มีผู้ออกแบบไหม?
หัวที่ดูดซับแรงกระแทกของนกหัวขวาน
● แรงจี (g-force) ที่มีค่าระหว่าง 80 ถึง 100 สามารถทำให้สมองของคุณกระทบกระเทือนได้. ถึงกระนั้น นกหัวขวานสามารถทนแรงจีได้ถึง 1,200 ขณะที่มันใช้ปากโขกเพื่อเจาะเปลือกไม้. นกชนิดนี้ทำได้อย่างไรโดยไม่ปวดหัวหรือโดยที่สมองไม่ได้รับความกระทบกระเทือนเลย?
ขอพิจารณา: นักวิจัยค้นพบว่าองค์ประกอบสี่อย่างของหัวนกหัวขวานช่วยให้ดูดซับแรงกระแทกได้:
1. ปากที่แข็งแรงแต่งอได้เล็กน้อย
2. ไฮออยด์ ซึ่งประกอบด้วยกระดูกและเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ซึ่งห่อหุ้มกะโหลกไว้
3. ส่วนหนึ่งของกะโหลกที่เหมือนฟองน้ำ
4. ช่องเล็ก ๆ สำหรับของเหลวที่อยู่ระหว่างกะโหลกและสมอง
องค์ประกอบแต่ละอย่างดูดซับแรงกระแทก และทำให้นกหัวขวานสามารถใช้ปากโขกต้นไม้ด้วยอัตรา 22 ครั้งต่อวินาทีโดยที่สมองไม่ได้รับความเสียหาย.
เมื่อได้รับแรงบันดาลใจจากหัวของนกหัวขวาน นักวิจัยได้พัฒนากล่องใส่อุปกรณ์ซึ่งสามารถทนแรงจีได้ถึง 60,000. ความสำเร็จของพวกเขาอาจนำไปสู่การประดิษฐ์หลายสิ่ง เช่น วิธีป้องกันอุปกรณ์บันทึกการบินที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันสามารถทนแรงจีได้เพียงประมาณ 1,000. คิม แบล็คเบิร์น วิศวกรแห่งมหาวิทยาลัยแครนฟีลด์ ในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า การค้นพบเกี่ยวกับหัวของนกหัวขวานเป็น “ตัวอย่างที่น่าทึ่งที่ว่าธรรมชาติได้พัฒนาโครงสร้างที่ก้าวหน้าหลายอย่างรวมกันเพื่อแก้ปัญหาที่ตอนแรกดูเหมือนไม่มีทางแก้ได้.”
คุณคิดอย่างไร? หัวที่ดูดซับแรงกระแทกของนกหัวขวานเกิดขึ้นโดยบังเอิญไหม? หรือมีผู้ออกแบบ?
[แผนภาพหน้า 19]
(ดูรายละเอียดจากวารสาร)
1
2
3
4
[ที่มาของภาพหน้า 19]
Redheaded woodpecker: © 2011 photolibrary.com