ผิดไหมถ้าต้องการความเป็นส่วนตัวบ้าง?
หนุ่มสาวถามว่า
ผิดไหมถ้าต้องการความเป็นส่วนตัวบ้าง?
ให้กาเครื่องหมาย ✔ หน้าข้อที่ใกล้เคียงกับปฏิกิริยาของคุณมากที่สุดถ้าคุณอยู่ในฉากเหตุการณ์แต่ละอย่างต่อไปนี้.
1. คุณปิดประตูอยู่ในห้องนอน และพี่หรือน้องของคุณโผล่พรวดเข้ามาโดยไม่เคาะประตู.
○ ‘ไม่มีปัญหา . . . ฉันก็ทำอย่างนั้นกับพี่น้องของฉันเหมือนกัน.’
○ ‘ไม่มีมารยาทเลย! ถ้าฉันกำลังแต่งตัว อยู่ล่ะ?’
2. คุณกำลังคุยกับเพื่อนทางโทรศัพท์ แม่ก็อยู่ใกล้ ๆ และดูเหมือนตั้งใจฟังทุกคำพูด.
○ ‘ไม่มีปัญหา . . . ฉันไม่มีอะไรต้องปิดบัง.’
○ ‘น่าอึดอัดจริง ๆ! ฉันรู้สึกเหมือนกับว่าถูกดักฟัง!’
3. คุณเพิ่งกลับถึงบ้าน และตอนนี้ทั้งพ่อและแม่ก็เริ่มซักไซ้คุณหลายเรื่อง. “ลูกไปไหนมา? ไปทำอะไร? ไปกับใคร?”
○ ‘ไม่มีปัญหา . . . ปกติฉันก็เล่าให้พ่อแม่ฟังทุกเรื่องอยู่แล้ว.’
○ ‘น่าหงุดหงิดจริง ๆ! พ่อแม่ไม่ไว้ใจฉันเลย!’
ตอนอายุยังน้อย ความเป็นส่วนตัวของคุณดูจะไม่ใช่เรื่องสำคัญสักเท่าไร. หากน้องวิ่งพรวดพราดเข้ามาในห้องนอนของคุณ คุณก็ยินดีให้เข้ามา. ถ้าพ่อแม่ถามอะไรบางอย่าง คุณก็ตอบโดยไม่รีรอ. ตอนนั้น ชีวิตของคุณไม่มีอะไรต้องปิดซ่อน. แต่มาตอนนี้ บางครั้งคุณไม่อยากให้คนอื่นรู้ทุกเรื่องในชีวิตของคุณ. คอรีย์ วัย 14 ปีกล่าวว่า “ผมอยากจะเก็บบางเรื่องไว้ไม่ให้ใครรู้.” *
ทำไมจู่ ๆ คุณจึงอยากมีความเป็นส่วนตัว? ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคุณกำลังเติบโต. ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงในสุภาษิต 1:1, 4, ล.ม.; พระบัญญัติ 32:29) แม้แต่พระเยซูก็ได้เสด็จไป “ในที่ห่างไกลผู้คน” เพื่อคิดไตร่ตรอง.—มัดธาย 14:13
ร่างกายระหว่างวัยเริ่มเจริญพันธุ์อาจทำให้คุณขาดความมั่นใจ แม้แต่เมื่ออยู่กับครอบครัวของคุณเอง. นอกจากนั้น เมื่อคุณโตขึ้น คุณก็เริ่มรู้สึกต้องการคิดใคร่ครวญบางเรื่องตามลำพังอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน. นี่เป็นสัญญาณว่าคุณกำลังพัฒนา “ความสามารถในการคิด” ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่คัมภีร์ไบเบิลยกย่องถ้ามีอยู่ในคนหนุ่มสาว. (แน่นอน คุณยังอยู่ใต้อำนาจพ่อแม่ และท่านย่อมมีสิทธิ์จะรู้ความเป็นไปในชีวิตของคุณ. (เอเฟโซส์ 6:1) แต่เมื่อคุณผนวกความต้องการของพ่อแม่ที่จะรู้เข้ากับความต้องการของคุณที่จะเป็นผู้ใหญ่ ก็อาจเกิดความขัดแย้งขึ้นได้. คุณจะรับมือข้อท้าทายนี้อย่างไร? ขอพิจารณาสองขอบข่ายที่อาจเกิดปัญหาขึ้น.
