“จงกล้าหาญเถิด! เราชนะโลกแล้ว”
“จงกล้าหาญเถิด! เราชนะโลกแล้ว”
วันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์—วันที่ 14 เดือนไนซานตามปฏิทินของยิว—ได้เริ่มต้นตอนดวงอาทิตย์ตกในวันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม ส.ศ. 33. ในตอนเย็นวันนั้น พระเยซูและพวกอัครสาวกของพระองค์มาชุมนุมกันในห้องชั้นบนของบ้านหลังหนึ่งในกรุงเยรูซาเลมเพื่อฉลองปัศคา. ขณะที่พระเยซูทรงเตรียมตัว “จะออกจากโลกนี้ไปหาพระบิดา” พระองค์แสดงให้เห็นว่าทรงรักพวกอัครสาวกของพระองค์จนถึงที่สุด. (โยฮัน 13:1, ล.ม.) โดยวิธีใด? โดยสอนบทเรียนที่ล้ำเลิศให้พวกเขา โดยวิธีนี้จึงเตรียมพวกเขาไว้สำหรับสิ่งที่รออยู่ข้างหน้า.
ขณะที่ราตรีกาลคืบคลานไป พระเยซูตรัสแก่เหล่าสาวกของพระองค์ว่า “จงกล้าหาญเถิด! เราชนะโลกแล้ว.” (โยฮัน 16:33, ล.ม.) โดยถ้อยคำที่กล้าหาญนั้นพระองค์ทรงหมายความเช่นไร? ส่วนหนึ่ง พระองค์ทรงหมายความดังนี้: ‘สิ่งชั่วร้ายในโลกไม่ได้ทำให้เราขมขื่นหรือทำให้เราแก้เผ็ด. เราไม่ยอมให้โลกบีบเราเข้าสู่เบ้าหลอมของมัน. เจ้าทั้งหลายก็สามารถทำอย่างนี้ได้เช่นกัน.’ สิ่งที่พระเยซูทรงสอนเหล่าอัครสาวกที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตของพระองค์บนแผ่นดินโลกจะช่วยพวกเขาให้เอาชนะโลกเช่นกัน.
ความเลวร้ายมีอยู่ดาษดื่นในโลกทุกวันนี้. เรามีปฏิกิริยาอย่างไรต่อความอยุติธรรมและการกระทำที่รุนแรงอย่างไร้จุดมุ่งหมาย? สิ่งเหล่านี้ทำให้เราอาฆาตแค้นหรือชักนำให้เราแก้เผ็ดไหม? เราได้รับผลกระทบอย่างไรจากความเสื่อมด้านศีลธรรมที่มีอยู่รอบตัวเรา? นอกจากนี้ ก็ยังมีสภาพมนุษย์ไม่สมบูรณ์และแนวโน้มที่ผิดบาปของเรา และผลก็คือเรามีการต่อสู้ในแนวรบสองแนว คือต่อสู้กับโลกชั่วภายนอกและต่อสู้กับแนวโน้มที่ไม่ดีภายในตัวเรา. เราหวังได้จริง ๆ ไหมว่าจะมีชัยชนะในที่สุดโดยปราศจากความช่วยเหลือจากพระเจ้า? เราจะรับความช่วยเหลือจากพระองค์ได้โดยวิธีใด? เราควรปลูกฝังคุณลักษณะอะไรบ้างที่จะช่วยเราต่อต้านแนวโน้มฝ่ายเนื้อหนัง? เพื่อได้คำตอบ ขอเราพิจารณาสิ่งที่พระเยซูทรงสอนเหล่าสาวกที่รักของพระองค์ในคืนสุดท้ายที่พระองค์มีชีวิตอยู่บนแผ่นดินโลก.
