เลียนแบบความยุติธรรมและความเมตตาของพระยะโฮวา
“พวกเจ้าต้องพิพากษาอย่างยุติธรรม รักและเมตตากัน”—เศคาริยาห์ 7:9
1, 2. (ก) พระเยซูรู้สึกอย่างไรกับกฎหมายของพระเจ้า? (ข) พวกครูสอนศาสนาและพวกฟาริสีใช้กฎหมายของพระเจ้าในทางที่ผิดอย่างไร?
พระเยซูรักกฎหมายของโมเสส และเราไม่แปลกใจเพราะกฎหมายนี้มาจากพระยะโฮวาพ่อของท่านซึ่งเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน ที่สดุดี 40:8 บอกล่วงหน้าไว้ว่าพระเยซูจะรักกฎหมายของพระเจ้ามาก ข้อนั้นบอกว่า “พระเจ้าของผม ผมมีความสุขที่ได้ทำตามความประสงค์ของพระองค์ และกฎหมายของพระองค์อยู่ในใจผม” สิ่งที่พระเยซูพูดและทำแสดงให้เห็นว่ากฎหมายของพระเจ้าสมบูรณ์แบบ เป็นประโยชน์ และทุกอย่างที่เขียนไว้จะต้องเป็นไปตามนั้น—มัทธิว 5:17-19
2 พระเยซูต้องรู้สึกเสียใจแน่ ๆ ที่เห็นพวกครูสอนศาสนาและพวกฟาริสีใช้กฎหมายของพ่อของท่านในทางที่ผิด ซึ่งทำให้กฎหมายนั้นดูเหมือนไม่มีเหตุผล พระเยซูพูดกับพวกเขาว่า “พวกคุณถวายส่วน 1 ใน 10 ของสะระแหน่ เทียนข้าวเปลือก และยี่หร่า” นี่หมายความว่าพวกเขาเชื่อฟังเรื่องที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยในข้อกฎหมาย แล้วปัญหาของพวกเขาคืออะไร? พระเยซูอธิบายว่า แต่พวกเขา “กลับมองมัทธิว 23:23) พวกฟาริสีไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายและคิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น ๆ แต่พระเยซูเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมาย และเข้าใจด้วยว่ากฎหมายแต่ละข้อบอกอะไรเกี่ยวกับพระยะโฮวา
ข้ามเรื่องที่สำคัญกว่าในกฎหมายของโมเสส นั่นคือ ความยุติธรรม ความเมตตา” (3. เราจะเรียนอะไรในบทความนี้?
3 คริสเตียนไม่ได้อยู่ใต้กฎหมายของโมเสส (โรม 7:6) แต่ทำไมพระยะโฮวาให้บันทึกกฎหมายนั้นไว้ในคัมภีร์ไบเบิล? พระองค์ต้องการให้เราเข้าใจและเอา “เรื่องที่สำคัญกว่า” ของกฎหมายนั้นไปใช้ ซึ่งก็คือหลักการที่อยู่เบื้องหลังกฎหมาย ตัวอย่างเช่น เราได้เรียนหลักการอะไรจากการจัดเตรียมเรื่องเมืองลี้ภัย? ในบทความที่แล้ว เราได้บทเรียนหลายอย่างจากการดูว่าคนที่ฆ่าคนโดยไม่เจตนาต้องทำอะไรบ้าง ในบทความนี้ เราจะเรียนว่าเมืองลี้ภัยสอนอะไรเราเกี่ยวกับพระยะโฮวาและเราจะเลียนแบบคุณลักษณะของพระองค์ได้อย่างไร เราจะตอบ 3 คำถามต่อไปนี้ (1) เมืองลี้ภัยแสดงให้เราเห็นอย่างไรว่าพระยะโฮวาเมตตา? (2) พระเจ้ามองชีวิตอย่างไรและเมืองลี้ภัยสอนอะไรเราในเรื่องนี้? (3) เมืองลี้ภัยทำให้เราเห็นความยุติธรรมที่สมบูรณ์แบบของพระยะโฮวาอย่างไร? ตอนที่เราคุยกันเกี่ยวกับคำถามแต่ละข้อ ขอเราพยายามดูว่าเราจะเลียนแบบพระยะโฮวาพ่อที่อยู่ในสวรรค์อย่างไร—อ่านเอเฟซัส 5:1
ที่ตั้งของเมืองลี้ภัยแสดงถึงความเมตตาของพระเจ้า
4, 5. (ก) มีการทำอะไรเพื่อให้คนที่ฆ่าคนโดยไม่เจตนาสามารถหนีไปเมืองลี้ภัยได้ง่าย และทำไม? (ข) เรื่องนี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับพระยะโฮวา?
