‘ถ้อยคำของพระเจ้าทรงพลัง’
“ถ้อยคำของพระเจ้ามีชีวิต ทรงพลัง”—ฮบ. 4:12
1. อะไรทำให้คุณเชื่อมั่นว่าคัมภีร์ไบเบิลมีพลัง? (ดูภาพแรก)
ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่าถ้อยคำของพระองค์ซึ่งเป็นข่าวสารที่ให้กับมนุษย์นั้น “มีชีวิต ทรงพลัง” (ฮบ. 4:12) คุณคงได้เห็นว่าคัมภีร์ไบเบิลมีพลังกับชีวิตของคุณและของคนอื่น ๆ อย่างไร ก่อนเข้ามาเป็นพยานพระยะโฮวาพี่น้องบางคนเคยเป็นขโมย ติดยาเสพติด หรือทำผิดศีลธรรม ส่วนบางคนมีชื่อเสียงเงินทองแต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองขาดอะไรบางอย่างในชีวิต (ปญจ. 2:3-11) น่าดีใจที่หลายคนที่เคยสิ้นหวังอับจนหนทางตอนนี้กลับมีความหวังและรู้วิธีที่จะใช้ชีวิต คุณคงชอบอ่านประสบการณ์ของหลายคนในวารสารหอสังเกตการณ์ ในบทความชุด “คัมภีร์ไบเบิลเปลี่ยนชีวิตคน” นอกจากนั้น คุณคงเห็นว่าถึงแม้จะเข้ามาเป็นคริสเตียนแล้ว ผู้รับใช้ของพระเจ้าก็ยังให้คัมภีร์ไบเบิลช่วยพวกเขาให้ใกล้ชิดกับพระยะโฮวามากขึ้น
2. คัมภีร์ไบเบิลมีผลกับผู้คนในศตวรรษแรกอย่างไร?
2 ไม่แปลกเลยที่หลายคนได้เปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งใหญ่หลังจากที่พวกเขาเรียนความจริงในคัมภีร์ไบเบิล ในศตวรรษแรก พี่น้องชายหญิงของเราที่มีความหวัง1 โครินธ์ 6:9-11) ตอนที่เปาโลพูดถึงพวกคนทำชั่วที่จะไม่ได้รับรัฐบาลของพระเจ้า เขาบอกว่า “พวกคุณบางคนเคยเป็นอย่างนั้น” คัมภีร์ไบเบิลและพลังบริสุทธิ์ของพระเจ้าช่วยพวกเขาเปลี่ยนแปลงตัวเอง นอกจากนั้น ก็มีบางคนที่ได้เข้ามาเป็นคริสเตียนแล้วแต่กลับทำผิดร้ายแรงซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ที่เขามีกับพระยะโฮวามีปัญหา ตัวอย่างเช่น คัมภีร์ไบเบิลพูดถึงพี่น้องผู้ถูกเจิมคนหนึ่งที่ต้องถูกตัดสัมพันธ์ แต่หลังจากนั้นเขาก็เปลี่ยนแปลงตัวเองและได้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมคริสเตียนอีกครั้ง (1 คร. 5:1-5; 2 คร. 2:5-8) เราได้กำลังใจที่เห็นว่าพลังจากคัมภีร์ไบเบิลช่วยพี่น้องชายหญิงของเราหลายคนให้เปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างมากมาย
จะไปสวรรค์ก็ได้เปลี่ยนแปลงแบบนั้นด้วย (อ่าน3. เราจะเรียนอะไรในบทความนี้?
3 คัมภีร์ไบเบิลมีพลังมาก พระยะโฮวาให้คัมภีร์ไบเบิลกับเรา เราจึงอยากได้รับประโยชน์จากหนังสือนี้ให้มากที่สุด (2 ทธ. 2:15) ในบทความนี้เราจะคุยกันว่าเราต้องทำอะไรเพื่อจะให้พลังของคัมภีร์ไบเบิลมีผลกับ (1) ชีวิตของเรา (2) งานรับใช้ของเรา และ (3) การสอนของเราบนเวที สิ่งที่เราจะได้เรียนกันในบทความนี้จะช่วยเราให้แสดงว่าเรารักและรู้สึกขอบคุณพระเจ้าผู้เป็นพ่อที่อยู่ในสวรรค์ของเรา พระองค์สอนเราเพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง—อสย. 48:17
ในชีวิตของเรา
4. (ก) เราควรทำอะไรเพื่อให้คัมภีร์ไบเบิลมีผลกับตัวเรา? (ข) คุณจัดเวลาอ่านคัมภีร์ไบเบิลอย่างไร?