เมื่อคุณต้องการอยู่ตามลำพัง
มีเหตุผลอันสมควรหลายอย่างที่คุณจะต้องการอยู่ตามลำพัง. คุณอาจต้องการ “ได้พักสักหน่อย.” (มาระโก 6:31) หรือเมื่อคุณต้องการอธิษฐาน คุณอาจทำอย่างที่พระเยซูแนะนำเหล่าสาวกว่า “จงเข้าไปอยู่ในห้องเป็นส่วนตัว และเมื่อปิดประตูห้องแล้ว จงอธิษฐานถึงพระบิดาของเจ้า.” (มัดธาย 6:6; มาระโก 1:35) ปัญหาคือ เมื่อปิดประตูอยู่ในห้องส่วนตัวของคุณ (ถ้าคุณมี) พ่อแม่อาจไม่คิดว่าคุณกำลังอธิษฐาน! และพี่ ๆ น้อง ๆ อาจไม่เข้าใจว่าคุณต้องการอยู่คนเดียว.
สิ่งที่คุณทำได้. แทนที่จะทำให้ห้องนอนกลายเป็นสนามรบ ให้ทำตามข้อแนะต่อไปนี้.
• ถ้าเป็นพี่หรือน้องของคุณ ลองวางกฎที่สมเหตุผลสองสามข้อ เพื่อคุณจะมีเวลาส่วนตัวบ้าง. ถ้าจำเป็น พ่อแม่อาจช่วยในเรื่องนี้ได้.
• ถ้าเป็นพ่อแม่ของคุณ จงพยายามเข้าใจความคิดของท่าน. รีเบกาห์วัย 16 ปีกล่าวว่า “บางครั้ง พ่อแม่จะเข้ามาดูว่าหนูทำอะไรอยู่. แต่จริง ๆ แล้ว ถ้าหนูมีลูกวัยรุ่น หนูก็คงจะทำอย่างเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อรู้ว่าหนุ่มสาวสมัยนี้ต้องเผชิญการล่อใจหลาย ๆ อย่าง!” เช่นเดียวกับรีเบกาห์ คุณจะเข้าใจความห่วงใยของพ่อแม่ได้ไหม?—สุภาษิต 19:11
• ถามตัวเองด้วยความจริงใจว่า ‘ฉันเคยทำให้พ่อแม่มีเหตุที่จะสงสัยไหมว่าฉันทำอะไรไม่ดีเมื่อปิดประตูอยู่ในห้อง? ฉัน *
ปกปิดไม่ให้พ่อแม่รู้เรื่องชีวิตส่วนตัวไหมจนท่านรู้สึกว่าต้องแอบดูแอบฟังว่าฉันทำอะไร?’ ตามปกติ ยิ่งคุณเปิดเผยกับพ่อแม่มากเท่าไร ท่านก็จะสงสัยคุณน้อยลงเท่านั้น.แผนปฏิบัติการ. ในช่องข้างล่างนี้ เขียนว่าคุณจะพูดอย่างไรเมื่อนำเรื่องนี้ขึ้นมาสนทนากับพ่อแม่.
․․․․․
เมื่อคุณคบเพื่อน
ในช่วงหนุ่มสาว เป็นเรื่องปกติที่คุณจะมีเพื่อนนอกเหนือจากคนในครอบครัว. เป็นเรื่องปกติเช่นกันที่พ่อแม่ของคุณจะอยากรู้ว่าใครเป็นเพื่อนของคุณและคุณทำอะไรร่วมกับเขาบ้าง. สำหรับพ่อแม่แล้ว นี่เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของท่าน. แต่สำหรับคุณ ความห่วงใยของพ่อแม่อาจดูเหมือนเป็นความหวาดระแวงมากไป. เอมีวัย 16 ปีกล่าวว่า “หนูเพียงแต่ต้องการมีโทรศัพท์มือถือและอีเมล โดยที่พ่อแม่ไม่ชะโงกหน้ามาดูทุก ๆ สิบนาทีและถามว่าหนูกำลังคุยกับใคร.”
สิ่งที่คุณทำได้. แทนที่จะปล่อยให้มิตรภาพของคุณเป็นเครื่องขวางกั้นระหว่างคุณกับพ่อแม่ ให้ลองทำตามข้อแนะต่อไปนี้.
• พาเพื่อนมารู้จักคุ้นเคยกับพ่อแม่. ที่จริง คุณอาจไม่ชอบให้พ่อแม่ทำตัวเป็นนักสืบ แต่ท่านก็ไม่มีทางเลือกอื่นถ้าเพื่อนของคุณเป็นใครก็ไม่รู้. อย่าลืม พ่อแม่รู้ว่าการเลือกเพื่อนของคุณจะมีผลกระทบต่อคุณมาก. (1 โครินท์ 15:33) ยิ่งพ่อแม่ของคุณรู้จักคนที่คุณใช้เวลาคบหากับเขามากเท่าไร ท่านก็ยิ่งจะสบายใจมากขึ้นกับเพื่อนที่คุณเลือกคบ.