4 เมืองลี้ภัยทั้ง 6 เมืองต้องเป็นเมืองที่ไปถึงได้ง่าย พระยะโฮวาสั่งให้ชาวอิสราเอลเลือกเมืองลี้ภัยโดยให้ 3 เมืองอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน และอีก 3 เมืองอยู่ทางตะวันตก ทำไม? เพราะคนที่ฆ่าคนโดยไม่เจตนาสามารถไปถึงเมืองใดเมืองหนึ่งได้ง่ายและรวดเร็ว (กันดารวิถี 35:11-14) ทางไปเมืองลี้ภัยเหล่านั้นต้องอยู่ในสภาพที่ดีและเดินทางได้สะดวกเสมอ (เฉลยธรรมบัญญัติ 19:3) แหล่งอ้างอิงของชาวยิวบอกไว้ว่า จะมีป้ายตามทางเพื่อช่วยคนที่ฆ่าคนโดยไม่เจตนาให้รู้ทางไปเมืองเหล่านั้น การที่พระยะโฮวาให้มีเมืองลี้ภัยในอิสราเอลทำให้คนที่ฆ่าคนโดยไม่เจตนาไม่ต้องหนีไปอยู่ที่ดินแดนของคนต่างชาติซึ่งเขาอาจจะถูกล่อใจให้นมัสการพระเท็จ
5 ขอให้คิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระยะโฮวาสั่งไว้ชัดเจนว่าคนที่ฆ่าคนโดยเจตนาจะต้องตาย แต่พระองค์ต้องการให้โอกาสคนที่ฆ่าคนโดยไม่เจตนาให้ได้รับความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และการปกป้องคุ้มครอง เมื่อพูดถึงการจัดเตรียมเรื่องเมืองลี้ภัย นักวิจารณ์ด้านคัมภีร์ไบเบิลคนหนึ่งบอกว่า “ทุกอย่างเข้าใจง่าย ชัดเจน และไม่ยากเกินไปเอเฟซัส 2:4
ที่จะทำตาม” พระยะโฮวาไม่ใช่ผู้พิพากษาที่โหดร้ายที่อยากจะหาทางลงโทษผู้รับใช้ของพระองค์ แต่พระองค์ “มีเมตตาล้นเหลือ”—6. พวกฟาริสีเลียนแบบความเมตตาของพระยะโฮวาไหม? ขออธิบาย
6 แต่พวกฟาริสีไม่อยากเมตตาใคร ตัวอย่างเช่น แหล่งอ้างอิงของชาวยิวบอกไว้ว่าพวกฟาริสีจะไม่ให้อภัยคนที่ทำผิดเรื่องเดิมเกิน 3 ครั้ง พระเยซูแสดงให้เห็นว่าความคิดของพวกฟาริสีไม่ถูกต้องโดยใช้ตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องฟาริสีกับคนเก็บภาษีที่ยืนอธิษฐานใกล้ ๆ กันในวิหาร ฟาริสีคนนั้นพูดว่า “พระเจ้า ขอขอบคุณพระองค์ที่ผมไม่เหมือนคนอื่นที่เป็นขโมย หรือทำชั่ว หรือเล่นชู้ แล้วก็ไม่เหมือนคนเก็บภาษีคนนี้ด้วย” พระเยซูกำลังบอกอะไร? ท่านกำลังบอกว่าพวกฟาริสี “ชอบดูถูกคนอื่น” และไม่คิดว่าพวกเขาต้องแสดงความเมตตา—ลูกา 18:9-14
7, 8. (ก) คุณจะเลียนแบบความเมตตาของพระยะโฮวาได้อย่างไร? (ข) ทำไมเราต้องถ่อมตัวเพื่อจะให้อภัยคนอื่น?
7 อย่าเลียนแบบพวกฟาริสี แต่ขอให้เลียนแบบพระยะโฮวาโดยการแสดงความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจ (อ่านโคโลสี 3:13) ทำให้คนอื่นรู้สึกว่าง่ายที่จะเข้ามาขอโทษคุณ (ลูกา 17:3, 4) ให้ถามตัวเองว่า ‘ฉันพร้อมจะให้อภัยคนอื่นทั้ง ๆ ที่เขาทำให้ฉันรู้สึกไม่ดีหลายครั้งแล้วไหม? ฉันพยายามเต็มที่ไหมที่จะเป็นฝ่ายสร้างสันติกับคนที่มาทำให้ฉันรู้สึกไม่ดีหรือทำให้ฉันเจ็บ?’