4 เพื่อให้คัมภีร์ไบเบิลมีผลกับตัวเรา เราต้องอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำและควรพยายามอ่านให้ได้ทุกวัน (ยชว. 1:8) ชีวิตพวกเราส่วนใหญ่ยุ่งมากและไม่ค่อยมีเวลา แต่เราไม่ควรให้อะไรมาแย่งเวลาที่เราจะอ่านคัมภีร์ไบเบิลแม้แต่หน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ ของเราด้วย (อ่านเอเฟซัส 5:15, 16) เราควรจัดเวลาเพื่ออ่านคัมภีร์ไบเบิล อาจจะเป็นช่วงหลังตื่นนอน ช่วงไหนก็ได้ระหว่างวัน หรือก่อนเข้านอน เราเห็นด้วยกับที่ผู้เขียนหนังสือสดุดีบอกว่า “ผมรักกฎหมายของพระองค์จริง ๆ ผมใคร่ครวญกฎหมายนั้นตลอดวัน”—สด. 119:97
5, 6. (ก) ทำไมเราต้องคิดใคร่ครวญ? (ข) เราจะคิดใคร่ครวญอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด? (ค) คุณได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการอ่านคัมภีร์ไบเบิลและคิดใคร่ครวญ?
5 แต่การอ่านคัมภีร์ไบเบิลอย่างเดียวก็ยังไม่พอ เราต้องคิดใคร่ครวญและคิดอย่างละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับสิ่งที่เราอ่าน (สด. 1:1-3) โดยการทำแบบนี้เท่านั้นเราถึงจะเอาคำแนะนำที่ฉลาดสุขุมจากคัมภีร์ไบเบิลมาใช้ในชีวิตของเราได้ ดังนั้น ไม่ว่าเราจะอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นเล่ม อ่านจากมือถือหรือแท็บเล็ต สิ่งสำคัญก็คือ เราอยากให้คัมภีร์ไบเบิลกระตุ้นใจเราและเปลี่ยนแปลงตัวเรา
6 เราจะคิดใคร่ครวญอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด? ตอนอ่านคัมภีร์ไบเบิลเราต้องไม่อ่านไปเรื่อย ๆ แต่ต้องหยุดและถามตัวเองว่า ‘เรื่องที่ฉันกำลังอ่านบอกอะไรฉันเกี่ยวกับพระยะโฮวา? ฉันได้เอาเรื่องนี้ไปใช้ในชีวิตแล้วอย่างไรบ้าง? และฉันยังต้องเปลี่ยนแปลงอะไรอีก?’ ถ้าเราคิดใคร่ครวญและอธิษฐานเกี่ยวกับเรื่องที่เราอ่าน เราก็จะอยากเอาเรื่องที่ได้อ่านไปใช้ในชีวิต แล้วเราก็จะเห็นด้วยตัวเองว่าพลังของคัมภีร์ไบเบิลมีผลกับชีวิตเราจริง ๆ—2 คร. 10:4, 5
ในงานรับใช้ของคุณ
7. เราจะใช้คัมภีร์ไบเบิลให้ได้ผลดีที่สุดในงานรับใช้ของเราได้อย่างไร?
7 เราต้องใช้คัมภีร์ไบเบิลบ่อย ๆ ตอนที่เราประกาศและสอนคนอื่น พี่น้องชายคนหนึ่งบอกว่า “ถ้าคุณไปประกาศคู่กับพระยะโฮวา คุณจะพูดอยู่คนเดียวหรือจะให้พระองค์ได้พูดด้วย?” ถ้าเราอ่านคัมภีร์ไบเบิลให้เจ้าของบ้านฟัง เราก็กำลังให้พระยะโฮวาพูดกับเขา ไม่ว่าเราจะพยายามพูดอะไรก็ตามข้อคัมภีร์ที่เลือกไว้อย่างดีมีพลังมากกว่าคำพูดของเรา (1 ธส. 2:13) ตอนไปรับใช้ คุณพยายามอ่านคัมภีร์ไบเบิลทุกโอกาสที่คุณทำได้ไหม?
8. ตอนไปประกาศ ทำไมเราต้องทำมากกว่าแค่อ่านข้อคัมภีร์ให้เจ้าของบ้านฟัง?
