บทความศึกษา 14
การโจมตีจากทางเหนือ!
“มีกองทัพตั๊กแตนบุกเข้ามาในแผ่นดินของผม”—ยอล. 1:6
เพลง 95 แสงที่สว่างขึ้นเรื่อย ๆ
ใจความสำคัญ *
1. พี่น้องรัสเซลล์และเพื่อน ๆ ใช้วิธีอะไรเพื่อศึกษาคัมภีร์ไบเบิล? และทำไมวิธีนั้นถึงดีมาก?
เมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว พี่น้องซี. ที. รัสเซลล์และเพื่อน ๆ ซึ่งเป็นนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกลุ่มเล็ก ๆ ได้เริ่มประชุมด้วยกัน พวกเขาอยากเข้าใจความจริงในคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับพระยะโฮวาพระเจ้า พระเยซูคริสต์ ค่าไถ่ และอยากรู้ว่าคนตายแล้วเป็นอย่างไร วิธีของพวกเขาไม่ได้ซับซ้อนอะไร พวกเขาให้คนหนึ่งตั้งคำถาม แล้วทุกคนก็จะค้นคว้าข้อคัมภีร์ทุกข้อที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น พอได้คำตอบ พวกเขาก็จะจดบันทึกเรื่องนั้นไว้ และโดยการช่วยเหลือจากพระยะโฮวา คริสเตียนที่ซื่อสัตย์เหล่านั้นเข้าใจความจริงพื้นฐานในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเป็นความรู้ที่มีค่ามากสำหรับพวกเราจนถึงทุกวันนี้
2. อะไรอาจทำให้เราเข้าใจคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลผิด?
2 ไม่นานหลังจากนั้น นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกลุ่มนี้ก็ได้เจอกับตัวเองว่า การเข้าใจคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลนั้นไม่เหมือนการเข้าใจคำสอนพื้นฐานในคัมภีร์ไบเบิล ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? เหตุผลหนึ่งก็คือ เราจะเข้าใจคำพยากรณ์เต็มที่ก็ต่อเมื่อคำพยากรณ์นั้นกำลังเกิดขึ้นจริงหรือได้เกิดขึ้นไปแล้ว แต่ก็มีอีกเหตุผลหนึ่งด้วย เพื่อจะเข้าใจคำพยากรณ์ได้ถูกต้อง เราต้องดูท้องเรื่องว่าคำพยากรณ์นั้นกำลังพูดถึงอะไร เพราะถ้าเราดูแค่บางส่วนของคำพยากรณ์และไม่สนใจส่วนอื่น เราก็อาจเข้าใจคำพยากรณ์นั้นผิดได้ ซึ่งเป็นอย่างนั้นกับคำพยากรณ์ของโยเอลด้วย ตอนนี้ให้
เรามาดูว่าทำไมเราต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับคำพยากรณ์นี้3-4. เราเคยเข้าใจคำพยากรณ์ในโยเอล 2:7-9 อย่างไร?
3 อ่านโยเอล 2:7-9 โยเอลบอกล่วงหน้าเกี่ยวกับภัยพิบัติจากฝูงตั๊กแตนซึ่งทำให้แผ่นดินอิสราเอลเสียหาย พวกมันมีฟันและขากรรไกรเหมือนสิงโต พวกมันกัดกินทุกอย่างที่ขวางหน้า (ยอล. 1:4, 6) เป็นเวลาหลายปีที่เราเข้าใจว่าคำพยากรณ์นี้พูดถึงคนของพระเจ้าที่ประกาศเหมือนฝูงตั๊กแตนที่ไม่มีอะไรมาหยุดได้ เราเข้าใจว่าการประกาศนี้สร้างความเสียหายให้กับ “แผ่นดิน” หรือคนที่อยู่ใต้อิทธิพลของพวกผู้นำศาสนา *
4 ถ้าเราอ่านแค่โยเอล 2:7-9 ก็ดูเหมือนว่ามีเหตุผลที่จะเข้าใจแบบนั้น แต่ถ้าเราดูท้องเรื่องของคำพยากรณ์นี้ก็จะเห็นว่าเราต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจใหม่ ให้เรามาดูเหตุผล 4 อย่างที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจในเรื่องนี้
เหตุผล 4 อย่างที่ต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจใหม่
5-6. เราอาจมีคำถามอะไรเมื่ออ่าน (ก) โยเอล 2:20? (ข) โยเอล 2:25?
