ฉันจะเอาชนะนิสัยนี้ได้อย่างไร?
หนุ่มสาวถามว่า . . .
ฉันจะเอาชนะนิสัยนี้ได้อย่างไร?
“ผมเริ่มสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองเมื่ออายุแปดขวบ. ต่อมาผมได้เรียนรู้ว่าพระเจ้าทรงคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้. ทุกครั้งที่ผมยอมแพ้ให้กับนิสัยนี้ผมจะรู้สึกแย่มาก ๆ. ผมมักจะถามตัวเองว่า ‘พระเจ้าจะรักคนอย่างผมได้อย่างไร?’ ตอนนั้นผมแน่ใจว่าผมไม่มีวันได้เข้าโลกใหม่ของพระเจ้า.”—ลูอิซ. *
บางทีคุณอาจเป็นเหมือนลูอิซ คือสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองจนติดเป็นนิสัย. คุณรู้ว่าพระยะโฮวาจะพอพระทัยถ้าคุณต้านทานแรงกระตุ้นนี้และควบคุมตัวเอง ซึ่งเป็นผลอย่างหนึ่งแห่งพระวิญญาณของพระเจ้า. (ฆะลาเตีย 5:22, 23; 2 เปโตร 1:5, 6) ทว่าบางครั้งคุณยอมแพ้. หลังจากที่คุณกลับไปทำเช่นนั้นอีกในแต่ละครั้ง คุณก็คิดว่าคุณคงไม่มีหวังที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นอีกแล้ว และคิดว่าคุณคงไม่มีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตตามมาตรฐานอันชอบธรรมของพระเจ้าได้.
เด็กหนุ่มคนหนึ่งชื่อเปโดรก็มองตัวเองอย่างนี้. เขาบอกว่า “เมื่อผมกลับไปทำอย่างนั้นอีก ผมรู้สึกแย่มาก ๆ. ผมคิดว่าผมคงไม่มีวันลบล้างสิ่งที่ตัวเองทำได้เลย. ผมรู้สึกยากมากที่จะอธิษฐานถึงพระเจ้า. ผมจะเริ่มอธิษฐานโดยพูดว่า ‘ข้าแต่พระยะโฮวา ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าพระองค์จะสดับฟังคำอธิษฐานนี้หรือไม่ แต่ . . . ’” เด็กหนุ่มอีกคนหนึ่งชื่ออันเดรก็คิดทำนองนี้ด้วย. เขาบอกว่า “ผมรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นคนหน้าซื่อใจคด. เป็นเรื่องลำบากมากที่จะลุกจากที่นอนในตอนเช้าและเริ่มวันใหม่. ผมรู้สึกยากมากที่จะนั่งในการประชุมคริสเตียนตลอดรายการหรือร่วมทำงานเผยแพร่.”
ถ้าคุณมีความรู้สึกคล้าย ๆ กันกับลูอิซ, เปโดร, หรืออันเดร ก็ขอให้มีกำลังใจเถอะ. คุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่มีปัญหานี้ และยังไม่หมดหวังที่คุณจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง! คนหนุ่มสาวหลายคน—และแม้แต่คนที่เป็นผู้ใหญ่แล้วบางคน—เคยต้องต่อสู้อย่างหนักกับการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง และก็สามารถเอาชนะได้จริง ๆ. คุณก็ทำได้เช่นกัน. *
รับมือกับความรู้สึกผิด
ดังที่กล่าวไปแล้ว คนที่ติดนิสัยสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองมักรู้สึกผิดมาก. แน่นอน การมี “ความเสียใจอย่างที่ชอบ2 โกรินโธ 7:11) แต่การรู้สึกผิดมากเกินไปอาจส่งผลตรงกันข้าม. นั่นอาจทำให้คุณรู้สึกท้อใจมากจนอยากจะเลิกต่อสู้และยอมแพ้ไปเลย.—สุภาษิต 24:10.