• คุยกับพ่อแม่ของคุณเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยความนับถือ. อย่าตำหนิท่านว่าเป็นคนก้าวก่าย. คุณอาจพูดทำนองนี้แทน: “หนูรู้สึกว่าดูเหมือนทุก ๆ สิ่งที่หนูคุยกับเพื่อนถูกจับผิดและถูกตัดสิน. หนูแทบจะพูดคุยกับใครไม่ได้เลย.” พ่อแม่อาจจะยอมให้คุณมีความเป็นส่วนตัวมากกว่านี้บ้างกับเพื่อนของคุณ.—สุภาษิต 16:23
• จงซื่อสัตย์ต่อตัวเอง: นี่คือเรื่องส่วนตัวหรือความลับ? บริตทานี วัย 22 ปีพูดว่า “ถ้าคุณยังอยู่ที่บ้านกับพ่อแม่ และท่านเป็นห่วงบางเรื่อง คุณควรคิดว่า ‘ฉันไม่ได้ทำอะไรเสียหายนี่ แล้วจะปกปิดทำไม?’ ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าคุณจำเป็น ต้องเก็บเป็นความลับ ก็แสดงว่ามีบางสิ่งผิดปกติ.”
แผนปฏิบัติการ. ในช่องข้างล่างนี้ เขียนว่าคุณจะพูดอย่างไรเมื่อนำเรื่องนี้ขึ้นมาสนทนากับพ่อแม่.
․․․․․
ความเป็นส่วนตัวและคุณ
ตอนนี้คุณมีโอกาสจะคิดหาแนวทางการแก้ปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวด้านใดด้านหนึ่งซึ่งคุณเป็นห่วง.
ขั้นที่ 1: ระบุปัญหา.
คุณรู้สึกว่าอยากมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นในด้านใดบ้าง?
․․․․․
ขั้นที่ 2: คำนึงถึงทัศนะของพ่อแม่.
คุณคิดว่าอันที่จริงท่านเป็นห่วงเรื่องอะไร?
․․․․․
ขั้นที่ 3: ลงมือแก้ปัญหา.
(ก) คิดถึงอย่างน้อยสักจุดหนึ่งที่คุณอาจมีส่วนสร้างปัญหาโดยไม่ตั้งใจ และเขียนไว้ข้างล่าง.
․․․․․
(ข) เมื่อคำนึงถึงคำตอบข้างต้น คุณจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง?
․․․․․
(ค) คุณอยากจะให้พ่อแม่ทำอย่างไรกับเรื่องที่คุณกังวลใจ?
․․․․․
ขั้นที่ 4: พูดกันตรง ๆ.
ในเวลาที่เหมาะสม ปรึกษากับพ่อแม่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณเขียนไว้ข้างต้น.
ถ้าต้องการอ่านบทความชุด “หนุ่มสาวถามว่า” เพิ่มเติม ให้ดาวน์โหลดตื่นเถิด! ฉบับอื่น ๆ จากเว็บไซต์ www.jw.org
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 13 บางชื่อในบทความนี้เป็นชื่อสมมุติ.
^ วรรค 21 ถ้าพ่อแม่ยังมีทีท่าไม่ไว้ใจคุณ จงบอกท่านด้วยใจเย็น ๆ และด้วยความนับถือว่าคุณรู้สึกอย่างไร. จงตั้งใจฟัง ว่าท่านห่วงใยเรื่องอะไร และพยายามไม่ทำสิ่งใดที่จะกลายเป็นปัญหา.—ยาโกโบ 1:19
ข้อชวนคิด
• ทำไมพ่อแม่จึงมีสิทธิที่จะไต่ถามเกี่ยวกับชีวิตของคุณ?
• การที่คุณพยายามพัฒนาทักษะในการสื่อความกับพ่อแม่จะช่วยคุณอย่างไรที่จะสื่อความกับผู้ใหญ่คนอื่น ๆ ในเวลาต่อมา?
[กรอบ/ภาพหน้า 19]
สิ่งที่คนรุ่นเดียวกับคุณพูด
“ถ้าหนุ่มสาวพูดคุยกับพ่อแม่อย่างเปิดเผย พ่อแม่ก็คงไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะเปิดอ่านอีเมลและดูข้อความในโทรศัพท์เพื่อรู้ความเป็นไปในชีวิตของลูก.”
