จงรับใช้พระยะโฮวาต่อ ๆ ไปด้วยหัวใจมั่นคง
จงรับใช้พระยะโฮวาต่อ ๆ ไปด้วยหัวใจมั่นคง
“หัวใจข้าพเจ้ามั่นคง ข้าแต่พระเจ้า หัวใจข้าพเจ้ามั่นคง.”—บทเพลงสรรเสริญ 57:7, ล.ม.
1. เหตุใดเราสามารถมีความเชื่อมั่นเหมือนดาวิด?
พระยะโฮวาทรงสามารถทำให้เรามั่นคงในความเชื่อของคริสเตียนเพื่อเราจะติดสนิทอยู่กับหลักการคริสเตียนแท้ในฐานะผู้รับใช้ที่อุทิศตัวแด่พระองค์. (โรม 14:4) ด้วยเหตุนั้น เราสามารถมีความเชื่อมั่นเหมือนดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญ ซึ่งถูกกระตุ้นให้ร้องเพลงดังนี้: “ข้าแต่พระเจ้า หัวใจข้าพเจ้ามั่นคง.” (บทเพลงสรรเสริญ 108:1, ล.ม.) หากหัวใจของเรามั่นคง เราจะถูกกระตุ้นให้ทำตามการอุทิศตัวของเราแด่พระเจ้า. และโดยหมายพึ่งการชี้นำและกำลังเข้มแข็งจากพระองค์ เราสามารถพิสูจน์ตัวว่าหนักแน่น มีความตั้งใจแน่วแน่และความเชื่อที่มั่นคงในฐานะผู้รักษาความซื่อสัตย์มั่นคง “มีมากมายหลายสิ่งที่จะทำเสมอในงานขององค์พระผู้เป็นเจ้า.”—1 โกรินโธ 15:58, ล.ม.
2, 3. คำกระตุ้นเตือนของเปาโลดังบันทึกไว้ที่ 1 โกรินโธ 16:13 มีความสำคัญเช่นไร?
2 ในคำกระตุ้นเตือนเหล่าสาวกของพระเยซูในเมืองโครินธ์ (โกรินโธ) โบราณ แต่แน่นอนว่าใช้ได้กับคริสเตียนในสมัยปัจจุบันด้วย อัครสาวกเปาโลกล่าวว่า “จงตื่นตัวอยู่เสมอ จงยืนมั่นในความเชื่อ ปฏิบัติอย่างผู้ชาย จงเข้มแข็งขึ้น.” (1 โกรินโธ 16:13, ล.ม.) ในภาษากรีก คำสั่งดังกล่าวแต่ละอย่างอยู่ในรูปประโยคกาลปัจจุบัน ด้วยเหตุนั้นจึงกระตุ้นเราให้ทำอย่างต่อเนื่อง. คำแนะเตือนนี้มีความสำคัญเช่นไร?
3 เราสามารถ “ตื่นตัวอยู่เสมอ” ทางฝ่ายวิญญาณด้วยการต่อต้านพญามารและรักษาตัวใกล้ชิดกับพระเจ้า. (ยาโกโบ 4:7, 8) การพึ่งพาพระยะโฮวาทำให้เราสามารถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและ ‘ยืนมั่นในความเชื่อของคริสเตียน.’ เราทุกคน รวมทั้งสตรีมากมายในหมู่พวกเรา “ปฏิบัติอย่างผู้ชาย” ด้วยการรับใช้พระเจ้าอย่างกล้าหาญในฐานะผู้ประกาศราชอาณาจักร. (บทเพลงสรรเสริญ 68:11) เรา “เข้มแข็งขึ้น” ด้วยการหมายพึ่งพระบิดาฝ่ายสวรรค์ของเราอยู่เรื่อยไปเพื่อจะมีกำลังเข้มแข็งในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์.—ฟิลิปปอย 4:13.
4. อะไรนำเราไปสู่การรับบัพติสมาเป็นคริสเตียน?