พระทัยพระเจ้า” อาจเป็นแรงผลักดันให้คุณพยายามเอาชนะนิสัยนี้. (ดังนั้น จงพยายามมองเรื่องนี้ตามความเป็นจริง. การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองเป็นความประพฤติที่ไม่สะอาดรูปแบบหนึ่ง. มันอาจทำให้คุณ “ตกเป็นทาสความปรารถนาและความเพลิดเพลินหลายอย่าง” และเพาะเจตคติที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางจิตใจได้. (ติโต 3:3, ล.ม.) ถึงกระนั้น การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองก็ไม่ใช่การผิดศีลธรรมทางเพศขั้นร้ายแรงเหมือนกับการผิดประเวณี. (เอเฟโซ 4:19) ดังนั้น ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง คุณก็ไม่จำเป็นต้องลงความเห็นว่าคุณได้ทำบาปที่ให้อภัยไม่ได้. เคล็ดลับคือต้องต้านทานแรงกระตุ้นและอย่ายอมแพ้โดยเด็ดขาด!
บางครั้งเป็นเรื่องง่ายที่จะท้อใจหลังจากคุณพลาดกลับไปทำผิดอีก. เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ขอให้จำถ้อยคำที่สุภาษิต 24:16 ไว้ที่ว่า “แม้ว่าคนชอบธรรมล้มลงถึงเจ็ดหนเขาคงลุกขึ้นได้อีก; แต่เมื่อคนชั่วล้มลงก็ถึงความหายนะ.” การพลาดชั่วครั้งชั่วคราวไม่ได้ทำให้คุณกลายเป็นคนชั่ว. ดังนั้น อย่ายอมแพ้. แทนที่จะยอมแพ้ จงวิเคราะห์ว่าอะไรทำให้คุณพลาด และพยายามเลี่ยงการกระทำซึ่งนำไปสู่การพลาดซ้ำอีก.
แทนที่จะต่อว่าตัวเองอยู่เรื่อย ๆ จงใช้เวลาคิดรำพึงถึงความรักและความเมตตากรุณาของพระเจ้า. ดาวิดผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญ ซึ่งเคยมีความอ่อนแอเช่นกัน กล่าวว่า “บิดาเมตตาบุตรของตนมากฉันใด, พระยะโฮวาทรงพระเมตตาคนที่ยำเกรงพระองค์มากฉันนั้น. เพราะพระองค์ทรงทราบร่างกายของพวกข้าพเจ้าแล้ว; พระองค์ทรงระลึกอยู่ว่าพวกข้าพเจ้าเป็นแต่ผงคลีดิน.” (บทเพลงสรรเสริญ 103:13, 14) ใช่แล้ว พระยะโฮวาทรงคำนึงถึงความไม่สมบูรณ์ของเรา และ “พร้อมจะให้อภัย” เมื่อเราทำผิดพลาด. (บทเพลงสรรเสริญ 86:5, ล.ม.) ในอีกด้านหนึ่ง พระองค์ต้องการให้เราบากบั่นพยายามอย่างเต็มที่เพื่อปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น.
มีขั้นตอนอะไรบ้างที่คุณจะทำได้เพื่อเอาชนะนิสัยนี้และเพื่อหลีกเลี่ยงการหวนกลับไปทำผิดอีก?
ประโยชน์ของการบอกให้คนอื่นทราบ
แม้ว่าจะมีการพูดถึงเรื่องเพศกันอย่างเปิดเผยในหลายดินแดน แต่หลายคนก็ยังคงรู้สึกว่ายากที่จะพูดถึงเรื่องเพศในแบบที่จริงจังและมีเกียรติ. ในกรณีของคุณ คุณอาจมีความอายซึ่งทำให้รู้สึกว่ายากที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดแม้แต่กับคนที่คุณไว้ใจ. คริสเตียนคนหนึ่งซึ่งพยายามที่จะเลิกสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองมาหลายปีแล้ว
กล่าวว่า “ถ้าผมรวบรวมความกล้าแล้วพูดกับใครสักคนเกี่ยวกับเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนที่ผมยังเป็นวัยรุ่นอยู่ก็คงจะดี! ความรู้สึกผิดรบกวนใจผมมาหลายปี และก่อผลเสียอย่างมากต่อความสัมพันธ์ของผมกับคนอื่น และที่สำคัญคือกับพระยะโฮวา.”คุณควรพูดเรื่องนี้กับใคร? บุคคลที่ดีที่สุดคือคนที่มีความอาวุโสฝ่ายวิญญาณ และจะยิ่งดีถ้าเป็นพ่อหรือแม่ของคุณ. คุณอาจเริ่มโดยพูดว่า “ผมขอปรึกษาปัญหาเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผมไม่สบายใจมากจะได้ไหมครับ?”