8 เพื่อที่จะให้อภัยคนอื่นได้เราต้องเป็นคนถ่อม พวกฟาริสีคิดว่าพวกเขาดีกว่าคนอื่น พวกเขาจึงไม่อยากให้อภัย แต่พวกเราที่เป็นคริสเตียนต้องถ่อมตัวและ “มองว่าคนอื่นดีกว่าตัวเอง” เราต้องพร้อมจะให้อภัยคนอื่นอย่างเต็มใจ (ฟีลิปปี 2:3) ให้เราถามตัวเองว่า ‘ฉันกำลังเลียนแบบพระยะโฮวาและแสดงว่าเป็นคนถ่อมไหม?’ ถ้าเราเป็นคนถ่อม มันจะง่ายขึ้นที่คนอื่นจะมาขอให้เราให้อภัย และมันก็จะง่ายขึ้นสำหรับเราด้วยที่จะให้อภัยเขา เราต้องช้าในการโกรธแต่เร็วในการแสดงความเมตตา—ปัญญาจารย์ 7:8, 9
เห็นค่าชีวิตและ “คุณก็จะไม่มีความผิดฐานฆ่าคน”
9. พระยะโฮวาช่วยชาวอิสราเอลอย่างไรให้เข้าใจว่าชีวิตศักดิ์สิทธิ์?
9 เหตุผลหลักอย่างหนึ่งที่มีการจัดเตรียมเรื่องเมืองลี้ภัยก็คือเพื่อป้องกันชาวอิสราเอลไม่ให้มีความผิดฐานฆ่าคนบริสุทธิ์ (เฉลยธรรมบัญญัติ 19:10) พระยะโฮวาเห็นค่าชีวิตมาก และพระองค์เกลียด ‘คนที่ฆ่าคนไม่มีความผิด’ (สุภาษิต 6:16, 17) พระองค์เป็นพระเจ้าที่ยุติธรรมและบริสุทธิ์ พระองค์จึงไม่มองข้ามแม้แต่อุบัติเหตุที่ทำให้มีคนตาย จริงอยู่ที่คนที่ทำให้คนตายโดยไม่เจตนาต้องได้รับความเมตตา แต่เขาต้องอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกผู้นำก่อน และถ้าพวกผู้นำตัดสินว่าการตายนั้นเป็นอุบัติเหตุจริง เขาก็ต้องอยู่ในเมืองลี้ภัยจนกว่ามหาปุโรหิตจะตายซึ่งอาจหมายความว่าเขาต้องอยู่ที่นั่นตลอดชีวิต การจัดเตรียมนี้เน้นให้ชาวอิสราเอลเห็นว่าชีวิตศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น เพื่อแสดงว่าพวกเขานับถือพระเจ้าผู้ให้ชีวิต พวกเขาต้องทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อจะไม่ให้คนอื่นได้รับอันตราย
10. จากคำพูดของพระเยซู พวกครูสอนศาสนาและพวกฟาริสีทำอะไรที่แสดงว่าพวกเขาไม่เห็นค่าชีวิตของคนอื่น?
10 พวกครูสอนศาสนาและพวกฟาริสีต่างจากพระยะโฮวา ลูกา 11:52) พระเยซูหมายความว่าอย่างไร? พวกครูสอนศาสนาและพวกฟาริสีมีหน้าที่ต้องสอนประชาชนเกี่ยวกับคำสอนของพระเจ้าและช่วยผู้คนให้ได้รับชีวิตตลอดไป แต่พวกเขากลับกีดกันประชาชนไม่ให้ติดตามพระเยซูซึ่งเป็น “ผู้นำคนสำคัญที่ให้ชีวิต” (กิจการ 3:15) ดังนั้น พวกเขาจึงนำผู้คนไปผิดทางและทำให้ผู้คนถูกทำลาย พวกครูสอนศาสนาและพวกฟาริสีเย่อหยิ่ง เห็นแก่ตัว และไม่สนใจชีวิตผู้คน พวกเขาร้ายกาจและโหดเหี้ยมจริง ๆ!