5 เหตุผลอย่างแรก ขอสังเกตคำสัญญาของพระยะโฮวาเกี่ยวกับภัยพิบัติจากฝูงตั๊กแตน พระองค์บอกว่า “เราจะไล่คนที่มาจากทางเหนือ [ฝูงตั๊กแตน] ไปให้ไกลจากพวกเจ้า” (ยอล. 2:20) ถ้าฝูงตั๊กแตนหมายถึงพยานพระยะโฮวาที่เชื่อฟังคำสั่งของพระเยซูที่ให้ไปประกาศและสอนคนให้เป็นสาวก ทำไมพระยะโฮวาต้องไล่พวกเขาออกไป? (อสค. 33:7-9; มธ. 28:19, 20) พระองค์จะไม่ไล่ผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์แน่ ๆ แต่พระองค์จะไล่บางคนหรืออะไรบางอย่างที่เป็นศัตรูของผู้รับใช้พระองค์
6 เหตุผลอย่างที่สอง ขอเราดูโยเอล 2:25 พระยะโฮวาบอกว่า “เราจะชดเชยที่เราส่งตั๊กแตนฝูงใหญ่ไปกินพืชผลของพวกเจ้าหลายปี คือฝูงตั๊กแตน ตั๊กแตนตัวอ่อน ตั๊กแตนที่หิวจัด และตั๊กแตนจอมเขมือบ” ขอสังเกตว่าพระยะโฮวาสัญญาว่าจะ “ชดเชย” ความเสียหายที่ฝูงตั๊กแตนได้ทำ ถ้าฝูงตั๊กแตนหมายถึงคนของพระยะโฮวาที่ประกาศเรื่องรัฐบาลของพระเจ้า ก็แสดงว่าข่าวสารนั้นสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นอย่างนั้นหรือ? จริง ๆ แล้วข่าวสารนั้นสามารถช่วยชีวิตคนและกระตุ้นคนชั่วให้กลับใจซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกเขาต่างหาก—อสค. 33:8, 19
7. คำว่า “จากนั้น” ในโยเอล 2:28, 29 ทำให้เราเข้าใจอะไร?
7 อ่านโยเอล 2:28, 29 เหตุผลอย่างที่สามเกี่ยวข้องกับลำดับเหตุการณ์ของคำพยากรณ์นี้ ขอสังเกตว่าพระยะโฮวาบอกว่า “จากนั้น เราจะให้พลังของเรา” นี่แสดงว่าพระยะโฮวาจะให้พลังบริสุทธิ์หลังจากที่ฝูงตั๊กแตนทำงานเสร็จแล้ว ถ้าตั๊กแตนหมายถึงคนที่ประกาศเรื่องรัฐบาลของพระเจ้า ทำไมพระยะโฮวาถึงให้พลังบริสุทธิ์กับพวกเขาหลังจากพวกเขาประกาศเสร็จแล้ว? ในความเป็นจริง ถ้าพวกเขาไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพลังบริสุทธิ์ของพระเจ้า พวกเขาไม่มีทางทำงานประกาศเป็นสิบ ๆ ปีทั้ง ๆ ที่มีคนพยายามต่อต้านและสั่งห้ามงานของพวกเขา
8. ฝูงตั๊กแตนที่พูดถึงในวิวรณ์ 9:1-11 หมายถึงใคร? (ดูภาพหน้าปก)
8 อ่านวิวรณ์ 9:1-11 ตอนนี้ให้เรามาดูเหตุผลอย่างที่สี่ เมื่อก่อนเราเคยเข้าใจว่าภัยพิบัติจากฝูงตั๊กแตนใน หนังสือโยเอลหมายถึงงานประกาศของเราเพราะในหนังสือวิวรณ์มีคำพยากรณ์ที่คล้าย ๆ กัน คำพยากรณ์นั้นพูดถึงฝูงตั๊กแตนที่มีหน้าเหมือนมนุษย์และ “บนหัวพวกมันมีสิ่งที่ดูเหมือนมงกุฎทองคำ” (วว. 9:7) พวกมันทรมาน “คน [ศัตรูของพระเจ้า] ที่ไม่มีดวงตราของพระเจ้าบนหน้าผาก” เป็นเวลา 5 เดือนซึ่งพอ ๆ กับอายุของตั๊กแตน (วว. 9:4, 5) คำพยากรณ์นั้นดูเหมือนว่าหมายถึงผู้ถูกเจิมของพระยะโฮวา พวกเขาประกาศคำพิพากษาของพระเจ้าต่อโลกชั่วนี้อย่างกล้าหาญ ซึ่งทำให้ศัตรูของพระเจ้ารู้สึกทุกข์ทรมาน
9. ฝูงตั๊กแตนที่โยเอลและยอห์นเห็นไม่เหมือนกันอย่างไร?