มาริโอตัดสินใจพูดเรื่องนี้กับพ่อของเขา ซึ่งปรากฏว่าเมื่อท่านฟังแล้วก็รู้สึกเห็นอกเห็นใจและเข้าใจเขาอย่างมาก. พ่อถึงกับยอมรับกับมาริโอว่าตัวเองก็เคยต้องต่อสู้กับนิสัยนี้สมัยที่เขายังหนุ่ม. มาริโอบอกว่า “ความซื่อสัตย์และความจริงใจของพ่อทำให้ผมมีกำลังใจมาก. ผมคิดหาเหตุผลว่า ถ้าพ่อเอาชนะนิสัยนี้ได้ ผมก็น่าจะทำได้เช่นกัน. ผมซาบซึ้งใจกับท่าทีของพ่อมากจนผมถึงกับร้องไห้ออกมา.”
อันเดรรวบรวมความกล้าเพื่อจะพูดกับคริสเตียนผู้ปกครองคนหนึ่ง และเขารู้สึกดีใจมากที่เขาทำอย่างนั้น. * อันเดรกล่าวว่า “ขณะที่ผู้ปกครองคนนั้นฟังผม ดวงตาของเขาก็มีน้ำตาคลอ. เมื่อผมพูดจบ เขาก็พูดย้ำให้ผมมั่นใจว่าพระยะโฮวารักผม. เขาบอกผมว่าหลายคนมีปัญหาแบบเดียวกับผม. เขาสัญญาจะคอยถามผมว่าควบคุมนิสัยนี้ได้แค่ไหนแล้วและจะนำข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือศึกษาคัมภีร์ไบเบิลมาให้ผมอีก. เมื่อได้พูดกับเขา ผมก็ตั้งใจแน่วแน่จะสู้ต่อไป แม้ว่าผมจะพลาดพลั้งอีกในบางครั้ง.”
เช่นเดียวกับมาริโอและอันเดร คุณสามารถได้รับความช่วยเหลือเพื่อจะเอาชนะนิสัยการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองได้. จงทำตามคำแนะนำในกรอบของบทความนี้ที่มีชื่อว่า “ใช้มาตรการเชิงรุก!” ใช่แล้ว จงมั่นใจว่าคุณสามารถ เอาชนะการต่อสู้นี้ได้!
เถ้าต้องการอ่านบทความชุด “หนุ่มสาวถามว่า” เพิ่มเติม ให้ดาวน์โหลดตื่นเถิด! ฉบับอื่น ๆ จากเว็บไซต์ www.watchtower.org/ypa
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 3 ชื่อในบทความนี้เป็นนามสมมุติ.
^ วรรค 6 แม้ว่าผู้ที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นผู้ชาย แต่ก็มีผู้หญิงหลายคนที่ต้องต่อสู้กับการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองเช่นกัน. ด้วยเหตุนี้ คำแนะนำที่ให้ในที่นี้จึงใช้ได้กับทั้งชายและหญิง. ขอสังเกตด้วยว่าบทความนี้พูดถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง. การสำเร็จความใคร่ให้อีกคนหนึ่งที่ไม่ได้เป็นคู่สมรสอยู่ในข่ายสิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลเรียกว่า การผิดประเวณี ซึ่งเป็นบาปร้ายแรงในสายพระเนตรของพระเจ้า.—ดูบทความ “หนุ่มสาวถามว่า . . . การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานผิดตรงไหน?” ในวารสารของเราฉบับ 8 สิงหาคม 2004 หน้า 12-14.
