ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

ทัศนะที่สมดุลเรื่องธรรมเนียมอันเป็นที่นิยม

ทัศนะที่สมดุลเรื่องธรรมเนียมอันเป็นที่นิยม

ทัศนะ​ของ​คัมภีร์​ไบเบิล

ทัศนะ​ที่​สมดุล​เรื่อง​ธรรมเนียม​อัน​เป็น​ที่​นิยม

“ไม่​มี​แนว​การ​ประพฤติ​ใด​ที่​ไม่​ถูก​ประณาม​ใน​บาง​เวลา​และ​ใน​บาง​ที่ และ​ใน​เวลา​อื่น​และ​ที่​อื่น​กลับ​มี​การ​ปฏิบัติ​เหมือน​เป็น​พันธะ​หน้า​ที่.”

โดย​ข้อ​สังเกต​นี้ วิลเลียม เลกกีย์ นัก​ประวัติศาสตร์​ชาว​ไอร์แลนด์​สรุป​เกี่ยว​กับ​ธรรมชาติ​ที่​ไม่​แน่นอน​ของ​มนุษย์. คำ​กล่าว​ของ​เขา​อาจ​ใช้​ได้​กับ​ธรรมเนียม​และ​ประเพณี​ตลอด​ทุก​ยุค​ทุก​สมัย. ที่​จริง กิจ​ปฏิบัติ​หลาย​อย่าง​ซึ่ง​ครั้ง​หนึ่ง​เคย​ถือ​กัน​ว่า​เป็น​ส่วน​สำคัญ​ของ​ชีวิต​ประจำ​วัน​กลับ​ถูก​ประณาม​ใน​เวลา​ต่อ​มา. เรื่อง​นี้​ไม่​น่า​แปลก​ใจ เพราะ​คริสเตียน​อัครสาวก​เปาโล​กล่าว​ว่า “ฉาก​ของ​โลก​นี้​กำลัง​เปลี่ยน​ไป.”—1 โกรินโธ 7:31, ล.ม.

ถูก​แล้ว สังคม​มนุษย์​เปลี่ยน​แปลง​อยู่​เสมอ. เรื่อง​นี้​มัก​เห็น​ได้​จาก​การ​เปลี่ยน​แปลง​อย่าง​กว้างขวาง​ใน​เรื่อง​ทัศนะ​และ​นิสัย​ทาง​สังคม. คริสเตียน​ต้อง “ไม่​เป็น​ส่วน​ของ​โลก” นั่น​คือ พวก​เขา​แยก​ตัว​อยู่​ต่าง​หาก​จาก​สังคม​มนุษย์​ที่​เหินห่าง​จาก​พระเจ้า. กระนั้น คัมภีร์​ไบเบิล​ยอม​รับ​ว่า คริสเตียน​อยู่ “ใน​โลก” และ​ไม่​ได้​สั่ง​ให้​คริสเตียน​แยก​ตัว​อยู่​โดด​เดี่ยว. ดัง​นั้น ทัศนะ​ที่​สมดุล​เรื่อง​ธรรมเนียม​ต่าง ๆ จึง​เป็น​เรื่อง​สำคัญ​มาก.—โยฮัน 17:11, 14-16, ล.ม. 2 โกรินโธ 6:14-17; เอเฟโซ 4:17-19; 2 เปโตร 2:20.

ธรรมเนียม​คือ​อะไร?

ธรรมเนียม​คือ​สิ่ง​ที่​ปฏิบัติ​กัน​ใน​ชีวิต​ทาง​สังคม​เฉพาะ​ใน​บาง​แห่ง​หรือ​ใน​บาง​ชน​ชั้น. ธรรมเนียม​บาง​อย่าง เช่น​มารยาท​ที่​โต๊ะ​อาหาร​และ​มารยาท​สังคม​อาจ​เกิด​มา​จาก​ความ​จำเป็น​ที่​ต้อง​กำหนด​พฤติกรรม​ของ​ผู้​คน​ที่​ทำ​กิจกรรม​ร่วม​กัน​เป็น​กลุ่ม ซึ่ง​จะ​ช่วย​ให้​เขา​ปฏิบัติ​ต่อ​กัน​อย่าง​สุภาพ​และ​มี​ความ​นับถือ​ซึ่ง​กัน​และ​กัน. ใน​กรณี​เช่น​นี้ มารยาท​สังคม​อาจ​เปรียบ​ได้​กับ​น้ำมัน​เครื่อง ที่​หล่อลื่น​สัมพันธภาพ​ของ​มนุษย์.

