“อย่าวิตกกังวลกับพรุ่งนี้เลย”
“อย่าวิตกกังวลกับพรุ่งนี้เลย”
เรอเนรู้สึกว่าเธอไม่สามารถจะทนได้ต่อไป. แมททิว สามีของเธอไม่มีงานทำเป็นชิ้นเป็นอันมาร่วมสามปีกว่าแล้ว. เรอเนเล่าว่า “ฉันอัดอั้นตันใจมาก. การไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นทำให้ฉันรู้สึกท้อแท้เหลือเกิน!” แมททิวพยายามปลอบภรรยาให้คลายความวิตกกังวล โดยชี้แจงว่าครอบครัวของพวกเขาไม่เคยขาดสิ่งจำเป็นใด ๆ. เรอเนตอบเขาว่า “แต่คุณก็ยังหางานทำไม่ได้สักที! เราจำเป็นต้องมีรายได้นะ!”
การตกงานทำให้เกิดความวิตกกังวลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้. คนที่ตกงานมีคำถามในใจว่า ‘ฉันจะอยู่ในสภาพตกงานไปอีกนานแค่ไหน? ตอนนี้ครอบครัวของเราจะอยู่กันอย่างไร?’
แม้ว่าความวิตกกังวลดังกล่าวเป็นเรื่องปกติ พระเยซูทรงให้คำแนะนำตามสภาพที่เป็นจริงซึ่งบรรเทาความวิตกกังวลได้. พระองค์ตรัสว่า “อย่าวิตกกังวลกับพรุ่งนี้เลย . . . แต่ละวันมีความทุกข์พออยู่แล้ว.”—มัดธาย 6:34
ถามตัวเองว่าคุณวิตกในเรื่องใด
พระเยซูไม่ได้ตรัสว่าเราน่าจะทำตัวราวกับว่าชีวิตเราไม่มีปัญหา. อย่างไรก็ตาม การวิตกกังวลในเรื่องซึ่งอาจ เกิดขึ้นพรุ่งนี้รังแต่จะเพิ่มความหนักใจของวันนี้ให้มากขึ้น. พูดกันตรง ๆ พวกเราแทบไม่มีอำนาจจะควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ ไม่ว่าดีหรือร้าย. แต่เราสามารถ ใช้มาตรการบางอย่างเพื่อจะทนได้กับปัญหาในปัจจุบัน.
พูดง่ายกว่าทำใช่ไหม? แน่นอน! รีเบกาห์ ซึ่งสามีของเธอ
ตกงานนานถึง 12 ปี พูดว่า “เมื่อคุณอยู่ในอารมณ์เครียดมาก ๆ ที่จะคิดอย่างมีเหตุผลนั้นเป็นเรื่องยากมาก. แต่เราต้อง คิด. ดังนั้น ฉันจึงพยายามควบคุมตัวเอง. ครั้นสิ่งต่าง ๆ ที่ฉันเคยหวั่นวิตกอย่างที่สุดนั้นไม่เกิดขึ้น ฉันจึงตระหนักว่าไม่มีประโยชน์ที่จะมัววิตกกังวล. โดยการจดจ่ออยู่กับปัจจุบันและปัญหาต่าง ๆ ขณะนี้ เราก็ได้ขจัดความเครียดทุกอย่างให้หมดไป.”ถามตัวเอง: ‘ฉันกลัวอะไรมากที่สุด? เป็นไปได้มากแค่ไหนที่ความกลัวเช่นนั้นจะเป็นจริง? ฉันเสียพละกำลังไปมากเพียงใดกับความวิตกกังวลถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหรือจะไม่เกิดขึ้นก็ได้?’
เรียนรู้ที่จะอิ่มใจกับสิ่งที่คุณมีอยู่
ทัศนะของเรามีผลกระทบต่ออารมณ์ของเรา. ดังนั้นคัมภีร์ไบเบิลจึงสนับสนุนทัศนคติอย่างนี้: “เมื่อเรามีเครื่องอุปโภคบริโภคและที่อยู่อาศัย เราควรอิ่มใจกับสิ่งเหล่านี้.” (1 ติโมเธียว 6:8) การเป็นคนอิ่มใจหมายถึงการจำกัดความต้องการ ของเราและอิ่มใจพอใจเมื่อเรามีสิ่งจำเป็น สำหรับชีวิตแต่ละวัน. การบากบั่นเพื่อให้ได้ตามความต้องการมากขึ้นคงจะบ่อนทำลายความพยายามของเราที่จะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย.—มาระโก 4:19
เรอเนสามารถพัฒนาความอิ่มใจหลังจากมองดูสภาพการณ์ของตัวเองอย่างที่เป็นจริง. เธอพูดดังนี้: “เราไม่เคยถูกตัดไฟ, ขาดแก๊สทำความร้อน, หรือต้องไปนอนข้างถนน. ปัญหาที่แท้จริงคือเราไม่ชินกับการดำรงชีวิตแบบนี้ และความปรารถนาของฉันที่จะรักษาวิถีชีวิตแบบเดิม ๆ ซึ่งไม่เป็นจริงก็ทำให้ฉันมีความทุกข์มากขึ้น.”