พวกเขาไม่ได้เห็นค่าชีวิตของคนอื่น พระเยซูพูดเกี่ยวกับพวกเขาว่า “คุณเก็บลูกกุญแจสำหรับไขความรู้ของพระเจ้าเอาไว้ ตัวคุณเองไม่อยากได้ความรู้นั้น แถมคุณยังกีดกันคนอื่นไม่ให้รับความรู้นั้นด้วย” (11. (ก) อัครสาวกเปาโลแสดงให้เห็นอย่างไรว่าเขามองชีวิตแบบเดียวกับที่พระยะโฮวามอง? (ข) อะไรจะช่วยเราให้เลียนแบบเปาโลที่รับใช้อย่างขยันขันแข็ง?
11 เราจะเลียนแบบพระยะโฮวาและไม่กลายเป็นเหมือนพวกครูสอนศาสนาและพวกฟาริสีได้อย่างไร? เราทำได้โดยการเห็นค่าชีวิต อัครสาวกเปาโลทำอย่างนั้นโดยการประกาศข่าวดีเกี่ยวกับรัฐบาลของพระเจ้ากับผู้คนมากเท่าที่เขาทำได้ ซึ่งทำให้เขาสามารถพูดได้ว่า “ถ้ามีใครไม่รอด ก็จะมาโทษผมไม่ได้” (อ่านกิจการ 20:26, 27) ที่เปาโลประกาศเป็นเพราะเขาแค่ไม่อยากรู้สึกผิด หรือเขาทำตามที่พระยะโฮวาสั่งเท่านั้นไหม? ไม่ใช่อย่างนั้น เปาโลรักผู้คน เขามองว่าชีวิตของคนอื่นมีค่ามากและต้องการให้พวกเขาได้รับชีวิตตลอดไป (1 โครินธ์ 9:19-23) เราก็ควรมองชีวิตอย่างที่พระยะโฮวามอง พระองค์ต้องการให้ทุกคนกลับตัวกลับใจเพื่อจะไม่ถูกทำลาย (2 เปโตร 3:9) เราต้องเลียนแบบพระยะโฮวาโดยรักผู้คน ถ้าเรามีความเมตตา เราจะประกาศอย่างขยันขันแข็ง ซึ่งนั่นจะทำให้เรามีความสุขจริง ๆ
12. ทำไมความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้รับใช้ของพระเจ้า?
12 เพื่อจะมองชีวิตแบบเดียวกับที่พระยะโฮวามอง เราต้องมีความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับความปลอดภัย เราต้องระมัดระวังทั้งตอนที่ทำงานและขับรถ แม้แต่ตอนที่เดินทางไปประชุม ทำงานก่อสร้าง และบำรุงรักษาหอประชุมด้วย เราควรจำไว้เสมอว่า ชีวิต ความปลอดภัย และสุขภาพสำคัญกว่าการประหยัดเวลาและเงินทอง พระเจ้าของเราทำสิ่งที่ถูกต้องเสมอและเราก็อยากเป็นเหมือนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ดูแลในประชาคมต้องคิดเกี่ยวกับความปลอดภัยทั้งตัวของเขาเองและของคนอื่น ๆ ด้วย (สุภาษิต 22:3) ถ้าผู้ดูแลเตือนคุณเกี่ยวกับมาตรฐานและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในเรื่องความปลอดภัย ก็ขอให้คุณฟังเขา (กาลาเทีย 6:1) ให้มองชีวิตอย่างที่พระยะโฮวามองและ “คุณก็จะไม่มีความผิดฐานฆ่าคน”
ตัดสินคดี “ตามข้อกำหนดดังนี้”
13, 14. พวกผู้นำชาวอิสราเอลจะเลียนแบบความยุติธรรมของพระยะโฮวาได้อย่างไร?