เอาชนะความหยิ่งด้วยความถ่อมใจ
ตัวอย่างเช่น ขอพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความหยิ่งหรือความจองหอง. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ความเย่อหยิ่งนำไปถึงความพินาศ, และจิตต์ใจที่จองหองนำไปถึงการล้มลง.” (สุภาษิต 16:18) พระคัมภีร์ยังแนะนำเราด้วยว่า “ถ้าคนใดถือตัวว่าเป็นใหญ่, แต่ยังไม่เป็นอะไรเลย, คนนั้นก็ลวงตนเอง.” (ฆะลาเตีย 6:3) ถูกแล้ว ความหยิ่งเป็นสิ่งที่ก่อผลเสียหายและหลอกลวง. นับว่าฉลาดที่เราเกลียด “การยกย่องตัวเองและความหยิ่งยโส.”—สุภาษิต 8:13, ล.ม.
พวกอัครสาวกของพระเยซูมีปัญหาเรื่องการยกย่องตัวเองและความหยิ่งยโสไหม? อย่างน้อยในคราวหนึ่ง พวกเขาโต้เถียงกันในระหว่างพวกเขาเองว่าใครเป็นใหญ่กว่า. (มาระโก 9:33-37) อีกคราวหนึ่ง ยาโกโบกับโยฮันได้ทูลขอตำแหน่งสำคัญในราชอาณาจักร. (มาระโก 10:35-45) พระเยซูทรงปรารถนาจะช่วยเหล่าสาวกของพระองค์ให้กำจัดแนวโน้มเช่นนี้. ดังนั้น ในระหว่างรับประทานปัศคานั้น พระองค์ทรงลุกขึ้นเอาผ้าเช็ดตัวคาดเอว แล้วลงมือล้างเท้าพวกสาวก. พระองค์ทรงทำให้บทเรียนที่ประสงค์จะให้พวกเขาเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องเข้าใจง่าย. พระเยซูตรัสว่า “ถ้าเราได้ล้างเท้าพวกเจ้า แม้ว่าเราเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและครู พวกเจ้าก็ควรล้าง เท้าซึ่งกันและกันด้วย.” (โยฮัน 13:14, ล.ม.) ต้องแทนที่ความหยิ่งด้วยคุณลักษณะที่ตรงกันข้าม นั่นคือความถ่อมใจ.
แต่ความหยิ่งใช่ว่าจะเอาชนะได้ง่าย ๆ. ต่อมาในค่ำวันนั้น หลังจากพระเยซูได้ให้ยูดาอิศการิโอดผู้ที่กำลังจะทรยศพระองค์ออกไปแล้ว การโต้เถียงอย่างเผ็ดร้อนได้ปะทุขึ้นท่ามกลางอัครสาวก 11 คน. พวกเขาเป็นห่วงเรื่องอะไรหรือ? คนไหนในพวกเขาที่ดูเหมือนเป็นใหญ่ที่สุด! แทนที่จะดุด่าพวกเขา อีกครั้งหนึ่งพระเยซูทรงเน้นอย่างอดทนถึงความสำคัญของการรับใช้คนอื่น. พระองค์ตรัสว่า “กษัตริย์ของชาวต่างประเทศย่อมกดขี่บังคับบัญชาเขา และผู้ที่มีอำนาจเหนือเขานั้นเขาเรียกว่าเจ้าคุณ. แต่พวกท่านจะหาเป็นอย่างนั้นไม่ แต่ผู้ใดในพวกท่านที่เป็นพี่, ให้ผู้นั้นเป็นเหมือนน้อง และผู้ใดเป็นนาย, ให้ผู้นั้นเป็นเหมือนคนรับใช้.” พระองค์ตรัสเสริมเพื่อเตือนพวกเขาให้ระลึกถึงตัวอย่างของพระองค์ว่า “เราอยู่ท่ามกลางท่านทั้งหลายเหมือนผู้รับใช้.”—ลูกา 22:24-27.
