จงวางใจพระยะโฮวาด้วยสุดใจของคุณ
จงวางใจพระยะโฮวาด้วยสุดใจของคุณ
“คนทั้งหลายที่รู้จักพระนามของพระองค์แล้วจะวางใจในพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 9:10.
1, 2. มีอะไรบ้างที่ผู้คนไว้วางใจเพื่อความมั่นคงปลอดภัยอย่างเปล่าประโยชน์?
ในปัจจุบัน เมื่อมีหลายสิ่งเหลือเกินที่คุกคามสวัสดิภาพของเรา จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราจะหวังพึ่งบางคนหรืออะไรบางอย่างที่จะนำมาซึ่งความมั่นคงปลอดภัย. บางคนคิดว่าการมีเงินมากขึ้นจะทำให้อนาคตของเขามั่นคงปลอดภัย แต่ความจริงแล้ว เงินไม่ใช่แหล่งคุ้มภัยที่จิรังยั่งยืนเลย. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “บุคคลผู้ไว้วางใจในทรัพย์สินของตนจะล้มคะมำลง.” (สุภาษิต 11:28) ส่วนคนอื่นฝากความหวังไว้กับผู้นำที่เป็นมนุษย์ อย่างไรก็ตาม แม้แต่ผู้นำที่ดีที่สุด ก็ยังทำสิ่งที่ผิดพลาด. และในที่สุด ผู้นำเหล่านี้ทั้งสิ้นก็ต้องตายไป. คัมภีร์ไบเบิลให้คำแนะนำที่ฉลาดสุขุมดังนี้: “ท่านทั้งหลายอย่าวางใจในพวกเจ้านาย, หรือในเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ช่วยให้รอดไม่ได้.” (บทเพลงสรรเสริญ 146:3) ถ้อยคำที่มีขึ้นโดยการดลใจดังกล่าวยังเตือนใจเราด้วยที่จะไม่วางใจความพยายามของตัวเอง. เราก็เป็นเพียง “เผ่าพันธุ์มนุษย์” เช่นกัน.
2 ผู้พยากรณ์ยะซายาตำหนิพวกผู้นำชาติอิสราเอลในสมัยของท่านเพราะพวกเขา “เอาความมุสา . . . เป็นที่คุ้มภัย.” (ยะซายา 28:15-17) พวกเขาแสวงหาความมั่นคงปลอดภัยจากการสร้างพันธมิตรทางการเมืองกับชาติใกล้เคียง. พันธมิตรเหล่านั้นวางใจไม่ได้ กล่าวคือเป็นความมุสา. ในทำนองเดียวกัน ผู้นำศาสนาหลายคนในปัจจุบันสร้างความสัมพันธ์กับพวกผู้นำทางการเมือง. พันธมิตรเหล่านั้นจะปรากฏว่าเป็น “ความมุสา” เช่นกัน. (วิวรณ์ 17:16, 17) นั่นจะไม่นำมาซึ่งความมั่นคงปลอดภัยถาวร.
ตัวอย่างที่ดีของยะโฮซูอะกับคาเลบ
3, 4. รายงานของยะโฮซูอะกับคาเลบต่างจากของผู้สอดแนมสิบคนอย่างไร?
3 ถ้าอย่างนั้น เราควรแสวงหาความมั่นคงปลอดภัยจากแหล่งไหน? จากแหล่งเดียวกันกับที่ยะโฮซูอะและคาเลบแสวงหาในสมัยของโมเซ. หลังจากได้รับการปลดปล่อยจากอียิปต์ไม่นาน ชาติอิสราเอลก็พร้อมจะเข้าสู่แผ่นดินตามคำสัญญา คือคะนาอัน. ชายสิบสองคนถูกส่งไปสอดแนมในแผ่นดินนั้น และหลังจากผ่านไปสี่สิบวัน พวกเขาก็กลับมารายงาน. มีเพียงสองคน คือยะโฮซูอะกับคาเลบเท่านั้น ที่พูดให้ชาวอิสราเอลมีความคาดหวังในทางที่ดีเกี่ยวกับคะนาอัน. ส่วนคนอื่น ๆ ก็เห็นด้วยเหมือนกันว่าแผ่นดินนั้นน่าปรารถนา แต่พวกเขากล่าวว่า “ชนประเทศนั้นมีกำลังมาก, แลเมืองของเขามีกำแพงล้อมรอบโตใหญ่นัก . . . เราทั้งหลายไม่อาจขึ้นไปต่อสู้เอาชัยชนะกับคนเหล่านั้นได้, เพราะเขาทั้งหลายมีกำลังมากกว่าพวกเรา.”—อาฤธโม 13:27, 28, 31.
