตีสอนของบิดามารดาที่เปี่ยมด้วยความรัก
ภายในวงครอบครัวและภายในประชาคมคริสเตียน ทุกคนจำเป็นต้องเข้าใจจุดประสงค์ของการตีสอน. นี่เป็นความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนเหล่านั้นซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ เช่น บิดามารดา. สุภาษิต 13:24 กล่าวว่า “บุคคลผู้ไม่ยอมใช้ไม้เรียวก็เป็นผู้ที่ชังบุตรของตน; แต่บุคคลผู้รักบุตรย่อมเฆี่ยนตีสั่งสอน.”
บิดามารดาควรทำการตีสอนอย่างไร? คัมภีร์ไบเบิลอธิบายว่า “ท่านทั้งหลายผู้เป็นบิดา อย่ายั่วบุตรของท่านให้ขัดเคืองใจ แต่จงอบรมเลี้ยงดูเขาต่อไปด้วยการตีสอนและการปรับความคิดจิตใจตามหลักการของพระยะโฮวา.” (เอเฟโซ 6:4, ล.ม.) มีการย้ำคำตักเตือนดังกล่าวด้วยถ้อยคำต่อไปนี้: “ฝ่ายบิดา ก็อย่ายั่วบุตรของตนให้ขัดเคืองใจ, เกรงว่าเขาจะท้อใจ.”—โกโลซาย 3:21.
บิดามารดาคริสเตียนซึ่งเข้าใจจุดประสงค์ของการตีสอนจะไม่ปฏิบัติอย่างเกรี้ยวกราด. อาจนำหลักการที่กล่าวไว้ใน 2 ติโมเธียว 2:24 (ล.ม.) มาใช้ได้กับวิธีที่บิดามารดาทำการตีสอน. เปาโลได้เขียนว่า “ทาสขององค์พระผู้เป็นเจ้าไม่จำเป็นต้องต่อสู้ แต่จำเป็นต้องสุภาพต่อคนทั้งปวง มีคุณวุฒิที่จะสอน.” ความโกรธอย่างรุนแรงที่ควบคุมไม่อยู่, การตวาด, และถ้อยคำที่สบประมาทหรือก่อความเสียหายไม่ใช่การตีสอนด้วยความรักอย่างแน่นอน และไม่เหมาะสมในชีวิตคริสเตียน.—เอเฟโซ 4:31; โกโลซาย 3:8.
การแก้ไขของบิดามารดาเกี่ยวข้องไม่เพียงการลงโทษที่จัดการอย่างฉับไวและเด็ดขาด. เด็กส่วนใหญ่ต้องได้รับคำตักเตือนซ้ำหลายครั้งก่อนที่จะแก้ไขความคิดของตน. ด้วยเหตุนี้ บิดามารดาต้องใช้เวลา, แสดงความอดทน, และใคร่ครวญให้มากถึงวิธีที่เขาทำการตีสอน. เขาต้องคำนึงเสมอว่าเด็กพึงได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วย “การตีสอนและการปรับความคิดจิตใจตามหลักการของพระยะโฮวา.” นี่หมายถึงช่วงการฝึกอบรมที่ต่อเนื่องนานหลายปี.
คริสเตียนผู้บำรุงเลี้ยงตีสอนด้วยใจอ่อนโยน
หลักการอย่างเดียวกันนำมาใช้กับคริสเตียนผู้ปกครอง. ในฐานะผู้บำรุงเลี้ยงที่เปี่ยมด้วยความรัก พวกเขาพยายามจะเสริมสร้างฝูงแกะโดยให้คำสั่งสอน, การชี้แนะ, และการว่ากล่าวเมื่อจำเป็น. ในการทำเช่นนั้น พวกเขาระลึกถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของการตีสอน. (เอเฟโซ 4:11, 12) หากพวกเขาเพ่งเล็งเฉพาะแต่การลงโทษ เขาก็จะเพียงแค่ลงโทษผู้กระทำผิดและไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่านั้น. การตีสอนที่อาศัยหลักการของพระเจ้าเกี่ยวข้องยิ่งกว่านั้นมากนัก. โดยได้รับแรงกระตุ้นจากความรัก ผู้ปกครองคอยติดตามเพื่อดูว่ามีการปฏิบัติตามคำแนะนำจริง. เนื่องจากรู้สึกห่วงใยอย่างแท้จริง พวกเขามักจะจัดเวลาหลายครั้งเพื่อให้กำลังใจและอบรมสั่งสอน.
ตามคำตักเตือนที่พบใน 2 ติโมเธียว 2:25, 26 (ล.ม.) แม้แต่เมื่อปฏิบัติกับคนเหล่านั้นที่ไม่พร้อมจะยอมรับการตีสอน ผู้ปกครองต้องสั่งสอน “ด้วยใจอ่อนโยน.” แล้วข้อคัมภีร์นี้ชี้แจงจุดประสงค์ของการตีสอนว่า “บางทีพระเจ้าอาจจะให้เขากลับใจซึ่งนำไปสู่ความรู้ถ่องแท้เรื่องความจริง และพวกเขาอาจจะได้สติอีกพ้นจากบ่วงแร้วของมาร.”