“ผมจะไม่ว่าอะไรเลยถ้าพ่อแม่อ่านอีเมลของผม. หากนายจ้างมีสิทธิ์อ่านอีเมลของลูกจ้าง แล้วทำไมพ่อแม่จะอ่านอีเมลของลูกไม่ได้?”
“พ่อแม่ไม่อยากให้คุณประสบสิ่งร้าย ๆ และบางครั้งท่านก็ดูเหมือนจะเข้ามายุ่งกับเรื่องส่วนตัวของคุณ. มันดูไม่เหมาะเลย. แต่ว่ากันตามจริง ถ้าดิฉันเป็นแม่ ดิฉันก็คงทำอย่างเดียวกัน.”
[ภาพ]
อีเดน
เควิน
แอเลนา
[กรอบหน้า 21]
ถึงคุณพ่อคุณแม่
• ลูกชายของคุณอยู่ในห้องนอนปิดประตู. คุณควรจะเปิดเข้าไปโดยไม่เคาะก่อนไหม?
• ลูกสาวของคุณลืมโทรศัพท์มือถือขณะรีบไปโรงเรียน. คุณควรเปิดดูข้อความในโทรศัพท์ของเธอไหม?
ไม่ง่ายที่จะตอบคำถามข้างต้น. ด้านหนึ่ง คุณก็มีสิทธิ์จะรู้ความเป็นไปในชีวิตของลูกวัยรุ่นและมีหน้าที่ต้องป้องกันเขาให้พ้นอันตราย. อีกด้านหนึ่ง คุณจะเป็นพ่อแม่ที่สอดส่องดูแลลูก ๆ ทุกฝีก้าวอย่างไม่ไว้วางใจตลอดไปไม่ได้. แล้วคุณจะดูแลลูกอย่างสมดุลได้อย่างไร?
ประการแรก ตระหนักว่าความต้องการของลูกวัยรุ่นที่จะมีความเป็นส่วนตัวไม่ใช่เรื่องที่ต้องวิตกเสมอไป. บ่อยครั้งนั่นคือส่วนหนึ่งของการเติบโตตามปกติ. ความเป็นส่วนตัวช่วยวัยรุ่นทดสอบความสามารถของเขาด้วยการสร้างมิตรภาพและคิดใคร่ครวญวิธีแก้ปัญหาโดยอาศัย “ความสามารถในการใช้เหตุผล.” (โรม 12:1, 2) นอกจากนั้น ความเป็นส่วนตัวช่วยวัยรุ่นพัฒนาความสามารถในการคิด ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญเพื่อพวกเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ. (1 โครินท์ 13:11) ความเป็นส่วนตัวยังทำให้เขามีโอกาสได้ไตร่ตรองก่อนตอบปัญหายาก ๆ ด้วย.—สุภาษิต 15:28
ประการที่สอง จงตระหนักว่าความพยายามที่จะควบคุมชีวิตของลูกวัยรุ่นทุกฝีก้าวอาจทำให้เกิดความขุ่นเคืองและการขืนอำนาจ. (เอเฟโซส์ 6:4; โกโลซาย 3:21) ทั้งนี้จะหมายความว่าคุณควรปล่อยตามใจลูกไหม? ไม่ใช่ เพราะคุณก็ยังคงเป็นพ่อแม่ของเขา. อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของคุณคือช่วยให้ลูกมีสติรู้สึกผิดชอบที่ได้รับการฝึกฝน. (พระบัญญัติ 6:6, 7; สุภาษิต 22:6) ท้ายที่สุด การชี้นำก็เกิดผลดีกว่าการควบคุมอย่างเข้มงวด.
ประการที่สาม พิจารณาเรื่องนี้กับลูกวัยรุ่น. ฟังสิ่งที่เขาเป็นห่วง. อาจมีบางครั้งที่คุณจะยอมเขาได้ไหม? (ฟิลิปปอย 4:5) บอกลูกวัยรุ่นว่าคุณจะให้เขามีความเป็นส่วนตัวในระดับหนึ่งตราบเท่าที่เขาไม่ทรยศความไว้วางใจของคุณ. บอกถึงผลของการไม่เชื่อฟัง และจงทำตามที่พูดไว้เมื่อจำเป็น. จงมั่นใจว่าคุณยอมให้ลูกมีความเป็นส่วนตัวได้ โดยไม่ละเลยหน้าที่ของพ่อแม่.
[ภาพหน้า 20]
ความไว้วางใจเปรียบได้กับเงินเดือน คือต้องทำงานเพื่อจะได้มา