4 ชาวอิสราเอลเชื่อรายงานของผู้สอดแนมสิบคนนั้น และพวกเขาเริ่มกลัว ถึงขั้นที่บ่นว่าโมเซ. ในที่สุด ยะโฮซูอะกับคาเลบกล่าวด้วยความรู้สึกอันแรงกล้าว่า “แผ่นดินที่เราได้เที่ยวสืบดูทั่วตลอดนั้นเป็นประเทศดียิ่งที่สุด. ถ้าพระยะโฮวาชอบพระทัยในพวกเรา, พระองค์ก็จะพาเราทั้งหลายไปถึงประเทศนั้น, ยกประเทศนั้นให้พวกเราเป็นประเทศซึ่งมีน้ำนมแลน้ำผึ้งไหลเป็นบริบูรณ์. แต่อย่าให้พวกเรามีใจกบฏต่อพระยะโฮวา, แลอย่าให้มีใจกลัวชนประเทศนั้น.” (อาฤธโม 14:6-9) แต่ชาวอิสราเอลก็ยังไม่ยอมฟัง และผลก็คือพวกเขาไม่ได้เข้าแผ่นดินตามคำสัญญาในเวลานั้น.
5. ทำไมยะโฮซูอะกับคาเลบจึงรายงานในแง่ดี?
5 ทำไมยะโฮซูอะกับคาเลบจึงรายงานในแง่ดี ในขณะที่ผู้สอดแนมสิบคนนั้นรายงานในแง่ร้าย? ทั้ง 12 คนต่างได้เห็นเมืองที่แข็งแรงและชาติต่าง ๆ ที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเหมือน ๆ กัน. และที่สิบคนนั้นกล่าวก็ถูกที่ว่าชาวอิสราเอลไม่มีกำลังพอจะพิชิตแผ่นดินนั้น. ยะโฮซูอะกับคาเลบก็รู้ข้อเท็จจริงนี้เช่นกัน. ทว่าสิบคนนั้นมองสิ่งต่าง ๆ จากแง่คิดของมนุษย์. ตรงกันข้าม ยะโฮซูอะกับคาเลบวางใจในพระยะโฮวา. พวกเขาได้เห็นราชกิจอันทรงฤทธิ์ของพระองค์ในอียิปต์, ที่ทะเลแดง, และที่เชิงเขาไซนาย. คิดดูสิ แม้ผ่านไปหลายสิบปีแล้ว เพียงแค่ได้ยินรายงานถึงราชกิจเหล่านั้นก็ยังสร้างความประทับใจแก่ราฮาบแห่งเมืองเยริโคจนถึงกับกระตุ้นเธอให้ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อประชาชนของพระยะโฮวา! (ยะโฮซูอะ 2:1-24; 6:22-25) ยะโฮซูอะกับคาเลบ ผู้เป็นประจักษ์พยานถึงราชกิจของพระยะโฮวา มีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่าพระเจ้าจะยังคงสู้รบต่อไปเพื่อประชาชนของพระองค์. สี่สิบปีต่อมา การวางใจของคนทั้งสองได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง เมื่อชาวอิสราเอลชั่วอายุถัดมาภายใต้การนำของยะโฮซูอะเคลื่อนพลเข้าสู่คะนาอันและพิชิตแผ่นดินนั้น.
เหตุที่เราควรวางใจพระยะโฮวาอย่างเต็มที่
6. ทำไมคริสเตียนในปัจจุบันจึงประสบความกดดัน และพวกเขาควรมอบความไว้วางใจไว้กับแหล่งไหน?