โยฮัน 17:3) การทำอย่างนี้ทำให้เราเกิดความเชื่อและกระตุ้นเราให้กลับใจ แสดงความเสียใจอย่างแท้จริงต่อการผิดที่เคยทำในอดีต. (กิจการ 3:19; เฮ็บราย 11:6) ถัดจากนั้น เราหันกลับ เพราะเราละทิ้งกิจปฏิบัติที่ผิด ๆ เพื่อดำเนินชีวิตตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. (โรม 12:2; เอเฟโซ 4:23, 24) หลังจากนั้น การอุทิศตัวแด่พระยะโฮวาอย่างสิ้นสุดหัวใจในคำทูลอธิษฐานก็จะตามมา. (มัดธาย 16:24; 1 เปโตร 2:21) เราร้องขอต่อพระเจ้าเพื่อจะมีสติรู้สึกผิดชอบที่ดีและรับบัพติสมาเป็นสัญลักษณ์ว่าเราได้อุทิศตัวแด่พระองค์. (1 เปโตร 3:21) การใคร่ครวญขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยเราให้มุ่งสนใจที่ความจำเป็นต้องพยายามต่อ ๆ ไปเพื่อจะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของเราและรับใช้พระยะโฮวาต่อ ๆ ไปด้วยหัวใจอันมั่นคง.
4 เราแสดงว่าเราได้รับเอาความเชื่อแท้เมื่อเราอุทิศตัวโดยไม่มีเงื่อนไขแด่พระยะโฮวาและแสดงสัญลักษณ์ด้วยการจุ่มตัวในน้ำ. แต่อะไรนำเราไปสู่การรับบัพติสมา? ก่อนอื่น เรารับเอาความรู้ถ่องแท้แห่งพระคำของพระเจ้า. (จงแสวงหาความรู้ถ่องแท้ต่อ ๆ ไป
5. เหตุใดเราควรรับเอาความรู้ในพระคัมภีร์ต่อ ๆ ไป?
5 เพื่อจะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวแด่พระเจ้า เราต้องรับเอาความรู้ในพระคัมภีร์ที่เสริมสร้างความเชื่อต่อ ๆ ไป. ช่างเป็นสิ่งที่ทำให้ชื่นใจยินดีสักเพียงไรที่เราได้รับเอาอาหารฝ่ายวิญญาณเมื่อเราเริ่มรู้จักความจริงของพระเจ้าเป็นครั้งแรก! (มัดธาย 24:45-47) “อาหาร” ฝ่ายวิญญาณเหล่านี้มีรสชาติดี และบำรุงเราให้มีสุขภาพที่ดีทางฝ่ายวิญญาณ. ในตอนนี้ นับว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะรับเอาอาหารฝ่ายวิญญาณที่มีคุณค่าสูงต่อ ๆ ไปเพื่อเราจะรักษาไว้ซึ่งหัวใจที่มั่นคงในฐานะผู้รับใช้ที่อุทิศตัวของพระยะโฮวา.
6. คุณอาจได้รับการช่วยเหลืออย่างไรให้พัฒนาความหยั่งรู้ค่าจากหัวใจต่อความจริงในคัมภีร์ไบเบิล?
6 จำเป็นต้องมีความพยายามเพื่อจะรับความรู้เพิ่มเติมจากพระคัมภีร์. การรับความรู้เพิ่มเติมเป็นเหมือนการค้นหาทรัพย์ที่ซ่อนไว้—บางครั้งจำเป็นต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจ. แต่ผลตอบแทนช่างคุ้มค่าสักเพียงไรเมื่อพบ “ความรู้ของพระเจ้า”! (สุภาษิต 2:1-6) เมื่อผู้ประกาศราชอาณาจักรคนหนึ่งศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับคุณเป็นครั้งแรก เขาอาจใช้หนังสือความรู้ซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์. อาจต้องใช้เวลามากทีเดียวเพื่อพิจารณาแต่ละบทให้จบ หรืออาจต้องศึกษามากกว่าหนึ่งครั้ง. คุณได้รับประโยชน์เมื่อมีการอ่านและพิจารณาข้อพระคัมภีร์ที่มีการอ้างถึง. หากจุดหนึ่งเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ คุณก็จะได้รับคำอธิบายในจุดนั้น. ผู้ที่นำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับคุณเตรียมตัวอย่างดี, อธิษฐานขอพระวิญญาณของพระเจ้า, และช่วยคุณให้พัฒนาความหยั่งรู้ค่าจากหัวใจต่อความจริง.