ธรรมเนียม​ได้​รับ​อิทธิพล​อย่าง​ลึกซึ้ง​จาก​ศาสนา. จริง ๆ แล้ว ธรรมเนียม​หลาย​อย่าง​มี​ต้นตอ​มา​จาก​การ​ถือ​โชค​ลาง​ใน​สมัย​โบราณ​และ​แนว​คิด​ทาง​ศาสนา​ที่​ไม่​เป็น​ไป​ตาม​หลัก​พระ​คัมภีร์. ตัว​อย่าง​เช่น การ​มอบ​ดอกไม้​แก่​ผู้​สูญ​เสีย​ผู้​ที่​ตน​รัก​ไป​ใน​ความ​ตาย​อาจ​มี​ต้นตอ​มา​จาก​การ​ถือ​โชค​ลาง​ทาง​ศาสนา. * นอก​จาก​นี้ สี​ฟ้า—ซึ่ง​มัก​จะ​คู่​กับ​ทารก​เพศ​ชาย—เคย​คิด​กัน​ว่า​จะ​ไล่​ปิศาจ​ไป. เคย​มี​การ​ใช้​เครื่อง​สำอาง​ทา​ขน​ตา​เพื่อ​ป้องกัน​สายตา​ชั่ว​ร้าย ขณะ​ที่​ใช้​ลิปสติก​เพื่อ​ป้องกัน​ปิศาจ​ไม่​ให้​เข้า​สิง​ผู้​หญิง​ทาง​ปาก​ของ​เธอ. แม้​แต่​ธรรมเนียม​ที่​ไม่​เป็น​พิษ​เป็น​ภัย​อย่าง​การ​ปิด​ปาก​เวลา​หาว​ก็​อาจ​มี​ต้นตอ​จาก​ความ​คิด​ที่​ว่า​จิตวิญญาณ​ของ​คน​เรา​อาจ​หลุด​ออก​จาก​ร่าง​ทาง​ปาก​ที่​เปิด​กว้าง. แต่​เมื่อ​เวลา​ผ่าน​ไป ความ​เกี่ยว​ข้อง​ทาง​ศาสนา​ก็​ค่อย ๆ เลือน​หาย​ไป และ​ใน​ปัจจุบัน​กิจ​ปฏิบัติ​และ​ธรรมเนียม​ดัง​กล่าว​ไม่​มี​นัย​สำคัญ​ทาง​ศาสนา​เลย.

ความ​ห่วงใย​ของ​คริสเตียน

เมื่อ​คริสเตียน​คน​หนึ่ง​ต้อง​ตัดสิน​ใจ​ว่า​จะ​ทำ​ตาม​ธรรมเนียม​บาง​อย่าง​หรือ​ไม่ เขา​ควร​ห่วงใย​เป็น​อันดับ​แรก​ว่า ทัศนะ​ของ​พระเจ้า​ดัง​ที่​บอก​ไว้​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​เป็น​เช่น​ไร. ใน​อดีต พระเจ้า​ทรง​ประณาม​กิจ​ปฏิบัติ​บาง​อย่าง​ซึ่ง​อาจ​เป็น​ที่​ยอม​รับ​ใน​บาง​ชุมชน. กิจ​ปฏิบัติ​เหล่า​นี้​รวม​ไป​ถึง​การ​บูชายัญ​เด็ก, การ​ใช้​เลือด​ใน​ทาง​ผิด, และ​กิจ​ปฏิบัติ​ทาง​เพศ​แบบ​ต่าง ๆ. (เลวีติโก 17:13, 14; 18:1-30; พระ​บัญญัติ 18:10) ใน​ทำนอง​เดียว​กัน ธรรมเนียม​บาง​อย่าง​ที่​เป็น​เรื่อง​ธรรมดา​ใน​ปัจจุบัน​ไม่​ลง​รอย​กับ​หลักการ​ของ​คัมภีร์​ไบเบิล​อย่าง​ชัดเจน. ธรรมเนียม​เหล่า​นี้​รวม​ไป​ถึง​ธรรมเนียม​ที่​ไม่​เป็น​ไป​ตาม​หลัก​คัมภีร์​ไบเบิล​ซึ่ง​เกี่ยว​ข้อง​กับ​วัน​นักขัตฤกษ์​ทาง​ศาสนา เช่น วัน​คริสต์มาส​และ​วัน​อีสเตอร์ หรือ​กิจ​ปฏิบัติ​ที่​ถือ​โชค​ลาง​ซึ่ง​เกี่ยว​ข้อง​กับ​ลัทธิ​ภูตผี​ปิศาจ.