6 เช่นเดียวกับชาวอิสราเอล ใน “วิกฤตกาลซึ่งยากที่จะรับมือได้” นี้เราเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีกำลังมากกว่าเรา. (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) เราเผชิญกับการทดลองทางศีลธรรม, ด้านวิญญาณ, และแม้กระทั่งทางกายในบางกรณี. เราไม่อาจต้านทานความกดดันเหล่านั้นได้ด้วยกำลังของเราเอง เนื่องจากสิ่งเหล่านั้นมาจากแหล่งที่มีอำนาจมากกว่ามนุษย์ คือซาตานพญามาร. (เอเฟโซ 6:12; 1 โยฮัน 5:19) ถ้าอย่างนั้น เราจะหันไปหาความช่วยเหลือได้จากที่ไหน? ในคำทูลอธิษฐานถึงพระยะโฮวา ชายผู้ซื่อสัตย์คนหนึ่งในยุคโบราณกล่าวดังนี้: “คนทั้งหลายที่รู้จักพระนามของพระองค์แล้วจะวางใจในพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 9:10) หากเรารู้จัก พระยะโฮวาอย่างแท้จริงและเข้าใจความหมายแห่งพระนามของพระองค์ เราจะวางใจพระองค์ด้วยความเชื่อมั่นเหมือนที่ยะโฮซูอะกับคาเลบได้กระทำ.—โยฮัน 17:3.
7, 8. (ก) การทรงสร้างให้เหตุผลแก่เราอย่างไรที่จะวางใจพระยะโฮวา? (ข) คัมภีร์ไบเบิลให้เหตุผลอะไรแก่เราที่จะวางใจพระยะโฮวา?
7 ทำไมเราควรวางใจพระยะโฮวา? ที่ยะโฮซูอะกับคาเลบวางใจพระยะโฮวาส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาได้เห็นหลักฐานถึงฤทธิ์อำนาจของพระองค์. เราก็ได้เห็นหลักฐานอย่างเดียวกันนั้นเช่นกัน. ยกตัวอย่าง ขอให้พิจารณาผลงานแห่งการทรงสร้างของพระยะโฮวา ซึ่งรวมถึงเอกภพที่มีหลายพันล้านกาแล็กซี. พลังมากมายมหาศาลในธรรมชาติที่พระยะโฮวาทรงควบคุมเป็นหลักฐานแสดงว่าแท้จริงแล้วพระองค์เป็นผู้ทรงฤทธานุภาพทุกประการ. เมื่อเราตรึกตรองความมหัศจรรย์แห่งการทรงสร้าง เราจำต้องเห็นพ้องกับโยบ ผู้ซึ่งกล่าวถึงพระยะโฮวาว่า “ใครจะต้านทานพระองค์ได้? ใครจะทูลพระองค์ว่า ‘พระองค์ทรงทำอะไร?’” โยบ 9:12, ล.ม.) ตามจริงแล้ว ถ้าพระยะโฮวาอยู่ฝ่ายเรา เราไม่จำเป็นต้องกลัวใครทั้งสิ้นในเอกภพ.—โรม 8:31.
(8 ขอให้พิจารณาพระคำของพระยะโฮวา คือคัมภีร์ไบเบิลด้วย. แหล่งแห่งสติปัญญาอันไม่มีขีดจำกัดของพระเจ้านี้มีพลังในการช่วยเราให้เอาชนะนิสัยที่ไม่ดีและช่วยเราให้ดำเนินชีวิตประสานกับพระทัยประสงค์ของพระยะโฮวา. (เฮ็บราย 4:12) โดยทางคัมภีร์ไบเบิลนี้เองที่ทำให้เราได้มารู้จักพระยะโฮวาโดยพระนามของพระองค์และเข้าใจความหมายแห่งพระนามของพระองค์. (เอ็กโซโด 3:14) เราได้มาเข้าใจว่าพระยะโฮวาจะเป็นอะไรก็ได้ที่พระองค์ทรงประสงค์จะเป็น เช่น บิดาผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรัก, ผู้พิพากษาที่เที่ยงธรรม, นักรบผู้มีชัย เพื่อจะทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จ. และเราเห็นว่าคำตรัสของพระองค์สำเร็จเป็นจริงเสมออย่างไร. เมื่อเราศึกษาพระคำของพระเจ้า เราได้รับการกระตุ้นให้กล่าวเช่นเดียวกันกับผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญที่ว่า “ข้าพเจ้าได้วางใจในพระดำรัสของพระองค์.”—บทเพลงสรรเสริญ 119:42; ยะซายา 40:8.