7. อะไรทำให้บุคคลคนหนึ่งมีคุณวุฒิสำหรับการสอนความจริงของพระเจ้าแก่ผู้อื่น?
7 ความพยายามอย่างนี้นับว่าเหมาะสม เพราะเปาโลเขียนดังนี้: “ฝ่ายคนที่รับคำสอนแล้ว, จงนำของดีทุกอย่างมาแบ่งให้แก่ผู้สอนเถิด.” (ฆะลาเตีย 6:6) ในที่นี้ ข้อความในภาษากรีกบ่งชี้ว่าคำสอนแห่งพระคำของพระเจ้าหยั่งลึกลงในจิตใจและหัวใจของคนที่ “รับคำสอนแล้ว.” การที่คุณรับคำสอนอย่างนั้นทำให้คุณมีคุณวุฒิที่จะสอนคนอื่นต่อไปอีก. (กิจการ 18:25) เพื่อจะซื่อตรงต่อการอุทิศตัวของคุณ คุณต้องรักษาสุขภาพฝ่ายวิญญาณและรักษาตัวให้มั่นคงโดยการศึกษาพระคำของพระเจ้าอย่างไม่หยุดหย่อน.—1 ติโมเธียว 4:13; ติโต 1:13; 2:2.
จงระลึกถึงการกลับใจและการหันกลับของคุณ
8. เป็นไปได้อย่างไรที่จะรักษาความประพฤติตามมาตรฐานของพระเจ้า?
8 คุณจำได้ไหมว่าคุณรู้สึกสบายใจเพียงไรเมื่อคุณเรียนรู้ความจริง, กลับใจ, และจากนั้นก็รู้สึกว่าพระเจ้าทรงให้อภัยคุณโดยอาศัยความเชื่อในเครื่องบูชาไถ่ของพระเยซู? (บทเพลงสรรเสริญ 32:1-5; โรม 5:8; 1 เปโตร 3:18) แน่นอน คุณไม่ต้องการจะหันกลับไปดำเนินชีวิตที่ผิดบาปอีก. (2 เปโตร 2:20-22) การอธิษฐานถึงพระยะโฮวาเป็นประจำเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยคุณได้ให้รักษาความประพฤติตามมาตรฐานของพระเจ้า, ดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัว, และรับใช้พระยะโฮวาต่อ ๆ ไปอย่างซื่อสัตย์.—2 เปโตร 3:11, 12.
9. เมื่อได้ละทิ้งกิจปฏิบัติที่ผิดบาปแล้ว เราควรมุ่งติดตามแนวทางอะไร?
9 เมื่อได้เปลี่ยนความเชื่อด้วยการละทิ้งกิจปฏิบัติที่ผิดบาปแล้ว จงขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าต่อ ๆ ไปเพื่อรักษาหัวใจของคุณให้มั่นคง. ที่จริง ก่อนหน้านี้คุณเคยอยู่บนเส้นทางที่ผิด แต่เมื่อได้ดูแผนที่อันน่าเชื่อถือคุณจึงได้เริ่มเดินในเส้นทางที่ถูกต้อง. ในตอนนี้ ระวังอย่าหลงไปผิดทางอีก. จงไว้วางใจในการชี้นำของพระเจ้า และตั้งใจแน่วแน่ว่าจะรักษาตัวอยู่บนเส้นทางที่นำไปสู่ชีวิต.—ยะซายา 30:20, 21; มัดธาย 7:13, 14.
อย่าลืมการอุทิศตัวและการรับบัพติสมาของคุณ
10. เราควรจำอะไรไว้เสมอเกี่ยวกับการอุทิศตัวของเราแด่พระเจ้า?