แต่​จะ​ว่า​อย่าง​ไร​กับ​ธรรมเนียม​ที่​อาจ​เคย​พัวพัน​กับ​กิจ​ปฏิบัติ​ที่​น่า​สงสัย​แต่​ใน​ปัจจุบัน​นี้​ส่วน​ใหญ่​ถือ​กัน​ว่า​เป็น​มารยาท​สังคม? ตัว​อย่าง เช่น ธรรมเนียม​งาน​แต่งงาน​ที่​นิยม​กัน​หลาย​ธรรมเนียม—รวม​ถึง​การ​แลก​แหวน​และ​การ​รับประทาน​ขนม​เค้ก—อาจ​มี​ต้นตอ​แบบ​นอก​รีต. นี่​หมายความ​ว่า​คริสเตียน​ถูก​ห้าม​ไม่​ให้​ปฏิบัติ​ตาม​ธรรมเนียม​เหล่า​นี้​กระนั้น​ไหม? คริสเตียน​ต้อง​ตรวจ​สอบ​ธรรมเนียม​แต่​ละ​อย่าง​ของ​ชุมชน​อย่าง​ละเอียด​ยิบ เพื่อ​จะ​รู้​ว่า​มี​ที่​ใด​หรือ​ยุค​สมัย​ใด​ที่​ธรรมเนียม​นั้น​มี​ความหมาย​ที่​ผิด​หลัก​พระ​คัมภีร์​ไหม?

เปาโล​อธิบาย​ว่า “พระ​วิญญาณ​ของ​พระ​ยะโฮวา​อยู่​ที่​ใด เสรีภาพ​ก็​อยู่​ที่​นั่น.” (2 โกรินโธ 3:17, ล.ม.; ยาโกโบ 1:25) พระเจ้า​ทรง​ประสงค์​ให้​เรา​ใช้​เสรีภาพ​นี้ ไม่​ใช่​เพื่อ​กระตุ้น​ให้​เกิด​ความ​ปรารถนา​อัน​เห็น​แก่​ตัว แต่​เพื่อ​ฝึกฝน​ความ​สามารถ​ใน​การ​สังเกต​เข้าใจ​ที่​จะ​แยก​ออก​ว่า​อะไร​ถูก​อะไร​ผิด. (ฆะลาเตีย 5:13; เฮ็บราย 5:14, ล.ม.; 1 เปโตร 2:16) ดัง​นั้น ใน​เรื่อง​ที่​ไม่​เป็น​การ​ละเมิด​หลักการ​ของ​คัมภีร์​ไบเบิล​อย่าง​เห็น​ได้​ชัด พยาน​พระ​ยะโฮวา​ไม่​ตั้ง​กฎ​ตาย​ตัว. แทน​ที่​จะ​ทำ​อย่าง​นั้น คริสเตียน​แต่​ละ​คน​ต้อง​พิจารณา​สภาพการณ์​นั้น ๆ และ​ทำ​การ​ตัดสิน​ใจ​เป็น​ส่วน​ตัว.

เห็น​แก่​ประโยชน์​ของ​ผู้​อื่น

นี่​หมายความ​ว่า เหมาะ​สม​เสมอ​ที่​จะ​เข้า​ส่วน​ใน​ธรรมเนียม​บาง​อย่าง​ตราบ​ใด​ที่​ธรรมเนียม​นั้น​ไม่​ได้​ละเมิด​คำ​สอน​ของ​คัมภีร์​ไบเบิล​โดย​ตรง​อย่าง​นั้น​หรือ? ไม่​ใช่. (ฆะลาเตีย 5:13) เปาโล​ชี้​ให้​เห็น​ว่า คริสเตียน​ไม่​ควร​เห็น​แต่​ประโยชน์​ของ​ตัว​เอง “แต่​เห็น​แก่​ประโยชน์​ของ​คน​ทั้ง​หลาย.” เขา​ควร “กระทำ​ทุก​สิ่ง​ให้​เป็น​ที่​ถวาย​เกียรติยศ​แก่​พระเจ้า” และ​ไม่​เป็น​เหตุ​ให้​คน​อื่น​สะดุด. (1 โกรินโธ 10:31-33) ดัง​นั้น คน​ที่​แสวง​หา​ความ​โปรดปราน​จาก​พระเจ้า​คง​อยาก​จะ​ถาม​ตัว​เอง​ว่า ‘คน​อื่น​มอง​ธรรมเนียม​นี้​อย่าง​ไร? ผู้​คน​ใน​ชุมชน​ถือ​ว่า​ธรรมเนียม​นั้น​มี​ความหมาย​ไป​ใน​ทาง​ที่​ไม่​ดี​ไหม? ถ้า​ฉัน​เข้า​ส่วน​ร่วม​นั่น​จะ​บอก​เป็น​นัย​ว่า​ฉัน​เห็น​ด้วย​กับ​กิจ​ปฏิบัติ​หรือ​แนว​ความ​คิด​ซึ่ง​ไม่​เป็น​ที่​พอ​พระทัย​พระเจ้า​ไหม?’—1 โกรินโธ 9:19, 23; 10:23, 24.