ไม่นาน เรอเนก็ตระหนักว่าทัศนะของเธอต่างหากซึ่งทำให้สิ่งต่าง ๆ ดูราวกับว่าสุดจะทนแล้ว ไม่ใช่สภาพการณ์ของเธอ. เธอบอกว่า “ฉันต้องเผชิญความเป็นจริงของสภาพการณ์ของเราและไม่หมกมุ่นอยู่กับความคิดอย่างที่ฉันต้องการให้เป็น. เมื่อฉันได้พัฒนาความอิ่มใจในสิ่งที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมให้แต่ละวัน ฉันพบว่าฉันสบายใจขึ้นมาก.”
ถามตัวเอง: ‘ฉันได้รับการดูแลให้มีสิ่งจำเป็นสำหรับวันนี้หรือยัง? ถ้าเป็นเช่นนั้น ฉันก็จะอยู่วันต่อวันได้ไหม โดยเชื่อมั่นว่าพรุ่งนี้จะได้รับสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน?’
ทัศนะที่ถูกต้องเป็นก้าวแรกในการเผชิญข้อท้าทายที่จะดำรงชีวิตด้วยรายได้ที่ลดลง. * แต่คุณจะปฏิบัติตามขั้นตอนอะไรได้บ้างเมื่อรายได้ของคุณลดลงเนื่องจากตกงาน?
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 14 เพื่อจะรู้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับการหางานและจะไม่ตกงาน โปรดดูตื่นเถิด! ฉบับ 8 กรกฎาคม ปี 2005 หน้า 3-11.
[กรอบหน้า 5]
ความเพียรพยายามอาจช่วยให้คุณได้งานทำ!
หลังจากติดต่อหางานมาหลายสัปดาห์แต่ไร้ผล เฟรดคิดว่าหมดโอกาสจะได้งานทำเสียแล้ว. เขาพูดว่า “มันเหมือนกับว่าเราคอยใครบางคนอยู่ที่ป้ายรถประจำทาง แต่ไม่มีใครมา.” เฟรดตัดสินใจจะควบคุมสิ่งหนึ่งซึ่งเขาสามารถ ควบคุมได้ นั่นคือการกระทำของตัวเอง. เขาส่งประวัติย่อการทำงานไปยังหลายบริษัทแม้จะเป็นบริษัทที่ดูเหมือนแทบไม่ต้องการคนงานอย่างเขาก็ตาม. เขาได้ติดตามผลทุกรายและแต่ละครั้งก็เตรียมตัวเป็นอย่างดีสำหรับการสัมภาษณ์ โดยมั่นใจว่า “แผนการของคนขยันก่อผลประโยชน์แน่นอน.” (สุภาษิต 21:5) เฟรดพูดว่า “ที่บริษัทหนึ่ง ผมถูกสัมภาษณ์สองรอบ โดยต้องตอบคำถามผู้จัดการระดับสูงที่ซักไซ้ผมหลายข้อ.” แต่ความพากเพียรของเฟรดให้ผลคุ้มค่า. เขากล่าวว่า “ผมได้งานทำ!”
[กรอบ/ภาพหน้า 6]
สำคัญยิ่งกว่ารายได้
อะไรสำคัญกว่า ศีลธรรมหรือรายได้? ขอพิจารณาสุภาษิตสองข้อในคัมภีร์ไบเบิล.
คนจนที่ดำเนินตามทางสุจริตของตัวก็ดีกว่าคนมั่งมีที่ประพฤติไปในทางคดโกง.”—สุภาษิต 28:6
“มีผักเป็นอาหาร, ณ ที่ที่ซึ่งแวดล้อมไปด้วยความรักยังดีกว่ามีวัวตอนทั้งตัวเป็นอาหาร แต่แวดล้อมไปด้วยความเกลียดชัง.”—สุภาษิต 15:17
เห็นได้ชัดว่า การขาดรายได้ไม่ได้ลดความซื่อสัตย์มั่นคงทางศีลธรรมและคุณค่าของคนเรา. ดังนั้น เมื่อสามีของเรอเนตกงาน เธอพูดกับลูก ๆ ว่า “พ่อคนอื่น ๆ หลายคนได้ทอดทิ้งครอบครัวของเขา. แต่พ่อของลูกก็ยังคงอยู่กับลูก. ลูกรู้ไหมว่าพ่อน่ะรักลูกมากและคอยช่วยลูกผ่านอุปสรรคปัญหาทุกอย่าง. ลูกจะหาพ่อคนอื่นที่ดีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว!”