9 ถึงคำพยากรณ์ในวิวรณ์และโยเอลจะคล้ายกัน แต่ก็มีบางอย่างที่ต่างกันอย่างชัดเจน ขอให้คิดถึงเรื่องเหล่านี้ คำพยากรณ์ของโยเอลพูดถึงฝูงตั๊กแตนที่สร้างความเสียหายกับพืชพรรณ (ยอล. 1:4, 6, 7) แต่ในนิมิตของยอห์น พวกตั๊กแตน “ได้รับคำสั่งไม่ให้ทำความเสียหายกับพืชพรรณบนโลก” (วว. 9:4) ฝูงตั๊กแตนที่โยเอลเห็นมาจากทางเหนือ (ยอล. 2:20) แต่ฝูงตั๊กแตนที่ยอห์นเห็นมาจากขุมลึก (วว. 9:2, 3) โยเอลบอกว่าฝูงตั๊กแตนจะถูกไล่ออกไป แต่ในวิวรณ์บอกว่าฝูงตั๊กแตนไม่ได้ถูกไล่ แต่ถูกปล่อยให้ทำงานของพวกมันจนสำเร็จและก็ไม่มีตรงไหนที่บอกว่าพระยะโฮวาไม่พอใจพวกมัน (ดูกรอบ “ คำพยากรณ์เรื่องฝูงตั๊กแตน ความเหมือนที่แตกต่าง”)
10. ขอยกตัวอย่างจากคัมภีร์ไบเบิลว่าทำไมเป็นไปได้ที่ฝูงตั๊กแตนที่โยเอลเห็นกับที่ยอห์นเห็นมีความหมายไม่เหมือนกัน
วิวรณ์ 5:5 เรียกพระเยซูว่า “สิงโตจากตระกูลยูดาห์” แต่ใน 1 เปโตร 5:8 ก็เรียกซาตานว่า “สิงโตคำราม” จากเหตุผล 4 อย่างและปัญหาต่าง ๆ ที่เราได้คุยกันทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจคำพยากรณ์ในโยเอลใหม่ แล้วเราควรเข้าใจคำพยากรณ์นี้อย่างไร?
10 เราเห็นว่าสองคำพยากรณ์นี้ต่างกันอย่างชัดเจน เราเลยสรุปได้ว่าสองคำพยากรณ์นี้ไม่เกี่ยวข้องกัน ดังนั้น ฝูงตั๊กแตนในโยเอลไม่เหมือนฝูงตั๊กแตนในวิวรณ์ใช่ไหม? ใช่ ทั้งสองเป็นคนละเรื่องกัน มีหลายครั้งที่คัมภีร์ไบเบิลพูดถึงสิ่งเดียวกันแต่มีความหมายไม่เหมือนกัน เช่น ในคำพยากรณ์นี้หมายถึงอะไร?
11. โยเอล 1:6 และ 2:1, 8, 11 ช่วยเราอย่างไรให้รู้ว่าฝูงตั๊กแตนเป็นใคร?
11 เมื่อเราดูท้องเรื่องของคำพยากรณ์ในโยเอลมากขึ้น เราก็เข้าใจว่าคำพยากรณ์นี้ต้องบอกล่วงหน้าถึงการโจมตีทางทหาร (ยอล. 1:6; 2:1, 8, 11) พระยะโฮวาบอกว่า พระองค์จะใช้กองทัพ “ฝูงใหญ่” ของพระองค์ (ทหารบาบิโลน)ไปลงโทษชาวอิสราเอลที่ไม่เชื่อฟัง (ยอล. 2:25) กองทัพที่บุกเข้ามานั้นถูกเรียกว่า “คนที่มาจากทางเหนือ” การเรียกแบบนั้นเหมาะจริง ๆ เพราะบาบิโลนบุกโจมตีอิสราเอลจากทางเหนือ (ยอล. 2:20) กองทัพนั้นเป็นเหมือนฝูงตั๊กแตนที่เป็นระเบียบ โยเอลบอกว่าพวกทหาร “ต่างคนต่างเดินหน้าไปเรื่อย ๆ. . . พวกเขาวิ่งเข้าไปในเมืองและวิ่งบนกำแพง ปีนเข้าบ้านทางหน้าต่างเหมือนขโมย” (ยอล. 2:8, 9) คุณพอจะคิดภาพออกไหม? มีทหารอยู่ทุกที่เต็มไปหมด ไม่มีแม้แต่ที่จะซ่อน ไม่มีใครหนีกองทัพบาบิโลนได้เลย
12. คำพยากรณ์ของโยเอลเรื่องฝูงตั๊กแตนเกิดขึ้นจริงอย่างไร?