8 แต่การอ่านข้อคัมภีร์ให้เจ้าของบ้านฟังอย่างเดียวก็ยังไม่พอ คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมายของข้อความในคัมภีร์ไบเบิล เรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นเหมือนกันในศตวรรษแรกด้วย (รม. 10:2) เราไม่ควรคิดเองว่าเจ้าของบ้านน่าจะเข้าใจข้อคัมภีร์ที่เราอ่าน แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เราควรช่วยเขาโดยอ่านคำสำคัญหรือพูดจุดสำคัญของข้อนั้นซ้ำอีกครั้ง แล้วก็อธิบายความหมาย การทำ แบบนี้จะช่วยให้ถ้อยคำของพระเจ้าเข้าถึงความคิดและหัวใจของผู้คนจริง ๆ—อ่านลูกา 24:32
9. เราจะพูดอะไรก่อนจะเริ่มอ่านข้อคัมภีร์เพื่อช่วยให้ผู้คนนับถือคัมภีร์ไบเบิล? ขอยกตัวอย่าง
9 สิ่งที่เราพูดก่อนจะเริ่มอ่านข้อคัมภีร์ยังช่วยให้เจ้าของบ้านนับถือคัมภีร์ไบเบิลมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “ให้เรามาดูว่าผู้ที่สร้างตัวเราบอกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้” หรือถ้าเราเจอคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ เราอาจพูดว่า “ขอเราดูว่าหนังสือศักดิ์สิทธิ์บอกไว้อย่างไร” และถ้าเราเจอคนที่ไม่สนใจศาสนา เราก็อาจถามเขาว่า “คุณเคยได้ยินข้อความจากหนังสือเก่าแก่นี้ไหม?” ถ้าเราจำไว้เสมอว่าทุกคนมีความเชื่อและภูมิหลังไม่เหมือนกัน เราก็จะพยายามสุดความสามารถที่จะใช้คำนำในแบบที่น่าสนใจ—1 คร. 9:22, 23
10. (ก) พี่น้องชายคนหนึ่งมีประสบการณ์อะไร? (ข) คุณได้เห็นพลังของคัมภีร์ไบเบิลในงานรับใช้ของคุณอย่างไร?
10 พี่น้องหลายคนรู้สึกว่าการใช้คัมภีร์ไบเบิลในการประกาศมีผลอย่างมากกับผู้คน ตัวอย่างเช่น พี่น้องชายคนหนึ่งไปเยี่ยมผู้ชายสูงอายุที่ได้อ่านวารสารของเรามาหลายปีแล้ว วันหนึ่ง แทนที่พี่น้องจะแค่ให้วารสารหอสังเกตการณ์ ฉบับล่าสุด เขาตัดสินใจอ่านข้อคัมภีร์ข้อหนึ่งในวารสารฉบับนั้น เขาอ่านที่ 2 โครินธ์ 1:3, 4 ซึ่งบอกว่า “พระองค์เป็นพ่อที่มีความเมตตากรุณาและเป็นพระเจ้าที่คอยให้กำลังใจในทุกสถานการณ์ พระองค์ให้กำลังใจเราทุกครั้งที่เจอความยากลำบาก” ข้อคัมภีร์นี้โดนใจผู้ชายคนนี้มากจนเขาขอให้พี่น้องอ่านซ้ำอีกครั้ง แล้วเขาก็บอกว่าตัวเขากับภรรยาต้องการกำลังใจมาก ข้อคัมภีร์นี้ทำให้ผู้ชายคนนี้อยากรู้มากขึ้นเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล การใช้คัมภีร์ไบเบิลในงานรับใช้มีพลังจริง ๆ!—กจ. 19:20
ในการสอนบนเวที
11. พี่น้องชายที่สอนบนเวทีมีหน้าที่รับผิดชอบอะไร?
11 เราชอบไปประชุมไม่ว่าจะเป็นการประชุมประชาคม การประชุมหมวด หรือการประชุมภูมิภาค เหตุผลหลักที่เราเข้าร่วมการประชุมก็คือ เพื่อนมัสการพระยะโฮวา นอกจากนั้น เรายังได้ประโยชน์จากสิ่งที่เราได้เรียนในการประชุมด้วย ดังนั้น พี่น้องชายจึงถือว่าการสอนบนเวทีเป็นสิทธิพิเศษอย่างมากและก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญด้วย (ยก. 3:1) พวกเขาต้องแน่ใจว่าใช้คัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักในการสอนเสมอ ถ้าคุณได้รับสิทธิพิเศษนี้ คุณจะให้พลังของคัมภีร์ไบเบิลมีผลกับผู้ฟังได้อย่างไร?
12. ผู้บรรยายจะใช้คัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักในคำบรรยายของเขาได้อย่างไร?