พวกอัครสาวกเข้าใจบทเรียนที่เป็นตัวอย่างนั้นไหม? ดูเหมือนว่าพวกเขาเข้าใจ. หลายปีต่อมาอัครสาวกเปโตรได้เขียนว่า “ท่านทั้งหลายทุกคน จงมีความคิดจิตใจอย่างเดียวกัน, แสดงความเห็นอกเห็นใจ, มีความรักใคร่ฉันพี่น้อง, ความเมตตาสงสารอันอ่อนละมุน, จิตใจถ่อม.” (1 เปโตร 3:8, ล.ม.) สำคัญสักเพียงไรที่เราเอาชนะความหยิ่งด้วยความถ่อมใจเช่นกัน! นับว่าฉลาดที่เราจะไม่หมกมุ่นในการแสวงหาชื่อเสียง, อำนาจ, หรือตำแหน่ง. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “พระเจ้าทรงต่อต้านผู้ที่หยิ่งยโส แต่พระองค์ทรงประทานพระกรุณาอันไม่พึงได้รับแก่ผู้ที่ถ่อมใจ.” (ยาโกโบ 4:6, ล.ม.) เช่นเดียวกัน สุภาษิตโบราณที่แสดงถึงสติปัญญากล่าวว่า “บำเหน็จแห่งการถ่อมใจลงและความยำเกรงพระยะโฮวาก็เป็นทางนำมาถึงทรัพย์สมบัติและเกียรติศักดิ์และชีวิต.”—สุภาษิต 22:4.
เอาชนะความเกลียดชัง—โดยวิธีใด?
ขอพิจารณาลักษณะนิสัยอีกอย่างที่เป็นเรื่องธรรมดาในโลก นั่นก็คือความเกลียดชัง. ไม่ว่าเกิดจากความกลัว, ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์, อคติ, การกดขี่, ความอยุติธรรม, ลัทธิชาตินิยม, การถือเผ่า, หรือการเหยียดผิว ความเกลียดชังดูเหมือนมีอยู่รอบตัวเราทุกแห่งหน. (2 ติโมเธียว 3:1-4) ความเกลียดชังมีดาษดื่นในสมัยของพระเยซูด้วย. คนเก็บภาษีเป็นคนที่ถูกเกลียดชังซึ่งถูกขับออกนอกสังคมชาวยิว. ชาวยิวไม่คบค้ากับชาวซะมาเรีย. (โยฮัน 4:9) ชาวยิวยังดูถูกเหยียดหยามคนต่างชาติ หรือผู้ที่ไม่ใช่คนยิวด้วย. แต่ในเวลาอันควร รูปแบบการนมัสการที่พระเยซูทรงตั้งขึ้นจะต้อนรับผู้คนจากทุกชาติ. (กิจการ 10:34, 35; ฆะลาเตีย 3:28) ดังนั้น ด้วยความรักพระองค์ทรงประทานอะไรบางอย่างที่ใหม่ให้แก่เหล่าสาวกของพระองค์.
พระเยซูทรงประกาศว่า “เราให้บัญญัติใหม่ไว้แก่เจ้าทั้งหลาย คือว่าให้เจ้าทั้งหลายรักซึ่งกันและกัน; เรารักเจ้าทั้งหลายมาแล้วอย่างไร เจ้าจงรักกันและกันอย่างนั้นด้วย.” พวกเขาต้องเรียนที่จะแสดงความรักนี้ เพราะพระองค์ตรัสต่อไปว่า “โดยเหตุนี้คนทั้งปวงจะรู้ว่าเจ้าทั้งหลายเป็นสาวกของเรา ถ้าเจ้ามีความรักระหว่างพวกเจ้าเอง.” (โยฮัน 13:34, 35, ล.ม.) บัญญัตินี้ใหม่ในแง่ที่ว่าทำมากกว่าการรัก “เพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง.” (เลวีติโก 19:18) ในทางใด? พระเยซูทรงทำให้เรื่องกระจ่างชัดโดยตรัสว่า “นี่แหละเป็นบัญญัติของเรา คือให้เจ้าทั้งหลายรักซึ่งกันและกันเหมือนที่เราได้รักเจ้า. ไม่มีผู้ใดมีความรักใหญ่ยิ่งกว่านี้ คือที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะสละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหาย.” (โยฮัน 15:12, 13, ล.ม.) พวกเขาต้องเต็มใจสละชีวิตของตนเพื่อกันและกันและเพื่อคนอื่น.