^ วรรค 17 หญิงสาวอาจต้องการพูดคุยกับแม่หรือพี่น้องหญิงที่อาวุโสฝ่ายวิญญาณในประชาคม.
สิ่งที่พึงใคร่ครวญ
▪ ทำไมเป็นเรื่องสำคัญที่จะจำไว้ว่าพระยะโฮวาทรง “พร้อมจะให้อภัย”?—บทเพลงสรรเสริญ 86:5, ล.ม.
▪ คุณจะใช้มาตรการอะไรบ้างเพื่อเอาชนะนิสัยสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง?
▪ ทำไมคุณไม่ควรรู้สึกอายที่จะขอความช่วยเหลือ?
▪ วิธีที่ดีที่สุดในการให้ความคิดของคุณจดจ่อในสิ่งที่บริสุทธิ์คืออะไร?
[กรอบ/ภาพหน้า 19]
การพลาดเป็นครั้งคราวไม่ได้หมายความว่าคุณพ่ายแพ้แล้ว!
ง่ายสักเพียงไรที่จะคิดว่า: ‘ฉันล้มเหลวแล้ว ฉะนั้น ฉันขอยอมแพ้ดีกว่า.’ จงต่อสู้อารมณ์เช่นนั้น. จงอย่ายอมให้การถอยชั่วครั้งชั่วคราว หรือแม้แต่หลายครั้งหลายคราว ทำให้คุณพ่ายแพ้.
ลองพิจารณาการเปรียบเทียบนี้: ถ้าคุณกำลังเดินขึ้นบันไดและสะดุดถอยหลังสักขั้นหรือสองขั้น คุณจะคิดไหมว่า ‘ฉันจะต้องเดินกลับไปที่ตีนบันไดและเริ่มขึ้นใหม่?’ ไม่แน่ ๆ! ฉะนั้น ทำไมคุณจะนำการคิดหาเหตุผลอย่างผิด ๆ นี้มาใช้กับการต่อสู้นิสัยที่ไม่ดีล่ะ?
ความรู้สึกผิดมักจะสืบเนื่องมาจากการถอยหลัง. คุณอาจทำให้ความรู้สึกนี้รุนแรงขึ้นโดยการลงความเห็นว่าคุณเป็นคนไม่ดีเอาเสียเลย หรือว่าคุณเป็นคนมีลักษณะแย่และไม่เหมาะสมจะได้สิ่งดีอะไรเลย. อย่ายอมให้ตัวคุณหมกมุ่นในความรู้สึกผิดจนเกินไปเช่นนั้น. นั่นจะทำให้คุณสูญเสียกำลัง ซึ่งคุณจำต้องใช้ในการต่อสู้ครั้งใหม่. และจงจำสิ่งนี้ไว้: มนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีบนโลกนี้ พระเยซูคริสต์ ทรงมาเพื่อไถ่คนบาป ไม่ใช่คนที่สมบูรณ์. ฉะนั้น ไม่มีใครเลยในพวกเราที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์พร้อมในเวลานี้.—จากตื่นเถิด! ฉบับ 8 เมษายน 1991 หน้า 15.
[กรอบ/ภาพหน้า 20]
ใช้มาตรการเชิงรุก!
▪ บังคับจิตใจของคุณให้คิดเรื่องอื่น. —ฟิลิปปอย 4:8.
▪ พยายามอย่ามองดูสิ่งที่กระตุ้นความรู้สึกที่ไม่เหมาะสม.—บทเพลงสรรเสริญ 119:37.
▪ อธิษฐานขอ “กำลังที่มากกว่าปกติ.”—2 โกรินโธ 4:7, ล.ม.
▪ พยายามหมกมุ่นกับการทำกิจกรรมของคริสเตียน.—1 โกรินโธ 15:58.
[กรอบ/ภาพหน้า 20]
ความช่วยเหลือเพิ่มเติม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเอาชนะนิสัยสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง ดูบท 25 และ 26 ของหนังสือคำถามที่หนุ่มสาวถาม . . . คำตอบที่ได้ผล จัดพิมพ์โดยพยานพระยะโฮวา.