12 ข้อคัมภีร์ควรเป็นส่วนสำคัญที่สุดในคำบรรยาย (ยน. 7:16) ดังนั้น คุณต้องระวังมากที่จะไม่ให้วิธีพูดของคุณ ประสบการณ์หรือตัวอย่างที่คุณใช้เด่นกว่าคัมภีร์ไบเบิล นอกจากนั้น คุณต้องจำไว้ว่าการอ่านข้อคัมภีร์อย่างเดียวไม่ใช่การสอนคัมภีร์ไบเบิล ที่จริง ถ้าคุณอ่านข้อคัมภีร์หลายข้อมากเกินไปคนส่วนใหญ่ก็จะจำไม่ได้ ดังนั้น คุณต้องเลือกให้ดีว่าจะใช้ข้อคัมภีร์ข้อไหนบ้าง และตอนที่บรรยายคุณก็ต้องให้เวลากับการอ่านข้อคัมภีร์ อธิบาย ยกตัวอย่าง และพูดถึงวิธีที่จะนำข้อคัมภีร์นั้นไปใช้ (นหม. 8:8) ถ้าคุณต้องบรรยายในแบบที่มีโครงเรื่อง คุณต้องศึกษาโครงเรื่องและข้อคัมภีร์ในโครงเรื่องนั้น คุณต้องพยายามเข้าใจว่าข้อคัมภีร์แต่ละข้อเกี่ยวข้องกับโครงเรื่องอย่างไร จากนั้นก็เลือกข้อคัมภีร์บางข้อเพื่ออธิบายจุดสำคัญที่อยู่ในโครงเรื่อง (คุณสามารถหาคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่หนังสือการรับประโยชน์จากโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้า ) สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณต้องอธิษฐานขอให้พระยะโฮวาช่วยคุณถ่ายทอดเรื่องต่าง ๆ ที่มีค่าจากคัมภีร์ไบเบิลได้—อ่าน บทเรียน 21-23เอสรา 7:10; สุภาษิต 3:13, 14
13. (ก) ข้อคัมภีร์หนึ่งที่พี่น้องหญิงได้ยินที่การประชุมมีผลกับเธออย่างไร? (ข) คุณได้รับประโยชน์อย่างไรจากการสอนโดยใช้คัมภีร์ไบเบิลที่การประชุม?
13 ตอนที่พี่น้องหญิงคนหนึ่งในออสเตรเลียเป็นเด็ก มีเรื่องเลวร้ายหลายอย่างเกิดขึ้นกับเธอ ถึงต่อมาเธอจะรู้จักพระยะโฮวาและอุทิศตัวแล้ว แต่เธอก็ยังไม่ค่อยเชื่อว่าพระยะโฮวารักเธอ ในการประชุมครั้งหนึ่ง พี่น้องหญิงคนนี้ได้ยินข้อคัมภีร์ข้อหนึ่งที่มีผลกับเธอมาก เธอคิดใคร่ครวญข้อคัมภีร์นั้นและค้นคว้ามากขึ้นซึ่งทำให้เธอได้อ่านข้ออื่น ๆ ด้วย ในที่สุด พี่น้องหญิงคนนี้ก็มั่นใจว่าพระยะโฮวารักเธอจริง ๆ * คุณเคยมีประสบการณ์คล้าย ๆ กับพี่น้องคนนี้ไหมที่ไปประชุมประชาคม ประชุมหมวด หรือประชุมภูมิภาค แล้วได้ยินข้อคัมภีร์ข้อหนึ่งที่โดนใจคุณซึ่งมีผลกับชีวิตของคุณอย่างมาก?—นหม. 8:12
14. เราจะแสดงอย่างไรว่าเรารักและเห็นค่าถ้อยคำของพระยะโฮวา?
14 เราขอบคุณพระยะโฮวาจริง ๆ ที่มีคัมภีร์ไบเบิล พระองค์สัญญาว่าคำพูดของพระองค์จะคงอยู่ตลอดไป และพระองค์ก็รักษาสัญญา (1 ปต. 1:24, 25) ดังนั้น เราต้องอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำให้ได้ และใช้สิ่งที่เราอ่านในชีวิตของเรา รวมทั้งใช้คัมภีร์ไบเบิลเพื่อช่วยคนอื่น ๆ ด้วย ถ้าเราทำแบบนี้ เราก็กำลังแสดงว่าเรารักและเห็นค่าคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเป็นสมบัติจากพระเจ้าจริง ๆ และที่สำคัญที่สุด นี่แสดงว่าเรารักและขอบคุณพระยะโฮวาพระเจ้าผู้แต่งคัมภีร์ไบเบิล
^ วรรค 13 ดูกรอบ “ จุดเปลี่ยน”