ปีกของสัตว์นักบิน
มีผู้ออกแบบไหม?
ปีกของสัตว์นักบิน
▪ คุณคิดว่าอะไรจะบินอยู่ในอากาศได้ดีกว่ากัน? เครื่องบินหรือสัตว์ต่าง ๆ อย่างเช่น ค้างคาว, แมลง, และนก? เชื่อหรือไม่ว่าเครื่องบินยังเทียบไม่ได้เลยกับสัตว์ตัวกระจ้อยที่น่ามหัศจรรย์เหล่านี้. เหว่ ฉื่อ ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าวว่า สัตว์เหล่านี้ “มีความสามารถที่โดดเด่นมากในการประคองตัวให้บินฝ่าลมกระโชกแรง, ฝน, และหิมะได้.” * เคล็ดลับของพวกมันคืออะไร? ปีกที่กระพือขึ้นลงได้ซึ่งเป็นที่อิจฉาแก่เหล่านักบินมาตั้งแต่สมัยที่มนุษย์พยายามจะบินเป็นครั้งแรกนั่นเอง.
ขอพิจารณา: ขณะที่นกและแมลงบางชนิดกำลังบิน มันจะเปลี่ยนรูปทรงของปีกอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อม. การเปลี่ยนรูปทรงนี้ช่วยให้มันลอยตัวอยู่กับที่และบินฉวัดเฉวียนอยู่กลางอากาศได้. วารสารไซเยนซ์ นิวส์ รายงานถึงสิ่งที่มีการสังเกตเห็นในค้างคาวว่า “ตอนที่ค้างคาวบินช้า ๆ คือประมาณ 1.5 เมตรต่อวินาที มันจะพลิกปลายปีกหงายขึ้นแล้วสะบัดไปข้างหลังอย่างรวดเร็วระหว่างที่มันกระพือปีกขึ้น. นักวิทยาศาสตร์คาดว่า เทคนิคนี้ . . . ช่วยยกและดันตัวมันไปข้างหน้า.”
แน่นอน ยังมีอีกมากมายหลายสิ่งที่จะเรียนรู้ได้เกี่ยวกับสัตว์นักบินเหล่านี้. ปีเตอร์ อิฟยู ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล การบินและอวกาศ ประจำมหาวิทยาลัยฟลอริดาถามว่า “ในทางกายภาพสัตว์เหล่านี้กำลังทำอะไรกับอากาศเพื่อทำให้เกิดแรงยกที่มีประสิทธิภาพเช่นนั้น?” เขากล่าวเพิ่มเติมว่า “มีการไหลของอากาศรอบ ๆ ตัวของสัตว์เหล่านั้นหลายรูปแบบนับไม่ถ้วนที่เราไม่เข้าใจ. เราสามารถมองเห็นสิ่งที่ [นกและแมลง] กำลังทำอยู่ แต่เราไม่เข้าใจว่าสิ่งที่มันทำส่งผลกระทบต่ออากาศอย่างไร.”
คุณคิดอย่างไร? คุณคิดว่าปีกที่เปลี่ยนรูปทรงได้ของสัตว์นักบินเกิดขึ้นโดยบังเอิญไหม? หรือมีผู้ออกแบบ?
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 แม้ว่าสัตว์ที่มีปีกหลายชนิดจะบินฝ่าสายฝนได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกมันจะหาที่หลบที่ปลอดภัย.
[ภาพหน้า 24]
นกฮัมมิงเบิร์ดปากกว้าง
[ที่มาของภาพ]
Laurie Excell/Fogstock/ age fotostock
[ภาพหน้า 24]
ค้างคาวหูหนู
[ที่มาของภาพ]
© Delpho, M/age fotostock