9. ค่าไถ่และการคืนพระชนม์ของพระเยซูเสริมความวางใจของเราในพระยะโฮวาอย่างไร?
9 การจัดเตรียมเรื่องค่าไถ่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราวางใจพระยะโฮวา. (มัดธาย 20:28) ช่างวิเศษสักเพียงไรที่พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์เองมาวายพระชนม์เป็นค่าไถ่สำหรับพวกเรา! และค่าไถ่นั้นส่งผลอันทรงพลังอย่างแท้จริง. ค่าไถ่ลบล้างบาปให้กับมนุษย์ทุกคนที่กลับใจและหันกลับมาหาพระยะโฮวาด้วยหัวใจสุจริต. (โยฮัน 3:16; เฮ็บราย 6:10; 1 โยฮัน 4:16, 19) ขั้นตอนหนึ่งของการชำระค่าไถ่คือการคืนพระชนม์ของพระเยซู. การอัศจรรย์ดังกล่าว ซึ่งมีการยืนยันโดยประจักษ์พยานหลายร้อยคน เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราวางใจพระยะโฮวา. การอัศจรรย์นั้นเป็นการรับประกันว่าความหวังของเราจะเป็นจริงอย่างแน่นอน.—กิจการ 17:31; โรม 5:5; 1 โกรินโธ 15:3-8.
10. เรามีเหตุผลส่วนตัวอะไรที่จะวางใจพระยะโฮวา?
10 ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงเหตุผลบางอย่างที่ว่าทำไมเราจึงสามารถและสมควรจะวางใจพระยะโฮวาอย่างเต็มที่. ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งบางอย่างก็เป็นเหตุผลส่วนตัว. ตัวอย่างเช่น เราทุกคนเผชิญสภาพการณ์ที่ยุ่งยากในชีวิตของเราเป็นครั้งคราว. เมื่อเราแสวงหาคำชี้นำจากพระยะโฮวาเพื่อจัดการกับความยุ่งยากเหล่านั้น เราพบว่าคำชี้นำของพระองค์ใช้การได้จริงมากสักเพียงไร. (ยาโกโบ 1:5-8) ยิ่งเราวางใจพระยะโฮวาขณะที่ดำเนินชีวิตแต่ละวันและเห็นผลดีจากการทำเช่นนั้นมากเท่าใด เราก็จะยิ่งวางใจพระองค์มากขึ้นเท่านั้น.
ดาวิดไว้วางใจพระยะโฮวา
11. ดาวิดวางใจพระยะโฮวาแม้อยู่ในสภาพการณ์เช่นไร?
11 ดาวิดแห่งอิสราเอลโบราณเป็นผู้หนึ่งที่วางใจพระยะโฮวา. ดาวิดเผชิญอันตรายคุกคามจากกษัตริย์ซาอูล ที่ต้องการฆ่าท่าน และจากกองทัพที่แข็งแกร่งของชาวฟะลิศตีม ซึ่งพยายามยึดครองอิสราเอล. แม้กระนั้น ท่านรอดชีวิตและถึงกับได้ชัยชนะด้วยซ้ำ. เพราะเหตุใด? ดาวิดเองอธิบายว่า “พระยะโฮวาเป็นสว่างและความรอดของข้าพเจ้า; ข้าพเจ้าจะต้องกลัวผู้ใดเล่า? พระยะโฮวาเป็นกำลังวังชาแห่งชีวิตของข้าพเจ้า; ข้าพเจ้าจะต้องไปกลัวใคร?” บทเพลงสรรเสริญ 27:1) เราจะมีชัยเช่นกันหากเราวางใจพระยะโฮวาในทำนองเดียวกันนั้น.