10 จำไว้เสมอว่าคุณได้อุทิศตัวแด่พระยะโฮวาในคำทูลอธิษฐาน โดยคิดถึงการรับใช้พระองค์อย่างซื่อสัตย์ตลอดไป. (ยูดา 20, 21) การอุทิศตัวหมายถึงการสงวนไว้หรือแยกไว้เพื่อวัตถุประสงค์อันศักดิ์สิทธิ์. (เลวีติโก 15:31; 22:2) การอุทิศตัวของคุณไม่ใช่สัญญาชั่วคราวหรือข้อผูกมัดต่อมนุษย์. หากแต่เป็นการอุทิศตัวแด่องค์บรมมหิศรแห่งเอกภพอย่างถาวร และการดำเนินชีวิตให้สมกับการอุทิศตัวนั้นเรียกร้องความภักดีต่อพระเจ้าจนชั่วชีวิต. ถูกแล้ว ‘ไม่ว่าจะอยู่หรือตาย เราเป็นคนของพระยะโฮวา.’ (โรม 14:7, 8, ล.ม.) ความสุขของเราอยู่ที่การอ่อนน้อมทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์และการที่เรารับใช้พระองค์ต่อ ๆ ไปด้วยหัวใจมั่นคง.
11. เหตุใดคุณควรระลึกเสมอถึงการรับบัพติสมาของคุณและความหมายของการรับบัพติสมานั้น?
11 ขอให้ระลึกเสมอถึงการรับบัพติสมาของคุณอันเป็นสัญลักษณ์ของการที่คุณอุทิศตัวแด่พระเจ้าอย่างสิ้นสุดหัวใจ. การรับบัพติสมาของคุณไม่ได้เป็นแบบถูกบังคับ เพราะคุณตัดสินใจด้วยตัวคุณเอง. ในตอนนี้ คุณตั้งใจแน่วแน่ที่จะแสดงเจตจำนงของคุณสอดคล้องกับพระทัยประสงค์ของพระเจ้าจนชั่วชีวิตไหม? คุณได้ทูลขอต่อพระเจ้าเพื่อจะมีสติรู้สึกผิดชอบที่ดีและได้รับบัพติสมาเป็นสัญลักษณ์ของการอุทิศตัวแด่พระองค์. จงรักษาสติรู้สึกผิดชอบที่ดีนั้นไว้ด้วยการทำตามการอุทิศตัวของคุณ แล้วคุณจะได้รับพระพรอันอุดมจากพระยะโฮวา.—สุภาษิต 10:22.
เจตจำนงของคุณมีบทบาทด้วย
12, 13. เจตจำนงของเราเองเกี่ยวข้องกับการอุทิศตัวและการรับบัพติสมาอย่างไร?
12 ที่จริง การอุทิศตัวและการรับบัพติสมานำพระพรอันยิ่งใหญ่มาสู่หลายล้านคนทั่วโลก. เมื่อเราแสดงสัญลักษณ์การอุทิศตัวของเราแด่พระเจ้าด้วยการรับบัพติสมาในน้ำ เราตายในแนวทางชีวิตแต่เก่าก่อน แต่ไม่ได้ตายในส่วนที่เกี่ยวกับเจตจำนงของเราเอง. ในฐานะผู้เชื่อถือซึ่งได้รับการสอนอย่างถูกต้อง เราแสดงเจตจำนงของเราเองอย่างแท้จริงเมื่อเราอุทิศตัวแด่พระเจ้าในคำอธิษฐานและรับบัพติสมา. การอุทิศตัวแด่พระเจ้าและการรับบัพติสมาเรียกร้องให้เราเรียนรู้ว่าพระทัยประสงค์ของพระเจ้าเป็นเช่นไร แล้วเลือกอย่างรอบคอบที่จะทำตามพระทัยประสงค์ของพระองค์. (เอเฟโซ 5:17) โดยการทำอย่างนั้น เราเลียนแบบพระเยซูซึ่งทรงแสดงเจตจำนงของพระองค์เองเมื่อทรงเลิก อาชีพช่างไม้, รับบัพติสมา, และทุ่มเทตัวเต็มที่ในการทำตามพระทัยประสงค์ของพระบิดาฝ่ายสวรรค์.—บทเพลงสรรเสริญ 40:7, 8; โยฮัน 6:38-40.