มนุษย์ไม่สมบูรณ์จะกำจัดความเกลียดชังอย่างประสงค์ร้ายไปจากชีวิตของเขาได้อย่างไร? โดยการแทนที่ความเกลียดชังนั้นด้วยความรักแบบเสียสละตัวเอง. สุจริตชนนับล้านซึ่งมาจากภูมิหลังด้านชาติพันธุ์, วัฒนธรรม, ด้านศาสนา, และการเมืองทุกรูปแบบกำลังทำเช่นนั้นอยู่ทีเดียว. ปัจจุบันพวกเขาได้รับการเชื่อมผนึกเข้าเป็นสังคมเดียวที่ปรองดอง1 โยฮัน 3:15) คริสเตียนแท้ไม่เพียงปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในการสู้รบใด ๆ แต่ยังพยายามอย่างขันแข็งที่จะแสดงความรักต่อกันและกันด้วย.
กันซึ่งปราศจากความเกลียดชัง นั่นคือภราดรภาพทั่วโลกของพยานพระยะโฮวา. พวกเขาเอาใจใส่ถ้อยคำของอัครสาวกโยฮันที่ได้รับการดลใจที่ว่า “ผู้หนึ่งผู้ใดที่เกลียดชังพี่น้องของตนก็ย่อมเป็นผู้ฆ่าคน และท่านทั้งหลายรู้แล้วว่า, ผู้ฆ่าคนไม่มีชีวิตนิรันดร์อยู่ในตัวเลย.” (แต่เราควรมีเจตคติเช่นไรต่อคนเหล่านั้นซึ่งไม่ใช่เพื่อนร่วมความเชื่อของเราและเป็นผู้ที่อาจจะแสดงความเกลียดชังต่อเรา? ระหว่างถูกตรึงอยู่บนหลัก พระเยซูทรงอธิษฐานเผื่อผู้ที่ประหารชีวิตพระองค์ว่า “โอพระบิดาเจ้าข้า. ขอโปรดยกโทษเขา เพราะว่าเขาไม่รู้ว่าเขาทำอะไร.” (ลูกา 23:34) เมื่อคนที่เต็มด้วยความเกลียดชังเอาหินขว้างสาวกซะเตฟาโนจนถึงแก่ความตาย คำพูดสุดท้ายของเขาคือ “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า [“พระยะโฮวา,” ล.ม.] ขอโปรดอย่าทรงถือโทษเขาเพราะบาปนี้.” (กิจการ 7:60, ฉบับแปลใหม่) พระเยซูและซะเตฟาโนต่างก็ปรารถนาดีต่อคนเหล่านั้นที่เกลียดชังพระองค์และตัวท่านด้วยซ้ำ. ทั้งสองไม่มีความเกลียดชังอยู่ในหัวใจ. คัมภีร์ไบเบิลเตือนสติเราว่า “ให้เรากระทำการดีแก่คนทั้งปวง.”—ฆะลาเตีย 6:10.
‘ผู้ช่วยตลอดไป’
ขณะที่การประชุมกับอัครสาวกผู้ซื่อสัตย์ 11 คนดำเนินต่อไป พระเยซูทรงแจ้งแก่พวกเขาว่าในไม่ช้าพระองค์จะไม่อยู่กับพวกเขาบนแผ่นดินโลกอีกต่อไป. (โยฮัน 14:28; 16:28) แต่พระองค์ทรงรับรองกับพวกเขาว่า “เราจะทูลขอพระบิดา และพระองค์ก็จะประทานผู้ช่วยอีกผู้หนึ่งให้แก่เจ้าทั้งหลาย เพื่อจะอยู่กับพวกเจ้าตลอดไป.” (โยฮัน 14:16, ล.ม.) ผู้ช่วยตามที่สัญญานั้นคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้า. พระวิญญาณนั้นจะสอนพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งลึกซึ้งในพระคัมภีร์และทำให้พวกเขาหวนระลึกถึงสิ่งที่พระเยซูได้ทรงสั่งสอนพวกเขาระหว่างงานรับใช้ของพระองค์บนแผ่นดินโลก.—โยฮัน 14:26.