(12, 13. ดาวิดแสดงให้เห็นอย่างไรว่าเราควรวางใจพระยะโฮวาแม้เมื่อผู้ต่อต้านต่อสู้เราโดยใช้ลิ้นเป็นอาวุธ?
12 ครั้งหนึ่ง ดาวิดอธิษฐานดังนี้: “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงสดับเสียงของข้าพระองค์เมื่อข้าพระองค์ร้องทุกข์ ขอทรงสงวนชีวิตของข้าพระองค์ไว้จากความคิดกลัวศัตรู ขอทรงซ่อนข้าพระองค์ไว้จากการหารืออย่างลับ ๆ ของคนโหดร้าย จากการปองร้ายของคนกระทำผิด ผู้ลับลิ้นของเขาอย่างลับดาบ ผู้เอาคำขมขื่นเล็งอย่างลูกธนู ยิงออกมาจากที่ซุ่มยังคนปราศจากตำหนิ.” (บทเพลงสรรเสริญ 64:1-4, ฉบับแปลใหม่) เราไม่รู้แน่ว่าอะไรเป็นเหตุให้ดาวิดเขียนถ้อยคำเหล่านี้. แต่เรารู้ว่าในทุกวันนี้ ผู้ต่อต้าน “ลับลิ้นของเขา” เช่นเดียวกัน โดยใช้วาจาดุจดังอาวุธในสงคราม. พวกเขา “ยิง” คริสเตียนที่ปราศจากตำหนิ โดยใช้ “ลูกธนู” แห่งคำใส่ร้าย ไม่ว่าโดยทางคำพูดหรือข้อเขียน. ถ้าเราวางใจพระยะโฮวาอย่างไม่สั่นคลอน ผลจะเป็นเช่นไร?
13 ดาวิดกล่าวต่อไปว่า “พระเจ้าจะทรงยิงเขาด้วยธนู; ในทันใดนั้นเขาจะมีบาดแผล. เขาจึงถูกทำให้สะดุดล้มลง, ลิ้นของเขากลับกล่าวร้ายแก่ตนเอง . . . คนสัตย์ธรรมจะชื่นชมในพระยะโฮวา, และพึ่งพำนักในพระองค์.” (บทเพลงสรรเสริญ 64:7-10) ใช่แล้ว แม้ศัตรูลับลิ้นของเขาโจมตีเรา แต่สุดท้าย ‘ลิ้นของเขาจะกลับกล่าวร้ายแก่เขาเอง.’ ในที่สุด พระยะโฮวาทรงทำให้ผลกลับกลายเป็นดี เพื่อคนที่วางใจพระองค์จะชื่นชมในพระองค์.
ความวางใจของฮิศคียาได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง
14. (ก) ฮิศคียาวางใจพระยะโฮวาเมื่อเผชิญสภาพการณ์อะไรที่อันตราย? (ข) ฮิศคียาแสดงอย่างไรว่าท่านไม่เชื่อคำหลอกลวงของชาวอัสซีเรีย?
14 กษัตริย์ฮิศคียาเป็นอีกคนหนึ่งซึ่งความวางใจของท่านในพระยะโฮวาได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง. ระหว่างรัชกาลของฮิศคียา กองทัพที่เข้มแข็งของอัสซีเรียมาข่มขู่กรุงเยรูซาเลม. กองทัพดังกล่าวพิชิตชาติต่าง ๆ มาแล้วมากมาย. อัสซีเรียได้ยึดหัวเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรยูดาห์จนเหลือแต่เพียงกรุงเยรูซาเลม และซันเฮริบโอ้อวดว่าเขาจะยึดกรุงนั้นเช่นกัน. โดยทางรับซาเค กษัตริย์ซันเฮริบกล่าวอย่างถูกต้องที่ว่า การหวังพึ่งความช่วยเหลือจากอียิปต์จะไร้ผล. แต่เขากล่าวต่อไปว่า “อย่าให้พระเจ้าของท่านที่ท่านหมายพึ่งนั้นลวงท่าน, โดยตรัสว่า, ‘กรุงยะรูซาเลมจะไม่ถูกมอบไว้ในเงื้อมมือของประเทศอะซูระ.’” (ยะซายา 37:10) อย่างไรก็ตาม ฮิศคียารู้ว่าพระยะโฮวาไม่ลวงท่าน. ท่านจึงอธิษฐานดังนี้: “ข้าแต่พระยะโฮวา, พระเจ้าของพวกข้าพเจ้า, ขอทรงโปรดช่วยพวกข้าพเจ้าให้พ้นจากเงื้อมมือของกษัตริย์ซันเฮริบเถิด, เพื่ออาณาจักรทั้งปวงแห่งแผ่นดินโลกจะได้รู้ว่าพระองค์เป็นพระยะโฮวาพระเจ้าแต่องค์เดียว.” (ยะซายา 37:20) พระยะโฮวาทรงสดับคำอธิษฐานของฮิศคียา. ในคืนเดียว ทูตสวรรค์องค์หนึ่งได้ประหารทหารอัสซีเรีย 185,000 คน. กรุงเยรูซาเลมรอดพ้นอันตราย และซันเฮริบยกทัพออกจากแผ่นดินยูดาห์. ทุกคนที่ได้ยินเหตุการณ์ครั้งนั้นต่างได้เรียนรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของพระยะโฮวา.