13 พระยะโฮวาพระเจ้าทรงประสงค์ให้พระบุตรถูกทำให้ “สมบูรณ์โดยความลำบากต่าง ๆ.” ด้วยเหตุนั้น พระเยซูต้องแสดงเจตจำนงของพระองค์ที่จะอดทนความลำบากเช่นนั้นด้วยความซื่อสัตย์. เพื่อจะทำได้อย่างนั้น พระองค์ทรงถวาย “คำวิงวอนและคำขอร้องด้วยเสียงดังและน้ำพระเนตรไหล . . . และพระองค์ได้รับการสดับด้วยความพอพระทัยเนื่องด้วยพระองค์เกรงกลัวพระเจ้า.” (เฮ็บราย 2:10, 18; 5:7, 8, ล.ม.) หากเราแสดงความเคารพยำเกรงพระเจ้าคล้าย ๆ กันนั้น เราก็แน่ใจได้ด้วยว่าจะ “ได้รับการสดับด้วยความพอพระทัย” และเรามั่นใจได้ว่าพระยะโฮวาจะทรงช่วยเราให้มั่นคงในฐานะพยานฯ ผู้อุทิศตัวแด่พระองค์.—ยะซายา 43:10.
คุณสามารถรักษาหัวใจให้มั่นคง
14. เหตุใดเราควรอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน?
14 อะไรจะช่วยคุณรักษาหัวใจให้มั่นคงและจึงสามารถดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวแด่พระเจ้า? จงอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกวัน โดยมุ่งหมายจะรับความรู้เกี่ยวกับพระคำของพระเจ้า
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ. นี่คือสิ่งที่ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” กระตุ้นเราอยู่เสมอให้ทำ. เราได้รับคำแนะนำเช่นนั้นเพราะการดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวเรียกร้องให้เราดำเนินอยู่ในความจริงของพระเจ้าต่อ ๆ ไป. หากองค์การของพระยะโฮวาเจตนาจะสนับสนุนคำสอนเท็จ คงไม่มีคำแนะนำแก่พยานพระยะโฮวาและคนที่พวกเขาประกาศให้อ่านคัมภีร์ไบเบิล.15. (ก) ควรพิจารณาอะไรเมื่อจะตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ? (ข) เหตุใดจึงกล่าวได้ว่างานอาชีพไม่ใช่งานหลักของคริสเตียน?
15 เมื่อจะตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ จงพิจารณาเสมอถึงวิธีที่การตัดสินใจนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการทำตามการอุทิศตัวของคุณแด่พระยะโฮวา. การตัดสินใจนั้นอาจเกี่ยวข้องกับงานอาชีพของคุณ. คุณพยายามทำให้งานอาชีพช่วยคุณก้าวหน้าในการนมัสการแท้ไหม? แม้ว่านายจ้างโดยทั่วไปเห็นว่าคริสเตียนที่อุทิศตัวเป็นคนที่ไว้ใจได้และมีประสิทธิภาพ พวกเขายังสังเกตด้วยว่าพยานพระยะโฮวาไม่ทะเยอทะยานเกินไปเพื่อจะล้ำหน้าคนอื่น ๆ ในโลก และไม่แข่งขันกับคนอื่นเพื่อจะได้ตำแหน่งที่ทำให้ร่ำรวย. ทั้งนี้เพราะเป้าหมายของพยานฯ ไม่ใช่การได้ความมั่งคั่ง, ชื่อเสียง, เกียรติยศ, หรืออำนาจ. สำหรับคนที่ดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวแด่พระเจ้า สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้า. งานอาชีพซึ่งทำให้เขามีสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ในชีวิตมีความสำคัญรองลงไป. เช่นเดียวกับอัครสาวกเปาโล งานหลักของพวกเขาคืองานรับใช้ของคริสเตียน. (กิจการ 18:3, 4; 2 เธซะโลนิเก 3:7, 8; 1 ติโมเธียว 5:8) คุณจัดให้ผลประโยชน์ของราชอาณาจักรมาเป็นอันดับแรกในชีวิตไหม?—มัดธาย 6:25-33.
16. เราจะทำอะไรได้หากความกังวลเกินควรกำลังทำให้ยากที่จะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของเราแด่พระเจ้า?
