การเลี้ยงดูลูกวัยรุ่นบทบาทของความเข้าใจ
การเลี้ยงดูลูกวัยรุ่นบทบาทของความเข้าใจ
สมมุติว่าคุณกำลังไปเที่ยวประเทศหนึ่งที่คุณพูดภาษา ของคนในประเทศนั้นไม่ได้. แน่นอนว่า การสื่อสารคงจะทำได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะสื่อสารกันไม่ได้เลย. ตัวอย่างเช่น หนังสือฝึกการสนทนาแบบสองภาษาอาจช่วยคุณให้เรียนรู้ถ้อยคำง่าย ๆ ของภาษานั้น. หรือไม่ก็อาจมีใครสักคนที่จะช่วยแปลให้คุณได้ เพื่อคุณจะสามารถเข้าใจคนอื่น ๆ และคนอื่นก็เข้าใจคุณด้วย.
พ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกวัยรุ่นบางครั้งก็อาจรู้สึกว่าพวกเขามีสภาพการณ์คล้าย ๆ กันนั้น. เหมือนกับภาษาต่างประเทศนั่นแหละ คำพูดและพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นอาจเข้าใจยาก แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าใจไม่ได้เลย. เคล็ดลับก็คือ พ่อแม่ควรพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างช่วงแห่งการเจริญเติบโตนี้ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้รู้สึกตื่นเต้น แต่บ่อยครั้งก็ทำให้รู้สึกสับสน.
เบื้องหลังพฤติกรรม
ความปรารถนาของเด็กหนุ่มสาวที่อยากจะเป็นอิสระ ไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการขืนอำนาจเสมอไป. ขอระลึกว่า คัมภีร์ไบเบิลเยเนซิศ 2:24) เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่กว่าในวัยผู้ใหญ่ อย่างน้อยที่สุดพวกหนุ่มสาวก็จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการตัดสินใจอยู่บ้าง.
ยอมรับว่า ในที่สุด ‘ผู้ชายจะละบิดามารดาของตนไป.’ (ขอให้เราพิจารณาสิ่งที่อาจอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมซึ่งพ่อแม่บางคนได้ให้ข้อสังเกตไว้ ดังที่ได้ยกมากล่าวในบทความก่อน.
ลีอา, ในบริเตน โอดครวญว่า “ลูกชายของฉันก็ดูเหมือนจะเอาแต่ใจตัวเองมากขึ้น แล้วก็มักจะสงสัยในเรื่องอำนาจของเรามากขึ้น.”
เหมือนกับเด็กเล็ก ๆ เด็กวัยรุ่นชอบถามซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า “ทำไม?” แต่ตอนนี้การตอบแบบง่าย ๆ สั้น ๆ อาจจะไม่พอ. มีอะไรเปลี่ยนไปหรือ? อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “ตอนที่ข้าพเจ้าเป็นเด็ก ข้าพเจ้าเคย . . . หาเหตุผลอย่างเด็ก.” (1 โครินท์ 13:11) เมื่อหนุ่มสาวมีความสามารถในการหาเหตุผลมากขึ้นแล้ว พวกเขาก็ต้องการคำอธิบายที่ละเอียดมากขึ้น เพื่อจะได้ฝึกใช้ “วิจารณญาณ” ของตน.—ฮีบรู 5:14.
จอห์น, ในกานา กล่าวว่า “ลูกสาวของเรากลายเป็นคนที่วิตกกังวลกับตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตัวของพวกเธอ.”
ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้า หรือตรงกับเวลาพอดี การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วที่มาพร้อมกับวัยเริ่มเจริญพันธุ์ทำให้หนุ่มสาวหลายคนหมกมุ่นกับเรื่องรูปร่างหน้าตาของตนมากเกินไป. เด็กสาวอาจรู้สึกตื่นเต้นยินดีหรือหวั่นใจกับเรือนร่างใหม่ของตนที่ดูมีทรวดทรงขึ้น หรือมีทั้งสองความรู้สึกระคนกัน. เมื่อรวมเข้ากับเรื่องการมีสิวและการแต่งหน้าก็ทำให้เข้าใจได้ไม่ยากว่า ทำไมเด็กวัยรุ่นจึงใช้เวลาส่องกระจกมากกว่าที่จะใช้เวลาอ่านตำรับตำราเสียอีก.
แดเนียล, ในฟิลิปปินส์ กล่าวว่า: “ลูก ๆ ของเรามักจะมีความลับและต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น. บ่อยครั้งพวกเขาชอบอยู่กับเพื่อนมากกว่าจะอยู่กับเรา.”
การมีความลับอาจเป็นอันตราย. (เอเฟโซส์ 5:12) แต่ความเป็นส่วนตัวนั้นต่างกัน. แม้แต่พระเยซูก็ทรงเห็นว่า การหาที่ “ที่ห่างไกลผู้คนเพื่ออยู่ตามลำพัง” เป็นสิ่งที่มีประโยชน์. (มัดธาย 14:13) เมื่อพวกเขาโตขึ้น เด็กหนุ่มสาวก็ต้องการที่ที่เป็นส่วนตัวบ้าง และพวกเขาก็ไม่ต้องการให้ผู้ใหญ่เข้าไปวุ่นวายในที่ของเขา. ความเป็นส่วนตัวในระดับหนึ่งช่วยเด็กหนุ่มสาวให้คิดหาเหตุผลในเรื่องต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน และนั่นก็เป็นทักษะที่จำเป็นซึ่งจะช่วยพวกเขาได้มากเมื่อเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่.
ในทำนองคล้ายกัน การเรียนรู้วิธีสร้างมิตรภาพก็เป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโต. เป็นจริงที่ว่า “การคบหาที่ไม่ดีย่อมทำให้นิสัยดีเสียไป.” (1 โครินท์ 15:33) แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นดังที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “มิตรแท้ย่อมรักอยู่ทุกเวลา และเป็นพี่น้องซึ่งเกิดมาเพื่อยามที่มีความทุกข์ยาก.” (สุภาษิต 17:17, ล.ม.) การเรียนรู้วิธีสร้างและรักษามิตรภาพอันดีงามไว้เป็นทักษะอันสำคัญยิ่งที่จะคงอยู่ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่.
เมื่อประสบกับสถานการณ์ใด ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ พ่อแม่ก็ควรพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ดี เพื่อจะได้ไม่ตีความพฤติกรรมของลูกวัยรุ่นผิดไป. แน่ล่ะ ความเข้าใจจำเป็นต้องควบคู่ไปกับสติปัญญา ซึ่งก็คือความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์หนึ่งในวิธีที่จะได้ผลดีที่สุด. พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่นจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร?
[คำโปรยหน้า 5]
เมื่อหนุ่มสาวมีความสามารถในการหาเหตุผลมากขึ้น พวกเขาก็ต้องการคำอธิบายที่ละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับกฎต่าง ๆ ในครอบครัว