15. อะไรเท่านั้นที่จะช่วยเราให้อยู่พร้อมสำหรับสภาพการณ์ที่ยุ่งยากใด ๆ ที่เราอาจประสบในโลกที่ไร้เสถียรภาพนี้?
15 ในทุกวันนี้ เราอยู่ในภาวะสงครามเช่นเดียวกับฮิศคียา. ในกรณีของเรา สงครามที่ว่านี้เป็นสงครามฝ่ายวิญญาณ. เอเฟโซ 6:11, 12, 17) ในโลกที่ไร้เสถียรภาพนี้ เหตุการณ์ต่าง ๆ อาจเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน. ความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมืองอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันคาดคิด. ประเทศที่เคยได้ชื่อว่าให้เสรีภาพทางศาสนาอาจกลายเป็นประเทศที่จำกัดเสรีภาพ. เฉพาะเมื่อเราเตรียมตัวโดยปลูกฝังความวางใจในพระยะโฮวาอย่างไม่สั่นคลอนเหมือนอย่างฮิศคียาเท่านั้น เราจึงจะอยู่พร้อมสำหรับอะไรก็ตามที่อาจจะเกิดขึ้น.
แต่ในฐานะทหารฝ่ายวิญญาณ เราจำต้องพัฒนาทักษะเพื่อรักษาชีวิตให้รอดพ้นอันตราย. เราต้องคาดหมายไว้ล่วงหน้าถึงการโจมตีและเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อจะสามารถป้องกันการโจมตีนั้นได้. (การวางใจพระยะโฮวาหมายถึงอะไร?
16, 17. เราแสดงโดยวิธีใดว่าเราวางใจพระยะโฮวา?
16 การวางใจพระยะโฮวาไม่ใช่แค่โดยทางคำพูด. เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับหัวใจของเราและมีการแสดงออกโดยการกระทำ. หากเราวางใจพระยะโฮวา เราจะวางใจอย่างเต็มเปี่ยมในพระคำของพระองค์ คือคัมภีร์ไบเบิล. เราจะอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน, ตรึกตรองสิ่งที่เราอ่าน, และยอมให้พระคำนั้นชี้นำชีวิตของเรา. (บทเพลงสรรเสริญ 119:105) การวางใจพระยะโฮวายังหมายถึงการวางใจในพลังอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์อีกด้วย. ด้วยความช่วยเหลือของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราสามารถปลูกฝังผลที่ทำให้พระยะโฮวาพอพระทัย และเราสามารถเอาชนะนิสัยไม่ดีที่ฝังลึก. (1 โกรินโธ 6:11; ฆะลาเตีย 5:22-24) ด้วยเหตุนี้ เมื่อได้รับความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ หลายคนจึงเลิกใช้ยาสูบหรือยาเสพติดได้สำเร็จ. คนอื่น ๆ ละทิ้งรูปแบบชีวิตที่ผิดศีลธรรม. ถูกแล้ว ถ้าเราวางใจพระยะโฮวา เราจะทำสิ่งต่าง ๆ โดยหมายพึ่งกำลังของพระองค์ ไม่ใช่ของตัวเราเอง.—เอเฟโซ 3:14-18.