16 บางคนอาจเคยจมอยู่กับความกังวลต่าง ๆ มากมายก่อนมาเรียนรู้ความจริง. แต่หัวใจของพวกเขาพองโตด้วยความยินดี, ความขอบคุณ, และความรักต่อพระเจ้าสักเพียงไรเมื่อพวกเขารับเอาความหวังเกี่ยวกับราชอาณาจักร! การใคร่ครวญถึงพระพรที่พวกเขาได้รับนับตั้งแต่ตอนนั้นอาจช่วยพวกเขาได้เป็นอย่างดีที่จะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวแด่พระยะโฮวา. ในทางตรงข้าม จะว่าอย่างไรหากความกังวลเกินควรเนื่องด้วยปัญหาต่าง ๆ ตามธรรมดาของชีวิตในระบบนี้กำลังมีทีท่าว่าจะทำให้ “พระวจนะของพระเจ้า” งันไป แบบเดียวกับที่หนามอาจทำให้ต้นอ่อนไม่เติบโตและไม่เกิดดอกออกผล? (ลูกา 8:7, 11, 14; มัดธาย 13:22; มาระโก 4:18, 19) หากคุณรู้สึกว่ากำลังเริ่มมีสภาพแบบนี้เกิดขึ้นกับคุณหรือครอบครัวคุณ จงฝากความกังวลไว้กับพระยะโฮวาและอธิษฐานขอให้พระองค์ช่วยคุณให้เติบโตขึ้นในความรักและความหยั่งรู้ค่า. หากคุณมอบภาระไว้กับพระองค์ พระองค์จะทรงค้ำจุนคุณและประทานความเข้มแข็งแก่คุณเพื่อจะรับใช้พระองค์ต่อ ๆ ไปอย่างมีความสุขด้วยหัวใจมั่นคง.—บทเพลงสรรเสริญ 55:22; ฟิลิปปอย 4:6, 7; วิวรณ์ 2:4.
17. เป็นไปได้อย่างไรที่จะรับมือการทดลองอย่างรุนแรง?
17 จงอธิษฐานถึงพระยะโฮวาพระเจ้าเป็นประจำต่อ ๆ ไป เหมือนกับที่คุณอธิษฐานเมื่ออุทิศตัวแด่พระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 65:2) เมื่อถูกล่อใจให้ทำผิดหรือเมื่อเผชิญการทดลองอย่างรุนแรง จงขอการชี้นำและขอความช่วยเหลือจากพระองค์ที่จะทำตามการชี้นำนั้น. พึงระลึกเสมอถึงความจำเป็นต้องมีความเชื่อ เพราะสาวกยาโกโบเขียนดังนี้: “ถ้าผู้ใดในพวกท่านขาดสติปัญญา [ในการรับมือการทดลอง] ก็ให้ผู้นั้นทูลขอพระเจ้าต่อ ๆ ไป เพราะพระองค์ทรงประทานแก่ทุกคนด้วยพระทัยเอื้ออารีและโดยมิได้ทรงติว่า แล้วจะทรงประทานให้แก่ผู้นั้น. แต่จงให้ผู้นั้นทูลขอต่อ ๆ ไปด้วยความเชื่อ อย่าสงสัยเลย เพราะว่าผู้ที่สงสัยก็เป็นเหมือนคลื่นในทะเลที่ถูกลมพัดและซัดไปมา. ที่จริง อย่าให้คนนั้นคิดว่า จะได้รับสิ่งใดจากพระยะโฮวาเลย; เขาเป็นคนสองจิตสองใจ ไม่มั่นคงในทุกวิถีทางของตน.” (ยาโกโบ 1:5-8, ล.ม.) หากดูเหมือนว่าการทดลองนั้นหนักเหลือทน เรามั่นใจได้ว่า “ไม่มีการล่อใจใด ๆ มาถึงท่านทั้งหลายเว้นไว้แต่การล่อใจซึ่งมนุษย์เคยประสบมา. แต่พระเจ้าทรงสัตย์ซื่อ และพระองค์จะไม่ทรงให้ท่านถูกล่อใจเกินที่ท่านจะทนได้ แต่เมื่อทรงยอมให้ท่านถูกล่อใจนั้น พระองค์จะจัดทางออกให้ด้วย เพื่อท่านจะสามารถทนได้.”—1 โกรินโธ 10:13, ล.ม.