13 พระยะโฮวาสั่งให้พวกผู้นำชาวอิสราเอลเลียนแบบความยุติธรรมของพระองค์ อย่างแรก พวกผู้นำต้องรู้ก่อนว่าข้อเท็จจริงทั้งหมดเป็นอย่างไร จากนั้น ก่อนที่พวกผู้นำจะตัดสินว่าจะแสดงความเมตตาหรือไม่ พวกเขาต้องคิดอย่างละเอียดรอบคอบว่าคนที่ก่อเหตุทำไปเพราะอะไร เขาคิดอย่างไร และพฤติกรรมที่ผ่าน ๆ มาของเขาเป็นอย่างไร พวกผู้นำต้องดูว่าเขาเกลียดคนที่เขาฆ่าและมีเจตนาที่จะฆ่าจริง ๆ ไหม (อ่านกันดารวิถี 35:20-24) ในกรณีที่มีพยานรู้เห็น ต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คนขึ้นไปเพื่อจะเอาผิดคนที่ตั้งใจฆ่าได้—กันดารวิถี 35:30
14 หลังจากที่รู้ว่าจริง ๆ แล้วมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง พวกผู้นำจะคิดถึงตัวตนจริง ๆ ของคนที่ทำผิด ไม่ใช่แค่คิดถึงสิ่งที่คนนั้นทำ พวกเขาต้องมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งและเห็นมากกว่าสิ่งที่เห็น พวกเขาต้องมองให้ออกว่าทำไมถึงเกิดเรื่องนี้ขึ้น ที่สำคัญที่สุด พวกเขาต้องขอพลังบริสุทธิ์จากพระยะโฮวาที่จะช่วยให้เลียนแบบความเข้าใจ ความเมตตา และความยุติธรรมของพระองค์—อพยพ 34:6, 7
15. พระเยซูมองคนบาปต่างจากพวกฟาริสีอย่างไร?
15 พวกฟาริสีไม่ได้ตัดสินอย่างที่แสดงความเมตตา พวกเขามองแต่สิ่งที่คนคนนั้นทำแทนที่จะมองที่ตัวตนจริง ๆ ของเขา เมื่อพวกฟาริสีเห็นพระเยซูกินอาหารที่บ้านของมัทธิว พวกเขาถามสาวกว่า “ทำไมอาจารย์ของพวกคุณถึงกินมัทธิว 9:9-13) พระเยซูกำลังมองข้ามความบาปของคนเก็บภาษีและคนบาปไหม? ไม่เลย ท่านอยากให้พวกเขากลับใจ ที่จริง นี่เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ท่านประกาศ (มัทธิว 4:17) พระเยซูรู้ว่ามีบางคนใน “พวกคนเก็บภาษีและคนบาป” ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง พวกเขาไม่ได้ไปที่บ้านของมัทธิวเพื่อกินอาหารเท่านั้น แต่พวกเขาเป็นผู้ติดตามพระเยซู (มาระโก 2:15) น่าเศร้าที่พวกฟาริสีส่วนใหญ่ไม่ได้มองผู้คนแบบเดียวกับที่พระเยซูมอง พวกเขาไม่เชื่อว่าผู้คนเปลี่ยนแปลงได้และตราหน้าคนพวกนั้นว่าเป็นคนบาปที่ไม่มีวันจะดีขึ้นได้ ช่างแตกต่างกันอย่างมากกับพระยะโฮวาซึ่งเป็นพระเจ้าที่ยุติธรรมและเมตตาจริง ๆ
อาหารกับพวกคนเก็บภาษีและคนบาปล่ะ?” พระเยซูตอบว่า “คนที่สบายดีไม่ต้องไปหาหมอ แต่คนป่วยต้องให้หมอรักษา ไปศึกษาข้อนี้ดูสิที่พระเจ้าบอกว่า ‘เราอยากให้พวกเขาแสดงความเมตตา ไม่ได้อยากให้เอาเครื่องบูชามาถวาย’ ที่ผมมา ไม่ได้มาเพื่อช่วยคนดี แต่มาช่วยคนบาป” (16. คณะกรรมการตัดสินความต้องพยายามเข้าใจอะไร?