17 นอกจากนั้น การวางใจพระยะโฮวายังหมายถึงการวางใจคนเหล่านั้นที่พระองค์ทรงวางใจ. ตัวอย่างเช่น พระยะโฮวาทรงจัดเตรียม “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ให้ดูแลผลประโยชน์ทางแผ่นดินโลกของราชอาณาจักร. (มัดธาย 24:45-47, ล.ม.) เราไม่พยายามทำอะไรโดยเอกเทศและมองข้ามการแต่งตั้งดังกล่าว เนื่องจากเราวางใจในการจัดเตรียมของพระยะโฮวา. นอกจากนี้ ตามที่อัครสาวกเปาโลกล่าว เหล่าผู้ปกครองที่รับใช้ในประชาคมคริสเตียนแต่ละแห่งได้รับการแต่งตั้งโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์. (กิจการ 20:28) โดยการให้ความร่วมมือกับคณะผู้ปกครองในประชาคม เราก็แสดงด้วยว่าเราวางใจพระยะโฮวา.—เฮ็บราย 13:17.
ติดตามตัวอย่างของเปาโล
18. คริสเตียนในทุกวันนี้ติดตามตัวอย่างของเปาโลอย่างไร แต่พวกเขาไม่วางใจในสิ่งใด?
18 อัครสาวกเปาโลเผชิญความกดดันหลายอย่างในงานรับใช้เช่นเดียวกับที่เราเผชิญ. ในสมัยของท่าน ผู้มีอำนาจฝ่ายปกครองมีความเข้าใจที่ผิด ๆ เกี่ยวกับศาสนาคริสเตียน และบางครั้ง เปาโลพยายามแก้ไขความเข้าใจที่ผิด ๆ เหล่านั้นหรือไม่ก็พยายามทำให้งานประกาศได้รับการรับรองตามกฎหมาย. (กิจการ 28:19-22; ฟิลิปปอย 1:7) ในทุกวันนี้ คริสเตียนติดตามตัวอย่างของเปาโล. เท่าที่เป็นไปได้ เราช่วยคนอื่น ๆ ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการงานของเรา โดยใช้ทุกวิธีที่ทำได้. นอกจากนี้ เราปกป้องและทำให้ข่าวดีได้รับการรับรองตามกฎหมาย. อย่างไรก็ตาม เราไม่ฝากความหวังทั้งสิ้นไว้กับความพยายามดังกล่าว เพราะเราไม่ถือว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวของเราขึ้นอยู่กับการที่เราชนะคดีในศาลหรือการได้รับการยอมรับจากสาธารณชน. แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เราวางใจพระยะโฮวา. เราระลึกถึงคำรับรองของพระองค์ที่ให้กับชาติอิสราเอลโบราณที่ว่า “เจ้าทั้งหลายจะมีกำลังมากขึ้นก็ด้วยความสงบเงียบและความไว้วางใจ.”—ยะซายา 30:15.
19. เมื่อถูกข่มเหง ความวางใจที่พี่น้องของเรามีต่อพระยะโฮวาได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องอย่างไร?
19 ในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันของเรา มีบางครั้งที่การงานของเราถูกจำกัดหรือสั่งห้ามในยุโรปตะวันตกและตะวันออก, ในบางภูมิภาคของเอเชียและแอฟริกา, และในประเทศแถบอเมริกาเหนือและใต้. นี่หมายความว่าความวางใจที่เรามีต่อพระยะโฮวานั้นเปล่าประโยชน์ไหม? ไม่เลย. ขณะที่พระองค์ทรงยอมให้มีการข่มเหงอย่างเลวร้ายในบางครั้งด้วยเหตุผลที่พระองค์ทรงเห็นควร พระยะโฮวาก็ทรงเสริมกำลังด้วยความใฝ่พระทัยต่อคนเหล่านั้นที่ถูกข่มเหง. ขณะอยู่ภายใต้การข่มเหง คริสเตียนหลายคนได้สร้างชื่อเสียงที่ดีเยี่ยมในเรื่องความเชื่อและความวางใจพระเจ้า.