18. เราสามารถทำอะไรหากบาปร้ายแรงที่เราปกปิดไว้ทำให้ความตั้งใจของเราที่จะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวแด่พระยะโฮวาลดน้อยลงไป?
18 จะว่าอย่างไรหากบาปร้ายแรงที่คุณปกปิดไว้รบกวนสติรู้สึกผิดชอบของคุณและทำให้ความตั้งใจของคุณที่จะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวแด่พระเจ้าลดน้อยลงไป? หากคุณกลับใจ คุณสามารถได้รับคำปลอบโยนที่ทราบว่าพระบทเพลงสรรเสริญ 51:17) จงขอความช่วยเหลือจากคริสเตียนผู้ปกครองที่เปี่ยมด้วยความรัก โดยรู้อยู่ว่า ด้วยการเลียนแบบอย่างของพระยะโฮวา พวกเขาจะไม่ถือว่าความปรารถนาของคุณที่จะฟื้นฟูสัมพันธภาพที่ดีกับพระบิดาฝ่ายสวรรค์เป็นเรื่องเล็กน้อย. (บทเพลงสรรเสริญ 103:10-14; ยาโกโบ 5:13-15) หลังจากนั้น ด้วยความเข้มแข็งฝ่ายวิญญาณที่ฟื้นขึ้นใหม่และหัวใจที่มั่นคง คุณจะสามารถทำทางเดินของคุณให้ตรงไปและพบว่าเป็นไปได้ที่จะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวแด่พระเจ้า.—เฮ็บราย 12:12, 13.
ยะโฮวา ‘จะไม่ดูถูกดูหมิ่นใจแตกและฟกช้ำ.’ (จงรับใช้ด้วยหัวใจมั่นคงเสมอไป
19, 20. เหตุใดจึงสำคัญที่เราจะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของเราต่อ ๆ ไป?
19 ในสมัยอันวิกฤตินี้ เราต้องพยายามอย่างหนักเพื่อจะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวและรับใช้พระเจ้าด้วยหัวใจมั่นคงต่อ ๆ ไป. พระเยซูตรัสว่า “ผู้ใดทนได้จนถึงที่สุด, ผู้นั้นจะรอด.” (มัดธาย 24:13) เนื่องจากเรากำลังมีชีวิตอยู่ใน “สมัยสุดท้าย” อวสานอาจมาในเวลาใดก็ได้. (2 ติโมเธียว 3:1, ล.ม.) นอกจากนั้น ไม่มีใครในพวกเราแน่ใจได้ว่าเราจะยังมีชีวิตอยู่ในวันรุ่งขึ้น. (ยาโกโบ 4:13, 14) ดังนั้น จึงสำคัญยิ่งที่เราจะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวของเราเสมอในวันนี้!
20 อัครสาวกเปโตรเน้นจุดนี้ในจดหมายฉบับที่สองของท่าน. ท่านชี้ให้เห็นว่า เช่นเดียวกับที่ผู้คนที่ดูหมิ่นพระเจ้าประสบความพินาศในมหาอุทกภัย แผ่นดินโลกโดยนัยหรือสังคมมนุษย์ที่ชั่วร้ายก็จะถูกทำลายใน “วันของพระยะโฮวา” เช่นกัน. ด้วยเหตุนั้น เปโตรกล่าวด้วยความรู้สึกอันหนักแน่นว่า “ท่านทั้งหลายควรเป็นคนชนิดใดในการประพฤติอันบริสุทธิ์ และการกระทำด้วยความเลื่อมใสในพระเจ้า”! ท่านยังกระตุ้นพวกเขาอีกว่า “ท่านทั้งหลายผู้เป็นที่รัก เนื่องจากมีความรู้ล่วงหน้าเช่นนี้ ท่านจงระวังระไวเพื่อท่านจะไม่ถูกล่อ [โดยผู้สอนเท็จและคนที่ดูหมิ่นพระเจ้า] และพลาดไปจากความมั่นคงของท่านเอง.” (2 เปโตร 3:5-17, ล.ม.) ช่างน่าเศร้าสักเพียงไรหากผู้ที่รับบัพติสมาแล้วถูกชักนำให้ออกนอกลู่นอกทางและต้องจบชีวิตลงเนื่องจากไม่ได้รักษาหัวใจให้มั่นคง!