พระวิญญาณบริสุทธิ์จะช่วยเราในทุกวันนี้ได้โดยวิธีใด? คัมภีร์ไบเบิลเป็นพระคำของพระเจ้าที่มีขึ้นโดยการดลใจ. คนที่ถูกใช้ให้กล่าวคำพยากรณ์และเขียนคัมภีร์ไบเบิล “ได้รับการทรงนำโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์.” (2 เปโตร 1:20, 21, ล.ม.; 2 ติโมเธียว 3:16) การที่เราศึกษาพระคัมภีร์และนำสิ่งที่เราเรียนรู้ไปใช้ทำให้เรามีความรู้, สติปัญญา, ความเข้าใจ, ความหยั่งเห็น, การสังเกตเข้าใจ, และความสามารถในการคิด. ดังนั้นแล้ว เราจึงได้รับการเตรียมพร้อมอย่างดีที่จะเผชิญกับความกดดันจากโลกชั่วมิใช่หรือ?
พระวิญญาณบริสุทธิ์ยังเป็นผู้ช่วยในอีกทางหนึ่ง. พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าเป็นพลังที่มีอำนาจก่อผลกระทบในทางที่ดี ทำให้คนเหล่านั้นที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของพระวิญญาณนั้นสามารถสำแดงคุณลักษณะแบบพระเจ้า. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ผลแห่งพระวิญญาณคือ ความรัก, ความยินดี, สันติสุข, ความอดกลั้นไว้นาน, ความกรุณา, ความดี, ความเชื่อ, ความอ่อนโยน, การรู้จักบังคับตน.” เราจำเป็นต้องมีคุณลักษณะเหล่านี้ทีเดียวมิใช่หรือเพื่อจะเอาชนะแนวโน้มฝ่ายเนื้อหนังที่เอนเอียงไปทางการผิดศีลธรรม, การต่อสู้, การริษยา, การบันดาลโทสะ, และสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน?—ฆะลาเตีย 5:19-23, ล.ม.
โดยพึ่งอาศัยพระวิญญาณของพระเจ้า เรายังอาจได้รับ “กำลังที่มากกว่าปกติ” เพื่อจะรับมือกับความยุ่งยากหรือความทุกข์ร้อนใด ๆ. (2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.) ถึงแม้พระวิญญาณบริสุทธิ์อาจไม่ได้ขจัดการทดลองหรือการล่อใจออกไป แต่พระวิญญาณก็สามารถช่วยเราให้อดทนสิ่งเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน. (1 โกรินโธ 10:13) อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ข้าพเจ้ามีกำลังสำหรับทุกสิ่งโดยพระองค์ผู้ทรงประทานพลังให้ข้าพเจ้า.” (ฟิลิปปอย 4:13, ล.ม.) พระเจ้าทรงประทานพลังดังกล่าวให้โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์. เรารู้สึกขอบคุณสักเพียงไรสำหรับพระวิญญาณบริสุทธิ์! มีการสัญญาเรื่องพระวิญญาณนั้นแก่บรรดาผู้ที่ ‘รักพระเยซูและปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์.’—โยฮัน 14:15.
“จงตั้งมั่นคงอยู่ในความรักของเรา”
ในคืนสุดท้ายของพระองค์ฐานะเป็นมนุษย์ พระเยซูยังตรัสแก่พวกอัครสาวกอีกด้วยว่า “ผู้ที่มีบัญญัติของเราและประพฤติตามบัญญัตินั้น, ผู้นั้นแหละรักเรา, และผู้ที่รักเราพระบิดาของเราจะทรงรักผู้นั้น.” (โยฮัน 14:21) พระองค์ทรงกระตุ้นเตือนพวกเขาว่า “จงตั้งมั่นคงอยู่ในความรักของเรา.” (โยฮัน 15:9) การตั้งมั่นคงอยู่ในความรักของพระบิดาและของพระบุตรช่วยเราอย่างไรในการต่อสู้กับแนวโน้มที่ผิดบาปในตัวเราและต่อสู้กับโลกชั่วที่อยู่ภายนอก?