แม้​ว่า​โดย​ทั่ว​ไป​ธรรมเนียม​บาง​อย่าง​ไม่​เป็น​พิษ​เป็น​ภัย แต่​อาจ​ทำ​กัน​ใน​ท้องถิ่น​แบบ​ที่​ขัด​กับ​หลักการ​ของ​คัมภีร์​ไบเบิล. ตัว​อย่าง​เช่น เฉพาะ​ใน​บาง​โอกาส​การ​มอบ​ดอกไม้​อาจ​มี​ความหมาย​พิเศษ​ซึ่ง​ขัด​กับ​คำ​สอน​ของ​คัมภีร์​ไบเบิล. ดัง​นั้น คริสเตียน​ควร​คำนึง​ถึง​อะไร​เป็น​อันดับ​แรก? ถึง​แม้​อาจ​มี​เหตุ​ผล​ที่​จะ​พิจารณา​ต้นตอ​ของ​ธรรมเนียม​บาง​อย่าง​โดย​เฉพาะ แต่​ใน​บาง​กรณี​ก็​นับ​ว่า​สำคัญ​กว่า​ที่​จะ​พิจารณา​ว่า​ธรรมเนียม​นั้น​มี​ความหมาย​อะไร​ต่อ​ผู้​คน​ใน​เวลา​นั้น​และ​ใน​ที่​ซึ่ง​เรา​อยู่​ใน​ตอน​นั้น. หาก​ธรรมเนียม​อย่าง​หนึ่ง​มี​ความหมาย​ที่​ไม่​เป็น​ไป​ตาม​หลัก​พระ​คัมภีร์​หรือ​มี​ความหมาย​ใน​แง่​ลบ​ระหว่าง​ช่วง​ใด​ช่วง​หนึ่ง​โดย​เฉพาะ​ใน​ปี​นั้น​หรือ​ภาย​ใต้​สภาพการณ์​บาง​อย่าง คริสเตียน​อาจ​ตัดสิน​ใจ​อย่าง​ฉลาด​ที่​จะ​หลีก​เลี่ยง​ธรรมเนียม​นั้น​ใน​ช่วง​เวลา​ดัง​กล่าว.

เปาโล​อธิษฐาน​ขอ​ให้​คริสเตียน​ทำ​ให้​ความ​รัก​ของ​พวก​เขา​อุดม​ด้วย​ความ​รู้​ถ่องแท้​และ​การ​สังเกต​เข้าใจ​ครบ​ถ้วน​ต่อ ๆ ไป. โดย​รักษา​ทัศนะ​ที่​สมดุล​เรื่อง​ธรรมเนียม​อัน​เป็น​ที่​นิยม คริสเตียน “ตรวจ​ดู​ให้​รู้​แน่​ถึง​สิ่ง​ที่​สำคัญ​กว่า เพื่อ​ท่าน​จะ​ปราศจาก​ตำหนิ และ​ไม่​ทำ​ให้​คน​อื่น​สะดุด.” (ฟิลิปปอย 1:9, 10, ล.ม.) ใน​เวลา​เดียว​กัน พวก​เขา​จะ ‘ให้​ความ​มี​เหตุ​ผล​ของ​พวก​เขา​ปรากฏ​แก่​คน​ทั้ง​ปวง.’—ฟิลิปปอย 4:5, ล.ม.

[เชิงอรรถ]

^ วรรค 8 ตาม​ที่​นัก​มานุษยวิทยา​บาง​คน​กล่าว บาง​ครั้ง​ช่อ​ดอกไม้​ถูก​ใช้​เป็น​เครื่อง​บูชา​คน​ตาย​เพื่อ​ไม่​ให้​มา​รังควาน​คน​ที่​มี​ชีวิต​อยู่.

[ภาพ​หน้า 26]

ธรรมเนียม​โบราณ​บาง​ธรรมเนียม เช่น การ​ปิด​ปาก​เวลา​หาว​และ​การ​มอบ ดอกไม้​แก่​ผู้​สูญ​เสีย​คน​ที่​ตน​รัก​ไป​ใน​ความ​ตาย ไม่​ได้​คง​ความหมาย​ดั้งเดิม​อีก​ต่อ​ไป​แล้ว