20. แม้ว่าเราอาจได้ประโยชน์จากเสรีภาพทางกฎหมาย แต่เราจะไม่อะลุ่มอล่วยในเรื่องใด?
20 ในอีกด้านหนึ่ง ในประเทศส่วนใหญ่เราได้รับการดานิเอล 2:44; เฮ็บราย 12:28; วิวรณ์ 6:2.
รับรองทางกฎหมาย และเป็นครั้งคราว เราได้รับการกล่าวถึงในทางที่ดีจากสื่อต่าง ๆ. เรารู้สึกขอบคุณในเรื่องนั้นและยอมรับว่านี่มีส่วนช่วยในการทำให้พระประสงค์ของพระยะโฮวาบรรลุผลสำเร็จเช่นกัน. ด้วยความเห็นชอบของพระยะโฮวา เราใช้เสรีภาพที่มีมากกว่า ไม่ใช่เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ส่วนตัวของเรา แต่เพื่อรับใช้พระองค์อย่างเปิดเผยและอย่างเต็มที่. อย่างไรก็ตาม เราจะไม่ยอมอะลุ่มอล่วยความเป็นกลาง ลดความสำคัญของงานประกาศหรือกิจกรรมอื่นใดในการรับใช้พระยะโฮวา เพียงเพื่อจะได้การยอมรับนับถือจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง. เราอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรมาซีฮาและยึดมั่นอยู่ฝ่ายที่สนับสนุนพระบรมเดชานุภาพของพระยะโฮวา. ความหวังของเรา ไม่ใช่อยู่ที่ระบบปัจจุบัน แต่อยู่ที่โลกใหม่ ที่ซึ่งราชอาณาจักรมาซีฮาฝ่ายสวรรค์จะเป็นรัฐบาลเดียวเท่านั้นที่ปกครองเหนือแผ่นดินโลก. ไม่มีระเบิด, ขีปนาวุธ, หรือแม้แต่การโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ที่จะสามารถสั่นคลอนหรือโค่นล้มอำนาจการปกครองในสวรรค์นั้น. ราชอาณาจักรนี้จะไม่มีผู้ใดทำลายได้และจะทำให้พระประสงค์ของพระยะโฮวาสำเร็จ.—21. เราตั้งใจจะติดตามแนวทางอะไร?
21 เปาโลกล่าวดังนี้: “เราทั้งหลายไม่ใช่คนชนิดที่ถอยกลับไปสู่ความพินาศ แต่เป็นคนชนิดที่มีความเชื่อที่จะรักษาจิตวิญญาณให้มีชีวิตอยู่.” (เฮ็บราย 10:39, ล.ม.) เหตุฉะนั้น ขอให้เราทุกคนรับใช้พระยะโฮวาอย่างซื่อสัตย์เรื่อยไปจนถึงที่สุด. เรามีเหตุผลทุกประการที่จะวางใจพระยะโฮวาอย่างเต็มที่ทั้งในปัจจุบันนี้และตลอดอนาคตกาล.—บทเพลงสรรเสริญ 37:3; 125:1.
คุณได้เรียนรู้อะไร?
• ทำไมยะโฮซูอะกับคาเลบจึงกลับมารายงานในแง่ดี?
• มีเหตุผลอะไรบ้างที่เราควรวางใจพระยะโฮวาอย่างสุดใจ?
• การวางใจพระยะโฮวาหมายความเช่นไร?
• โดยวางใจพระยะโฮวา เราตั้งใจจะยืนหยัดในเรื่องใด?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 15]
ทำไมยะโฮซูอะกับคาเลบจึงรายงานในแง่ดี?
[ภาพหน้า 16]
การทรงสร้างให้เหตุผลหนักแน่นแก่เราที่จะวางใจพระยะโฮวา
[ที่มาของภาพหน้า 16]
All three images: Courtesy of Anglo-Australian Observatory, photograph by David Malin
[ภาพหน้า 18]
การวางใจพระยะโฮวาหมายถึงการวางใจคนเหล่านั้นที่พระองค์ทรงวางใจ