16 ผู้ดูแลในทุกวันนี้ต้องเลียนแบบพระยะโฮวาผู้ “รักความยุติธรรม” (สดุดี 37:28) ก่อนอื่น พวกเขาต้อง “สืบสวนสอบสวนอย่างละเอียด” ว่ามีการทำผิดจริงหรือไม่ ถ้ามีการทำผิดจริง พวกเขาจะทำตามคำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิลเพื่อจะรู้ว่าต้องจัดการกับการทำผิดนั้นอย่างไร (เฉลยธรรมบัญญัติ 13:12-14) เมื่อผู้ดูแลต้องทำหน้าที่ในคณะกรรมการตัดสินความ เขาต้องคิดอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อตัดสินว่าคนที่ทำบาปร้ายแรงนั้นกลับใจจริง ๆ หรือไม่ การจะดูว่าใครคนหนึ่งกลับใจไม่ใช่เรื่องง่าย การกลับใจเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่ในส่วนลึกของหัวใจของเขาและความคิดของเขาเกี่ยวกับสิ่งที่เขาทำ (วิวรณ์ 3:3) คนที่ทำบาปต้องกลับใจเพื่อจะได้รับความเมตตา *
17, 18. ผู้ดูแลจะรู้ได้อย่างไรว่าใครกลับใจจริง ๆ? (ดูภาพแรก)
17 พระยะโฮวากับพระเยซูรู้จริง ๆ ว่าคนเราคิดอะไรและรู้สึกอย่างไรเพราะพระองค์อ่านใจคนเราได้ แต่ผู้ดูแลอ่านใจไม่ได้ ดังนั้น ถ้าคุณเป็นผู้ดูแล คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคนนั้นกลับใจจริง ๆ ไหม? อย่างแรก ให้อธิษฐานขอสติปัญญาและความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (1 พงศ์กษัตริย์ 3:9) อย่างที่สอง คุณต้องค้นคว้าข้อมูลจากคัมภีร์ไบเบิลและหนังสือต่าง ๆ ที่มาจากทาสที่ซื่อสัตย์เพื่อช่วยคุณให้เห็นความแตกต่างระหว่าง “ความเสียใจแบบโลก” และ “ความเสียใจแบบที่พระเจ้าพอใจ” ซึ่งเป็นการกลับใจจริง ๆ (2 โครินธ์ 7:10, 11) คุณอาจทำอย่างนั้นได้โดยดูตัวอย่างคนที่กลับใจและคนที่ไม่กลับใจในคัมภีร์ไบเบิล และวิเคราะห์ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร คิดอะไร และลงมือทำอะไร
18 อย่างที่สาม ให้คิดถึงตัวตนจริง ๆ ของเขา ไม่ใช่แค่สิ่งที่เขาทำ ลองคิดดูว่าภูมิหลังของเขาเป็นอย่างไร? ทำไมเขาทำอย่างนั้น? เขาต้องเจอกับปัญหาและข้อจำกัดอะไร? คัมภีร์ไบเบิลบอกล่วงหน้าว่าพระเยซูซึ่งเป็นผู้นำของประชาคม “จะไม่พิพากษาตามที่ตาเห็น หรือตัดสินแค่ตามที่หูได้ยิน ท่านจะให้ความเป็นธรรมกับคนจน จะว่ากล่าวตักเตือนผู้คนอย่างตรงไปตรงมาเพื่อช่วยคนอ่อนน้อม” (อิสยาห์ 11:3, 4) คุณที่เป็นผู้ดูแล พระเยซูแต่งตั้งคุณให้ดูแลประชาคมของท่าน และท่านจะช่วยคุณให้ตัดสินด้วยความเมตตาและความยุติธรรม (มัทธิว 18:18-20) เราขอบคุณจริง ๆ ที่มีผู้ดูแลที่เอาใจใส่เรา พวกเขายังช่วยเราให้แสดงความยุติธรรมและความเมตตาด้วย
19. คุณได้บทเรียนอะไรจากเรื่องเมืองลี้ภัย และคุณจะเอาไปใช้อย่างไร?
19 กฎหมายของโมเสสมี “เค้าโครงของความรู้และความจริง” ซึ่งสอนเราเกี่ยวกับพระยะโฮวาและหลักการของพระองค์ (โรม 2:20) เรื่องเมืองลี้ภัยที่อยู่ในกฎหมายของโมเสสสอนผู้ดูแลว่าจะ “พิพากษาอย่างยุติธรรม” ได้อย่างไร และสอนเราทุกคนว่าจะ “รักและเมตตากัน” ได้อย่างไร (เศคาริยาห์ 7:9) แม้ว่าเราไม่อยู่ใต้กฎหมายของโมเสส แต่พระยะโฮวาไม่เคยเปลี่ยนแปลง ความยุติธรรมและความเมตตายังเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับพระองค์ เรารู้สึกเป็นสิทธิพิเศษจริง ๆ ที่ได้นมัสการพระเจ้าแบบนี้ ขอให้เราเลียนแบบคุณลักษณะที่ยอดเยี่ยมของพระองค์และหวังพึ่งพระองค์ให้เป็นที่ลี้ภัยของเรา
^ วรรค 16 ดู “คำถามจากผู้อ่าน” ในหอสังเกตการณ์ 15 กันยายน 2006 หน้า 30