21, 22. คำกล่าวที่บทเพลงสรรเสริญ 57:7 ปรากฏว่าเป็นจริงอย่างไรในกรณีของดาวิดและคริสเตียนแท้?
21 ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวแด่พระเจ้าอาจเข้มแข็งขึ้นหากคุณระลึกเสมอถึงวันแห่งความสุขเมื่อคุณรับบัพติสมา และขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพื่อที่คำพูดและการกระทำของคุณจะทำให้พระทัยของพระองค์ยินดี. (สุภาษิต 27:11) พระยะโฮวาไม่เคยทำให้ไพร่พลของพระองค์ผิดหวัง และแน่นอนเราควรซื่อสัตย์ต่อพระองค์. (บทเพลงสรรเสริญ 94:14) พระองค์ทรงแสดงความเมตตาสงสารด้วยการขัดขวางแผนการของศัตรูที่มุ่งร้ายและช่วยดาวิดให้รอดพ้น. ด้วยความขอบพระคุณสำหรับการช่วยเหลือที่ได้รับ ดาวิดประกาศถึงความหนักแน่นไม่สั่นคลอนของความรักที่ท่านมีต่อพระผู้ช่วยให้รอด. ด้วยความรู้สึกอันลึกซึ้ง ท่านร้องเพลงดังนี้: “หัวใจข้าพเจ้ามั่นคง ข้าแต่พระเจ้า หัวใจข้าพเจ้ามั่นคง. ข้าพเจ้าจะร้องเพลงและเล่นดนตรี.”—บทเพลงสรรเสริญ 57:7, ล.ม.
22 เช่นเดียวกับดาวิด คริสเตียนแท้ไม่หันเหไปจากความเลื่อมใสในพระเจ้า. ด้วยหัวใจมั่นคง พวกเขายกย่องพระยะโฮวาในฐานะที่ทรงเป็นผู้ช่วยให้รอดและผู้พิทักษ์รักษา ผู้ซึ่งพวกเขาร้องเพลงสรรเสริญพระองค์ด้วยความยินดี. หากหัวใจของคุณมั่นคง หัวใจคุณก็จะพึ่งอาศัยในพระเจ้า และด้วยความช่วยเหลือจากพระองค์คุณจะสามารถทำตามการอุทิศตัวของคุณ. ถูกแล้ว คุณสามารถเป็นเหมือนกับ ‘คนชอบธรรม’ ที่ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญร้องเพลงว่า “เขาจะไม่กลัวข่าวร้าย: จิตต์ใจของเขาปักแน่น, วางใจในพระยะโฮวา.” (บทเพลงสรรเสริญ 112:6, 7) ด้วยความเชื่อในพระเจ้าและความไว้วางใจเต็มที่ในพระองค์ คุณสามารถดำเนินชีวิตสมกับการอุทิศตัวและรับใช้พระยะโฮวาต่อ ๆ ไปด้วยหัวใจมั่นคง.
คุณจำได้ไหม?
• เหตุใดเราควรรับเอาความรู้ถ่องแท้จากคัมภีร์ไบเบิลต่อ ๆ ไป?
• เหตุใดเราควรระลึกเสมอถึงการกลับใจและการหันกลับที่เราได้ทำ?
• เราได้รับประโยชน์อย่างไรจากการระลึกถึงการอุทิศตัวและการรับบัพติสมาของเรา?
• อะไรจะช่วยเราให้รับใช้พระยะโฮวาต่อ ๆ ไปด้วยหัวใจมั่นคง?
[คำถาม]
[ภาพหน้า 18]
คุณกำลังรักษาสุขภาพฝ่ายวิญญาณโดยอ่านพระคำของพระเจ้าทุกวันไหม?
[ภาพหน้า 18]
การจัดให้งานรับใช้ของคริสเตียนเป็นงานหลักช่วยเราให้รับใช้พระยะโฮวาต่อ ๆ ไป ด้วยหัวใจมั่นคง