12 ชาวบาบิโลน (หรือชาวเคลเดีย) ได้บุกโจมตีกรุงเยรูซาเล็มในปี 607 ก่อน ค.ศ. การโจมตีของพวกเขาเหมือนกับฝูงตั๊กแตน คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “กษัตริย์ของชาวเคลเดียมาฆ่าคนหนุ่ม ๆ ด้วยดาบ . . . เขาไม่สงสารคนหนุ่มหรือหญิงสาว คนแก่หรือคนอ่อนแอ พระเจ้ามอบทุกสิ่งไว้ในมือกษัตริย์ของชาวเคลเดีย กษัตริย์ของชาวเคลเดียเผาวิหารของพระเจ้าเที่ยงแท้ พังกำแพงกรุงเยรูซาเล็ม เอาไฟเผาป้อมปราการทั้งหมด และทำลายทุกสิ่งที่มีค่า” (2 พศ. 36:17, 19) เมื่อบาบิโลนได้ทำลายแผ่นดินนั้นแล้ว ผู้คนก็พูดว่า “มันเป็นที่ที่รกร้างว่างเปล่า ไม่มีคนและสัตว์อยู่เลย และเคยเป็นของชาวเคลเดียมาแล้ว”—ยรม. 32:43
13. ขออธิบายความหมายของเยเรมีย์ 16:16, 18
13 ประมาณ 200 ปีหลังจากที่โยเอลพยากรณ์ พระยะโฮวาให้เยเรมีย์บอกล่วงหน้าเกี่ยวกับรายละเอียดอย่างอื่นของการโจมตีนั้น พระองค์บอกว่าผู้ที่มาโจมตีจะค้นหาชาวอิสราเอลที่ทำสิ่งชั่วและจับพวกเขาทุกคน “พระยะโฮวาบอกว่า ‘เราจะใช้คนไปเรียกชาวประมงมาหลายคน ชาวประมงเหล่านั้นจะหาพวกเขาเหมือนหาปลา แล้วเราจะใช้คนไปเรียกนายพรานมาหลายคน นายพรานเหล่านั้นจะหาพวกเขาตามภูเขาและเนินเขาทุกลูก และตามซอกหินด้วย . . . เราจะตอบแทนความผิดและบาปของพวกเขาให้สาสม’” ไม่ว่าชาวอิสราเอลที่ไม่กลับใจจะหนีไปอยู่ในมหาสมุทรหรือในป่า พวกเขาก็ไม่มีทางหนีพ้นจากกองทัพบาบิโลนได้—ยรม. 16:16, 18
การฟื้นฟู
14. โยเอล 2:28, 29 เกิดขึ้นจริงเมื่อไร?
14 โยเอลมีข่าวดีที่จะบอกคือแผ่นดินจะกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง (ยอล. 2:23-26) หลังจากนั้นในอนาคตจะมีความรู้เรื่องความจริงมากมายให้กับทุกคน พระยะโฮวาบอกว่า “เราจะให้พลังของเรากับคนทุกประเภท พวกลูกชายลูกสาวของเจ้าจะพยากรณ์. . .แม้แต่ทาสชายหญิง เราก็จะให้พลังของเรากับพวกเขาในวันนั้น” (ยอล. 2:28, 29) เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่ชาวอิสราเอลกลับจากบาบิโลนไปยังบ้านเกิดเมืองนอน แต่เกิดขึ้นหลายร้อยปีหลังจากนั้นในวันเพ็นเทคอสต์ปี ค.ศ. 33 เรารู้ได้อย่างไร?
15. จากกิจการ 2:16, 17 เปโตรใช้คำไหนในคำพยากรณ์ที่โยเอล 2:28? และเรื่องนี้ทำให้เราเห็นอะไร?