บางครั้ง จำเป็นต้องตัดสัมพันธ์ผู้กระทำผิดที่ไม่กลับใจออกจากประชาคม. (1 ติโมเธียว 1:18-20) แม้จะเป็นการจัดการที่รุนแรงแต่ก็ควรถือว่าเป็นการตีสอน ไม่ใช่เป็นแค่การลงโทษเท่านั้น. เป็นครั้งคราว ผู้ปกครองพยายามจะไปเยี่ยมคนที่ถูกตัดสัมพันธ์ซึ่งในตอนนั้นไม่ได้กระทำความผิดอยู่. ระหว่างการเยี่ยมดังกล่าว ผู้ปกครองปฏิบัติสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่แท้จริงของการตีสอนโดยการวางเค้าโครงขั้นตอนต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อบุคคลนั้นจะกลับคืนสู่ประชาคมคริสเตียน.
พระยะโฮวาเป็นผู้พิพากษาที่สมบูรณ์พร้อม
บิดามารดา, คริสเตียนผู้บำรุงเลี้ยง, และคนอื่น ๆ ซึ่งมีอำนาจตามหลักพระคัมภีร์ที่จะทำการตีสอน ควรถือว่าหน้าที่รับผิดชอบดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ. พวกเขาต้องไม่ทึกทักโดยตัดสินคนอื่นว่าไม่มีทางแก้ไขได้. ฉะนั้น การตีสอนของพวกเขาไม่ควรจะเป็นการลงโทษแบบแก้แค้นหรือมุ่งร้าย.
จริงอยู่ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงพระยะโฮวาในฐานะเป็นผู้ที่จะดำเนินการลงโทษอย่างรุนแรงและเด็ดขาด. ที่เฮ็บราย 10:31) แต่ไม่ควรมีมนุษย์คนใดพยายามจะเอาตัวไปเทียบกับพระยะโฮวาในแง่นี้หรือในแง่อื่นใดเลย. และไม่ควรมีใครมีสาเหตุที่จะรู้สึกว่าเป็นการน่ากลัวที่จะตกอยู่ในเงื้อมมือของบิดาหรือมารดา หรือผู้ปกครองบางคนในประชาคม.
จริง พระคัมภีร์กล่าวว่า “ซึ่งจะตกเข้าไปในพระหัตถ์ของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่นั้นก็เป็นการน่ากลัว.” (พระยะโฮวามีพระปรีชาสามารถที่จะบรรลุความสมดุลอย่างสมบูรณ์พร้อมเมื่อดำเนินการตีสอน. มนุษย์ไม่มีความสามารถเช่นนั้น. พระเจ้าทรงสามารถอ่านหัวใจและกำหนดได้ว่าเมื่อไรคนเราอยู่ในสภาพเหลือที่จะแก้ไขได้ และด้วยเหตุนี้จึงควรได้รับการลงโทษอย่างเด็ดขาด. ในอีกด้านหนึ่ง มนุษย์ไม่สามารถทำการตัดสินดังกล่าวได้. เพราะเหตุนั้น เมื่อจำเป็นต้องทำการตีสอน คนเหล่านั้นที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจควรทำการตีสอนโดยมีจุดประสงค์ในการแก้ไขเสมอ.
การยอมรับการตีสอนของพระยะโฮวา
เราทุกคนล้วนจำเป็นต้องได้รับการตีสอนจากพระยะโฮวา. (สุภาษิต 8:33) ที่จริง เราควรปรารถนาจะได้รับการตีสอนที่อาศัยพระคำของพระเจ้า. ขณะที่เราศึกษาพระคำของพระเจ้า เราอาจยอมรับการตีสอนที่มาจากพระยะโฮวาโดยตรงผ่านทางพระคัมภีร์. (2 ติโมเธียว 3:16, 17) อย่างไรก็ดี บางครั้ง เราจะได้รับการตีสอนจากเพื่อนคริสเตียน. การตระหนักถึงเจตนารมณ์ของการตีสอนเช่นนั้นจะช่วยเรายอมรับการตีสอนด้วยความเต็มใจ.
อัครสาวกเปาโลยอมรับว่า “จริงอยู่ ไม่มีการตีสอนใดดูเหมือนน่าชื่นใจเมื่อได้รับอยู่ แต่น่าเศร้าใจ.” แล้วท่านกล่าวเสริมว่า “กระนั้นในภายหลังผู้ที่ได้รับการฝึกโดยการตีสอนก็ได้ผลที่ก่อให้เกิดสันติสุข คือความชอบธรรม.” (เฮ็บราย 12:11, ล.ม.) การตีสอนของพระยะโฮวาเป็นการสำแดงความรักอันลึกซึ้งที่พระองค์มีต่อเรา. ไม่ว่าเราได้รับการตีสอนหรือทำการตีสอน ขอเราระลึกถึงจุดประสงค์ของการตีสอนที่อาศัยหลักการของพระเจ้าและเอาใจใส่ฟังคำแนะนำอันสุขุมของคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “จงยึดคำสั่งสอน [“การตีสอน,” ล.ม.] ไว้ให้มั่น; อย่าปล่อยเสียเลย; จงรักษาไว้ให้ดี; เพราะว่านั่นคือชีวิตของเจ้า.”—สุภาษิต 4:13.
[ภาพหน้า 21]
ผู้กระทำบาปที่ไม่กลับใจได้รับการลงโทษตามคำพิพากษาจากพระเจ้า ไม่ใช่การตีสอนเพื่อแก้ไขจากพระองค์
[ภาพหน้า 22]
โดยได้รับแรงกระตุ้นจากความรัก ผู้ปกครองใช้เวลาค้นหาข้อมูลและช่วยเหลือผู้กระทำผิด
[ภาพหน้า 23]
ด้วยความอดทนและความรัก บิดามารดาทำ “การตีสอนและการปรับความคิดจิตใจตามหลักการของพระยะโฮวา”