เราสามารถควบคุมแนวโน้มที่ผิดบาปได้จริง ๆ ไหมหากเราขาดแรงจูงใจที่เข้มแข็งในการทำเช่นนั้น? จะมีแรงกระตุ้นอะไรที่ใหญ่ยิ่งกว่าความปรารถนาที่จะมีสัมพันธภาพที่ * ชายหนุ่มซึ่งได้ต่อสู้อย่างหนักเพื่อเลิกชีวิตแบบที่ผิดศีลธรรมซึ่งเขาได้ดำเนินมาตั้งแต่ตอนเริ่มเป็นวัยรุ่น อธิบายว่า “ผมต้องการทำให้พระเจ้าพอพระทัย และผมได้เรียนรู้จากคัมภีร์ไบเบิลว่าพระองค์ไม่ทรงเห็นชอบกับวิธีที่ผมดำเนินชีวิต. ดังนั้น ผมจึงตัดสินใจที่จะเป็นคนชนิดที่ต่างออกไป เพื่อจะปฏิบัติตามการชี้นำของพระเจ้า. ทุก ๆ วัน ผมต้องต่อสู้กับความคิดที่ก่อความเสียหายและไม่สะอาดซึ่งยังคงหลั่งไหลเข้ามาในจิตใจของผม. แต่ผมตั้งใจจะเอาชนะการต่อสู้นี้ และผมได้อธิษฐานอย่างไม่ละลดขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า. หลังจากสองปีผ่านไป สภาพเลวร้ายที่สุดก็ยุติลง ถึงกระนั้น ผมก็ยังคงเข้มงวดกับตัวเองอยู่.”
ดีกับพระยะโฮวาพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์? เออร์เนสโตในเรื่องการต่อสู้กับโลกภายนอก ขอพิจารณาคำอธิษฐานสุดท้ายของพระเยซูก่อนออกจากห้องชั้นบนในกรุงเยรูซาเลมไป. พระองค์ทรงอธิษฐานขอพระบิดาเพื่อประโยชน์ของเหล่าสาวกว่า “ข้าพเจ้าทูลขอพระองค์ มิให้นำพวกเขาไปจากโลก แต่ขอทรงพิทักษ์เขาไว้เพราะตัวชั่วร้าย. พวกเขาไม่เป็นส่วนของโลก เหมือนข้าพเจ้าไม่เป็นส่วนของโลก.” (โยฮัน 17:15, 16, ล.ม.) ช่างทำให้อุ่นใจสักเพียงไร! พระยะโฮวาทรงพิทักษ์คนเหล่านั้นที่พระองค์ทรงรักและชูกำลังพวกเขาขณะที่พวกเขาอยู่ต่างหากจากโลก.
“จงสำแดงความเชื่อ”
การปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเยซูสามารถช่วยเราได้อย่างแท้จริงให้มีชัยชนะในการต่อสู้กับโลกชั่วและกับแนวโน้มที่ผิดบาปของเรา. อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ชัยชนะดังกล่าวสำคัญ ชัยชนะนั้นก็ไม่สามารถกำจัดโลกหรือบาปที่สืบทอดมาได้. แต่เราไม่จำเป็นต้องรู้สึกหมดหวัง.
คัมภีร์ไบเบิลประกาศว่า “โลกกับความปรารถนาของโลกกำลังผ่านพ้นไป แต่ผู้ที่ทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าจะดำรงอยู่ตลอดไปเป็นนิตย์.” (1 โยฮัน 2:17, ล.ม.) พระเยซูทรงประทานชีวิตของพระองค์เพื่อช่วย “ทุกคนที่สำแดงความเชื่อในพระองค์” ให้รอดพ้นจากบาปและความตาย. (โยฮัน 3:16, ล.ม.) ขณะที่ความรู้ของเราเกี่ยวกับพระทัยประสงค์และพระประสงค์ของพระเจ้าเพิ่มพูนขึ้น ก็ขอให้เราเอาใจใส่คำแนะเตือนของพระเยซูที่ว่า “จงสำแดงความเชื่อในพระเจ้า จงสำแดงความเชื่อในเราด้วย.”—โยฮัน 14:1, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 22 ชื่อที่ใช้ ณ ที่นี้เป็นนามแฝง.
[ภาพหน้า 6, 7]
พระเยซูทรงกระตุ้นพวกอัครสาวกว่า “จงตั้งมั่นคงอยู่ในความรักของเรา”
[ภาพหน้า 6, 7]
เสรีภาพพ้นจากบาปและผลกระทบของบาปจะกลายเป็นจริงในไม่ช้า