15 ในวันเพ็นเทคอสต์ อัครสาวกเปโตรได้รับการดลใจให้บอกว่า เหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่เกิดขึ้นในวันนั้นเป็นไปตามโยเอล 2:28, 29 ราว ๆ 9 โมงเช้าพระเจ้าได้ให้พลังบริสุทธิ์และคนที่ได้รับพลังนั้นก็เริ่ม “พูดถึงสิ่งมหัศจรรย์ต่าง ๆ ของพระเจ้า” (กจ. 2:11) ตอนที่เปโตรยกคำพยากรณ์ของโยเอลมาพูด เขาได้รับการดลใจให้ใช้บางคำที่ไม่เหมือนกับโยเอล คุณสังเกตไหมว่าเป็นคำไหน? (อ่านกิจการ 2:16, 17) แทนที่เปโตรจะเริ่มด้วยคำว่า “จากนั้น” เขากลับใช้คำว่า “ในสมัยสุดท้าย” ตามท้องเรื่องนี้หมายถึงสมัยสุดท้ายของระบบยิว ซึ่งก็คือไม่นานก่อนที่กรุงเยรูซาเล็มและวิหารจะถูกทำลาย ในช่วงนั้นพระเจ้าจะให้พลังบริสุทธิ์ของพระองค์กับ “คนทุกประเภท” เรื่องนี้ทำให้เห็นว่าคำพยากรณ์ที่โยเอล 2:28, 29 นั้นเกิดขึ้นจริงหลังจากที่ชาวอิสราเอลกลับไปยังบ้านเกิดเมืองนอนเป็นเวลานานแล้ว
16. พลังบริสุทธิ์ของพระเจ้ามีผลกับงานประกาศในศตวรรษแรกอย่างไร? และมีผลกับสมัยของเราอย่างไร?
คส. 1:23) เมื่อเปาโลใช้คำว่า “ทุกแห่ง” เขาหมายถึงโลกที่เป็นที่รู้จักในสมัยนั้น และด้วยความช่วยเหลือจากพลังบริสุทธิ์งานประกาศในทุกวันนี้จึงขยายออกไปมากขึ้นจริง ๆ จน “ถึงสุดขอบโลก”—กจ. 13:47 (ดูกรอบ “ เราจะให้พลังของเรา”)
16 หลังจากที่พระเจ้าให้พลังบริสุทธิ์กับคริสเตียนในศตวรรษแรกแล้ว พวกเขาก็เริ่มทำงานประกาศซึ่งในที่สุดก็ขยายไปทั่วโลก ตอนที่อัครสาวกเปาโลเขียนจดหมายถึงคริสเตียนในเมืองโคโลสีประมาณปี ค.ศ. 61 เขาพูดได้ว่าข่าวดีได้รับการ “ประกาศไปทุกแห่งทั่วใต้ฟ้า” แล้ว (อะไรที่เปลี่ยน?
17. มีการปรับเปลี่ยนความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับคำพยากรณ์เรื่องฝูงตั๊กแตนในหนังสือโยเอลอย่างไร?
17 อะไรที่เปลี่ยน? ตอนนี้เราได้เข้าใจคำพยากรณ์ในโยเอล 2:7-9 มากขึ้น เราเห็นชัดเจนว่าคำพยากรณ์นี้ไม่ได้หมายถึงงานประกาศอย่างกระตือรือร้นของเรา แต่หมายถึงการโจมตีของกองทัพบาบิโลนต่อกรุงเยรูซาเล็มในปี 607 ก่อน ค.ศ.
18. มีอะไรที่ไม่เปลี่ยนเกี่ยวกับคนของพระยะโฮวา?
18 แล้วอะไรที่ยังไม่เปลี่ยน? คนของพระยะโฮวาจะประกาศข่าวดีต่อไป ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน พวกเขาจะทำทุกอย่างเพื่อจะประกาศข่าวดีให้ได้ (มธ. 24:14) เราจะเชื่อฟังคำสั่งที่ให้ประกาศต่อ ๆ ไป ไม่มีรัฐบาลไหนจะมาขัดขวางเราได้ และเพราะพระยะโฮวาอวยพร เราเลยประกาศอย่างกล้าหาญและขยันขันแข็งมากกว่าที่เคยเป็นมา ขอให้เราถ่อมตัวยอมรับการชี้นำที่มาจากพระยะโฮวาเพื่อเข้าใจคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลต่อไป และมั่นใจว่าเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม พระองค์จะช่วยเราให้ “เข้าใจความจริงทั้งหมด”—ยน. 16:13
เพลง 97 ชีวิตอยู่ได้ด้วยคำสอนของพระเจ้า
^ วรรค 5 เป็นเวลาหลายปีที่เราเชื่อว่าคำพยากรณ์ในโยเอลบท 1 และ 2 หมายถึงงานประกาศในปัจจุบัน แต่เรามีเหตุผลที่ดี 4 อย่างซึ่งทำให้ต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ เหตุผลเหล่านี้มีอะไรบ้าง?
^ วรรค 3 ตัวอย่างเช่น ดูบทความ “สติปัญญาของพระยะโฮวาเห็นได้จากสิ่งที่พระองค์สร้าง” ในหอสังเกตการณ์ 15 เมษายน 2009 ว. 14-16